ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
อธิบดีศาลฎีกา
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2455 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2461
ก่อนหน้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ
ถัดไปเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2435 – 2437
ถัดไปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
ประสูติ22 ธันวาคม พ.ศ. 2408
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 (69 ปี)
เกาะปีนัง สเตรตส์เซตเทิลเมนต์
ภรรยาหม่อมพระราชทาน
หม่อมราชวงศ์เสงี่ยม สวัสดิวัตน์
พระชายา
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี
ชายา
หม่อมเจ้าฉวีวิลัย สวัสดิวัตน์
หม่อม
หม่อมลมุล สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
หม่อมหุ่น สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
หม่อมศรี สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
หม่อมสุดใจ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
หม่อมเร่ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
หม่อมลัภ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
หม่อมพงษ์ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
พระบุตร48 พระองค์
ราชสกุลสวัสดิวัตน์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
ลายพระอภิไธย

มหาอำมาตย์เอก พลตรี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (22 ธันวาคม พ.ศ. 2408 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ร่วมพระชนนีกับสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระราชบิดาในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นพระองค์แรก นอกจากนี้ยังทรงเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาในระหว่าง พ.ศ. 2455-2461 ทรงเป็นต้นราชสกุลสวัสดิวัตน์[1]

พระประวัติ

[แก้]
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เมื่อครั้งทรงพระเยาว์

ประสูติ

[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 60 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 5 ค่ำ ปีฉลูสัปตศก จ.ศ. 1227 ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2408 เมื่อแรกประสูติพระองค์มีพระอิสริยยศที่ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานคาถาพระราชทานพระนามเป็นภาษามคธ ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ได้แปลไว้ว่า[2]

"กุมารน้อยของเรานี้ จงมีชื่อว่า สวัสดิโสภณ ขอบุตรของเราผู้เกิดแต่เปี่ยมผู้มารดา จงบรรลุความเจริญฯ ขอบุตรนี้จงมีอายุยืน ไม่มีอุปัทวทุกข มั่งคั่ง มีโภคสมบัติ มีทรัพย์มาก มีความสุข เป็นเสรีภาพ มีอำนาจโดยลำพังตัว ขอพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์นี้ และเทพเจ้าเป็นต้นผู้รักษารัฐมณฑล จงอภิบาลกุมารน้อยของเรานั้น ในกาลทุกเมื่อ ขอบุตรของเรานั้น พึงเป็นผู้มีเดช มีกำลังมาก มีฤทธานุภาพใหญ่ มีปัญญา และปรีชาในประโยชน์อย่างใด พึงรักษาตระกูลให้สำเร็จประโยชน์อย่างนั้น เทอญ "

พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์สุดท้ายที่ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา โดยมีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดา ได้แก่

  1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย
  2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
  3. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
  4. สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
  5. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ผนวช

[แก้]

วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (สา ปุสฺสเทโว) เป็นพระศีลาจารย์ และพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ถึงวันที่ 11 กรกฎาคม ศกนั้น จึงทรงย้ายไปประทับ ณ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร[3] แล้วลาผนวชในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2432[4]

การศึกษา

[แก้]

พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ ทรงเป็นเจ้านายไทยพระองค์แรก ๆ ที่ได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ทรงศึกษากฎหมายจากเบลเลียลคอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด

รับราชการ

[แก้]

เสด็จกลับมาดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมพระองค์แรกตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435[5] ทรงปรับปรุงกิจการศาลแบบเก่า ถึงปี พ.ศ. 2437 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปราชการในยุโรป[6]เพื่อถวายอภิบาลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (รัชกาลที่ 6) ที่เสด็จไปศึกษา ณ สหราชอาณาจักรและในยุโรป ตลอดจนปฏิบัติราชการทางการทูตในยุโรปนานถึง 4 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2436 - 2440 นับว่ามีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นช่วงระยะเวลาเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2466 ทรงรับตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาพระองค์ที่ 3 ระหว่างวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2455 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2461

ในปี พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณในตำแหน่งนายกสภากรรมการร่างประมวลกฎหมาย และให้ทรงเป็นที่ปรึกษาพิเศษในการร่างพระราชบัญญัติ

เมื่อ พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสวัสดิวัดนวิศิษฎ์[7]

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนกรมขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เมื่อ พ.ศ. 2456[8] และทรงได้รับการโปรดเกล้าให้เลื่อนกรมเป็นกรมพระอีกครั้งในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ สยามมิศรราชมาตุลาธิบดี ศรีพัชรินทรโสรานุชาร์ย มานวธรรมศาสดรวิธาน นิรุกติปรติภานพิทยโกศล โศภนมิตรสุจริตอาร์ชวาศัย ศรีรัตนไตรยสรณาภิรัต ชเนตภูมิปะภัทปิยมานมนุญ สุนทรธรรมย์บพิตร์" ทรงศักดินา 15000[9] เนื่องด้วย พระองค์เป็นพระมาตุลา (น้า) อยู่แต่พระองค์เดียว สมควรจะยกย่องพระอิศริยยศให้ยิ่งขึ้น สนองพระคุณูปการ และความจงรักภักดีซึ่งได้มีมาแต่หนหลัง

ทรงฉลองพระองค์อย่างเทศ พระอิสริยยศ สมเด็จกรมพระ

ต่อมาในพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2468 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2469) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระเกียรติยศขึ้นเป็น " สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ฯ " เนื่องด้วยทรงมีอุปการคุณต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานเป็นพระมาตุลาธิบดี (น้า) อยู่แต่พระองค์เดียว[10]

สิ้นพระชนม์

[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ สิ้นพระชนม์ใน ณ เกาะปีนัง เมื่อเวลา 4 นาฬิกา วันอังคาร เดือนอ้าย ขึ้น 15 ค่ำ ปีกุน สัปตศก จ.ศ. 1297 ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 พระชันษาได้ 70 ปี หลังจากทรงพระประชวรเนื่องจากตกรถยนต์เมื่อเสด็จเมืองอิโปห์ และ มีอาการ เจ็บพระนาภี และ เส้นพระโลหิตในพระเศียรแตก[11] พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดปาตูลันจัง (วัดปิ่นบังอร) วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2478 เวลา 17:00 น. และ ได้ส่งพระอัฐิกลับกรุงเทพทางรถไฟ เพื่อประดิษฐาน ณ วัดราชาธิวาส เมื่อวันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2478

พระโอรส-ธิดา

[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลสวัสดิวัตน์ มีพระชายาและหม่อม รวม 10 ท่าน ได้แก่

  1. หม่อมลมุล (สกุลเดิม พิศลยบุตร) ธิดาพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) กับ ปราง สมบัติศิริ (ทั้ง 3 เป็นพี่น้องกัน โดยหม่อมลมุลเป็นพี่สาวของหม่อมหุ่นและหม่อมศรีตามลำดับ)
  2. หม่อมหุ่น (สกุลเดิม พิศลยบุตร) ธิดาพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร)
  3. หม่อมศรี (สกุลเดิม พิศลยบุตร) ธิดาพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร)[12]
  4. หม่อมราชวงศ์เสงี่ยม ท.จ. (พ.ศ. 2443) (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์) หม่อมห้ามพระราชทาน ธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ กับหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศศิสมิต) [13]
  5. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี ป.จ. (พ.ศ. 2472) (พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงอาภาพรรณี คัคณางค์) พระชายา พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร กับหม่อมสุ่น คัคณางค์ ณ อยุธยา
  6. หม่อมสุดใจ
  7. หม่อมเจ้าฉวีวิลัย (ราชสกุลเดิม คัคณางค์) ชายา พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร กับหม่อมสุ่น คัคณางค์ ณ อยุธยา
  8. หม่อมเร่ (สกุลเดิม บุนนาค) ธิดาขุนอนุมานพลนิกร (พลอย บุนนาค) กับทรัพย์ (สกุลเดิม สิทธิโรจน์)
  9. หม่อมลัภ (สกุลเดิม บุนนาค) ธิดาขุนอนุมานพลนิกร (พลอย บุนนาค) กับทรัพย์ (สกุลเดิม สิทธิโรจน์)
  10. หม่อมพงษ์ (สกุลเดิม บุณยรัตพันธุ์) ธิดาร้อยโท สามชัย บุณยรัตพันธุ์

โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 48 องค์ เป็นชาย 22 องค์ และหญิง 26 องค์

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
1. หม่อมเจ้าพิไชยสิทธิสวัสดิ์ ที่ 1 ในหม่อมศรี 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2431 12 มีนาคม พ.ศ. 2433
2. หม่อมเจ้าหญิงทัศนีนงลักษณ์ ที่ 1 ในหม่อมลมุล 26 มีนาคม พ.ศ. 2432 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2444
3. หม่อมเจ้าหญิงพนัสนิคม (แฝด) ที่ 2 ในหม่อมศรี 30 สิงหาคม พ.ศ. 2434 ในวันประสูติ
4. หม่อมเจ้าหญิงพนมสารคาม (แฝด) ที่ 3 ในหม่อมศรี 30 สิงหาคม พ.ศ. 2434 ในวันประสูติ
5. หม่อมเจ้าหญิงพิมพ์พักตร์ภาณี ที่ 2 ในหม่อมลมุล 22 สิงหาคม พ.ศ. 2435 22 ธันวาคม พ.ศ. 2477
6. หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ ที่ 3 ในหม่อมลมุล 11 ธันวาคม พ.ศ. 2441 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 หม่อมเจริญ (เศวตะทัต)
หม่อมโฉมฉาย (เสมรบุณย์)
7. หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ หม่อมหุ่น 5 เมษายน พ.ศ. 2442 26 ธันวาคม พ.ศ. 2531 หม่อมราชวงศ์หญิงเครือศรี (โศภางค์)
8. หม่อมเจ้าหญิงนงลักษณ์ทัศนีย์ ที่ 4 ในหม่อมลมุล 5 เมษายน พ.ศ. 2443 31 มีนาคม พ.ศ. 2482 หม่อมเจ้าลายฉลุทอง ทองใหญ่
9. หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท ที่ 1 ในหม่อมราชวงศ์หญิงเสงี่ยม 23 สิงหาคม พ.ศ. 2443 22 เมษายน พ.ศ. 2510 หม่อมเสมอ (สิงหเสนี)
10. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่มีพระนาม) ที่ 2 ในหม่อมราชวงศ์หญิงเสงี่ยม 22 กันยายน พ.ศ. 2444 มิถุนายน พ.ศ. 2445
11. หม่อมเจ้าเสรีสวัสดิกมล ที่ 1 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 6 กันยายน พ.ศ. 2445 7 มีนาคม พ.ศ. 2454
12. หม่อมเจ้าโสภณภราไดย ที่ 2 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 8 มกราคม พ.ศ. 2446 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงมยุรฉัตร
หม่อมแตงนวล (ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา)
หม่อมประเทือง
13. หม่อมเจ้าหญิง (สุด) ที่ 3 ในหม่อมราชวงศ์หญิงเสงี่ยม 22 มกราคม พ.ศ. 2446 กรกฎาคม พ.ศ. 2447
14. หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี

(พ.ศ. 2468: สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี)

ที่ 3 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 20 ธันวาคม พ.ศ. 2447 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
15. หม่อมเจ้าหญิง (ใหม่) ที่ 4 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448 17 มีนาคม พ.ศ. 2448
16. หม่อมเจ้าสวัสดีประดิษฐ์ หม่อมสุดใจ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 2 สิงหาคม พ.ศ. 2519 หม่อมเจ้าหญิงดวงตา (จักรพันธุ์)
หม่อมสอิ้ง
หม่อมฉลวย (วิถียุธ)
17. หม่อมเจ้าหญิง (แดง) ที่ 5 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 25 เมษายน พ.ศ. 2450 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2450
18. หม่อมเจ้าพีรยศยุคล ที่ 1 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 16 มกราคม พ.ศ. 2450 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 หม่อมเอสเตอร์
19. หม่อมเจ้านนทิยาวัด ที่ 6 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 25 เมษายน พ.ศ. 2452 18 ตุลาคม พ.ศ. 2501 หม่อมเจ้าหญิงสุวภาพเพราพรรณ (วุฒิชัย)
20. หม่อมเจ้าหญิงรัสสาทิศ ที่ 2 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 23 สิงหาคม พ.ศ. 2539 หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร
21. หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ ที่ 7 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 15 มกราคม พ.ศ. 2453 26 คุลาคม พ.ศ. 2512 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงจันทรกานตมณี
22. หม่อมเจ้าหญิงผุสสดีวิลาส ที่ 3 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 8 สิงหาคม พ.ศ. 2500
23. หม่อมเจ้าหญิงศกุนตลา

(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์)

ที่ 1 ในหม่อมเร่ 29 กันยายน พ.ศ. 2454 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 ราศี ปัทมะศังข์
24. หม่อมเจ้าหญิงผ่องผัสมณี ที่ 4 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 2 ตุลาคม พ.ศ. 2455 26 มีนาคม พ.ศ. 2526 หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์
25. หม่อมเจ้ากอกษัตริย์ ที่ 5 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 27 มกราคม พ.ศ. 2456 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 หม่อมเนลลี่ (วอง)
26. หม่อมเจ้า (บุญ) 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456
27. หม่อมเจ้าหญิงอุษารดี ที่ 2 ในหม่อมเร่ 12 เมษายน พ.ศ. 2457 8 มีนาคม พ.ศ. 2550
28. หม่อมเจ้าหญิงผ่องศรีวิลัย

(พระนามเดิม: เหมวิลัย)

ที่ 6 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 23 เมษายน พ.ศ. 2458 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
29. หม่อมเจ้าหญิงรอดรมาภัฎ ที่ 8 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458 4 สิงหาคม พ.ศ. 2460
30. หม่อมเจ้าลอลิไตย ที่ 7 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 16 เมษายน พ.ศ. 2459 พ.ศ. 2461
31. หม่อมเจ้าหญิงสุลัภวัลเลง หม่อมลัภ 7 กันยายน พ.ศ. 2459 17 กันยายน พ.ศ. 2540 หม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ
32. หม่อมเจ้าหญิงสุเลสลัลเวง

(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์)

ที่ 3 ในหม่อมเร่ 14 พฤศิกายน พ.ศ. 2459 14 เมษายน พ.ศ. 2542 ประพันธ์ สิริกาญจน
33. หม่อมเจ้าหญิง (เล็ก) มีนาคม พ.ศ. 2459 4 สิงหาคม พ.ศ. 2460
34. หม่อมเจ้ายุธิษเฐียร ที่ 9 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอาภาพรรณี 9 มีนาคม พ.ศ. 2460 24 กันยายน พ.ศ. 2528 หม่อมราชวงศ์หญิงภัทราตรีทศ (เทวกุล)
35. หม่อมเจ้าหญิงสีดาดำรวง ที่ 8 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 2 สิงหาคม พ.ศ. 2461 25 สิงหาคม พ.ศ. 2533 หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล
36. หม่อมเจ้าหญิงอมิตดา

(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์)

ที่ 4 ในหม่อมเร่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 11 กันยายน พ.ศ. 2542 นายแพทย์สภร ธรรมารักษ์
37. หม่อมเจ้าหญิงมัทรีโสภนา

(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์)

ที่ 9 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 11 ธันวาคม พ.ศ. 2462 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ฟื้น ดุลยจินดา
38. หม่อมเจ้าณางค์กูลสวัสดิ์ ที่ 10 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 12 มีนาคม พ.ศ. 2463 12 กันยายน พ.ศ. 2507
39. หม่อมเจ้าหญิงมโนหรา ที่ 5 ในหม่อมเร่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2464 6 กันยายน พ.ศ. 2526
40. หม่อมเจ้าหญิงวิสาขานุจฉวี

(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์)

ที่ 11 ในหม่อมเจ้าหญิงฉวีวิลัย 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ณ ประเทศญี่ปุ่น โบชูกุ อุตากาวา
41. หม่อมเจ้าอำนอร์สวัสดิ์ ที่ 6 ในหม่อมเร่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2466 7 มีนาคม พ.ศ. 2529 หม่อมฉลวย (เอกรัตน์)
42. หม่อมเจ้าบุญทัดสวัสดี ที่ 7 ในหม่อมเร่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2468 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 หม่อมจารุวัลย์ (ศัตรวาหา)
43. หม่อมเจ้านรรยราช ที่ 8 ในหม่อมเร่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 หม่อมแสงทอง (ดิศวนนท์)
44. หม่อมเจ้าปุสาณ ที่ 9 ในหม่อมเร่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2472 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567 (94 ปี) หม่อมนวลศรี (วีรบุตร)
45. หม่อมเจ้าพันฑูรย์ ที่ 1 ในหม่อมพงษ์ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 16 เมษายน พ.ศ. 2545
46. หม่อมเจ้าภากูล ที่ 2 ในหม่อมพงษ์ 1 กันยายน พ.ศ. 2474 31 ตุลาคม พ.ศ. 2499 หม่อมประชุมสินธุ์ (พันธ์พัฒน์)
47. หม่อมเจ้าหญิงเมรี ที่ 10 ในหม่อมเร่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 9 ตุลาคม พ.ศ. 2561
48. หม่อมเจ้า (โต) ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี

พระนัดดา

[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ มีพระนัดดารวม 69 คน ดังนี้

  • หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ สวัสดิวัตน์ มีโอรสธิดา 6 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์อุฑฑินวิศิษฎ์ สวัสดิวัตน์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงโพยมศรี สุขุม
    • หม่อมราชวงศ์หญิงนภาศรี บุรณศิริ
    • ท่านผู้หญิงนภกานต์ สุวรรณจินดา
    • หม่อมราชวงศ์หญิงวิมลโพยม อนิรุทธเทวา
    • หม่อมราชวงศ์หญิงปรียางค์ศรี วัฒนคุณ
  • หม่อมเจ้าหญิงนงลักษณ์ทัศนีย์ ทองใหญ่ มีโอรส 3 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์ (ไม่มีนาม) ทองใหญ่
    • หม่อมราชวงศ์ทองใหญ่ ทองใหญ่
    • หม่อมราชวงศ์ทองน้อย ทองใหญ่
  • หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ มีธิดา 4 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงปิ่มสาย อัมระนันทน์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสายสวัสดี สวัสดิวัตน์ ทอมสัน
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสมานสนิท กาญจนะวณิชย์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสายสิงห์ ศิริบุตร
  • หม่อมเจ้าโสภณภราไดย สวัสดิวัตน์ มีโอรสธิดา 8 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์พรรธณภณ สวัสดิวัตน์ (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์ฉัตรโสภณ)
    • หม่อมราชวงศ์เดชธาร สวัสดิวัตน์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงวรรณโสภา หวังแก้ว
    • หม่อมราชวงศ์หญิงปรียาภา เดนท์
    • หม่อมราชวงศ์เกียรติโสภณ สวัสดิวัตน์
    • หม่อมราชวงศ์ลาภโสภณ สวัสดิวัตน์
    • หม่อมราชวงศ์กุลโสภณ สวัสดิวัตน์
    • หม่อมราชวงศ์มิตรโสภณ สวัสดิวัตน์
  • หม่อมเจ้าสวัสดีประดิษฐ์ สวัสดิวัตน์ มีโอรสธิดา 5 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงปณิตา ฮอลล์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงนยนา กุญชร
    • หม่อมราชวงศ์ประภัสสร สวัสดิวัตน์ (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์ศัสติประดิษฐ์)
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสุจิตรา เฟลส์
    • หม่อมราชวงศ์วิทัศดีประดิษฐ์ สวัสดิวัตน์
  • หม่อมเจ้าหญิงรัสสาทิศ กฤดากร มีโอรส 1 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์สาทิส กฤดากร
  • ศกุนตลา ปัทมะศังข์ มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
    • รังสิมันต์ ปัทมะศังข์
    • คุณหญิงรังสิมา หวั่งหลี
    • เกวลี จำรัสโรมรัน
  • หม่อมเจ้ากอกษัตริย์ สวัสดิวัตน์ มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงวงศ์ฉวี Heng
    • หม่อมราชวงศ์หญิงพาณีนาถ Yang
    • หม่อมราชวงศ์ภาสมานพ สวัสดิวัตน์
  • หม่อมเจ้าหญิงสุลัภวัลเลง วิสุทธิ มีโอรส 3 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์เกษมวิสุทธิ์ วิสุทธิ
    • หม่อมราชวงศ์สุทธิสวัสดิ์ วิสุทธิ
    • หม่อมราชวงศ์โสรัจจ์ วิสุทธิ
  • สุเลสลัลเวง สิริกาญจน มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
    • ประภัสสร เศรษฐบุตร
    • สิริพันธ์ สิริกาญจน
    • ประไพศิริ สิริกาญจน
  • หม่อมเจ้าหญิงสีดาดำรวง ชุมพล มีโอรส 2 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์ศักดิสาณ ชุมพล
    • หม่อมราชวงศ์พฤทธิสาณ ชุมพล
  • มัทรีโสภนา ดุลยจินดา มีโอรสธิดา 2 คน ได้แก่
    • ฉวีพันธุ์ ฮันตระกูล
    • เกรียงศักดิ์ ดุลยจินดา
  • วิสาขานุจฉวี อุตากาวา มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
    • Ann Hunziker
    • Jims Utagawa
    • Steven Utagawa
  • หม่อมเจ้าอำนอร์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ มีโอรสธิดา 2 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์พันธุ์เทพสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงจิตติพัณณา สวัสดิวัตน์
  • หม่อมเจ้าบุญทัดสวัสดี สวัสดิวัตน์ มีธิดา 2 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสิริวัลย์ เกษมสันต์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงวัลย์วาณี สวัสดิวัตน์
  • หม่อมเจ้านรรยราช สวัสดิวัตน์ มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์ประเดิมสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงนรรยโสภาคย์ สวัสดิวัตน์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงจุฬาวิลาศ สวัสดิวัตน์

พระเกียรติยศ

[แก้]

พระอิสริยยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (22 ธันวาคม พ.ศ. 2408 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2469)
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (15 มีนาคม พ.ศ. 2469 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]
พระตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ในฐานะสมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]
ประเทศ ปีที่ได้รับ เครื่องอิสริยาภรณ์ แพรแถบ อ้างอิง
 สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ พ.ศ. 2440 เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม [25]
 อิตาลี พ.ศ. 2441 เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอิตาลี ชั้นที่ 1 [26]
 รัสเซีย พ.ศ. 2449 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อเล็กซานเดอร์ เนฟสกี้ ชั้นที่ 1


พระยศ

[แก้]
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกสยาม
ชั้นยศ นายพลตรี

พระยศพลเรือน

[แก้]
  • มหาอำมาตย์เอก[27][28]

พระยศทหาร

[แก้]
  • นายพลตรี[29]

พระอนุสรณ์

[แก้]

พระอนุสาวรีย์

[แก้]

พระอนุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ บริเวณ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน

สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ได้จัดสร้างพระอนุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ในลักษณะประทับยืน บริเวณสระบัววิคตอเรีย ด้านหน้าสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ถนนพระราม1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร อันเป็นวังที่ประทับเดิมของพระองค์ท่าน

วังที่ประทับ

[แก้]

วังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์

1.วังปทุมวัน หรือ วังนอก รับพระราชทาน จากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระเชษฐภคินีของสมเด็จฯ ตั้งอยู่ริมคลองบางกะปิ (คลองแสนแสบ) เขตปทุมวัน ใกล้กับวังสระปทุม และวังวินด์เซอร์ ปัจจุบัน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ให้เช่า โดยเป็นที่ตั้งของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน

2.วังถนนพระอาทิตย์ (เลขที่ 19 ถนนพระอาทิตย์ ) รับพระราชทาน จาก ร. 7 ปัจจุบัน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้เช่า โดยเป็นที่ตั้งของ ยูนิเซฟ และที่ทำการของสำนักงานองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations - FAO)

ราชตระกูล

[แก้]
พระราชตระกูลในสามรุ่นของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
พระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
เจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
พระชนนี:
สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
หลวงอาสาสำแดง (แตง)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระยาจินดารังสรรค์ (แก้วแขก)
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ท้าวสุจริตธำรง (นาค)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. "ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ง): 138. 18 เมษายน 2458. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, คาถาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามพระราชโอรสธิดา, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2472
  3. "ข่าวพระองค์เจ้า และหม่อมเจ้าทรงผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 6 (15): 124–5. 14 กรกฎาคม 2432. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ข่าวลาผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 51 (15): 447. 23 มีนาคม 2432. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ประกาศตั้งตำแหน่งเสนาบดี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 9 (4): 28. 24 เมษายน ร.ศ. 111. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 11 (31): 236. 28 ตุลาคม ร.ศ. 113. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ในการพระราชทาน พระสุพรรณบัตร, เล่ม 15, ตอน 33, 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441, หน้า 341
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 30, ตอน ก, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456, หน้า 329
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนา เลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 40, ตอน ง, 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466, หน้า 2600
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระอิสริยศเฉลิมพระอภิไธยและเลื่อนกรมพระราชวงศ์, เล่ม 42, ตอน 0 ก, 21 มีนาคม พ.ศ. 2468, หน้า 372
  11. สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ และ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ภาคที่ ๗) พิมพ์ในงานพระราชทานเพิงศพ เสวกโท พระอโศกมนตรี (เรียม เศวตเศรณี) ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔ หน้าที่ ๓๒ - ๓๓
  12. "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 6 (9): 81. 2 มิถุนายน พ.ศ. 2432. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  13. "หม่อมราชวงศ์หญิงเสงี่ยม ท.จ. (พ.ศ. 2443) (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2020-09-01.
  14. "พระราชพิธี ศรีสัจปานกาล พระราชทานพระไชยวัฒน์ องค์เล็กและเครื่องราชอิสริยาภรณ์และตั้งองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 9 (26): 201. 25 กันยายน ร.ศ. 111. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  15. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 1964. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  16. "ข่าวในพระราชสำนักนี้ รายพระนามและนามผู้ที่จะได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (0 ง): 1829. 17 พฤศจิกายน ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  17. "รายพระนามและนาม สมาชิกสมาชิกา เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า พระราชทานในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ง): 2283. 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-26. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  18. "พระราชทานตรารัตนวราภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 2373. 10 มกราคม พ.ศ. 2457. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  19. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน (หน้า ๒๙๓๑)
  20. 20.0 20.1 20.2 "ส่งเหรียญดุษฎีมาลาออกไปพระราชทาน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 11 (45): 384. 3 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 113. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-10. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  21. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (32): 565. 6 พฤศจิกายน ร.ศ. 123. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  22. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (35): 1012. 29 พฤศจิกายน ร.ศ. 127. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  23. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 2410. 11 มกราคม ร.ศ. 129. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  24. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ง): 3120. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  25. ราชกิจจานุเบกษา, [1]
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานรานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๔, ตอน ๘, ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๐, หน้า ๙๐
  27. "พระราชทานยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29: 197. 28 เมษายน 2455. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. "พระราชทานยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30: 11. 6 เมษายน 2456. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเลื่อนพระเกียรติยศและเกียรติยศ ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๓๗, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
บรรณานุกรม
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตรื กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตรื กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 77-78. ISBN 978-974-417-594-6
  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ถัดไป
พระองค์แรก เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
(พ.ศ. 2435 — 2437)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสิริธัชสังกาศ ประธานศาลฎีกาไทย
(พ.ศ. 2455 — 31 สิงหาคม พ.ศ. 2461)
พระยาจักรปาณีศรีศิลวิสุทธิ์ (ลออ ไกรฤกษ์)