ข้ามไปเนื้อหา

คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะมัณฑนศิลป์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University
สถาปนา18 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 (68 ปี)
คณบดีอาจารย์ ดร. ธนาทร เจียรกุล
ที่อยู่
คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เลขที่ 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000
วารสารวารสารวิชาการศิลปะและการออกแบบ
สี  สีเสน[1]
มาสคอต
ตราดอกจอก
เว็บไซต์decorate.su.ac.th

คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 4 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2499

ประวัติ

[แก้]

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 คณะมัณฑนศิลป์ ได้ถือกำเนิดขึ้น ด้วยดำริของ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี และดำเนินการเปิดสอนในสาขาวิชาศิลปตกแต่ง (Decorative Arts) ในปีการศึกษานั้น โดย ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ได้บัญญัติชื่อภาษาไทยว่า "คณะมัณฑนะศิลป์" แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2517 ได้มีการดำเนินการปรับแก้ให้ถูกต้องกับภาษาเขียนเป็น "คณะมัณฑนศิลป์" และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้จัดสร้างหลักสูตรสาขาวิชาศิลปตกแต่ง 4 ปี (อนุปริญญา 3 ปี ปริญญาตรี 4 ปี) มีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี รักษาการในตำแหน่งคณบดี และ หลวงวิเชียร แพทยาคม (อธิบดีกรม กรมศิลปากร ในเวลานั้น) รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (เทียบเท่าอธิการบดีมหาวิทยาลัย)

ระหว่าง พ.ศ. 2499–2516 คณะมัณฑนศิลป์ จัดการศึกษาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ สาขาวิชาศิลปตกแต่ง แต่ในเวลานั้น เรียกชื่อว่าสาขาวิชามัณฑนศิลป์ ตามชื่อคณะวิชา โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี และระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิอนุปริญญาศิลปบัณฑิต (มัณฑนศิลป์) หรือปริญญาศิลปบัณฑิต (มัณฑนศิลป์) ตามลำดับ

ต่อมาใน พ.ศ. 2517–2544 คณะฯ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างหลักสูตร เป็นการจัดการศึกษาเฉพาะระดับปริญญาตรี ไม่มีระดับอนุปริญญา พร้อมทั้งขยายสาขาวิชาเพิ่มขึ้น

ปัจจุบัน คณะมัณฑนศิลป์ เปิดสอนเพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี 7 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการออกแบบภายใน สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ และสาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย และเพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น คณะฯ ได้เปิดสอนระดับปริญญาโท 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ

หน่วยงาน

[แก้]
  • สำนักงานคณบดี
  • ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
  • ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์
  • ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
  • ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา
  • ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา
  • ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ
  • ภาควิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย

หลักสูตร

[แก้]
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.)

  • สาขาวิชาการออกแบบภายใน
  • สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
  • สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
  • สาขาวิชาประยุกต์ศิลปศึกษา
  • สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา
  • สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ
  • สาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย

หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)

  • สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ
  • สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
  • สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ
  • สาขาวิชาการออกแบบ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาการออกแบบ
  • สาขาวิชาศิลปะการออกแบบเชิงวัฒนธรรม

ทำเนียบคณบดี

[แก้]
รายพระนามและรายนามคณบดีคณะมัณฑนศิลป์
ลำดับ คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี พ.ศ. 2499 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2501
2
หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร 1 กันยายน พ.ศ. 2501 – 30 สิงหาคม พ.ศ. 2505[2]
3
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ 1 กันยายน พ.ศ. 2505 – 30 กันยายน พ.ศ. 2514
4
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์พูนสวาท กฤดากร รักษาราชการแทนคณบดี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2515[3]
รักษาราชการแทนคณบดี 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 – 12 เมษายน พ.ศ. 2519[4]
5
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เสริมศักดิ์ นาคบัว 13 เมษายน พ.ศ. 2519 – 12 เมษายน พ.ศ. 2523[5]
6
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอนก วีรเวชชพิสัย 13 เมษายน พ.ศ. 2523 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2525 (ลาออก)[6]
7
อาจารย์ พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา รักษาราชการแทนคณบดี 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 – 7 มกราคม พ.ศ. 2526[7]
8 มกราคม พ.ศ. 2530 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2531 (ลาออก)[8]
8
อาจารย์ จักร ศิริพานิช 8 มกราคม พ.ศ. 2526 – 7 มกราคม พ.ศ. 2530[9]
9
อาจารย์ นิรันดร์ ไกรฤกษ์ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536
10
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พงษ์ศักดิ์ อารยางกูร 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540[10]
5 มีนาคม พ.ศ. 2544 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2548[11]
รักษาราชการแทนคณบดี 5 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 9 มีนาคม พ.ศ. 2548[12]
11
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีระ ปาลเปรม 5 มีนาคม พ.ศ. 2540 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2544[13]
12
อาจารย์ วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน 110 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551[14]
รักษาการ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2551[15]
13
รองศาสตราจารย์ เอกชาติ จันอุไรรัตน์ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555[16]
14
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอกพงษ์ ตรีตรง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559[17]
15
อาจารย์ ดร. ธนาทร เจียรกุล 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน[18]
  • หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

ศิษย์เก่า

[แก้]

หอศิลปะและการออกแบบคณะมัณฑนศิลป์

[แก้]

หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ ปรับปรุงมาจากห้องปฏิบัติงานปั้น สิ่งทอ และวิชาพื้นฐานศิลปะของคณะ ดำเนินการโดยคณะกรรมการหอศิลปะและการออกแบบ แล้วเสร็จในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2540 โดยมีวัตถุประสงค์หลักดังนี้

  • จัดแสดงผลงานของอาจารย์ นักศึกษา คณะมัณฑนศิลป์
  • เป็นศูนย์รวมการแสดงผลงาน และแลกเปลี่ยนทางวิชาการศิลปะและการออกแบบ
  • เป็นศูนย์ข้อมูลทางศิลปะและการออกแบบ

เกร็ด

[แก้]
  • คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นคณะมัณฑนศิลป์แห่งเดียวในประเทศไทย
  • คณะมัณฑนศิลป์ เดิมสะกดชื่อคณะว่า "คณะมัณฑนะศิลป์"

อ้างอิง

[แก้]
  1. สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
  2. คำสั่ง มศก. ที่ 21/2501 ลงวันที่ 5 กันยายน 2501
  3. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 243/2514 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2514
  4. คำสั่งกองบัญชาการคณะปฏิวัติที่ 285/2515 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2515
  5. คำสั่ง มศก. ที่ 144 /2519 ลงวันที่ 21 เมษายน 2519
  6. คำสั่ง มศก. ที่ 253/2523 ลงวันที่ 14 เมษายน 2523
  7. รายงานการประชุมสภา มศก.ครั้งที่ 5/2525 วันที่ 27 ตุลาคม 2525
  8. คำสั่ง มศก.ที่ 1008/2529 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2529
  9. คำสั่ง มศก. ที่ 22/2526 ลงวันที่ 10 มกราคม 2526
  10. คำสั่ง มศก.ที่ 1174/2535 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2535
  11. คำสั่ง มศก.ที่ 23/2544 ลงวันที่ 11 มกราคม 2544
  12. คำสั่ง มศก.ที่ 301/2548 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2548
  13. คำสั่ง มศก.ที่ 213/2540 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2540
  14. คำสั่ง มศก.ที่ 319/2548 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2548
  15. คำสั่ง มศก. ที่ 12671/2551 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2551
  16. คำสั่ง มศก. ที่ 1731/2551 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2551
  17. คำสั่ง มศก.ที่ 1476/2555 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2555
  18. คำสั่ง มศก.ที่ 1354/2559 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2559

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]