หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล
หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 23 เมษายน พ.ศ. 2449 |
สิ้นชีพตักษัย | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2521 (72 ปี) |
ชายา | หม่อมเจ้าสีดาดำรวง ชุมพล |
บุตร | 2 คน |
ราชสกุล | ชุมพล |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ |
พระมารดา | หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา |
ธรรมเนียมพระยศของ หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | กระหม่อม/หม่อมฉัน |
การขานรับ | กระหม่อม/เพคะ |
รองเสวกเอก หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล เป็นพระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ประสูติแต่หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา
พระประวัติ
[แก้]รองเสวกเอก หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล มีพระนามลำลองว่า ท่านชายเล็ก เป็นพระโอรสใน พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ประสูติแต่หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2449 เสกสมรสกับหม่อมเจ้าสีดาดำรวง ชุมพล (ราชสกุลเดิม สวัสดิวัตน์) มีโอรส 2 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ศักดิสาณ ชุมพล สมรสกับวราภรณ์ ชุมพล ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุณยรักษ์) มีบุตรธิดา 2 คน ได้แก่
- หม่อมหลวงสิทธิสาณ ชุมพล
- หม่อมหลวงวราภา ชุมพล (นักลีลาศหญิงทีมชาติไทย)
- รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์พฤทธิสาณ ชุมพล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1] สมรสกับอรพันธ์ ชุมพล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ชาติยานนท์) มีบุตรธิดา 4 คน ได้แก่
- หม่อมหลวงวรารมณ์ ชุมพล
- หม่อมหลวงสมรดา ชุมพล
- หม่อมหลวงกมลพฤทธิ์ ชุมพล
- หม่อมหลวงรัมภาพันธุ์ ชุมพล
หม่อมเจ้ากมลีสาณ เป็นหนึ่งในหกผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท อาคเนย์ประกันภัย ร่วมกับดำรง เสรีนิยม, สมสวาท โชติกเสถียร, พยัพ ศรีกาญจนา, พระยาปรีชานุสาสน์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล[2] นอกจากนี้ หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล ยังเป็นสมาชิกวงดนตรีลายคราม ซึ่งเป็นวงดนตรีส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งทรงรวบรวมนักดนตรีที่เป็นพระประยูรยาติหลายพระองค์เข้าเป็นสมาชิก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2472 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)[3]
- พ.ศ. 2497 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[4]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[5]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของหม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ที่ระลึกครบรอบ 150 ปี พลตรี กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์[ลิงก์เสีย]
- ↑ วัฒนธรรมการสืบทอดอำนาจของบริษัทอาคเนย์ประกันภัยที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน[ลิงก์เสีย] นิตยสารผู้จัดการ, พฤศจิกายน 2530
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 46 หน้า 2927 วันที่ 1 ธันวาคม 2472
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๑๕๗๕, ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๙๓๗, ๒๒ มีนาคม ๒๕๐๓