ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กรมพระจักรพรรดิพงษ์)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 เจ้าฟ้าชั้นโท
กรมพระจักรพรรดิพงษ์
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง17 สิงหาคม พ.ศ. 2417
รัฐมนตรีสภา
ดำรงตำแหน่ง24 มกราคม พ.ศ. 2437
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[1]
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2429 - พ.ศ. 2435[2]
ประสูติ13 มกราคม พ.ศ. 2400
พระบรมมหาราชวัง จังหวัดพระนคร
ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์11 เมษายน พ.ศ. 2443 (43 ปี)
พระราชวังเดิม จังหวัดธนบุรี
ประเทศสยาม
หม่อมหม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์
หม่อมทับทิม จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมจีบ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมเอม จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมพลัด จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมเลื่อม จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมเผื่อน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมหลวงผาด จักรพันธุ์
หม่อมราชวงศ์หญิงปุ้ย จักรพันธุ์
พระบุตร17 พระองค์
ราชสกุลจักรพันธุ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ (13 มกราคม พ.ศ. 2400 - 11 เมษายน พ.ศ. 2443) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ที่ 3 ใน สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นพระโสทรานุชาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสเรียกว่า "ท่านกลาง"

พระประวัติ

[แก้]

ประสูติ

[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 2 แรม 3 ค่ำ ปีมะโรง นพศก จุลศักราช 1219 ตรงกับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2400 (นับแบบใหม่) เล่ากันมาว่ามีพระอุปนิสัยสงบเสงี่ยมและจริงจังเอาการเอางานเป็นอย่างยิ่ง ในคำกลอนสังเกตพระอัชฌาสัยเจ้านายเมื่อยังทรงพระเยาว์ ซึ่งคงจะแต่งกันล้อเล่นในหมู่เจ้านายโดยไม่ปรากฏนามคนแต่งเอ่ยถึงพระองค์ขณะพระชันษา 12 ว่า "พูดอะไรไม่เท็จ ท่านกลาง"

พระกรณียกิจ

[แก้]

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก พ.ศ. 2439 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพระอัครราชเทวี เป็นสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พร้อมกันนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งผู้ปรึกษาของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 4 พระองค์และ 1 คน คือ

ระหว่างที่ทรงเป็นที่ปรึกษาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อยู่นั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์จะเสด็จตรวจราชการตามท้องถนนดูแลทุกข์สุขและความเป็นไปของราษฎรอยู่เสมอ ๆ จากบันทึกของนักข่าวสยามไมตรีสิริ ออบเซิร์ฟเวอร์ หนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นรายงานข่าวลงในคอลัมน์ข่าวทั่วไปว่า

ได้พบร่างของใครคนหนึ่งออกมาเดินท่อม ๆ อยู่ตามลำพัง ในลักษณะสอดส่ายสายตามองเหตุการณ์ท้องถนนอย่างขะมักเขม้น ขณะนั้นเป็นเวลาราวสองยามของคืนวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2439 ท่ามกลางความมืดมิดของราตรีกาลในตอนค่อนคืนนี้ปรากฏว่าผู้นั้นได้เดินอยู่ตามลำพังโดยปราศจากความหวั่นเกรงต่ออันตรายจากเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ การปรากฏว่าท่านผู้นั้นคือสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักพรรดิพงศ์ เสด็จพระราชดำเนินอยู่ตรงสะพานหก มุมวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ เป็นพระราชวงศ์พระองค์หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการปกครองในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีพระองค์แรกของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[3] ทรงวางรากฐานการดำเนินงานของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และทรงกำหนดระเบียบวิธีการจัดเก็บภาษีอากรอย่างเป็นระบบ ทรงดำรงตำแหน่งเป็น ปรีวีเคาน์ซิล หรือ สภาที่ปฤกษาในพระองค์ (อังกฤษ: privy council) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2417 ซึ่งต่อมาเรียกว่าองคมนตรี และ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสภา[4] เมื่อปี พ.ศ. 2437

สิ้นพระชนม์

[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ประทับอยู่ ณ พระราชวังเดิม ซึ่งเป็นพระราชวังตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2424 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 12 ปีชวด โทศก จุลศักราช 1262 ตรงกับวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2443 สิริพระชันษา 44 ปี

พระโอรสและพระธิดา

[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลจักรพันธุ์ ทรงอภิเษกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง จักรพันธุ์ พระธิดาในพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ และมีหม่อมอีก 8 คน ได้แก่

  1. หม่อมทับทิม (สกุลเดิม: ณ มหาชัย) ธิดาหลวงเรืองศักดิ์สาคร
  2. หม่อมจีบ ธิดาจางวางฉิม มหาดเล็กชาวจังหวัดนนทบุรีในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
  3. หม่อมเอม
  4. หม่อมพลัด
  5. หม่อมเลื่อม ธิดาหลวงอภิบาลภูวนารถ (พู่) ชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  6. หม่อมเผื่อน ธิดาขุนศรีสงคราม
  7. หม่อมหลวงผาด (ราชสกุลเดิม: ปาลกะวงศ์) ธิดาหม่อมราชวงศ์สุหร่าย ปาลกะวงศ์
  8. หม่อมราชวงศ์หญิงปุ้ย (ราชสกุลเดิม: ไพฑูรย์) ธิดาหม่อมเจ้าจุ้ย ไพฑูรย์

โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 17 พระองค์ เป็นชาย 7 พระองค์ หญิง 9 พระองค์ และไม่ทราบว่าเป็นชายหรือหญิง 1 พระองค์

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
1. หม่อมเจ้านิพัทธ์พิสิฐพงษ์
(พ.ศ. 2428: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิพัทธ์พิสิฐพงษ์)
ที่ 1 ในหม่อมทับทิม ธันวาคม พ.ศ. 2420 27 สิงหาคม พ.ศ. 2435
2. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
(ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย)
ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
3. หม่อมเจ้าหญิงสุพัฒน์ประไภย
(พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุพัฒน์ประไภย)
ตุลาคม พ.ศ. 2420 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2421
4. หม่อมเจ้าเสรฐวงศ์วราวัตร
(พ.ศ. 2428: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสรฐวงศ์วราวัตร
พ.ศ. 2443: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสรฐวงศ์วราวัตร
พ.ศ. 2451: กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์)
ที่ 1 ในหม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง 6 กันยายน พ.ศ. 2421 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 หม่อมราชวงศ์หญิงสุข (ไพฑูรย์)
หม่อมลิ้นจี่
หม่อมลำใย
หม่อมโป๊
หม่อมเชื้อ
หม่อมกิมไหล
5. หม่อมเจ้าหญิงทรงศะศิคุณ
(พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงทรงศะศิคุณ)
ที่ 2 ในหม่อมทับทิม พ.ศ. 2422 13 มิถุนายน พ.ศ. 2438
6. หม่อมเจ้าดนัยวรนุช
(พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดนัยวรนุช)
หม่อมเอม พฤศจิกายน พ.ศ. 2423 5 ธันวาคม พ.ศ. 2455 หม่อมจี่ (สารสิน)
7. หม่อมเจ้าดรุณไวยวัฒน์
(พ.ศ. 2466: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดรุณวัยวัฒน์)
หม่อมจีบ 22 เมษายน พ.ศ. 2423 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 หม่อมสุด
หม่อมขาบ
หม่อมสำปั้น
หม่อมแหน
หม่อมสาย
หม่อมเล็ก
8. หม่อมเจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพ
(พ.ศ. 2436: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพ
พ.ศ. 2443: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพ)
ที่ 2 ในหม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
9. หม่อมเจ้าหญิงสุทธวิไลยลักษณา
(พ.ศ. 2436: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธวิไลยลักษณา
พ.ศ. 2443: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธวิไลยลักษณา) (มีพระนามลำลองว่าพระองค์หญิงกลาง)
ที่ 3 ในหม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง 9 มิถุนายน พ.ศ. 2425 11 มิถุนายน พ.ศ. 2467
10. หม่อมเจ้าออศคาร์นุทิศ
(พ.ศ. 2436: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ
พ.ศ. 2443: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ
พ.ศ. 2463 กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์)
ที่ 4 ในหม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง 2 ธันวาคม พ.ศ. 2426 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 หม่อมจำรัส (ปิยะวัตร)
หม่อมหวน (บุนนาค)
11. หม่อมเจ้าหญิงมาลิศเสาวรส
(พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงมาลิศเสาวรส)
หม่อมพลัด 18 ธันวาคม พ.ศ. 2426 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
12. หม่อมเจ้าทศศิริวงศ์
(พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์)
หม่อมหลวงผาด 23 ตุลาคม พ.ศ. 2427 20 มีนาคม พ.ศ. 2493 หม่อมหลวงหญิงเลื่อน (สุทัศน์)
13. หม่อมเจ้าหญิงบรรจงมารยาตร
(พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงบรรจงมารยาตร
หม่อมเลื่อม พ.ศ. 2427 7 สิงหาคม พ.ศ. 2461
14. หม่อมเจ้าหญิงบุบผชาติชลา
(พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงบุบผชาติชลา)
หม่อมเผื่อน พ.ศ. 2428 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448
15. หม่อมเจ้าหญิงประภาวสิทธิ์นฤมล
(พ.ศ. 2436: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงประภาวสิทธิ์นฤมล
พ.ศ. 2443: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงประภาวสิทธิ์นฤมล) (มีพระนามลำลองว่าพระองค์หญิงเล็ก)
ที่ 5 ในหม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง 11 มิถุนายน พ.ศ. 2428 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
16. หม่อมเจ้าปิยบุตร์
(พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปิยบุตร)
หม่อมราชวงศ์หญิงปุ้ย 6 ตุลาคม พ.ศ. 2433 6 มกราคม พ.ศ. 2464 หม่อมสุวรรณ
หม่อมสนม (ณ มหาชัย)
17. หม่อมเจ้าศศิพงศ์
(พ.ศ. 2436: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ พ.ศ.2443 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์)
ไม่ปรากฏ[5] 2520 [5]

พระนัดดา

[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ มีพระนัดดามากกว่า 79 พระองค์/องค์/คน ดังนี้

  • พระโอรสธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ 28 องค์/คน ได้แก่
    • หม่อมเจ้าหญิงดวงแก้ว จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์หญิงสุข
    • หม่อมราชวงศ์หญิงแจ่มแจ้ง จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมราชวงศ์หญิงสุข โดยถึงแก่กรรมก่อนที่บิดาจะได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
    • หม่อมเจ้าแววจักร์ จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์หญิงสุข
    • ลำนักเนตร จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมลิ้นจี่
    • หม่อมเจ้าเสรฐพันธุ์ จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์หญิงสุข
    • หม่อมเจ้าหญิงวัลย์วิเชียร จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์หญิงสุข
    • หม่อมเจ้าเวียนขวา จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมลิ้นจี่
    • หม่อมเจ้าหญิงจารุภักตร์ จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์หญิงสุข
    • หม่อมเจ้าศักดิ์สิทธิ์ จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์หญิงสุข
    • หม่อมเจ้าอิทธิเดช จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมลิ้นจี่
    • หม่อมเจ้าหญิง (กร่อง) ประสูติแต่หม่อมลำใย
    • หม่อมเจ้าเจตนาธร จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมลำใย
    • อรอุษา จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมลำใย
    • หม่อมเจ้าวราทิวัต จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมโป๊
    • ศิริอัจฉรา สุขบท ประสูติแต่หม่อมลำใย
    • หม่อมเจ้าอาชวะ จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมลิ้นจี่
    • หม่อมเจ้าหญิง (ไม่มีพระนาม) ประสูติแต่หม่อมโป๊
    • อภิลาช คงแช่มดี ประสูติแต่หม่อมโป๊
    • หม่อมเจ้าหญิง (จิ๋ว) ประสูติแต่หม่อมเชื้อ
    • หม่อมเจ้า (เจ๊ก) ประสูติแต่หม่อมกิมไหล
    • หม่อมเจ้าอัชฌา จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมลำใย
    • หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมโป๊
    • หม่อมเจ้าจิตรการ จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมลิ้นจี่
    • หม่อมเจ้าสมานมิตร จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมลำใย
    • หม่อมเจ้าประดิษฐา จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมโป๊
    • หม่อมเจ้าวรรณาฑิต จักรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมลิ้นจี่
    • จิตต์จง ณ ลำพูน ประสูติแต่หม่อมลำใย
    • ส่งรัศมี สวัสดิ์-ชูโต ประสูติแต่หม่อมลำใย
  • พระโอรสธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดรุณวัยวัฒน์ มากกว่า 30 คน แต่ปรากฏนามเฉพาะที่เคยพำนักอยู่ในวังหลานหลวง 24 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิง (ไม่มีนาม) เกิดแต่หม่อมสุด
    • หม่อมราชวงศ์หญิงจรัสวงศ์ จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมสุด
    • หม่อมราชวงศ์สิทธิลาภ จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมขาบ
    • หม่อมราชวงศ์เชาวน์ไว จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมขาบ
    • หม่อมราชวงศ์ (เล็ก) เกิดแต่หม่อมขาบ
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเพทาย จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมขาบ
    • หม่อมราชวงศ์เขียวหวาน จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมแหน
    • หม่อมราชวงศ์หญิง (จี๊ด) เกิดแต่หม่อมแหน
    • หม่อมราชวงศ์แสงสี่ทิศ จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมสำปั้น
    • หม่อมราชวงศ์หญิงมัญชุลา จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมขาบ
    • หม่อมราชวงศ์วรานนท์ จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมแหน
    • หม่อมราชวงศ์หญิงโกศลยา จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมแหน
    • หม่อมราชวงศ์ชาลี จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมสาย
    • หม่อมราชวงศ์ชีวิน จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมเล็ก
    • หม่อมราชวงศ์หญิงพินทุเรขา จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมเล็ก
    • หม่อมราชวงศ์หญิงอารุณี จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมเล็ก
    • หม่อมราชวงศ์ (อ้วน) เกิดแต่หม่อมเล็ก
    • หม่อมราชวงศ์จีรวัฒน จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมเล็ก
    • หม่อมราชวงศ์หญิงจรัสพิมพ์ โอท เกิดแต่หม่อมเล็ก
    • หม่อมราชวงศ์นิตยจักร จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมเล็ก
    • หม่อมราชวงศ์อนัคชัย จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมเล็ก
    • หม่อมราชวงศ์วัยวัฒน์ จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมเล็ก
    • หม่อมราชวงศ์วีรเสน จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมเล็ก
    • หม่อมราชวงศ์ปิยดรุณ จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมเล็ก
  • พระโอรสธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ 4 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์พงษ์พรหม จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมหลวงหญิงเลื่อน
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสมพันธุ์ จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมหลวงหญิงเลื่อน
    • หม่อมราชวงศ์หญิงวรรณแวว สุมิตร เกิดแต่หม่อมหลวงหญิงเลื่อน
    • หม่อมราชวงศ์แก้วมณี จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมหลวงหญิงเลื่อน
  • พระโอรสธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปิยบุตร 6 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์ปรียสุวรรณ จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมสุวรรณ
    • หม่อมราชวงศ์พันธุปรีย์ จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมสุวรรณ
    • หม่อมราชวงศ์ปรียะพจน์ผดุง จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมสนม
    • หม่อมราชวงศ์หญิงปรุงสมร ชาญฉลาด เกิดแต่หม่อมสนม
    • หม่อมราชวงศ์หญิงอรสนม อนงค์จรรยา เกิดแต่หม่อมสนม
    • หม่อมราชวงศ์นิยมสิริ จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมสนม

พระเกียรติยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงษ์
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ[6]

[แก้]
  • พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี (13 มกราคม พ.ศ. 2400 - 3 มกราคม พ.ศ. 2412)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี ศรีสมมติเทวราชรวิวงษ์ วโรภัยพงษพิสุทธ มกุฎราชวรางกูร มไหสูรยารหราชกุมาร (3 มกราคม พ.ศ. 2412 - 21 มกราคม พ.ศ. 2419)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี ศรีสมมติเทวราชรวิวงษ์ วโรภัยพงษพิสุทธ มกุฎราชวรังกูร มไหสุริยารหราชนรินทรานุชาธิบดี กรมหลวงจักรพรรดิพงษ์ (21 มกราคม พ.ศ. 2419 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ดำรงขัติยศักดิอรรควรยศ รัตนสมมติบุริสาชาไนย สีดลหฤไทยธรรมสุจริต อเนกราชกิจสิทธิวิจารณ์ มโหฬารคุณสมบัติ พุทธาทิรัตนสรณาคม อุดมเดชานุภาพบพิตร (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429 - 11 เมษายน พ.ศ. 2443)[7]
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ (หลังจากสิ้นพระชนม์)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

สถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม

[แก้]
ถนนจักรพรรดิพงษ์

ตั้งอยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โดยเริ่มตัดจากถนนบำรุงเมือง แยกแม้นศรี ไปจนบรรจบกับถนนราชดำเนิน โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น และพระราชทานนามว่า "ถนนจักรพรรดิพงษ์" เพื่อเป็นเกียรติยศแก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์

เหรียญที่ระลึก

[แก้]
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ เนื่องในโอกาสวันประสูติครบ 150 ปี พ.ศ. 2549[12]

ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบผู้บังคับการทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ทรงสายสะพายและประดับดาราเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ และสายสร้อยจุลจอมเกล้าภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์" เบื้องล่างมีข้อความว่า "ประเทศไทย" โดยมีจุดกลมคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง

ด้านหลัง กลางเหรียญมีตราพระนามสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "150 ปี แห่งวันประสูติองค์เสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ 13 มกราคม 2549" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "10 บาท" โดยมีจุดกลมคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง

ราชตระกูล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2434/007/52.PDF
  2. https://www.mof.go.th/th/minister/2018-12-28-11-14-48
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2434/007/52.PDF
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2437/044/367.PDF
  5. 5.0 5.1 สมประสงค์ ทรัพย์พาลี, ผู้รวบรวม. วงศ์แห่งมงกุฎ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : 2325, สนพ., พ.ศ. 2561. 352 หน้า. ISBN 978-616-478-207-5
  6. ดูเพิ่ม กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์ (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554), หน้า 59-60
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนกรม, เล่ม ๑, ตอน ๕๗, ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๗, หน้า ๔๙๙
  8. ตามเอกสารต้นฉบับเรียกชื่อในขณะนั้นว่า เครื่องราชอิสริยยศช้างเผือกสยามชั้น 1 มหาวราภรณ์ (ม.ช.) "ดิโปลมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 1: หน้า 500. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2429/049/406.PDF
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2438/050/497.PDF
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2441/026/283.PDF
  12. กรมธนารักษ์, http://ecatalog.treasury.go.th/ecatalog/index.php?myModuleKey=e-cat-bt&pid=12&ptypeid=12&ShowPage=3[ลิงก์เสีย] บริการอิเล็กทรอนิกส์เหรียญและผลิตภัณฑ์เหรียญ

หนังสือ

[แก้]
  • พีระเดช อนุพงษ์ จักรพันธุ์, ม.ร.ว.. ๑๕๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง, 2548. 278 หน้า.
  • Jeffy Finestone , แปลโดยชาคริต ชุ่มวัฒนะ. สมุดพระรูปพระราชโอรส พระราชธิดาและพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4). กรุงเทพ : โลมาโฮลดิ้ง, พ.ศ. 2543. หน้า หน้าที่. ISBN 974-871-488-2 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  • บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : องค์การค้าของคุรุสภา, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2539. หน้า หน้าที่. ISBN 974-005-650-8 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  • กนกวลี ชูชัยยะ. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม. กรุงเทพ : ราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2548. 488 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9588-38-3 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ถัดไป
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ เสนาบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ
(พ.ศ. 2429 - 2435)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์