ข้ามไปเนื้อหา

ประกอบ สังข์โต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประกอบ สังข์โต
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2541
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 มิถุนายน พ.ศ. 2485
จังหวัดนนทบุรี
เสียชีวิต17 เมษายน พ.ศ. 2560 (74 ปี)
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสมนัสนันท์ สังข์โต

ประกอบ สังข์โต อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลชวน หลีกภัย (ครม.53) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคประชากรไทย (กลุ่มงูเห่า)[1]

ประวัติ

[แก้]

นายประกอบ สังข์โต เกิดเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2485 ที่อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรของนายปรุง กับนางทองเจือ สังข์โต สำเร็จการศึกษาอนุปริญญาจากวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ และปริญญาตรีรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงาน

[แก้]

นายประกอบ สังข์โต ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคประชากรไทย ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 ซึ่งมีการเลือกตั้ง 2 ครั้ง ไม่ได้รับเลือกตั้ง กระทั่งได้รับเลือกอีกครั้งในปี พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นายประกอบลงสมัคร ส.ส.ในสังกัดพรรคชาติพัฒนา แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนายนิทัศน์ ศรีนนท์ จากพรรคไทยรักไทย

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายประกอบ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 67[2] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

นายประกอบ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย โดยเป็นนักการเมืองสังกัดกลุ่มงูเห่า หรือกลุ่มนักการเมืองพรรคประชากรไทยที่เปลี่ยนขั้วการเมืองมาสนับสนุนนายชวนให้เป็นนายกรัฐมนตรี[3]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

ประกอบ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคประชากรไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคประชากรไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคประชากรไทย

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

นายประกอบ เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2560 จากโรคมะเร็ง[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สารานุกรมการเมืองไทย เล่ม 3 โดย รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร (สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพ กันยายน พ.ศ. 2549)
  2. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
  3. 3.0 3.1 "วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 21 04 60". ฟ้าวันใหม่. 2017-04-21. สืบค้นเมื่อ 2017-04-22.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๕๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐