เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา)
เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) | |
---|---|
เกิด | 31 มีนาคม พ.ศ. 2406 |
ถึงแก่กรรม | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 (78 ปี) |
บิดามารดา |
|
ยศข้าราชการในราชสำนัก | มหาเสวกเอก |
มหาเสวกเอก เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา; 31 มีนาคม พ.ศ. 2406 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2484) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง
ประวัติ
[แก้]ชาติกำเนิด
[แก้]เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เป็นบุตรของหม่อมเจ้าเสาวรศ อิศรเสนา และหม่อมมุหน่าย อิศรเสนา ณ อยุธยา เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2405 (แบบปัจจุบัน คือ พ.ศ. 2406) ที่พระตำหนักหม่อมเจ้าเสาวรส บริเวณถนนพระอาทิตย์ กรุงเทพมหานคร สมรสกับหม่อมราชวงศ์อรุณ นพวงศ์
การศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2412 อายุ 8 ขวบ เข้าเรียนกับหลวงตา (บิดาของหม่อมมุหน่าย) ที่วัดทองปุ (วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร)
- พ.ศ. 2418 อายุ 12 ขวบ เข้าโรงเรียนบุตรข้าราชการ มีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นอาจารย์
- พ.ศ. 2420 อายุ 16 ขวบ ออกจากโรงเรียน ไปฝึกงานด้านการชุบเงิน-ทองที่โรงชุบจนทองของหม่อมเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์แดง อิศรเสนา) ข้างสะพานรามบุตรี (ปัจจุบันอยู่บริเวณสถานีบริการน้ำมันใกล้ซอยรามบุตรี ถนนพระอาทิตย์) ทำหน้าที่ชุบ ล้างและขัดมันองค์พระพุทธรูป
ถึงแก่อสัญกรรม
[แก้]เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สิริอายุ 78 ปี
การรับราชการ
[แก้]รัชกาลที่ 5
[แก้]- พฤศจิกายน พ.ศ. 2420 รับราชการยศนายสิบทหาร ห้อง (ช่าง) เงินเดือน 12 บาท มีหน้าที่ ควบคุมบังคับช่างที่รักษาความสะอาดในพระที่นั่ง
- พ.ศ. 2425 ผู้บังคับกรมเด็กชา (รวม ขุนหมื่นชาวที่เข้ากับ ลูกหมู่ลาวสีไม้) มี ตำแหน่งเทียบเท่า นายร้อยทหารหน้า
- พ.ศ. 2428 เป็นหลวงราชดรุณรักษ์ เทียบเท่าร้อยโทกรมทหารหน้า ถือศักดินา ๖๐๐[1]
- พ.ศ. 2433 ยกกรมเด็กชาขึ้นเป็นกระทรวงวัง
- 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 เป็นหลวงสิทธินายเวร มหาดเล็กเวรสิทธิ์ ถือศักดินา ๘๐๐[2]
- 10 กันยายน พ.ศ. 2441 เป็นเจ้าหมื่นเสมอใจราช หัวหมื่นมหาดเล็กปลายเชือกเวรสิทธิ์ ถือศักดินา ๑๐๐๐[3]
- พ.ศ. 2443 ปฏิบัติงานในกรมสุขาภิบาล (จัดทำถนนและสาธารณสถาน) ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เป็นเจ้ากรมโยธา ทำการก่อสร้างทั่วไป
- 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 เป็น พระยาวรพงษ์พิพัฒน์ จางวางมหาดเล็ก ถือศักดินา ๑๐๐๐[4]
- พ.ศ. 2452 เป็นผู้ดูแลกำกับการสร้างท่าเทียบเรือพระที่นั่ง
รัชกาลที่ 6
[แก้]- 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 เป็นองคมนตรี ในสมัยรัชกาลที่ 6[5]
- พ.ศ. 2455 ดำรงตำแหน่งในสภาจางวาง ยศจางวางโท
- พ.ศ. 2456 เป็นอธิบดีกรมตรวจมหาดเล็ก
- 1 เมษายน พ.ศ. 2457 เป็นจางวางเอก[6]
- 10 มีนาคม พ.ศ. 2458 รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมพระอัศวราชอีกตำแหน่งหนึ่ง[7]
รัชกาลที่ 7
[แก้]- พ.ศ. 2469 ผู้บัญชาการมหาดเล็กกรรมการชำระสะสางเงิน พระคลังข้างที่ และตัดทอนรายจ่ายราชสำนัก
- พ.ศ. 2469 ผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง
- พ.ศ. 2469 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ สกุลกษัตริ์ยศรีบวรราชเสนานุรักษ์ มหาสวามิภักดิ์บรมราชูปสดมภ์ ศุทธสมเสวกามาตย์มหาร์ชวังคณบดี ราชธรรมปรเพณีศรีรัตนมนเทียรบาล มุทราธารนนทิวาหเนศ บุนยเกษตรศรณเกษมสวัสดิ์ บรมราชาธิปัตเยนทรมนตรี มหาเสนาบดีอภัยพีริยปรากรมพาหุ[8] ศักดินา 10000 ไร่ เงินเดือน 2,200 บาท
- พ.ศ. 2470 เสนาบดีกระทรวงวัง[9]
- พ.ศ. 2475 ผู้สำเร็จราชการพระราชวัง หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
- พ.ศ. 2476 เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง
- พ.ศ. 2477 ออกจากราชการหลังจากยุบกระทรวงวังเป็นสำนักพระราชวัง รับบำนาญเดือนละ 950 บาท รวมอายุราชการ 57 ปี
การประกอบธุรกิจ
[แก้]- 2426 - 2427 ธุรกิจรับส่งผู้โดยสาร โดยรถม้า และรถเก๋ง
- 2428 ธุรกิจสร้างตู้เสาเกลียว เครื่องเรือน และทำเครื่องแป้ง
- 2439 ธุรกิจโรงเลื่อยจักร ข้างวัดตรี ริมคลองบางลำพู (หน้าวัดรังสี)
- 2444 ธุรกิจเตาเผาอิฐ
- 2445 - 2447 ธุรกิจโรงสีข้าวที่บางโพ
- 2450 ตั้งท่าเรือจ้าง ณ ถนนพระอาทิตย์ ธุรกิจเรือเมล์เขียว (คลองบางหลวง)
- 2451 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ก่อตั้งบริษัท รถไฟบางบัวทอง จำกัดสินใช้ โดยสร้างทางรถไฟสายบางบัวทองลงทุนด้วยเงินยืม
- 2452 ธุรกิจมวนบุหรี่ ต่อมาสนใจโรงงานยาสูบ
- 2458 เริ่มเดินรถไฟสายบางบัวทอง ใช้รถจักรไอน้ำ รางขนาดกว้าง 75 เซนติเมตร โดยใช้รถจักรไอน้ำขนาดเล็ก
- 8 มกราคม 2465 ได้ทำสัญญากับกรมรถไฟหลวงเพื่อขยายเส้นทางรถไฟ (หลักฐานสัญญาเก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
- 2465 - 2469 ธุรกิจโรงงานน้ำตาลทรายที่ทับหลวง ลงทุนด้วยเงินยืม แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
- 2468 จดทะเบียน ตั้งบริษัท รถไฟบางบัวจำกัดสินใช้
- 2469 เริ่มการขยายเส้นทางไป วัดระแหง ที่ ลาดหลุมแก้ว
- 2470 ต่อมาปรับปรุงจากรถกำลังไอน้ำ พลังงานฟืน มาเป็นรถราง 4 ล้อ เครื่องเบนซิน โดยใช้น้ำมัน ตราหอย จาก บริษัทอิสเอเชียติก ปิโตรเลียม จำกัด ซึ่งปัจจุบัน คือ น้ำมัน เชลล์ จาก บริษัทเชลล์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) แต่ต่อมาซื้อน้ำมันจาก โซโกนี่ (เปลี่ยนชื่อเป็น สแตนดาร์ดแวคัมออยล์ เมื่อปี 2477) ซึ่งปัจจุบันคือ บริษัท เอสโซสแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
- 5 เมษายน 2473 แก้ไขสัญญาเดินรถไฟบางบัวทองกับกรมรถไฟหลวง เพื่อถอนรางที่อยู่วัดเฉลิมพระเกียรติ (ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดนนทบุรีเดิมที่ตลาดขวัญ) ให้เดินรถไฟตรงไปที่ท่านั้นฝั่งตรงข้ามศาลากลางจังหวัดนนทบุรีแห่งใหม่ที่บางขวาง พร้อมยืดระยะรถไฟจากบางบัวทองไปที่วัดระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี (หลักฐานสัญญาเก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เช่นกัน)
- 2477 แก้ไขรถราง 4 ล้อให้มาใช้ น้ำมันดีเซล แทนเพื่อลดค่าใช้จ่าย
- 19 กุมภาพันธ์ 2480 เกิดอุบัติเหตุ รถราง 4 ล้อรถไฟบางบัวทองชนกัน คนขับช้ำในตายที่โรงพยาบาลกลาง
- 2483 เมื่อ บริษัทอิสเอเชียติก ปิโตรเลียม จำกัด และ สแตนดาร์ดแวคัมออยล์ เลิกการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทย รถไฟบางบัว จำกัดสินใช้ ต้องซื้อน้ำมันดีเซล จากกรมเชื้อเพลิง กระทรวงกลาโหม (น้ำมันสามทหาร) แทน
- 16 กรกฎาคม 2485 ประกาศเลิกกิจการ รถไฟบางบัวทอง แล้วดำเนินการถอนรางและรถจักรไปขาย บริษัทส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย จำกัด เจ้าของโรงงานน้ำตาลวังกะพี้
- กันยายน 2485 เริ่มการถอนรางและไม้หมอนไปกองรวมกันที่ สถานีรถไฟบางบำหรุ
- 2 มกราคม 2486 เลิกกิจการรถไฟบางบัวทอง อย่างเป็นทางการ
เกียรติยศ
[แก้]เครื่องยศ
[แก้]เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) ได้รับพระราชทานเครื่องยศ ดังต่อไปนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2469 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[12]
- พ.ศ. 2468 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[14]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ (ว.ภ.) (ฝ่ายหน้า)[15]
- พ.ศ. 2458 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[16]
- พ.ศ. 2435 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการในพระองค์ (ร.ด.ม.(พ))[17]
- พ.ศ. 2435 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[18]
- พ.ศ. 2457 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[19]
- พ.ศ. 2449 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[20]
- พ.ศ. 2463 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[21]
- พ.ศ. 2474 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)[22]
- พ.ศ. 2442 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 5 (ร.จ.ท.5)[23]
- พ.ศ. 2457 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[24]
- พ.ศ. 2425 – เหรียญสตพรรษมาลา (ส.ม.)
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)[25]
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2445 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 2[26]
- เบราน์ชไวค์ :
- พ.ศ. 2452 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตไฮน์ริช ชั้นที่ 1[27]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2472 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 1[28]
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำเนาสัญญาบัตรปีระกาสัปตศก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งองคมนตรี
- ↑ พระราชทานยศและเลื่อนยศ
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการ เลื่อบรรดาศักดิ์พระยาวรพงษ์พิพัฒน์เป็นเจ้าพระยา, เล่ม ๔๓, ตอน ง, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙, หน้า ๓๐๑๔-๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศตั้ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เสนาบดีกระทรวงวัง และเสนาบดีกระทรวงธรรมการ กับอธิบดีศาลฎีกา, เล่ม ๔๓, ตอน ๐ ก, ๒๐ มีนาคม ๒๔๖๙, หน้า ๗๒๓
- ↑ 10.0 10.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องยศ, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๙ หน้า ๓๐๔, ๑๖ ตุลาคม ๑๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๘, ๑๓ เมษายน ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๑๒, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๔๐, ๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้รับพระราชทานตราวัลลภาภรณ์ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้นๆ, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙, ๖ เมษายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๙๙, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙ ตอนที่ ๔๐ หน้า ๓๕๑, ๑ มกราคม ๑๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙ ตอนที่ ๔๐ หน้า ๓๕๐, ๑ มกราคม ๑๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๒, ๑๐ มกราคม ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๒๘ หน้า ๗๑๖, ๗ ตุลาคม ๑๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๒๗, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๒, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๖ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๓๖๔, ๒๔ กันยายน ๑๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๓๕, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๓, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๑๔ หน้า ๒๖๘, ๖ กรกฎาคม ๑๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันซวิก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๕, ๑๐ เมษายน ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๑๔, ๑๖ มิถุนายน ๒๔๗๒
บรรณานุกรม
- หม่อมหลวงยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา. ประวัติ เจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ กรุงเทพ , สำนักพิมพ์บรรณกิจ (1991) จำกัด , 2525.
- อนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ หลวงพิสูจน์พาณิชลักษณ์ (หม่อมหลวงเพิ่มยศ อิศรเสนา) ม.ว.ม., ป.ช.,ท.จ.ว. ณ. เมรุหลวงหน้า พลับพลาอิศร์ยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส. วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2528.
- เอกสารชุดรถไฟบางบัวทอง จากกรมราชเลขาธิการ สมัยรัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 (มีในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
- เอกสารชุดรถไฟบางบัวทอง จากสำนักนายกรัฐมนตรี (มีในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]