มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Nakhon Pathom Rajabhat University | |
ชื่อเดิม | สถาบันราชภัฏนครปฐม |
---|---|
ชื่อย่อ | มรน. / NPRU |
คติพจน์ | การศึกษาสร้างคน คิดค้นภูมิปัญญา พัฒนาท้องถิ่น |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ |
|
งบประมาณ | 582,162,200 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | ศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย |
อธิการบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิรัตน์ ปิ่นแก้ว |
อาจารย์ | 478 คน (พ.ศ. 2567) |
บุคลากรทั้งหมด | 837 คน (พ.ศ. 2567) |
ผู้ศึกษา | 13,599 คน (พ.ศ. 2566)[2] |
ที่ตั้ง | 85 ถนนมาลัยแมน ตำบลนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000 |
เพลง | มาร์ชราชภัฏนครปฐม |
ต้นไม้ | เฟื่องฟ้า |
สี | ████ สีชมพู สีแดง |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (อังกฤษ: Nakhon Pathom Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เริ่มเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2479 ในนาม "โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม"
ประวัติ
[แก้]พ.ศ. 2479 เริ่มตั้งเป็น “โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม” โดยใช้ตึกหอทะเบียนมณฑลนครชัยศรี ซึ่งตั้งอยู่ ณ เลขที่ 86 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม รับเฉพาะนักเรียนหญิง เปิดสอนชั้นฝึกหัดครูประชาบาล
พ.ศ. 2511 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูนครปฐม
พ.ศ. 2513 เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนฝึกหัดครูนครปฐม เป็นวิทยาลัยครูนครปฐม เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2513 และเปิดสอน ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง)
พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวิทยาลัยครูว่า “สถาบันราชภัฏ” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535
พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยใน พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 พิมพ์ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 23 ก ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน เป็นต้นไป
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]พระราชลัญจกรประจำพระองค์ หมายถึง พระตราที่ใช้ประทับกำกับ พระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ในต้นเอกสารสำคัญ ส่วนพระองค์ที่ไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระที่นั่งอิฐทิศ ประกอบด้วยวงจักรกลางวงจักรมีอักขระเป็น อุ หรือเลข 9 รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบเหนือจักรเป็นรูปเศวตเจ็ดชั้น ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอิฐทิศ แปลความหมายว่า มีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน (โดยที่วันพระบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่ง อิฐทิศ สมาชิกรัฐสภา ถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปด นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ทรงรับน้ำอภิเษกจาก สมาชิกรัฐสภา แทนที่จะทรงรับจากราชบัณฑิตดังในรัชกาลก่อน)
- สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”
- สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 36 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
- สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
- สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 36 สถาบัน
- สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สีประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]สีประจำสถาบัน สีแดง-ชมพู
พระพุทธประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]พระพุทธศรีทวารวดีสิริราชภัฏ หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “หลวงพ่อประทานพร” เป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (สถาบันราชภัฏนครปฐมในขณะนั้น) ได้สร้างพระพุทธรูปจำลอง ที่มีต้นแบบมาจากพระพุทธศิลาขาวในพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ประดิษฐานอยู่ที่บริเวณด้านซ้ายของประตูทางเข้าหน้ามหาวิทยาลัย[3]
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]เฟื่องฟ้าถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสราวปี ค.ศ. 1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่างๆ ของโลก เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเซีย สำหรับในประเทศไทยมีการนำพันธุ์เฟื่องฟ้าเข้ามาจากสิงคโปร์ครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2423 ในสมัยรัชการที่ 5 และมีการนำเข้าจากต่างประเทศมากมายจนถึงปัจจุบันพันธุ์เฟื่องฟ้าในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่าต่างประเทศ เนื่องจากเฟื่องฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยแล้วยังเกิดการกลายพันธุ์เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมากมาย
การจัดการศึกษา
[แก้]มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีการจัดการศึกษา 7 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาครุศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์ สาขาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี และสาขาพยาบาลศาสตร์ การจัดการศึกษาจะเน้นทางทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ โดยจัดกิจกรรม การเรียนรู้ในรูปแบบของ Active Learning มุ่งให้นักศึกษาได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สามารถสร้างสรรค์และพัฒนางานของตนเองได้อย่างมีคุณภาพ นอกจากนั้นยังเสริมด้วยกิจกรรมอันหลากหลายที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาเป็นคนดี มีคุณธรรม
ปัจจุบัน มีหลักสูตรสำหรับนักศึกษาต่างประเทศ และมีนักศึกษาจีน นักศึกษาเวียดนาม จำนวนกว่า 200 คน
รายชื่อผู้บริหาร
[แก้]ลำดับ | ชื่อ | เริ่มต้น | สิ้นสุด |
---|---|---|---|
1 | นันทา บุญยะประภัสร | 2479 | ครึ่งปี |
2 | ลำยอง วิศาลดรุณกร | 2479 | 2481 |
(1) | นันทา บุญยะประภัสร | 2481 | 2497 |
3 | บุญจันทร์ วงศ์รักมิตร | 2497 | 2501 |
4 | พเยาว์ ศรีหงส์ | 2501 | 2508 |
5 | นิตยา วัฒนจินดา | 2508 | 2511 |
6 | นิเชต สุนทรพิทักษ์ | 2511 | 2514 |
(4) | พเยาว์ ศรีหงส์ | 2514 | 2515 |
7 | ดร.จรินทร์ ชาติรุ่ง | 2515 | 2523 |
8 | วิเชียร เมนะเศวต | 2523 | 2524 |
9 | นิทัศน์ เพียกขุนทต | 2524 | 2529 |
10 | ผศ ดร วรชัย เยาวปาณี | 2529 | 2531 |
11 | ผศ ดร ปรางศรี พณิชยกุล | 2531 | 2537 |
12 | เพ็ญรัตน์ วริรักษ์ | 2537 | 2542 |
13 | ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม | 2542 | 2546 |
14 | ผศ.ศุทธิณีย์ เถาทับนุ่ม | 2546 | 2547 |
15 | ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม | 2547 | 2552 |
16 | ผศ.สมเดช นิลพันธุ์ | 2552 | 2560 |
17 | ผศ.ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว | 2560 |
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]นักการเมือง
[แก้]- ไชยา สะสมทรัพย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณะสุข
- อนุชา สะสมทรัพย์ อดีตสมาชิกผู้แทนราษฎร เขต 4
- รัฐกร เจนกิจณรงค์ อดีตสมาชิกผู้แทนราษฎร เขต 2
- ชาญชัย ปทุมารักษ์ อดีตสมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม
ผู้นำทางศาสนา
[แก้]ศิลปินนักร้อง
[แก้]- ชินพรรธน์ ธันยวิโรจน์ (เด่นชัย สายสุพรรณ) นักร้องลูกทุ่ง
- สมบูรณ์ จุลมุสิก (ทศพล หิมพานต์) นักร้องลูกทุ่ง
นักกีฬา
[แก้]- สุนทรี รูปสูง นักกีฬาเซปักตะกร้อหญิงทีมชาติไทย
วาไรตี้
[แก้]- พชรพล แซ่อึ้ง (จากรายการแฟนพันธ์แท้สงครามโลกครั้งที่ 2)
- ศักรินทร์ คชชา Sakarin Kotcha (Big) - รองอันดับ 1 Mister Star Thailand 2019 และ2nd Runner Up Mr. Universal Ambassador 2019 (ตัวแทนประเทศไทย)
คณะ
[แก้]- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- คณะครุศาสตร์
- คณะวิทยาการจัดการ
- คณะพยาบาลศาสตร์
- คณะสหเวชศาสตร์(โครงการจัดตั้ง)
โรงเรียน
[แก้]ระบบสารสนเทศสำหรับบุคคลภายนอก
[แก้]เอกสาร/ตีพิมพ์
- ฐานข้อมูลงานวิจัย (NPRU - Online Journal And Research Databases) เก็บถาวร 2019-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (NPRU E-Book)
สารสนเทศที่น่าสนใจ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๓, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ 10 อันดับ ราชภัฏที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สถาบันไหนคนเรียนเยอะที่สุด
- ↑ https://www.npru.ac.th/symbol.php