สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒
ชื่อย่อ | สอฉ.๒ / IVENE 2 |
---|---|
คติพจน์ | สร้างผู้นำทางเทคโนโลยี สร้างคนดีสู่สังคม |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา |
สถาปนา | 2557 |
นายกสภา | นายบุญส่ง จำปาโพธิ์ |
ที่ตั้ง | สำนักงานสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ภายในวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร 219 ถนนนิตโย ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000 |
วิทยาเขต | |
เว็บไซต์ | www.ivene2.ac.th |
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒ (อังกฤษ: Institute of Vocational education : Northeastern Region 2) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เกิดจากการรวมตัวกันของ วิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยการอาชีพในกลุ่ม (จังหวัดสนุก) สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร เพื่อทำหน้าที่ผลิตปัญญาชน คนอาชีวศึกษาสู่ตลาดแรงงานซึ่งในปัจจุบันถือว่ามีความต้องการสูง และเพิ่มอัตรากำลังคนอาชีวศึกษาให้ได้รับการศึกษาขั้นสูง โดยเปิดทำการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับปริญญาตรี (สายปฏิบัติการ)
ประวัติ
[แก้]สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒ ได้รับการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้ “สถานศึกษาอาชีวศึกษาสามารถรวมกันเป็นสถาบันได้ การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาให้กระทำได้โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและคำนึงถึงการประสานความร่วมมือให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง…”
ต่อมาคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) (ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ ประธานคณะกรรมการ) ได้ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การรวมและการแยกสถานศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ตามมาตรา ๑๓ โดยมีหลักการสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้
๑. ความเป็นเลิศในการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ โดยมีกระบวนการผลิตและพัฒนากำลังคน เพื่อเพิ่มผลผลิตและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศให้ได้ระดับมาตรฐานสากล
๒. การกระจายอำนาจไปสู่ระดับปฏิบัติ เพื่อให้การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในทุกระดับ มีคุณภาพและประสิทธิภาพเกิดผลสำเร็จแก่ประชาชน โดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษา
๓. ตอบสนองความต้องการการผลิตและการพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพ ระดับฝีมือ ระดับเทคนิค ระดับเทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งเป็นการยกระดับการศึกษาวิชาชีพให้สูงขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
๔. การประสานความร่วมมือให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีชั้นสูง จากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชน ในการพัฒนาศักยภาพของการจัดการอาชีวศึกษา
๕. การประกันคุณภาพและการกำกับมาตรฐาน ตามมาตรฐานวิชาชีพในระดับสากล
จากประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษาดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจึงได้ทำการประเมินสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อเข้าร่วมจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา ซึ่งประกอบด้วยวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร วิทยาลัยเทคนิคนครพนม วิทยาลัยเทคนิคบ้านแพง และวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒ เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่ชํานาญการปฏิบัติการสอน การวิจัยการถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยี ทะนุบํารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม
หน่วยงานในสังกัด
[แก้]
วิทยาลัย |
|
หลักสูตร
[แก้]หลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒[1] | |||
---|---|---|---|
วิทยาลัย | ประกาศนียบัตรวิชาชีพ | ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง | ระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)[2] |
วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร |
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเทคนิคนครพนม | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
- |
วิทยาลัยเทคนิคบ้านพง | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว๊บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เก็บถาวร 2018-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว๊บไซต์สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒[ลิงก์เสีย]
- https://www.ivene2.ac.th/ เก็บถาวร 2020-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "หลักสูตรอาชีวศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-04. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.
- ↑ "หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2558" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.