ข้ามไปเนื้อหา

สงวน จูฑะเตมีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงวน จูฑะเตมีย์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ชั่วคราว)
ดำรงตำแหน่ง
9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2489
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์
ก่อนหน้าปรีดี พนมยงค์
ถัดไปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร
พระยามานวราชเสวี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์
ก่อนหน้าหลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)
ถัดไปทองอินทร์ ภูริพัฒน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
13 เมษายน พ.ศ. 2482 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2485
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าขุนสมาหารหิตะคดี
ถัดไปกาจ กาจสงคราม
อธิบดีกรมสรรพสามิต
ดำรงตำแหน่ง
10 เมษายน พ.ศ. 2477 – 1 เมษายน พ.ศ. 2483
ก่อนหน้าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย
ถัดไปหลวงอรรถสารประสิทธิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 เมษายน พ.ศ. 2427
เสียชีวิต15 ตุลาคม พ.ศ. 2523 (96 ปี)[1]

สงวน จูฑะเตมีย์ หรือ เสวกตรี นายหมวดโท หลวงนฤเบศร์มานิต ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[2] (เกิด 10 เมษายน 2427 - 15 ตุลาคม 2523)[3][4] เป็นสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน และเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวง ถึง 5 สมัย ตั้งแต่ คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 4 - 9 โดยมีนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และอดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต[5][6]

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตการทำงาน

[แก้]

หลวงนฤเบศร์มานิต (สงวน จูฑะเตมีย์) เป็นสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน และเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวง ถึง 5 สมัย ในรัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2482[7] และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์[8]

นอกจากนี้ก่อนหน้าที่จะเข้าสู่วงการทางการเมือง หลวงนฤเบศร์มานิตเคยเป็นคุณครูสอน โรงเรียนราชวิทยาลัย ซึ่งภายหลังชื่อโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยรับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนนฤเบศร์มานิต ถือศักดินา ๓๐๐ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2458[9] ได้รับพระราชทานยศเป็นรองหุ้มแพร เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2459[10] และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงนฤเบศร์มานิต ถือศักดินา ๔๐๐ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462[11] โดยได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2463[12]

บั้นปลายชีวิต

[แก้]

ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2523 สงวน จูฑะเตมีย์ (หลวงนฤเบศร์มานิต) ถูกศาลแพ่ง สั่งให้เป็นบุคคลซึ่งไร้ความสามารถ อันเนื่องมาจากป่วยเป็นอัมพาต นัยน์ตามองไม่เห็น พูดจาไม่รู้เรื่อง ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ โดยบรรจง จูฑะเตมีย์เป็นผู้อนุบาล[13]

ยศและตำแหน่ง

[แก้]
  • 15 มิถุนายน 2459 – รองหุ้มแพร
  • 4 มีนาคม 2461 – นายหมวดโท[14]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หลวงนฤเบศร์มานิต - สถาบันพระปกเกล้า
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
  3. ประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง ให้หลวงนฤเบศร์มานิต พ้นจากตำแหน่ง
  4. พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการฝ่ายพลเรือน มาตรา 10
  5. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ตั้งอธิบดีกรมสรรพสามิต, เล่ม 51, ตอน ง, 22 เมษายน พ.ศ. 2477, หน้า 207
  6. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้หลวงนฤเบศร์มานิต พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิตต์ เพราะอายุครบเกษียณ , เล่ม 57, ตอน ง, 11 มิถุนายน พ.ศ. 2483, หน้า 729
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และกระทรวงการคลัง (นายพันเอก หลวงพรหมโยธี และหลวงนฤเบศร์มานิต)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
  9. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  10. พระราชทานยศ
  11. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๒๑๒)
  12. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  13. ประกาศศาลแพ่ง เรื่องให้นายสงวน จูฑะเตมีย์ เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
  14. พระราชทานยศเสือป่า
  15. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  16. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า 3492)
  17. พระราชทานเหรียญราชรุจิ