ชวลิต อภัยวงศ์
ชวลิต อภัยวงศ์ | |
---|---|
รัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 21 กุมภาพันธ์ – 8 เมษายน พ.ศ. 2491 | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ |
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 | |
ก่อนหน้า | เทพ โชตินุชิต |
ถัดไป | ใหญ่ ศวิตชาติ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2429 อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 (98 ปี) โรงพยาบาลสมิติเวช กรุงเทพ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2489–2527) |
คู่สมรส | ปรานอม อภัยวงศ์ |
ชวลิต อภัยวงศ์ (24 กรกฏาคม พ.ศ. 2429 – 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2527) เป็นอดีตรัฐมนตรี อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระตะบอง[1] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี
ประวัติ
[แก้]ชวลิต อภัยวงศ์ เป็นบุตรชายคนโตของพระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) กับสงวน อภัยวงศ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 7 คน ดังนี้
- นายชวลิต อภัยวงศ์
- นายเบศร อภัยวงศ์
- นางถนอมวงศ์ (อภัยวงศ์) แสง-ชูโต
- นางสาวประจงยศ อภัยวงศ์
- นางประกอบกูล (อภัยวงศ์) วุฑฒินันท์
- นางประชุมวงศ์ (อภัยวงศ์) โปษยานนท์
- นางสุดสงวน (อภัยวงศ์) ทองปุสสะ
นอกจากนี้ ชวลิตยังเป็นพี่น้องต่างมารดากับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และมีพี่น้องต่างมารดาอีก 2 คนคือ
- นายจันทรคุปต์ อภัยวงศ์
- นายฑีฆาวุ อภัยวงศ์
นายชวลิตสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
งานการเมือง
[แก้]ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์
[แก้]เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ได้ร่วมกับ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช รวมทั้งนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง เช่น นายใหญ่ ศวิตชาต, นายเลียง ไชยกาล, ดร.โชติ คุ้มพันธ์, พระยาศราภัยพิพัฒ, นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ และ นายฟอง สิทธิธรรม ก่อตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ขึ้น โดย พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคคนแรก มี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นรองหัวหน้าพรรค ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นเลขาธิการพรรค และมี นายชวลิต อภัยวงศ์ ผู้มีศักดิ์เป็นหลานอา เป็น รองเลขาธิการพรรค มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพรรคฝ่ายค้านคานอำนาจรัฐบาลของนายปรีดี ที่ขณะนั้นมีอำนาจอย่างสูง ที่เข้ามาแทนที่รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม
คัดค้านจอมพลถนอม
[แก้]ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาไม่นาน นายชวลิตได้เป็น 1 ใน 100 ของบุคคลที่ลงชื่อคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอม กิตติขจร ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็น 1 ใน 4 สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ลงชื่อในคราวนั้น (อีก 3 คนคือ นายดำรง ลัทธพิพัฒน์, นายเทพ โชตินุชิต, นายพิชัย รัตตกุล)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]นายชวลิต อภัยวงศ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 (เลือกตั้งเพิ่มเติม) จังหวัดพระตะบอง
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 จังหวัดชลบุรี
รัฐมนตรี
[แก้]นายชวลิต อภัยวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี 1 สมัย คือ
- รัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 20 ซึ่งมีนายควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2486 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)[2]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระตะบอง เสียมเรียบ ศรีโสภณ “รอยสยาม” และ “สามจังหวัด”กัมพูชา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๓๐๓๑, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖