กรมพลศึกษา
Department of Physical Education | |
ตราพระพลบดีทรงช้างเอราวัณ เครื่องหมายราชการ | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
สำนักงานใหญ่ | 154 สนามกีฬาแห่งชาติ ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10300 |
บุคลากร | 218 คน (พ.ศ. 2566) |
งบประมาณต่อปี | 774,555,000 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัดหน่วยงาน | กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
เว็บไซต์ | www |
กรมพลศึกษา (อังกฤษ: Department of Physical Education) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นการโอนภารกิจบางส่วนมาจากกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนและประชาชนด้วยการส่งเสริมและพัฒนาการกีฬา นันทนาการ การออกกำลังกาย เล่นกีฬา สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน การส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชน มีคุณภาพคู่คุณธรรมห่างไกลอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ โดยการใช้กีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน สังคม และประเทศชาติ[2]
ประวัติ
[แก้]ยุคก่อตั้งกรมพลศึกษา
[แก้]กรมพลศึกษา ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 ในชื่อ กรมพลศึกษา เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่หลักในการผลิตบุคลากรทางการศึกษาด้านพลศึกษา กิจการลูกเสือ และกิจการสารวัตรนักเรียน โดยมีหน่วยงานหลักในการดำเนินการ คือ วิทยาลัยพลศึกษา
ใน พ.ศ. 2485 กรมพลศึกษา ได้แบ่งส่วนราชการ 6 กอง คือ สำนักงานเลขานุการกรม กองกายบริหาร กองกีฬา กองกรีฑาสถานแห่งชาติ กองการลูกเสือ และกองอนุสภากาชาด[3] และมีการปรับปรุงโครงสร้างเรื่อยมา กระทั่งในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างกรมพลศึกษาอีกครั้ง โดยกำหนดภารกิจให้กรมพลศึกษา มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาการพลศึกษา สุขภาพ นันทนาการ การกีฬา วิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตร์สุขภาพ ลูกเสือ ยุวกาชาด และสารวัตรนักเรียนและนักศึกษา ตลอดจนการจัดการศึกษาด้านพลศึกษา สุขศึกษา นันทนาการ วิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตร์ทางจิตและประสาท และวิทยาศาสตร์สุขภาพ[4]
ยุคสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ
[แก้]ใน พ.ศ. 2545 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม และถ่ายโอนภารกิจของกรมพลศึกษา แยกออกไปสังกัดกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น งานสารวัตรนักเรียน ไปขึ้นกับสำนักพัฒนานักเรียนนักศึกษาและกิจการพิเศษ งานลูกเสือ ไปขึ้นกับสำนักกิจการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนกิจการด้านการผลิตบุคลากรทางการศึกษา ไปขึ้นกับสถาบันการพลศึกษา และภารกิจด้านการส่งเสริมและพัฒนาการพลศึกษา สุขภาพ นันทนาการ เป็นสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ (Office of Sport and Recretion Development) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ยุคกรมพลศึกษา พ.ศ. 2553
[แก้]คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ให้เปลี่ยนชื่อสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กลับไปเป็น กรมพลศึกษาเช่นเดิม[5] ทั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ เป็นกรมพลศึกษา พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553[6]
รายนามอธิบดี
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) | พ.ศ. 2477[7] | พ.ศ. 2485[8] | |
2 | พระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิ์-ชูโต) | พ.ศ. 2485 | พ.ศ. 2490 | |
3 | หลวงประเวศวุฑฒศึกษา (ประเวศ จันทนยิ่งยง) | พ.ศ. 2490[9] | พ.ศ. 2494 | |
4 | อภัย จันทวิมล | พ.ศ. 2494[10] | พ.ศ. 2495 | |
5 | พลโท เผชิญ นิมิบุตร | พ.ศ. 2495 | พ.ศ. 2503 | |
6 | กอง วิสุทธารมณ์ | พ.ศ. 2503 | พ.ศ. 2511 | |
7 | ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน | พ.ศ. 2511 | พ.ศ. 2523 | |
8 | สำอาง พ่วงบุตร | พ.ศ. 2523 | พ.ศ. 2529 | |
9 | วิรัช กมุทมาศ | พ.ศ. 2529 | พ.ศ. 2530 | |
10 | ปรีดา รอดโพธิ์ทอง | พ.ศ. 2530 | พ.ศ. 2535 | |
11 | สนั่น อินทรประเสริฐ | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2536 | |
12 | สุวิทย์ วิสุทธิสิน | พ.ศ. 2536 | พ.ศ. 2537 | |
13 | กว้าง รอบคอบ | พ.ศ. 2537 | พ.ศ. 2538 | |
14 | ไพฑูรย์ จัยสิน | พ.ศ. 2538 | พ.ศ. 2540 | |
15 | รองศาสตราจารย์ ทองคูณ หงส์พันธุ์ | พ.ศ. 2540 | พ.ศ. 2541 | |
16 | สุวรรณ กู้สุจริต | พ.ศ. 2541 | พ.ศ. 2543 | |
17 | วีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ | พ.ศ. 2544 | พ.ศ. 2544 | |
18 | สุทธิ ผลสวัสดิ์ | พ.ศ. 2544 | พ.ศ. 2545 | |
19 | จรวยพร ธรณินทร์ | พ.ศ. 2545 | พ.ศ. 2545 | |
20 | สมบัติ กลิ่นผา | พ.ศ. 2545 | พ.ศ. 2545 | |
21 | ทินกร นำบุญจิตต์ | พ.ศ. 2545 | พ.ศ. 2550 | |
22 | สมบัติ คุรุพันธ์ | พ.ศ. 2550 | พ.ศ. 2554 | |
23 | สุวัตร สิทธิหล่อ | พ.ศ. 2554 | พ.ศ. 2554 | |
24 | แสงจันทร์ วรสุมันต์ | พ.ศ. 2554 | พ.ศ. 2557 | |
25 | พัฒนาชาติ กฤดิบวร | พ.ศ. 2557 | พ.ศ. 2558 | |
26 | กิตติพงษ์ โพธิมู | พ.ศ. 2558 | พ.ศ. 2559 | |
27 | นเร เหล่าวิชยา | พ.ศ. 2559 | พ.ศ. 2560 | |
28 | ปัญญา หาญลำยวง | พ.ศ. 2560 | พ.ศ. 2562 | |
29 | สันติ ป่าหวาย | พ.ศ. 2562 | พ.ศ. 2563 | |
30 | นิวัตน์ ลิ้มสุขนิรันดร์ | พ.ศ. 2563 | พ.ศ. 2567 |
สถานที่ตั้ง
[แก้]ที่ทำการของกรมพลศึกษา ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับกรีฑาสถานแห่งชาติ ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
การแบ่งส่วนราชการ
[แก้]- สำนักงานเลขานุการกรม[11]
- สำนักการกีฬา
- สำนักนันทนาการ
- สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา
- สถาบันพัฒนาบุคลากรการพลศึกษา และการกีฬา
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
- กลุ่มคุ้มครองจริยธรรม
- ศูนย์ฝึกกรมพลศึกษา สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติฯ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๑๔, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2545 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 103ก 9 ตุลาคม 2545
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมพลศึกษา ในกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2485ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 26 เล่ม 59 15 เมษายน 2485
- ↑ พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2536ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 110 ตอนนที่ 189 17 พฤศจิกายน 2536
- ↑ “ครม.” เปลี่ยนชื่อสนง.พัฒนาการกีฬาฯเป็น “กรมพลศึกษา” พร้อมเปลี่ยนสนง.พัฒนาท่องเที่ยวเป็น “กรมการท่องเที่ยว”[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนชื่อสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ เป็นกรมพลศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓" (PDF). Royal Gazette. 127 (52 ก): 4. 2010-08-27.
- ↑ ประกาศ ตั้งอธิบดีกรมพลศึกษา
- ↑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้นายนาวาเอก หลวงศุภชลาลัย พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา และแต่งตั้งผู้รักษาการแทน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีกรมพลศึกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีกรมพลศึกษา
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/048/16.PDF