ข้ามไปเนื้อหา

นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บุญเกิด สุตันตานนท์)
นายวรการบัญชา
(บุญเกิด สุตันตานนท์)
ประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานวุฒิสภาไทย
ดำรงตำแหน่ง
22 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าทวี บุณยเกตุ
ถัดไปศิริ สิริโยธิน
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ
ถัดไปจอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
จอมพลเรือ ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
1 มีนาคม พ.ศ. 2493 – 28 มีนาคม พ.ศ. 2495
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพจน์ สารสิน
ถัดไปพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าหลวงวิจิตรวาทการ
ถัดไปแปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าหลวงวิจิตรวาทการ
ถัดไปพจน์ สารสิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 มิถุนายน พ.ศ. 2446
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศสยาม
เสียชีวิต21 มิถุนายน พ.ศ. 2517 (70 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงฉวี วรการบัญชา
จันทร์ฟอง วรการบัญชา
คำเอ้ย วรการบัญชา
บุตร4 คน
ลายมือชื่อ

พันเอก นายวรการบัญชา[1] นามเดิม บุญเกิด สุตันตานนท์ (24 มิถุนายน พ.ศ. 2446 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2517) อดีตประธานวุฒิสภา, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย

ประวัติ

[แก้]

พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เป็นบุตรคนแรกใน 4 คนของ พระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์) และเจ้ากาบแก้ว พิจิตรโอสถ โดยมีพี่น้อง ดังนี้

  • นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันนานนท์)
  • นางเฉลิม บุษบรรณ
  • นางฉลอง สารสิทธิประกาศ
  • นางฉลวย ณ ลำภูน

พันเอก นายวรการบัญชา ได้ทำการสมรส 3 ครั้ง ได้แก่

  • คุณหญิงฉวี วรการบัญชา (ฉวี บุญราศรี)
    • ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน
  • นางจันทร์ฟอง วรการบัญชา มีบุตรธิดาดังนี้
    • ร.ต.ต.บัณฑิต สุตันตานนท์
    • นางกิ่งแก้ว ณ เชียงใหม่
    • นายธีระ สุตันตานนท์
  • นางคำเอ้ย วรการบัญชา มีบุตรดังนี้
    • นายเมธี สุตันตานนท์

พันเอก นายวรการบัญชา มีบุตรบุญธรรมคนหนึ่งคือ นางวันดี ณ เชียงใหม่ (สมรสกับ เจ้าทิพย์สมาตย์ ณ เชียงใหม่)

วัยเด็ก

[แก้]

นายบุญเกิด สุตันตานนท์ เกิดที่บ้านริมฝั่งแม่น้ำปิง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เข้าเรียนที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง กรุงเทพมหานคร มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดสอบไล่ได้ที่ 3 เมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ 8 ขณะอายุ 15 ปีเศษ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น มหาดเล็กแผนกห้องที่พระบรรทม เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2463[2] โดยทรงมอบหมายให้อยู่ในความอุปการะอบรมเลี้ยงดูและเป็นบุตรบุญธรรมของพระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) ต่อมามีพระราชดำริให้ส่งตัวไปศึกษาวิชาแพทย์ที่ประเทศอังกฤษด้วยทุนส่วนพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2464 ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อปลายปี พ.ศ. 2468 พันเอก นายวรการบัญชา จึงเดินทางกลับมาภูมิลำเนาเดิมพักอาศัยอยู่ที่เมืองเชียงใหม่

งานการเมือง

[แก้]

เมื่อกลับมาอยู่เชียงใหม่ ได้รับมอบหมายจากพระพิจิตรโอสถผู้เป็นบิดาให้ดูแลไร่นาและเก็บผลประโยชน์ที่จังหวัดเชียงราย ระหว่างนั้นได้ศึกษากฎหมายจนจบเนติบัณฑิต ด้านชื่อเสียงในสังคมได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่เป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2479พ.ศ. 2480 ได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงรายหลายสมัย และได้เข้าร่วมตำแหน่งสำคัญ ๆ ในคณะรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม[3] หลังการรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2490 ด้วยการร่วมในการรัฐประหารด้วย โดยบุคคลในคณะรัฐประหารเรียก พันเอก นายวรการบัญชาอย่างเคารพว่า "พี่วร"

นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวงเช่น รัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีสั่งการกระทรวงคมนาคม, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[4], รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[5], รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[6][7] ต่อมาได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและเคยเป็นประธานวุฒิสภาอีกด้วย

ในเหตุการณ์ กบฏแมนฮัตตัน วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เวลา 10.00 น.นายวรการบัญชา เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการให้ประกาศกฎอัยการศึก ในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี[8] โดยผ่านพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร นับว่าเป็นบุคคลแรกที่รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ การใช้กฎอัยการศึกในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และในเวลาต่อมาคือในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2495 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พันเอก นายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และราชองครักษ์พิเศษแก่ นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)[9]

นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[10] เดือนธันวาคมของปีเดียวกัน[11]

ถึงแก่อสัญกรรม

[แก้]

พันเอก นายวรการบัญชา ยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมดหลังการรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2514 โดยจอมพล ถนอม กิตติขจร และถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ขณะอายุ 70 ปี ที่กรุงเทพมหานคร มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]


อ้างอิง

[แก้]
  1. นายวรการบัญชา เป็นบรรดาศักดิ์ในกรมมหาดเล็กตำแหน่งหุ้มแพรวิเศษ สมัยรัชกาลที่ 6
  2. "ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
  3. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  5. ประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว (รัฐบาลชั่วคราว ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและแต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรีในรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายพจน์ สารสิน ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ แต่งตั้ง นายวรการบัญชา เป็นรัฐมนตรีว่าการ ฯ แทน)
  7. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
  8. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการให้ประกาศกฎอัยการศึก
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศ แต่งตั้งนายทหารพิเศษ และราชองครักษ์พิเศษ
  10. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  11. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๔๖๕๔, ๙ ธันวาคม ๒๔๙๕
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๑๙๖, ๑๕ มกราคม ๒๔๙๕
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๒๐, ๑๕ มกราคม ๒๔๖๔
  16. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามข้าราชการและราษฎร ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๖๔, ๙ สิงหาคม ๒๔๗๙
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๑๔, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๑๖๕๕, ๗ เมษายน ๒๔๙๖
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2022-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๓๓, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๓
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชาทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 68 ตอนที่ 68 หน้า 5376, 13 พฤศจิกายน 2494
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 71 ตอนที่ 14 หน้า 726, 23 กุมภาพันธ์ 2497
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 67 หน้า 2129, 30 สิงหาคม 2498
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 75 หน้า 2278, 20 กันยายน 2498
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 3 หน้า 134, 10 มกราคม 2499
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 11 หน้า 385, 31 มกราคม 2499

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพพันเอก นายวรการบัญชา, 2517
  • คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • ย่านถนนเจริญเมือง (16) เก็บถาวร 2011-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • หน้า 10 บทความ–การ์ตูน, นายวรการบัญชา : นายกเทศมนตรีคนแรกของเชียงใหม่. "ส่วนร่วมสังคมไทย" โดย นรนิติ เศรษฐบุตร. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,354: วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก
ก่อนหน้า นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ถัดไป
ไม่มีวุฒิสภา
สมัยก่อนหน้า เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
(จิตร ณ สงขลา)

ประธานวุฒิสภา
(22 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514)
ไม่มีวุฒิสภา
สมัยต่อไป จิตติ ติงศภัทิย์
เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(31 มีนาคม - 16 กันยายน พ.ศ. 2500)
พจน์ สารสิน
หลวงวิจิตรวาทการ
(วิจิตร วิจิตรวาทการ)

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
(24 มีนาคม 2495 – 4 กุมภาพันธ์ 2497)
แปลก พิบูลสงคราม