พรรคเกษตรสังคม
พรรคเกษตรสังคม | |
---|---|
ผู้ก่อตั้ง | เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ |
หัวหน้า | สวัสดิ์ คำประกอบ |
เลขาธิการ | จารุบุตร เรืองสุวรรณ |
นโยบาย | เรามุ่งขจัดความอดอยาก เรามุ่งสร้างความเป็นธรรมในสังคม |
ก่อตั้ง | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 |
ถูกยุบ | พ.ศ. 2526 (9 ปี) |
ยุบรวมกับ | พรรคประชาธิปัตย์ |
ที่ทำการ | 195 ถนนอำนวยสงคราม แขวงนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
อุดมการณ์ | สังคมนิยมประชาธิปไตย (Democratic Socialism) อนุรักษ์นิยม[1] |
สี | สีเขียว |
สภาผู้แทนราษฎร | 19 / 269 |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคเกษตรสังคม เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยมีเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นหัวหน้าพรรคและมีจารุบุตร เรืองสุวรรณ เป็นเลขาธิการพรรค[2] โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งอาทิ น้อม อุปรมัย, สวัสดิ์ คำประกอบ, สะไกร สามเสน, อุดร ตันติสุนทร, ปัญจะ เกสรทอง, ประเทือง คำประกอบ และแผน สิริเวชชะพันธ์
การเลือกตั้ง
[แก้]การเลือกตั้ง พ.ศ. 2518
[แก้]ทางพรรคลงรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 ได้รับเลือกตั้ง 19 ที่นั่ง[3] หลังจากการเลือกตั้งครั้งนี้นายเสวตร ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค และนำสมาชิกบางส่วนย้ายไปสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ที่ประชุมจึงได้มีการเลือกนาย สวัสดิ์ คำประกอบ มาเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่
ในเวลาต่อมา พรรคกิจสังคม ซึ่งมี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรคได้พยายามชักชวนพรรคเกษตรสังคมเข้าร่วมรัฐบาล และได้มีการแต่งตั้งนายแสวง พิบูลย์สราวุธ ประธานพรรคเกษตรสังคม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2519[4] แต่พรรคร่วมรัฐบาลไม่เห็นด้วย จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2519
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2519
[แก้]ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 พรรคเกษตรสังคม นำโดยนายสวัสดิ์ คำประกอบ ได้รับเลือกตั้ง 9 ที่นั่ง
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2522
[แก้]ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 พรรคเกษตรสังคม ได้รับเลือกตั้ง 8 ที่นั่ง ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ทั้งจังหวัด (6 ที่นั่ง) และจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดนครพนม จังหวัดละ 1 ที่นั่ง หลังจากนั้นได้เข้าร่วมในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ โดยนายสวัสดิ์ คำประกอบ หัวหน้าพรรคได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
หัวหน้าพรรค
[แก้]ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ตำแหน่งสำคัญ |
1 | นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545) |
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 | 20 มกราคม พ.ศ. 2519 | • อดีตรองนายกรัฐมนตรี • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
2 | นายสวัสดิ์ คำประกอบ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2462 - 28 กันยายน พ.ศ. 2557) |
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 | พ.ศ. 2526 | • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ • อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ฐานข้อมูลพรรค" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2014-12-22.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (พ้นจากตำแหน่ง ๖ ราย และแต่งตั้ง ๑๕ ราย)