วิมลศิริ ชำนาญเวช
วิมลศิริ ชำนาญเวช | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ | |
ดำรงตำแหน่ง 22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 | |
นายกรัฐมนตรี | ธานินทร์ กรัยวิเชียร |
ก่อนหน้า | นิพนธ์ ศศิธร |
ถัดไป | เกษม สุวรรณกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2473 (ประมาณ 95 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
รองศาสตราจารย์ วิมลศิริ ชำนาญเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ในรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นรัฐมนตรีหญิงหนึ่งในสองคนแรกของไทย[1]
การศึกษา
[แก้]รองศาสตราจารย์ วิมลศิริ ชำนาญเวช สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ และสาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) จากมหาวิทยาลัยจอร์เจียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา [2]
การทำงาน
[แก้]รองศาสตราจารย์ วิมลศิริ ชำนาญเวช เคยรับราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม[3] และเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นนักกฎหมายที่มีบทบาทในวงการกฎหมายไทย จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2548 - 2550[4] และเป็นนักกฎหมายที่มีบทบาทในการร่วมเป็นคณะกรรมาธิการร่างกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับเด็กและสตรีของไทย[5]
รองศาสตราจารย์ วิมลศิริ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ในรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร (ครม.39)[6] และเป็นหนึ่งในสองสตรีที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในประเทศไทย ดำรงตำแหน่งในระหว่างปี พ.ศ. 2519 ถึงปี พ.ศ. 2520
ภายหลังเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2533 รองศาสตราจารย์ วิมลศิริ ชำนาญเวช ได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น[7] และยังเป็นอาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งเป็นอาจารย์พิเศษสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จนถึงปีการศึกษา 2553
รางวัลดีเด่น
[แก้]รองศาสตราจารย์ วิมลศิริ ชำนาญเวช ได้รับรางวัลบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์แก่เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2546[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2534 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2531 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[10]
- พ.ศ. 2528 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พลิกโฉมประวัติศาสตร์ : ตรีนุชขึ้นรมว.ศึกษาหญิงคนแรก
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-01. สืบค้นเมื่อ 2010-06-07.
- ↑ "วารสารข้าราชการ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2507" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-01-08. สืบค้นเมื่อ 2023-01-08.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-08. สืบค้นเมื่อ 2010-01-06.
- ↑ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... สภาผู้แทนราษฎร[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 17 ราย)
- ↑ "ประวัติคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-01. สืบค้นเมื่อ 2012-03-10.
- ↑ ทำเนียบเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ และผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน ประจำปี พ.ศ. 2546[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓๓, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
ก่อนหน้า | วิมลศิริ ชำนาญเวช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นิพนธ์ ศศิธร | ![]() |
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ (22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520) |
![]() |
เกษม สุวรรณกุล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2473
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์
- รองศาสตราจารย์
- นักกฎหมายชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยไทย
- บุคคลจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์