ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
Phetchabun Rajabhat University
ตราพระราชลัญจกร
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อเดิมสถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์
ชื่อย่อมรพช. / PCRU
คติพจน์ปัญญา เสฏฐา ปัญญาเป็นสิ่งประเสริฐสุด
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-06-15)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ424,970,800 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
นายกสภาฯรองศาสตราจารย์ สมเจตน์ ภูศรี
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรีชา ศรีเรืองฤทธิ์
อาจารย์297 คน (พ.ศ. 2566)
บุคลากรทั้งหมด659 คน (พ.ศ. 2566)
ที่ตั้ง
เลขที่ 83 หมู่ 11 ถนนสระบุรี-หล่มสัก ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000
เพลงวิทยาลัยครูเพชรบูรณ์
ต้นไม้อินทนิล
สี██ สีม่วง
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ (อังกฤษ: Phetchabun Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์

ประวัติ

[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2514 จำรูญ ปิยัมปุตระ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกับพ่อค้าประชาชน และสมาชิกผู้แทนราษฏรจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการขอจัดตั้งวิทยาลัยครูขึ้นกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาแล้วอนุมัติให้สร้างวิทยาลัยครูขึ้นที่จังหวัด เพชรบูรณ์โดยประกาศตั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2516 และได้แต่งตั้งให้ น้อย สีป้อ อาจารย์เอก วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม พิษณุโลก มารักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ วิทยาลัยครูเพชรบูรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และได้รับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา พ.ศ. 2519 โดยรับผิดชอบการศึกษาในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดพิจิตร

สัญลักษณ์

[แก้]
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  • สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ”
  • สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 36 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
  • สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
  • สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 36 สถาบัน
  • สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สีประจำมหาวิทยาลัย
  • สีประจำสถาบัน สีม่วง

หน่วยงานในสังกัด

[แก้]

คณะวิชา

[แก้]

หน่วยงานสนับสนุน

[แก้]
  • สำนักงานอธิการบดี
  • สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
  • บัณฑิตวิทยาลัย
  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
  • สถาบันวิจัยและพัฒนา
  • สถาบันภาษา

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๖, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]