คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Engineering and Industrial Technology, Silpakorn University | |
สถาปนา | พ.ศ. 2534 |
---|---|
คณบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรุณศรี ลีจีรจำเนียร |
ที่อยู่ | คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000 |
วารสาร |
|
สี | สีแดงตัด[1] |
มาสคอต | พระคเณศ อยู่ตรงกลาง มีฟันเฟือง และ Electron อยู่บน Orbital |
เว็บไซต์ | www.eng.su.ac.th |
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Engineering and Industrial Technology, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 9 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2534
ประวัติ
[แก้]"คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม" (ชื่อเดิมคือ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม) ได้มีการจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมใน มหาวิทยาลัยศิลปากร ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2534 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 193 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534[2] และได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2539 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อสนองนโยบายของรัฐในการที่จะผลิตบุคลากรด้านเทคโนโลยี อันเป็นผลมาจากการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2530 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยได้มีนโยบายเปิดคณะวิชาใหม่ ที่คำนึงถึงความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน โดยสอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมของภูมิภาคตะวันตก จึงมีนโยบายจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมขึ้น ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม[3]
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีรุ่นแรก จำนวน 65 คน เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยแยกเข้าศึกษาใน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร และสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาละประมาณ 20 คน ปัจจุบันคณะฯ ได้เปิดสอนในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ สาขาวิชาวัสดุขั้นสูงและนาโนเทคโนโลยี สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาธุรกิจวิศวกรรม และสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร ในระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร และสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ในระดับปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน และสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
หน่วยงาน
[แก้]- สำนักงานคณบดี
- ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ
- ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร
- ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
- ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ
- ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
- ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
- ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- ศูนย์ความเป็นเลิศและนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี
หลักสูตร
[แก้]
หลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วศ.ด.)
|
ทำเนียบคณบดี
[แก้]รายนามคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม | ||
---|---|---|
ลำดับ | คณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
อาจารย์ ดร. อำนาจ สิทธัตตระกูล | คณบดีโครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 1 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 21 เมษายน พ.ศ. 2535[4] 22 เมษายน พ.ศ. 2535 – 21 เมษายน พ.ศ. 2539[5] 22 เมษายน พ.ศ. 2539 – 21 เมษายน พ.ศ. 2543[6] รักษาการในตำแหน่งคณบดี 22 เมษายน พ.ศ. 2543 – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543[7] | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิทยา หลิวเสรี | รักษาการในตำแหน่งคณบดี 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 – 11 มกราคม พ.ศ. 2544[8] รักษาการในตำแหน่งคณบดี 15 ตุลาคม พ.ศ. 2548 – 11 มกราคม พ.ศ. 2549[9] 12 มกราคม พ.ศ. 2549 – 11 มกราคม พ.ศ. 2553[10] | |
ศาสตราจารย์ ดร. ปิยะสาร ประเสริฐธรรม | 11 มกราคม พ.ศ. 2544 – 28 มกราคม พ.ศ. 2546[11] รักษาการในตำแหน่งคณบดี 29 มกราคม พ.ศ. 2546 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2546[12] | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปาน พิมพา | 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2548[13] | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เจษฎาวรรณ วิจิตรเวชการ | 12 มกราคม พ.ศ. 2553 – 11 มกราคม พ.ศ. 2557[14] | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปาเจรา พัฒนถาบุตร | 12 มกราคม พ.ศ. 2557 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 (ลาออก)[15] | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิติพงศ์ โสภณพงศ์พิพัฒน์ | รักษาการแทนคณบดี 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2561[16] | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรุณศรี ลีจีรจำเนียร | พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน |
- หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
- ↑ พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในมหาวิทยาลัยศิลปากร ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๔, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๙๓ ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยศิลปากร ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๔ เก็บถาวร 2022-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๗๖ ก หน้า ๓ ๖ กันยายน ๒๕๔๔
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 1099/2533 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2533
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 354/2535 ลงวันที่ 21 เมษายน 2535
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 236/2539 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2539
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 394/2543 ลงวันที่ 21 เมษายน 2543
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 1207/2543 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2543
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 1560/2548 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2548
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 33/2549 ลงวันที่ 11 มกราคม 2549
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 27/2544 ลงวันที่ 11 มกราคม 2544
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 150/2546 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 820/2546 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2546
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 1824/2552 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2552
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 2122/2556 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2556
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 1824/2552 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2552