พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)
พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) | |
---|---|
เกิด | 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 |
ถึงแก่กรรม | 11 มกราคม พ.ศ. 2494 (57 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ตำแหน่ง | นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย |
วาระ | พ.ศ. 2468 – พ.ศ. 2471 |
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อน | พระยานเรนทรราชา (หม่อมหลวงอุรา คเนจร) |
ผู้สืบตำแหน่ง | พระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล) |
ภรรยาเอก | คุณหญิงเฉลา อนิรุทธเทวา |
บุตร | นางงามเฉิด อนิรุทธเทวา คุณหญิงงามฉลวย บุนนาค พลเอก เฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวา |
บิดามารดา |
|
ยศทหาร | พลตรี |
ยศเสือป่า | นายพลเสือป่า |
ยศมหาดเล็ก | จางวางเอก |
ยศพลเรือน | มหาเสวกเอก |
พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา นามเดิม หม่อมหลวงฟื้น ราชสกุลพึ่งบุญ เป็นอดีตผู้บัญชาการกรมมหรสพในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประวัติ
[แก้]พระยาอนิรุทธเทวา มีนามเดิมว่า หม่อมหลวงฟื้น เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 เป็นบุตรของพระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมราชวงศ์ละม้าย พึ่งบุญ) และพระนมทัต ประสิทธิ์ศุภการ พระนมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านมีพี่-น้อง ร่วมมารดา ดังนี้
- ท้าวอินทรสุริยา (เชื้อ พึ่งบุญ)
- พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)
- พระยาอนิรุทธเทวา
- หม่อมหลวงหญิงถนอม พึ่งบุญ
ได้เข้ารับการศึกษาในสำนักเรียนวัดมหาธาตุเป็นขั้นแรก จนจบหลักสูตรชั้น 1 จากนั้นมารดาจึงนำขึ้นถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร ณ พระราชวังสราญรมย์ ได้เป็นมหาดเล็กห้องบรรทมในขั้นแรก เมื่อ พ.ศ. 2449 ต่อมารับราชการจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย จนได้รับการเลื่อนตำแหน่งเรื่อยมา
บรรดาศักดิ์
[แก้]- วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2453 เป็นนายรองขัน[1]มหาดเล็กเวรเดช ถือศักดินา 300
- วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2454 เป็นนายสุนทรมโนมัย มหาดเล็กหุ้มแพรนายม้าต้น ศักดินา 400 [2]
- วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2455 เป็นนายจ่ายง มหาดเล็กเวรศักดิ์ ถือศักดินา 600[3]
- วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2456 เป็นหลวงศักดิ์นายเวร มหาดเล็กเวรศักดิ์ ถือศักดินา 800[4]
- วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2457 เป็นเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ หัวหมื่นมหาดเล็กต้นเชือกเวรเดช ศักดินา 1000[5]
- วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2459 เป็น พระยาอนิรุทธเทวา จางวางมหาดเล็ก ศักดินา 3000[6]
ตำแหน่งในราชการ คงรับราชการในตำแหน่งห้องพระบรรทมตลอดมา จนได้เป็นจางวางห้องที่พระบรรทม ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้ช่วยราชการกรมพระอัศวราช[7]อธิบดีกรมมหาดเล็ก ผู้บัญชาการกรมมหรสพ และคงดำรงตำแหน่งนี้โดยตลอด จนออกจากราชการ เพราะยุบเลิกและเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ราชการในกรมมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2469
พระยาอนิรุทธเทวา มีความสามารถทางนาฏศิลป์ในตัวพระลักษมณ์ ได้รับการฝึกหัดท่าละครจากพระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) ครูละครผู้ใหญ่ และยังมีความสามารถในการแสดงละครพูดละครร้องอันเป็นบทพระราชนิพนธ์ด้วย การแสดงละครร้องละครพูดนั้น ท่านมักรับบทเป็นตัวนาง
ภายหลังเมื่อออกจากราชการแล้ว พระยาอนิรุทธเทวาคงใช้ชีวิตอยู่กับการบำรุงนาฏศิลป์ มหรสพ ท่านมีคณะละครเป็นส่วนตัวของท่านเองคณะหนึ่ง ชื่อว่า "คณะละครบรรทมสินธุ์" (ตามชื่อบ้านของท่าน) และยังได้ช่วยเหลือดูแลคณะละครของท่านเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ในรัชกาลที่ 5 อีกส่วนหนึ่งด้วย ภายหลังท่านจึงรับมรดกละครทั้งหมดมาดูแลเมื่อท่านเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ถึงพิราลัย ใน พ.ศ. 2486 ซึ่งคณะละครทั้งสองนี้ได้ก่อกำเนิดบุคคลสำคัญทางวงการนาฏศิลป์เพิ่งขึ้นหลายท่าน บางท่านภายหลังยังได้มารับราชการในกรมศิลปากรต่อมา
พระยาอนิรุทธเทวาและคุณหญิงอนิรุทธเทวา มีความจงรักภักดียิ่งต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้จะเสด็จสวรรคตไป ทั้งสองก็ยังมีความจงรักภักดีและรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ เมื่อมีการแสดงละครก็จะกราบบังคมทูลเชิญ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียว เสด็จมาทอดพระเนตรเพื่อความสำราญพระหฤทัย แม้ในยามวิกฤติคราวกบฎบวรเดช ทั้งสองพระองค์ถูกเชิญไปประทับเพื่อความปลอดภัยในพระบรมมหาราชวัง ทำให้ไม่ทรงทราบข่าวจากภายนอก ทั้งสองก็อุตสาหะเร้นกายฝ่าวงล้อมทหารและประตูพระบรมมหาราชวังที่ลั่นดาลไว้ทุกชั้น เข้ามากราบทูลข่าวสารให้ทรงทราบ คราวสงครามโลกทั้งสอง ถุงน่องใยบัวเป็นของหายาก ทั้งสองก็พยายามเสาะแสวงหาเอาไปถวายถึงอังกฤษ เหตุการณ์เหล่านี้เป็นพยานยืนยันได้ถึงความจงรักภักดีที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้เสด็จสวรรคตไปก็ยังจงรักภักดีต่อหน่อเนื้อเชื้อไขที่มีอยู่เพียงพระองค์เดียวของล้นเกล้าล้นกระหม่อม
ถือได้ว่าพระยาอนิรุทธเทวา เป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่ได้อุปถัมภ์บำรุงนาฏศิลป์ไทยในช่วงที่กำลงตกต่ำ คือช่วงหลังสิ้นรัชกาลที่ 6 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ตลอดจนช่วงรัฐนิยม ของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ให้ดำรงอยู่ไม่เสื่อมสูญไปจากสังคมไทย จนกระทั่งเมื่อกรมศิลปากรเริ่มฟื้นฟูการแสดงนาฏศิลป์ให้ประชาชนชมอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านก็อุตสาหะไปชมการแสดงและช่วยวิจารณ์ในข้อบกพร่องในการแสดงให้กับกรมศิลปากรอีกหลายครั้ง
ครอบครัว
[แก้]ด้านชีวิตครอบครัว ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สมรสพระราชทานกับคุณหญิงเฉลา อนิรุทธเทวา ท.จ. เมื่อ พ.ศ. 2467 มีบุตร-ธิดา ร่วมกัน 3 คน คือ
- นางงามเฉิด อนิรุทธเทวา สมรสกับนายเตียบ สุจริตกุล บุตรมหาอำมาตย์โท เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) มีบุตรด้วยกัน 2 คน หนึ่งในนั้นคือ นายติรวัฒน์ สุจริตกุล ที่ปรึกษากองงานในพระองค์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- คุณหญิงงามฉลวย บุนนาค อดีตทำงานที่องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ดนัย บุนนาค บุตรมหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) มีบุตรชายด้วยกัน 1 คน คือนายดนุช บุนนาค บริษัท ที่ปรึกษา กรรมการผู้อานวยการใหญ่ การบินไทย จำกัด (มหาชน)
- พล.อ.เฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวา อดีตผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ ลำดับที่ 13 ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับหม่อมราชวงศ์วิมลโพยม สวัสดิวัตน์ โอรสธิดาพลอากาศจัตวา หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ สวัสดิวัตน์ มีบุตรชายกับบุตรตรีด้วยกัน ลำดับที่หนึ่งคือ พันตำรวจเอก เทวานุวัฒน์ อนิรุทธเทวา อดีตผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ลำดับที่สองคือนางแพรวโพยม อนิรุทธเทวา (ถึงแก่กรรม) สมรสกับนายโชคชัย กิติพราภรณ์ โดยทางตระกูลกิติพราภรณ์เป็นเจ้าของกิจการดรีมเวิลด์ สวนสนุกกลางแจ้งขนาดใหญ่ และสยามนิรมิตภูเก็ตโชว์, อดีตโรงละครสยามนิรมิต
ปัจฉิมวัย
[แก้]บั้นปลายชีวิต พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา ได้ป่วยด้วยโรคหัวใจพิการ อาการได้ทรุดลงตลอดมา จนถึงแก่อนิจกรรม ณ บ้านบรรทมสินธุ์ เทเวศร์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2494 เวลา 9.20 น. รวมอายุได้ 57 ปี 233 วัน
ตำแหน่ง
[แก้]- 13 กันยายน พ.ศ. 2458 ผู้ช่วยราชการกรมพระอัศวราช
- 26 กุมภาพันธ์ 2458 – ราชองครักษ์เวรเสือป่า[8]
- 28 มีนาคม พ.ศ. 2458 จางวางห้องที่พระบรรทม[9]
- เจ้ากรมห้องที่พระบรรทม
- 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 จางวางห้องที่พระบรรทม[10]
- 3 ธันวาคม พ.ศ. 2461 - รองอธิบดีกรมมหาดเล็ก[11]
- 16 มิถุนายน พ.ศ. 2462 อธิบดีกรมมหาดเล็ก[12]
- 7 เมษายน พ.ศ. 2467 ผู้บัญชาการกรมมหรสพ[13]
- 5 สิงหาคม พ.ศ. 2467 กลับไปเป็นอธิบดีกรมมหาดเล็กแต่ยังควบตำแหน่งผู้บัญชาการกรมมหรสพ[14]
- พ.ศ. 2468 นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- 19 มีนาคม พ.ศ. 2487 ประธานกรรมการธนาคารนครหลวงไทยคนที่ 2
ยศ
[แก้]ยศทหาร
[แก้]ยศกระทรวงวัง
[แก้]ยศกรมมหาดเล็ก
[แก้]ยศกองเสือป่า
[แก้]- นายหมู่ตรี[22]
- นายหมู่โท[23]
- นายหมู่เอก[24]
- นายหมวดเอก[25]
- 26 กุมภาพันธ์ 2458 – นายกองตรี[26]
- – นายกองเอก
- 9 กันยายน 2461 – นายนาวาเอก ราชนาวีเสือป่า[27]
- นายพลเสือป่า[28]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เข็มและเหรียญต่างๆ ดังนี้
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[29]
- พ.ศ. 2464 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[30]
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[31]
- พ.ศ. 2459 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[32]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ (ว.ภ.) (ฝ่ายหน้า)[33]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[34]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[35]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[36]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[37]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[38]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2454 – เข็มข้าหลวงเดิม[39]
- พ.ศ. 2454 – เข็มไอยราพต
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ (หน้า 2414)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ วันที่ 29 ตุลาคม พุทธศักราช 2457
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก ตั้งผู้ช่วยราชการกรมพระอัศวราช
- ↑ ประกาศกรมเสือป่า เรื่อง ตั้งราชองครักษ์เวรเสือป่า
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
- ↑ ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
- ↑ ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์แต่งเครื่องทหารรักษาวัง ว.ป.ร. เก็บถาวร 2022-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๑๗, ๖ สิงหาคม ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก เก็บถาวร 2022-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๘๔, ๖ สิงหาคม ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานยศพิเศษกรมวัง, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๑๒, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงวัง เรื่อง การแต่งกายและเครื่องยศ เก็บถาวร 2022-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๑๒, ๑๓ มีนาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๑๘, ๒๗ สิงหาคม ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมมหาดเล็ก เก็บถาวร 2022-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๙๙, ๕ มกราคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๕๖, ๑ มกราคม ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า เก็บถาวร 2022-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๘๐, ๒๓ ธันวาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๒๔, ๖ ตุลาคม ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๙๘, ๑ มีนาคม ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนยศเสือป่า เก็บถาวร 2022-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๙๓, ๔ ธันวาคม ๒๔๕๗
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ แจ้งความกรมบัญชาการคณะเสือป่า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศเสือป่า, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๑๒, ๗ มีนาคม ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙, ๖ เมษายน ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันศุกร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๔[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๖๕, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันอาทิตย์ที่ ๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๓[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๗๖, ๙ มกราคม ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามสมาชิกสมาชิกา สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า พระราชทานในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๕๙ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๖๗, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้รับพระราชทานตราวัลภาภรณ์ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้นๆ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑, ๖ เมษายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๗๗, ๔ มกราคม ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๙, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันเสาร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๔[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๖๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๒๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๐๘, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม เก็บถาวร 2022-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๕, ๒๘ พฤษภาคม ๑๓๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2436
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2494
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
- ราชสกุลพึ่งบุญ
- หม่อมหลวง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ว.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- สมาชิกกองเสือป่า
- นายพลชาวไทย
- พลตรี