ฉลอง ปึงตระกูล
ฉลอง ปึงตระกูล | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 มกราคม พ.ศ. 2463 |
เสียชีวิต | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 |
คู่สมรส | คุณหญิง ศศิวงศ์ ปึงตระกูล |
ฉลอง ปึงตระกูล เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นอดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเป็นผู้นำการจัดทำแผนพัฒนาประเทศฉบับแรกของไทย[1]
ประวัติ
[แก้]ฉลอง ปึงตระกูล เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2463 สำเร็การศึกษาจากโรงเรียนวัดราชบพิธ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทด้านภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยลาวาส ประเทศแคนาดา ด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน
การทำงาน
[แก้]ฉลอง ปึงตระกูล เป็นข้าราชการพลเรือนเริ่มรับราชการที่กองส่งเสริมการสหกรณ์ กระทรวงเกษตร ต่อมาโอนย้ายมาอยู่สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ (สภาพัฒน์ ในปัจจุบัน) เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2500[2] ถึงปี พ.ศ. 2506 และนับได้ว่าเป็นผู้นำการจัดทำแผนพัฒนาประเทศฉบับแรกของไทย จากการจัดทำแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2504[3] เป็นที่ปรึกษากระทรวงการคลัง พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2507 จากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นทึ่ปรึกษาสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ประจำกรุงวอชิงตัน และรองผู้อำนวยการสายเอเซีย ประจำธนาคารโลก
ต่อมาเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ระหว่างปี พ.ศ. 2510 ถึงปี พ.ศ. 2514[4] จากนั้นได้เข้าทำงานเป็นรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในยุคของพิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ เป็นผู้ว่าการฯ[5] และลาออกในปี พ.ศ. 2518
ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ฉลองได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และในปีต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[6]
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]ฉลอง เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2558 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสราชวรวิหาร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2512 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ฉลอง ปึงตระกูล ผู้นำการจัดทำแผนพัฒนาประเทศฉบับแรกของไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2558
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
- ↑ สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ, แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ, กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2503.
- ↑ รายนามอดีตผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๘๔๒, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2463
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2558
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนวัดราชบพิธ
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.