นิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์
นิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ | |
---|---|
รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง | |
ดำรงตำแหน่ง 23 มีนาคม พ.ศ. 2547 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 | |
ก่อนหน้า | สุชน ชาลีเครือ |
ถัดไป | นิคม ไวยรัชพานิช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2482 อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง |
พรรคการเมือง | ประชาธรรม (2517–2519) ชาติไทย (2529–2539) ประชาธิปัตย์ (2550–ปัจจุบัน) |
นิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ (เกิด 20 สิงหาคม พ.ศ. 2482) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน และแบบบัญชีรายชื่อ รวม 6 สมัย อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอ่างทอง
ประวัติ
[แก้]นิพนธ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ที่ตำบลตลาดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง และโรงเรียนอำนวยศิลป์ ธนบุรีตามลำดับ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโท สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
การทำงาน
[แก้]นิพนธ์ เคยเป็นเลขาธิการพรรคประชาธรรม ในปี 2517 และเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2518[1] ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคชาติไทย ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[2] ในระหว่างปี พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2543
กระทั่งในปี 2543 ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นครั้งแรก นายนิพนธ์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอ่างทอง ในระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2549 และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1[3]
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และเป็น ส.ส.สัดส่วน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[4] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ[5] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. อีกด้วย
ในปี 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 45[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ แจ้งความกระทรวงพาณิขย์ เรื่อง การแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ รอง ปธ.วุฒิฯ ร่วมแฉ “แม้ว” ล็อกเก้าอี้ให้ “สุชน”
- ↑ "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-07-12.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2482
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองอ่างทอง
- นักการเมืองไทย
- รองประธานวุฒิสภาไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอ่างทอง
- พรรคประชาธรรม (พ.ศ. 2517)
- พรรคกิจสังคม
- พรรคชาติไทย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.