เตช บุนนาค
เตช บุนนาค | |
---|---|
เลขาธิการสภากาชาดไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (3 ปี 188 วัน) | |
ก่อนหน้า | แผน วรรณเมธี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 – 4 กันยายน พ.ศ. 2551 (0 ปี 40 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | นพดล ปัทมะ |
ถัดไป | สาโรจน์ ชวนะวิรัช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | เพ็ญศรี บุนนาค |
เตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย กรรมการสภาลูกเสือไทย กรรมการมูลนิธิสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ อุปนายกกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย[1] อดีตเอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศสหรัฐอเมริกา ในสมัยของประธานาธิบดีบิล คลินตัน[2] ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551[3] หลังการลาออกของนายนพดล ปัทมะ เนื่องจากขณะนั้นนายเตช เป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ รับราชการอยู่ที่สำนักราชเลขาธิการ นายสมัคร สุนทรเวชจึงได้ไปขอพระราชทานนายเตชจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้มาดำรงตำแหน่งแทน[4][5] ในต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 มีรายงานว่านายเตชได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยให้เหตุผลว่าต้องไปดูแลภรรยาที่ป่วย[6]
หลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [7]
ประวัติ
[แก้]เตช บุนนาค หรือ ดร.เตช บุนนาค เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486[8] เป็นบุตรของนายตุล บุนนาค อดีตกรมวังผู้ใหญ่ สำนักพระราชวัง กับนางจันทร์แจ่ม บุนนาค (สกุลเดิม อินทุโสภณ) มีน้องชายชื่อ นายติ๋ว บุนนาค เป็นหลานปู่ของพระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค) (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ) กับคุณหญิง สน (สกุลเดิม แสง-ชูโต)[9][10] จบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย แล้วได้เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไทยไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จนจบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่วิทยาลัยมาลเวิร์น ประเทศอังกฤษ[11] ระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมและระดับปริญญาโทที่วิทยาลัยคิงส์ (King’s College) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ และระดับปริญญาเอกทางด้านประวัติศาสตร์ ที่วิทยาลัยเซ็นต์แอนโทนีส์ (St Antony’s College) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
การทำงาน
[แก้]ดร.เตช บุนนาค เริ่มรับราชการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ในตำแหน่งเลขานุการโท กรมสารนิเทศ และกรมการเมือง ต่อจากนั้นก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการกองนโยบายเศรษฐกิจและการคลัง สำนักงานอาเซียนแห่งประเทศไทย เป็นรองเลขาธิการสำนักงานอาเซียนแห่งประเทศไทย เป็นเอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ และรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
นอกจากนี้แล้วยังได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน, นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส, กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส, กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับตำแหน่งสูงสุดในกระทรวงการต่างประเทศ คือ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ จากนั้นจึงได้โอนมารับตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ ระดับ 11 จนเกษียณอายุราชการ
ในปี พ.ศ. 2551 หลังการลาออกของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายเตช บุนนาคได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแทน แต่อย่างไรก็ตามนายเตช บุนนาคก็ได้ลาออกจากตำแหน่งหลังจากทำงานได้เพียงเดือนเศษเท่านั้น และไม่ได้รับโปรดเกล้าฯให้กลับเข้าไปรับราชการที่สำนักราชเลขาธิการอีก
นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งสำคัญทางวิชาการหลายสาขา อาทิเช่น
- ประธานคณะกรรมการอำนวยการสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
- ประธานคณะกรรมาธิการว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา
- ประธานคณะกรรมการสมาคมวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา
- ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะมนตรีสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง
- เลขาธิการสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ
- ที่ปรึกษาสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
- กรรมการบริหารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร[12]
ในปี 2564 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเลขาธิการสภากาชาดไทย แทน แผน วรรณเมธี[13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[14]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[15]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[16]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 2 ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ (ท.ภ.)[17]
- พ.ศ. 2537 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[18]
- พ.ศ. 2547 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- บริเตนใหญ่ :
- พ.ศ. 2515 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียนเชน
- โบลิเวีย :
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แร้งแห่งเทือกเขาแอนดีส ชั้นที่ 3[19]
- รัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา :
- พ.ศ. 2535 – เครื่องอิสริยาภรณ์โปรเมอริโต เมลิเตนซี ชั้นที่ 2 (พลเรือน)[20]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2543 – เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติฝรั่งเศส ชั้นที่ 2[21]
- บรูไน :
- พ.ศ. 2545 – เครื่องอิสริยาภรณ์เสรี ปาดูกา มาห์โกตาบรูไน ชั้นที่ 3[22]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นประถมาภรณ์[23]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นอัศวินมหากางเขน[24]
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 2[25]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]- เตชเคยสมรสกับนางเจน แบรมลี่ ชาวอังกฤษ มีบุตรีชื่อ จารุ บุนนาค[9] ปัจจุบันสมรสกับเพ็ญศรี (สกุลเดิม อมาตยกุล) มีบุตรีชื่อ ดร. ยาใจ บุนนาค นักการฑูตชำนาญการ กรมสารนิเทศ[9]
สาแหรก
[แก้]พงศาวลีของเตช บุนนาค | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2547/D/105/078.PDF
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-15. สืบค้นเมื่อ 2008-07-26.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (นายเตช บุนนาค)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์พ้นจากตำแหน่ง, 8 สิงหาคม 2551
- ↑ กรุงเทพธุรกิจ, เปิดใจ'เตช'รมต.พระราชทาน ก่อนลาออก เก็บถาวร 2021-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 4 กันยายน 2551
- ↑ Reuters, Reports say Thai foreign minister quits เก็บถาวร 2008-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 3 กันยายน 2551
- ↑ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ![ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-29. สืบค้นเมื่อ 2008-07-27.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 2008-07-28.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-07-28.
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-06. สืบค้นเมื่อ 2008-07-27.
- ↑ โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง 'เตช บุนนาค' เป็นเลขาฯสภากาชาดไทย มีผล 1 พ.ค.64
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๓๔๕, ๒๖ เมษายน ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๙๑ ง หน้า ๓๘๒๔, ๖ มิถุนายน ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๗ ง หน้า ๔๙๗๐, ๓๐ เมษายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๑๓ หน้า ๓, ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แก้คำผิด ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๙, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖, ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓, ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗
- ↑ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย, พิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2558, วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สัมภาษณ์พิเศษ เตช บุนนาค สำเนาจาก มติชน 15 กันยายน 2551
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2486
- นักการทูตชาวไทย
- สกุลบุนนาค
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
- ชาวไทยเชื้อสายเปอร์เซีย
- ชาวไทยเชื้อสายมอญ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลผู้ได้รับรางวัลครุฑทองคำ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
- ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไทย