จำรัส จตุรภัทร
จำรัส จตุรภัทร | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 มิถุนายน พ.ศ. 2456 |
เสียชีวิต | 17 เมษายน พ.ศ. 2527 (70 ปี) |
จำรัส จตุรภัทร เป็นนักการธนาคารชาวไทย เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของไทย ในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดีตผู้บริหารคนสุดท้ายของธนาคารเกษตร[1] อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย และอดีตประธานสมาคมธนาคารไทย
ประวัติ
[แก้]จำรัส จตุรภัทร จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
จำรัส จตุรภัทร เป็นนักการธนาคาร เคยผ่านทำงานธุรกิจหลายด้าน ก่อนที่จะเข้าไปเป็นกลุ่มผู้บุกเบิกก่อตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยในยุคที่ยังใช้ชื่อว่า "สำนักงานธนาคารชาติ" เคยทำงานในฝ่ายการธนาคารและฝ่ายการธนาคารต่างประเทศ[2] ต่อมาได้มาดำรงตำแหน่งผู้บริหารธนาคารเกษตร ซึ่งเป็นธนาคารรัฐวิสาหกิจ และเป็นผู้บริหารคนสุดท้ายก่อนจะควบรวมเข้ากับธนาคารมณฑล เป็นธนาคารกรุงไทย ในปี พ.ศ. 2509 และทำหน้าที่กรรมการผู้จัดการใหญ่[3] จนถึงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2518[2] และเป็นประธานสมาคมธนาคารไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2512 - 2513[4][5]
จำรัส ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2518[6]
จำรัส จตุรภัทร ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในการปรับคณะรัฐมนตรีหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ[7] เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[8] แต่หลังจากนั้นในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ของปีเดียวกัน นายกรัฐมนตรีได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ วิกฤติการณ์การเงินและเศรษฐกิจการเงินไทย ภาคที่ 6 สถาบันการเงินของรัฐ
- ↑ 2.0 2.1 ทุบทิ้งกรุงไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ "หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๖๐๘/๒๑๓๒ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๐๙" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-03-02. สืบค้นเมื่อ 2020-03-26.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-03-01. สืบค้นเมื่อ 2020-03-26.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-03. สืบค้นเมื่อ 2020-03-26.
- ↑ มติคณะรัฐมนตรี 25 มกราคม 2518
- ↑ การเมืองตำนานการเมือง พล.อ.เกรียงศักดิ์ เป็นนายกฯ คนนอกได้เพราะเสียง ส.ว.[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)