ข้ามไปเนื้อหา

สถาบันวิทยสิริเมธี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันวิทยสิริเมธี
ชื่อย่อสวสธ. / VISTEC
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา2 เมษายน พ.ศ. 2558 (9 ปี)
นายกสภาฯดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร
อธิการบดีศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น
ผู้ศึกษา271 คน[1]
ที่ตั้ง
เลขที่ 555 หมู่ 1 ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง
สี████ สีม่วง สีเลือดหมู
เว็บไซต์www.vistec.ac.th

สถาบันวิทยสิริเมธี (อังกฤษ: Vidyasirimedhi Institute of Science and Technology: VISTEC)[2] เป็น graduate research intensive university ตั้งอยู่ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยมูลนิธิพลังสร้างสรรค์นวัตกรรม (Power of Innovation Foundation: PIN) (ชื่อเดิม มูลนิธิสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระยอง) ตามโครงการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาและโรงเรียนวิทยาศาสตร์ กลุ่ม ปตท. พื้นที่ภาคตะวันออก ด้วยวิสัยทัศน์สำคัญของ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานมูลนิธิฯ และนายกสภาสถาบันฯ คนแรก ที่มุ่งหวังให้สถาบันฯ ติดอันดับ 1 ใน 50 ของมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำระดับโลก

ปัจจุบัน VISTEC มีนายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่ง ประธานที่ปรึกษานโยบายสถาบันวิทยสิริเมธี โดยมี ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ดำรงตำแหน่ง นายกสภาสถาบันวิทยสิริเมธี, ศาสตราจารย์ ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีกิตติคุณสถาบันวิทยสิริเมธี และศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น ดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบันวิทยสิริเมธี [3]

VISTEC มุ่งเน้นการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยมีศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นแนวหน้า (Frontier Research Center) ซึ่งเป็นศูนย์กลาง ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการวิจัยและให้การสนับสนุนด้านทุนการวิจัยแก่สถาบันฯ เป็นศูนย์รวมนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญสูง ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการศึกษา วิจัย การสร้างนวัตกรรม สร้างความร่วมมือทางด้านวิจัยกับสถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หลักสูตร

[แก้]

สถาบันวิทยสิริเมธี เปิดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทและปริญญาเอก) จำนวน 4 สำนักวิชา ได้แก่

  • สำนักวิชาวิทยาการพลังงาน (School of Energy Science and Engineering: ESE)
  • สำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล (School of Molecular Science and Engineering: MSE)
  • สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมชีวโมเลกุล  (School of Biomolecular Science and Engineering: BSE)
  • สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (School of Information Science and Technology: IST)

โดยมีศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นแนวหน้า (Frontier Research Center: FRC) ที่เป็นกลไกลสนับสนุนการดำเนินงานวิจัย

กลุ่มการวิจัยหลัก (Core Research)

[แก้]

Cutting-Edge Core Research ทั้งสิ้น 9 กลุ่ม ได้แก่

  1. Functional Materials by Molecular Design
  2. Molecular and Engineering Catalysis
  3.  Manufacturing at the Nanoscale
  4.  Biologically Inspired Engineering
  5.  Biomass Refinery Technology
  6.  Nano Electronics, Photonics and Magnetics
  7.  Efficient Energy Conversion Storage, and Utilization
  8.  Agricultural Biomolecular Engineering
  9.  Safety, Health, Environment, Sustainability

ด้านการวิจัยและผลงานทางวิชาการ

[แก้]

สถาบันวิทยสิริเมธี มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่มีคุณภาพสูงในระดับนานาชาติ อาทิ Nature Index อาทิเช่น Nature Communication Chemical Science and Chemical Communication (Royal Society of Chemistry, UK), Angewandte chemie (German Chemical Society), Proceedings of the National Academy of Sciences USA (United States National Academy of Sciences) เป็นต้น

โดยมีผลงานตีพิมพ์ด้านวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ จำนวน 120 ผลงาน  โดยเฉลี่ย 6.9 ผลงาน ต่อ อาจารย์ 1 ท่าน/ปี (Average Journal Impact Factor: 4.5) มีการจดสิทธิบัตรผลงานและสิ่งประดิษฐ์จากการวิจัย จำนวน 21 สิทธิบัตร และได้รับรางวัลจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จำนวน 4 รางวัล ได้แก่

  1. รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2559 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช (ศ.ดร.วินิช พรมอารักษ์)
  2. รางวัลผลงานวิจัยระดับดีมากประจำปี 2559 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช (ผศ.ดร.มนตรี สว่างพฤกษ์)
  3. รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2559 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช (ผศ.ดร.มนตรี สว่างพฤกษ์)
  4. รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีมากประจำปี 2559 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ (ดร.พิชญ พัฒนสัดยวงศ์)

อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย

[แก้]

สถาบันวิทยสิริเมธี ได้รับการจัดอันดับจาก Nature Index ให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย ที่มีผลงานวิจัยชั้นเลิศในทุกสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และเป็นอันดับ 4 ของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีเพียงแค่มหาวิทยาลัยของประเทศสิงคโปร์เท่านั้นที่มีอันดับสูงกว่า รวมถึงอันดับ 1 ของประเทศไทย ในสาขาวิชาเคมี[4] สถาบันวิทยสิริเมธี ยังถูกจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 12 ในหมวดของมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกที่มีอายุไม่เกิน 30 ปีอีกด้วย[5]

นายกสภาสถาบัน สถาบันวิทยสิริเมธี

[แก้]
  1. ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร นายกสภาสถาบัน วาระการดำรงตำแหน่ง 16 พฤษภาคม 2558 - 17 พฤศจิกายน 2560
  2. นายเทวินทร์ วงศ์วานิช นายกสภาสถาบัน วาระการดำรงตำแหน่ง 30 มกราคม 2561 - 26 กรกฎาคม 2562
  3. ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร นายกสภาสถาบัน วาระการดำรงตำแหน่ง 1 พฤศจิกายน 2562 - ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]