ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
Buriram Rajabhat University
ชื่อเดิมสถาบันราชภัฏบุรีรัมย์
ชื่อย่อมรภ.บร. / BRU
คติพจน์สุวิชโช ชเน สุโต โหตุ
(ผู้มีความรู้ดี ย่อมเป็นเด่นในหมู่ชน)
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-06-15)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการคณะวิชา
งบประมาณ502,386,400 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
นายกสภาฯรองศาสตราจารย์ คมเพชร ฉัตรศุภกุล
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ มาลิณี จุโฑปะมา
อาจารย์415 คน (พ.ศ. 2560)
บุคลากรทั้งหมด778 คน (พ.ศ. 2560)
ผู้ศึกษา14,994 คน (พ.ศ. 2560)
ที่ตั้ง
เลขที่ 439 ถนนจิระ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
เพลงอาศิรวาทราชภัฏ
ต้นไม้ราชพฤกษ์
สี████ สีม่วง สีเหลือง
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (อังกฤษ: Buriram Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ และเป็นมหาวิทยาลัยประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อตุลาคม พ.ศ. 2514 ในนาม "วิทยาลัยครูบุรีรัมย์" ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ประวัติ

[แก้]

มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ได้เริ่มก่อตั้งเป็น “วิทยาลัยครูบุรีรัมย์” การก่อสร้างได้เริ่มขึ้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2514 ด้วยความต้องการของทางราชการและประชาชนชาวจังหวัดบุรีรัมย์ นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ (นายสุรวุฒิ บุญญานุสาสน์) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของประเทศที่กำลังขาดแคลนวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2514 โดยได้รับงบประมาณ (ปีงบประมาณ 2515) จำนวน 9 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านถนน ไฟฟ้า และประปา เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2547 มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏขึ้นมาใช้แทนพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฎ มหาวิทยาลัยบุรีรัมย์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลทำให้การดำเนินการตามภารกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น มีสภามหาวิทยาลัย สภาวิชาการ สภาส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยและสภาคณาจารย์และข้าราชการพลเรือน เกิดขึ้น การแบ่งส่วนราชการของมหาวิทยาลัยประกอบด้วยสำนักงานอธิการบดีคณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาการจัดการ สถาบันวิจัย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีโครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ได้ดำเนินการขอใช้พื้นที่ราชพัสดุบริเวณตำบลปะคำและตำบลหูทำนบซึ่งเดิมอยู่ในความดูแลของสถานีวิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์บุรีรัมย์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 1,834 ไร่ 1งาน 32 ตารางวา และกระทรวงการคลังได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเมื่อเดือน กรกฎาคม 2548 ซึ่งมหาวิทยาลัยกำลังดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อจัดสร้างเป็นวิทยาเขต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ท้องถิ่นตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย

คณะ สำนักและสถาบัน

[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๕, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๘

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]