ข้ามไปเนื้อหา

จักรวรรดิรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรวรรดิรัสเซีย

Россійская Имперія
Rossiyskaya Imperiya
1721–1917
ธงชาติรัสเซีย

บน: ธงชาติ
(1721–1858; 1896–1917)
ล่าง: ธงชาติ
(1858–1896)[1]
คำขวัญ"Съ нами Богъ!"
S nami Bog! ("พระเจ้าทรงอยู่กับเรา!")
เพลงชาติ
"กรอมโพเบดี ราซดาวายเซีย!"
Гром победы, раздавайся!
Grom pobedy, razdavaysia! (1791–1816)
("ขอสายฟ้าแห่งชัยชนะจงฟาดลงมา!") (ไม่เป็นทางการ)
"คอยสลาเวน นาชโกสปอค วซีออน"
Коль славен наш Господь в Сионе
Kol' slaven nash Gospod' v Sione (1794–1816)
("พระเป็นเจ้าของเรารุ่งโรจน์เพียงใดในไซออน") (ไม่เป็นทางการ)
"โมลิทวารุสคิคฮ์"
Молитва русских
Molitva russkikh (1816–1833)
("คำภาวนาแห่งชาวรัสเซีย")
"โบเจซาร์ยาครานี!"
Боже, Царя храни!
Bozhe Tsarya khrani! (1833–1917)
("พระเจ้าทรงคุ้มครองซาร์!")
มหาลัญจกร (1882–1917):
     รัสเซียใน ค.ศ. 1914
     สูญเสียใน ค.ศ. 1856–1914
     พื้นที่อิทธิพล      รัฐในอารักขา[a]
The Russian Empire on the eve of the First World War
เมืองหลวงเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก[b]
(1721–1728; 1730–1917)
มอสโก
(1728–1730)[3]
เมืองใหญ่สุดเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก
ภาษาราชการรัสเซีย
โปแลนด์ เยอรมัน (ในเขตผู้ว่าการบอลติก) ฟินแลนด์ สวีเดน ยูเครน จีน (ในต้าเหลียน)
ศาสนา
เดมะนิมชาวรัสเซีย
การปกครองรัฐเดี่ยว สมบูรณาญาสิทธิราชย์
(1721–1906)
รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา กึ่งราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[5]
(1906–1917)
จักรพรรดิ 
• 1721–1725 (พระองค์แรก)
ปีเตอร์ที่ 1
• 1894–1917 (พระองค์สุดท้าย)
นิโคไลที่ 2
 
• 1810–1812 (คนแรก)
นีโคไล รูมียันเซฟ[c]
• 1917 (คนสุดท้าย)
นีโคไล โกลิตซึน[d]
สภานิติบัญญัติวุฒิสภาปกครอง[6]
สภาแห่งรัฐ
(1810–1917)
สภาดูมา
(1905–1917)
ประวัติศาสตร์ 
10 กันยายน 1721
• ก่อตั้ง
2 พฤศจิกายน 1721
4 กุมภาพันธ์ 1722
26 ธันวาคม 1825
3 มีนาคม 1861
18 ตุลาคม 1867
มกราคม 1905 – กรกฎาคม 1907
30 ตุลาคม 1905
• บังคับใช้รัฐธรรมนูญ
6 พฤษภาคม 1906
8–16 มีนาคม 1917
• จัดตั้งสาธารณรัฐ
14 กันยายน 1917
พื้นที่
1895[7][8]22,800,000 ตารางกิโลเมตร (8,800,000 ตารางไมล์)
ประชากร
125,640,021
สกุลเงินรูเบิลรัสเซีย
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรซาร์
รัสเซีย
รัฐบาลชั่วคราว
รัสเซีย
สาธารณรัฐรัสเซีย

จักรวรรดิรัสเซีย[e][f] เป็นจักรวรรดิและสมัยแห่งราชาธิปไตยรัสเซียสมัยสุดท้าย ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1721 จนถึง ค.ศ. 1917 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยูเรเชีย โดยจักรวรรดิสืบทอดจากอาณาจักรซาร์รัสเซียภายหลังสนธิสัญญานีชตัดซึ่งยุติมหาสงครามเหนือ การผงาดขึ้นของจักรวรรดิรัสเซียเกิดขึ้นพร้อมกับการเสื่อมอำนาจของมหาอำนาจข้างเคียงที่เป็นคู่แข่ง เช่น จักรวรรดิสวีเดน เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย อิหร่านกอญัร จักรวรรดิออตโตมัน และจีนสมัยราชวงศ์ชิง เป็นต้น นอกจากนี้จักรวรรดิยังถือครองอาณานิคมในอเมริกาเหนือ (แคลิฟอร์เนียและอะแลสกา) ระหว่าง ค.ศ. 1799 จนถึง ค.ศ. 1867 ด้วยอาณาเขตที่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 22,800,000 ตารางกิโลเมตร (8,800,000 ตารางไมล์) ทำให้จักรวรรดิรัสเซียเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในประวัติศาสตร์ เป็นรองเพียงจักรวรรดิบริติชและจักรวรรดิมองโกลเท่านั้น จักรวรรดิรัสเซียมีประชากรประมาณ 125.6 ล้านคนจากการสำรวจสำมะโนประชากรรัสเซียใน ค.ศ. 1897 ซึ่งเป็นการสำรวจสำมะโนประชากรเพียงครั้งเดียวที่ดำเนินการในช่วงระยะเวลาดำรงอยู่ของจักรวรรดิ เนื่องจากขอบเขตทางภูมิศาสตร์ที่ครอบคลุมดินแดนถึงสามทวีปในช่วงที่แผ่ไพศาลที่สุด ทำให้จักรวรรดิมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา และเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง

นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ดินแดนรัสเซียถูกปกครองโดยชนชั้นขุนนางหรือที่รู้จักกันว่าโบยาร์ แต่ผู้ซึ่งเหนือกว่านั้นคือซาร์ (ซึ่งต่อมาจะแปรเปลี่ยนเป็น "จักรพรรดิแห่งรัสเซียทั้งปวง") รากฐานที่นำไปสู่การสถาปนาจักรวรรดิรัสเซียนั้นถูกวางขึ้นโดยซาร์อีวานที่ 3 (ค.ศ. 1462–1505) โดยพระองค์ทรงขยายอาณาเขตของรัสเซียออกไปเป็นสามเท่า พร้อมทั้งวางรากฐานสำหรับจักรวรรดิที่จะปรากฏขึ้นในอนาคต ปรับปรุงเครมลินแห่งมอสโก และยุติการครอบงำของโกลเดนฮอร์ด จักรวรรดิรัสเซียถูกปกครองโดยราชวงศ์โรมานอฟตั้งแต่ ค.ศ. 1721 จนถึง ค.ศ. 1762 ต่อมาราชวงศ์ฮ็อลชไตน์-ก็อทตาร์ฟ-โรมานอฟ ซึ่งเป็นสาขาฝั่งมารดาของเชื้อสายเยอรมันที่สืบทอดทางบิดา ปกครองจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ ค.ศ. 1762 จนถึง ค.ศ. 1917 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิรัสเซียมีอาณาเขตที่กว้างขวาง โดยจากมหาสมุทรอาร์กติกในทางเหนือ จรดทะเลดำในทางใต้ และจากทะเลบอลติกทางตะวันตก จรดอะแลสกา ฮาวาย และแคลิฟอร์เนียทางตะวันออก ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิได้ขยายอำนาจสู่พื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียกลางและส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และในช่วงนี้เองที่จักรวรรดิประสบปัญหามากมาย ทั้งความอดอยากในช่วง ค.ศ. 1891–1892 การเติบโตขึ้นของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบอลเชวิคและเมนเชวิค[9] และความพ่ายแพ้ในสงครามถึงสองครั้ง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุสู่การปฏิวัติที่เกิดขึ้นสองครั้ง (ครั้งแรกใน ค.ศ. 1905) และการปฏิวัติครั้งที่สอง ซึ่งปะทุขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 นำไปสู่การยุติลงของจักรวรรดิที่ปกครองรัสเซียเกือบสองศตวรรษ พร้อมกับหนึ่งในสี่จักรวรรดิในภาคพื้นทวีปที่ล่มสลายภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอย่างเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และตุรกีด้วย[10]

จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 (ค.ศ. 1682–1725) ทรงบัญชาการรบในสงครามหลายครั้งและนำอาณาจักรที่กว้างใหญ่สู่การเป็นมหาอำนาจที่สำคัญในทวีปยุโรป ระหว่างรัชสมัยของจักรพรรดิปีเตอร์ พระองค์ทรงย้ายเมืองหลวงของรัสเซียจากมอสโกมาเป็นเมืองแห่งใหม่อย่างเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ซึ่งส่วนใหญ่สร้างขึ้นตามการออกแบบของโลกตะวันตก นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้นำในการปฏิวัติทางวัฒนธรรม โดยการแทนที่จารีตประเพณีดั้งเดิมและการเมืองแบบอนุรักษนิยมยุคกลางด้วยระบบที่ทันสมัย หลักตรรกะทางวิทยาศาสตร์ และระบบที่เอนเอียงไปทางตะวันตก เยกาเจรีนามหาราชินี (ค.ศ. 1762–1796) ทรงปกครองในสมัยยุคทองของจักรวรรดิ โดยพระองค์ทรงขยายอาณาเขตรัฐรัสเซียออกไปจากการพิชิตดินแดน การล่าอาณานิคม และการทูต ในขณะเดียวกันนั้นพระองค์ยังคงดำเนินนโยบายของจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 เพื่อทำให้ประเทศทันสมัยตามแบบตะวันตก จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 (ค.ศ. 1801–1825) ทรงมีบทบาทสำคัญในการเอาชนะความทะเยอทะยานทางทหารของนโปเลียน และต่อมาได้ก่อตั้งพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อยับยั้งการเติบโตขึ้นของลัทธิฆราวาสนิยมและเสรีนิยมทั่วยุโรป จักรวรรดิรัสเซียได้ขยายอาณาเขตไปทางตะวันตก ทางใต้ และทางตะวันออก พร้อมกับการตั้งตนเองเป็นหนึ่งในมหาอำนาจที่ทรงพลังที่สุดในยุโรป อย่างไรก็ตาม ชัยชนะในสงครามรัสเซีย-ตุรกีได้ถูกทำลายลงภายหลังความพ่ายแพ้ในสงครามไครเมีย (ค.ศ. 1853–1856) ซึ่งนำไปสู่ช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปและการขยายอิทธิพลอย่างเข้มข้นสู่เอเชียกลาง[11] จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 (ค.ศ. 1855–1881) ทรงริเริ่มการปฏิรูปครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลดปล่อยทาสทั้งหมด 23 ล้านคนใน ค.ศ. 1861 นอกจากนี้นโยบายของพระองค์ยังมีความเกี่ยวพันกับความรับผิดชอบต่อการคุ้มครองชาวคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในดินแดนยุโรปภายใต้การปกครองของออตโตมันด้วย ซึ่งปัจจัยนี้เองที่ทำให้รัสเซียเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝั่งสัมพันธมิตรที่ต่อต้านฝ่ายมหาอำนาจกลาง

กระทั่งการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1905 จักรวรรดิรัสเซียที่ปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลายเป็นกึ่งราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแต่ในนาม อย่างไรก็ตาม การปกครองนี้เป็นไปอย่างยากลำบากในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นำไปสู่การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ พร้อมด้วยการสละราชสมบัติของจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ใน ค.ศ. 1917 ทำให้ระบอบราชาธิปไตยเป็นอันยุติลง ผลที่ตามมาภายหลังการเดือนปฏิวัติกุมภาพันธ์ ได้เกิดการประกาศจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวรัสเซียที่มีอายุสั้น และต่อมาได้ก่อตั้งสาธารณรัฐรัสเซีย[12][13] การปฏิวัติเดือนตุลาคมที่เกิดขึ้นจากการยึดอำนาจสาธารณรัฐรัสเซียโดยบอลเชวิค ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองรัสเซีย ใน ค.ศ. 1918 บอลเชวิคกระทำการปลงพระชนม์สมาชิกราชวงศ์โรมานอฟ และหลังจากได้รับชัยชนะในสงครามกลางเมืองเมื่อ ค.ศ. 1922–1923 บอลเชวิคจึงก่อตั้งสหภาพโซเวียตขึ้นทั่วดินแดนส่วนใหญ่ของอดีตจักรวรรดิรัสเซีย

ประวัติศาสตร์

[แก้]
ธงแห่งจักรวรรดิรัสเซียในวาระแห่งการเฉลิมฉลอง ตั้งแต่ปี 1858 ถึง 1883.[14][15][16][17][18] อย่างไรก็ตาม ธงนี้ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่ากับธงชาติรัสเซียแถบสีขาว-น้ำเงิน-แดง
ธงประจำพระอิสริยยศสมเด็จพระจักรพรรดิ ใช้รว่างปี ค.ศ. 1858 - 1917

แม้ว่าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 จะไม่ได้ก่อตั้งจักรวรรดิรัสเซียอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งหลังเกิดสนธิสัญญานีสตาด (ค.ศ. 1721) โดยนักประวัติศาสตร์บางคนได้โต้แย้งว่าซาร์อีวานที่ 3 แห่งรัสเซียได้พิชิตเวลีคีนอฟโกรอด ใน ค.ศ. 1478[ต้องการอ้างอิง] จากมุมมองอื่นนั้น คำว่าอาณาจักรซาร์ ซึ่งเป็นคำที่ถูกใช้หลังจากการราชาภิเษกของซาร์อีวานที่ 4 ใน ค.ศ. 1547 ก็เป็นคำในภาษารัสเซียร่วมสมัยสำหรับความหมายคำว่า "จักรวรรดิ" แล้ว[ต้องการอ้างอิง]

ศตวรรษที่ 18

[แก้]

จักรพรรดิปีเตอร์มหาราชทรงรวบรวมอำนาจในรัสเซียให้มีความเป็นปึกแผ่นแล้วนำพาจักรวรรดิรัสเซียในขณะนั้นไปสู่ระบบรัฐของยุโรปพระองค์ทรงเปลี่ยนจากอาณาจักรเล็กๆเริ่มแรกในศตวรรษที่ 14 ให้กลายเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกในรัชสมัยของพระองค์ ทรงขยายดินแดนเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ยูเรเซีย ตั้งแต่ทะเลบอลติกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก และได้ขยายออกไปมากในช่วงศตวรรษที่ 17 อย่างไรก็ตามนี้คือแผ่นดินที่กว้างใหญ่ไพศาล และมีประชากรเพียง 14 ล้านคน ส่วนใหญ่ที่อยู่ตามชนบทและทำกสิกรรมทางตะวันตกของประเทศ ส่วนน้อยที่อยู่ในเมือง ปีเตอร์ได้ทำการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การปกครอง และการทำศึกสงครามเสียใหม่ เพื่อให้เจริญก้าวหน้าโดยรับแนวคิดมาจากตะวันตกมาโดยทั้งสิ้น พระองค์ทรงเรียนรู้กลยุทธ์และการป้องกันมากมายจากตะวันตก แล้วยังสร้างกองทัพที่เข้มแข็ง ซึ่งมาจากการเกณฑ์ทหาร พระองค์ยังเป็นจักรพรรดิซาร์พระองค์แรกที่เสด็จประพาสยุโรปด้วย พระองค์ทรงทำสงครามกับสวีเดนเพื่อชิงแผ่นดินส่วนที่ติดกับทะเลบอลติกให้มีทางออกสู่ทะเลอีกทั้งยังให้เป็นประตูสู่ยุโรปด้วย และสร้างเมืองหลวงใหม่ชื่อว่า เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก และเมื่อนโปเลียนบุกรัสเซีย รัสเซียก็มีชัยเหนือกองทัพของเขา นั้นเป็นการแสดงให้โลกรู้ว่าจักรวรรดิรัสเซียนั้นยังคงเป็นมหาอำนาจที่ไม่อาจโค่นล้มได้ง่าย ๆ

ศตวรรษที่ 19

[แก้]

เมื่อล่วงเข้าศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิอยู่ภายใต้การนำของจักรพรรดินีโคลัสที่ 1 ซึ่งทรงทำสงครามพิชิตแหลมไครเมียกับจักรวรรดิออตโตมันเมื่อล่วงเข้ารัชสมัยของ จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย รัสเซียก็พิชิตแหลมไครเมียได้สำเร็จซึ่งในขณะนั้นเองจักรวรรดิก็ก้าวเข้าสูการปฏิรูปประเทศอีกครั้ง ทาสเริ่มได้รับสิทธิมากขึ้น เริ่มมีการเผยแพร่ความรู้ และเริ่มมีแผนที่จะร่างรัฐธรรมนูญขึ้นด้วย แต่พระองค์ก็ถูกลอบปลงพระชนม์เสียก่อน

สิ้นสุดจักรวรรดิรัสเซีย

[แก้]
ภาพวาดการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1905

เมื่อเริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 ก็เริ่มมีกระแสการปฏิวัติไปทั่วโลก ในขณะนั้นเองจักรวรรดิรัสเซียก็เริ่มเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้คนอดยากทั่วรัสเซีย ฤดูหนาวที่โหดร้าย และการพ่ายแพ้สงคราม ภายใต้อำนาจของจักรพรรดิซาร์นีโคลัสที่ 2 เริ่มมีชนกลุ่มเล็กภายในเซนต์ปีเตอส์เบิร์กเริ่มคิดก่อการปฏิวัติ เมื่อเหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้น ในปี 1905 ประชาชนได้รวมตัวกันชุมนุมกัน ณ จัตุรัสแดง ที่พระราชวังฤดูหนาว ในเซนต์ปีเตอส์เบิร์กเพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อจักรพรรดิซาร์ และเมื่อจักรพรรดิซาร์เสด็จออกมา ปืนและปืนใหญ่ของทหารม้ารัสเซียก็ระดมยิงใส่ผู้ชุมนุมประท้วง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เหตุการณ์นี้รู้จักกันดีในชื่อว่า วันอาทิตย์นองเลือด (Bloody Sunday) หรือ อาทิตย์ทมิฬ ต่อมาเมื่อรัสเซียแพ้สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น และ สงครามโลกครั้งที่ 1 ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 1917 เกิดการปฏิวัติขึ้นชื่อว่า (การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์) นำโดย วลาดิมีร์ เลนิน ซึ่งจักรพรรดิซาร์นีโคลัสที่ 2 ก็ต้องทรงสละราชบัลลังก์และถูกกักกันตัวไว้ หลังจากการปฏิวัติไม่นาน ราชวงศ์ก็ทรงประทับอยู่ ณ พระราชวังอเล็กซานเดอร์ และระหว่างเมษายน และ พฤษภาคมปี 1918 ก็ทรงถูกย้ายจากพระราชวังอเล็กซานเดอร์มาประทับ ณ เมืองเยคาเทียรินเบิร์ก เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม เวลา 1:30 นีโคลัส อเล็กซานดร้า โอรสและธิดา ถูกหลอกให้ลงมาชั้นใต้ดิน แต่เมื่อทั้งหมดลงมา ก็ถูกขังไว้ในห้องพร้อมกับทหารกลุ่มบอลเชวิค โดยทั้งหมดสิ้นพระชนม์จากการถูกยิงเป้าหมู่ ภายหลังได้มีการฝังพระศพทั้งหมดร่วมกัน เป็นการปิดฉากราชวงศ์โรมานอฟและจักรวรรดิรัสเซีย

ลำดับเหตุการณ์

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ราชรัฐมอลเดเวียและวอลเลเกียใน ค.ศ. 1829–56
  2. ใน ค.ศ. 1914 เมืองได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "เปโตรกราด" เพื่อสะท้อนความรู้สึกต่อต้านเยอรมนีที่มีต่อรัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[2]
  3. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการรัฐมนตรี
  4. ในฐานะนายกรัฐมนตรี
  5. รัสเซีย: Россійская Имперія, อักษรโรมัน: Rossiyskaya Imperiya, สัทอักษรสากล: [rɐˈsʲijskəjə ɪmˈpʲerʲɪjə] ( ฟังเสียง); หรือ Российская Империя ในการสะกดแบบรัสเซียสมัยใหม่
  6. ในทางประวัติศาสตร์นิพนธ์จะเรียกว่า รัสเซียอิมพีเรียล, ระบอบซาร์รัสเซีย, รัสเซียก่อนสมัยปฏิวัติ หรือเรียกแบบสั้นว่า รัสเซีย

อ้างอิง

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1858 ตามพระราชกฤษฎีกาแห่งจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 สีพิธีการของจักรวรรดิได้รับการอนุมัติสำหรับธงชาติ ธงต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ (ผ้าแขวน เครื่องประดับลายดอกกุหลาบ ฯลฯ) ทำให้ธงดำ-เหลือง-ขาวกลายเป็นธงประจำชาติแบบแรกของรัสเซียใน ค.ศ. 1865 อย่างไรก็ตาม ธงขาว-น้ำเงิน-แดงได้รับการรื้อฟื้นอีกครั้งใน ค.ศ. 1883 แต่กระนั้นธงดำ-เหลือง-ขาวยังคงใช้อยู่กระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ทั้งหมดใน ค.ศ. 1896
  2. "St. Petersburg through the Ages". www.forumspb.com. สืบค้นเมื่อ 6 August 2022.
  3. "18th Century in the Russian History" Rushmania.com https://rusmania.com/history-of-russia/18th-century เก็บถาวร 19 มีนาคม 2022 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. J. Coleman, Heather (2014). Orthodox Christianity in Imperial Russia: A Source Book on Lived Religion. Indiana University Press. p. 4. ISBN 9780253013187. After all, Orthodoxy was both the majority faith in the Russian Empire – approximately 70 percent subscribed to this faith in the 1897 census–and the state religion.
  5. Williams, Beryl (1 ธันวาคม 1994). "The concept of the first Duma: Russia 1905–1906". Parliaments, Estates and Representation. 14 (2): 149–158. doi:10.1080/02606755.1994.9525857. ISSN 0260-6755.
  6. "The Sovereign Emperor exercises legislative power in conjunction with the State Council and State Duma". Fundamental Laws, "Chapter One On the Essence of Supreme Sovereign Power Article 7." เก็บถาวร 8 มิถุนายน 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. Rein Taagepera (กันยายน 1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 475–504. doi:10.1111/0020-8833.00053. JSTOR 2600793.
  8. Turchin, Peter; Adams, Jonathan M.; Hall, Thomas D. (December 2006). "East-West Orientation of Historical Empires". Journal of World-Systems Research. 12 (2): 223. ISSN 1076-156X. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2016.
  9. "Russian Empire". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2022-08-14.
  10. Planert, Ute; Retallack, James, บ.ก. (2017). Decades of Reconstruction. Cambridge University Press. p. 331. ISBN 9781107165748.
  11. "The Great Game, 1856-1907: Russo-British Relations in Central and East Asia | Reviews in History". reviews.history.ac.uk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.
  12. Geoffrey Swain (2014). Trotsky and the Russian Revolution. Routledge. p. 15. ISBN 9781317812784. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2015. สืบค้นเมื่อ 20 June 2015. The first government to be formed after the February Revolution of 1917 had, with one exception, been composed of liberals.
  13. Alexander Rabinowitch (2008). The Bolsheviks in Power: The First Year of Soviet Rule in Petrograd. Indiana UP. p. 1. ISBN 978-0253220424. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2015. สืบค้นเมื่อ 20 June 2015.
  14. Bonnell, p. 92
  15. Condee, p. 49
  16. Saunders, p. 129
  17. National Museum of Science and Technology (Canada). Material history review. Canada Science and Technology Museum, 2000, p46
  18. CRWflags.com. K. Ivanov argues, that Russia has changed her official flag in 1858

อ้างอิง

[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]

การสำรวจ

[แก้]

1801–1917

[แก้]
  • Jelavich, Barbara. St. Petersburg and Moscow: Tsarist and Soviet Foreign Policy, 1814–1974 (1974)
  • Manning, Roberta. The Crisis of the Old Order in Russia: Gentry and Government. Princeton University Press, 1982.
  • Pipes, Richard. Russia under the Old Regime (2nd ed. 1997)
  • Seton-Watson, Hugh. The Russian Empire 1801–1917 (Oxford History of Modern Europe) excerpt and text search
  • Waldron, Peter (1997). The End of Imperial Russia, 1855–1917. New York, NY: St. Martin's Press. p. 189. ISBN 978-0-312-16536-9.
  • Westwood, J. N. (2002). Endurance and Endeavour: Russian History 1812–2001 (5th ed.). Oxford: Oxford University Press. p. 656. ISBN 978-0-19-924617-5.

การทหาร และ การต่างประะเทศ

[แก้]
  • Englund, Peter (2002). The Battle That Shook Europe: Poltava and the Birth of the Russian Empire. New York, NY: I. B. Tauris. p. 288. ISBN 978-1-86064-847-2.
  • Fuller, William C. Strategy and Power in Russia 1600–1914 (1998) excerpts; military strategy
  • Jelavich, Barbara. St. Petersburg and Moscow: Tsarist and Soviet Foreign Policy, 1814–1974 (1974)
  • Saul, Norman E. Historical Dictionary of Russian and Soviet Foreign Policy (2014)excerpt and text search
  • Stone, David. A Military History of Russia: From Ivan the Terrible to the War in Chechnya excerpts

เศรษฐกิจ สังคม และ ความเชื่อ

[แก้]
  • Christian, David. A History of Russia, Central Asia and Mongolia. Vol. 1: Inner Eurasia from Prehistory to the Mongol Empire. (Blackwell, 1998). ISBN 0-631-20814-3.
  • Dixon, Simon (1999). The Modernisation of Russia, 1676–1825. Cambridge: Cambridge University Press. p. 288. ISBN 978-0-521-37100-1.
  • Etkind, Alexander. Internal Colonization: Russia's Imperial Experience (Polity Press, 2011) 289 pages; discussion of serfdom, the peasant commune, etc.
  • Freeze, Gregory L. From Supplication to Revolution: A Documentary Social History of Imperial Russia (1988)
  • Kappeler, Andreas (2001). The Russian Empire: A Multi-Ethnic History. New York, NY: Longman Publishing Group. p. 480. ISBN 978-0-582-23415-4.
  • Milward, Alan S. and S. B. Saul. The Development of the Economies of Continental Europe: 1850–1914 (1977) pp 365–425
  • Milward, Alan S. and S. B. Saul. The Economic Development of Continental Europe 1780–1870 (2nd ed. 1979), 552pp
  • Mironov, Boris N., and Ben Eklof. The Social History of Imperial Russia, 1700–1917 (2 vol Westview Press, 2000) vol 1 online เก็บถาวร 2008-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; vol 2 online เก็บถาวร 2008-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Mironov, Boris N. (2012) The Standard of Living and Revolutions in Imperial Russia, 1700–1917 (2012) excerpt and text search
  • Mironov, Boris N. (2010) "Wages and Prices in Imperial Russia, 1703–1913," Russian Review (Jan 2010) 69#1 pp 47–72, with 13 tables and 3 charts online
  • Moon, David (1999). The Russian Peasantry 1600–1930: The World the Peasants Made. Boston, MA: Addison-Wesley. p. 396. ISBN 978-0-582-09508-3.
  • Stolberg, Eva-Maria. (2004) "The Siberian Frontier and Russia's Position in World History," Review: A Journal of the Fernand Braudel Center 27#3 pp 243–267
  • Wirtschafter, Elise Kimerling. Russia's age of serfdom 1649–1861 (2008)

ประวัติศาสตร์ และ ความทรงจำ

[แก้]
  • Burbank, Jane, and David L. Ransel, eds. Imperial Russia: new histories for the Empire (Indiana University Press, 1998)
  • Cracraft, James. ed. Major Problems in the History of Imperial Russia (1993)
  • Kuzio, Taras. "Historiography and national identity among the Eastern Slavs: towards a new framework." National Identities (2001) 3#2 pp: 109–132.
  • Olson, Gust, and Aleksei I. Miller. "Between Local and Inter-Imperial: Russian Imperial History in Search of Scope and Paradigm." Kritika: Explorations in Russian and Eurasian History (2004) 5#1 pp: 7–26.
  • Sanders, Thomas, ed. Historiography of imperial Russia: The profession and writing of history in a multinational state (ME Sharpe, 1999)
  • Smith, Steve. "Writing the History of the Russian Revolution after the Fall of Communism." Europe‐Asia Studies (1994) 46#4 pp: 563–578.
  • Suny, Ronald Grigor. "The empire strikes out: Imperial Russia,‘national’identity, and theories of empire." in A state of nations: Empire and nation-making in the age of Lenin and Stalin ed. by Peter Holquist, Ronald Grigor Suny, and Terry Martin. (2001) pp: 23–66.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]