ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลบ้านค่าย ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บ้านค่าย ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลบ้านค่าย ยูไนเต็ด
Bankhai United Football Club
ฉายาขุนศึกพระเจ้าตากสิน
ก่อตั้ง2012; 13 ปีที่แล้ว (2012)
สนามหวายกรองสเตเดียม
(สนามกีฬาโรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินบ้านค่าย)
ความจุ1,362
เจ้าของบริษัท เอสที พีที เซอร์วิส ระยอง จำกัด
ประธานชนะ ปิตุเตชะ
ผู้จัดการวุฒิ เอี่ยมแสง
ผู้ฝึกสอนใหญ่ นิลวงษ์
ลีกไทยลีก 3
2566–67ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออก, อันดับที่ 2
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลบ้านค่าย ยูไนเต็ด (อังกฤษ: Bankhai United Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางบุตร อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออก

โดยสโมสรสร้างผลงานคว้าแชมป์ไทยลีก อเมเจอร์ ทัวร์นาเมนต์ (ภาคตะวันออก) ได้ในฤดูกาล 2559 ทำให้ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาแข่งขันในระบบฟุตบอลลีกอาชีพเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2560 และใช้สนามกีฬาโรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินบ้านค่าย หรือ หวายกรอง ส​เตเดี้ยม ​เป็นสนามเหย้า

ประวัติ

[แก้]

สโมสรฟุตบอลบ้านค่าย ยูไนเต็ด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2555 และได้สิทธิลงแข่งขันฟุตบอลในรายการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก จากการรับช่วงสิทธิในการลงแข่งขันมาจาก สโมสรฟุตบอลโรงเรียนบ้านทุ่งเค็ด ซึ่งลงแข่งขันในระดับฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข.

ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ประเภท ข.

[แก้]

สโมสรส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก ในรายการฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ประจำปี 2554 ( เริ่มทำการแข่งขันในช่วงต้นปี พ.ศ. 2555 )

โดยสโมสรลงแข่งขันเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 ในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ข. ประจำปี 2554 ที่สนามกีฬากลางจังหวัดระยอง โดยลงแข่งขันกับ สมาคมกีฬาจังหวัดระยอง และชนะด้วยผล 3–0 ซึ่งการแข่งขันนัดดังกล่าวทำให้ วิธาน ขจรกฤดิกุล ได้รับการบันทึกว่าเป็นนักฟุตบอลคนแรกของสโมสรที่ทำประตูได้ในการแข่งขันอย่างเป็นทางการ

โดยในปีแรกที่ลงแข่งขัน สโมสรสามารถผ่านเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศ ก่อนจะแพ้ให้กับกรุงธนบุรี เอฟซี ตกรอบไปในที่สุด

ในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ประจำปี 2555 สโมสรทำผลงานในปีดังกล่าวได้ตกลงไป และผ่านเข้าไปถึงเพียงแค่รอบ 16 ทีมสุดท้ายก่อนจะตกรอบ

ต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ประจำปี 2556 สโมสรกลับมาทำผลงานได้ดีและสามารถผ่านเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศได้อีกครั้ง โดยในรอบรองชนะเลิศที่พบกับสโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ หลังจากเสมอกันในเวลาปกติ 2–2 และต้องหาทีมเข้าไปชิงชนะเลิศด้วยการดวลจุดโทษ ปรากฏว่าสโมสรบ้านค่าย ยูไนเต็ด ต้องพ่ายแพ้ในการดวลจุดโทษและพลาดโอกาสในเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในลีกอาชีพอีกครั้งอย่างน่าเสียดาย

ปี พ.ศ. 2557 สโมสรฟุตบอลบ้านค่าย ยูไนเต็ด เข้าถึงรอบ 16 ทีมสุดท้าย ก่อนจะแพ้ให้กับสโมสรฟุตบอลกรมสวัสดิการทหารบก ที่ได้แชมป์ไปในที่สุด และในปี พ.ศ. 2558 สโมสรทำผลงานได้อย่างน่าผิดหวังเมื่อตกรอบแบ่งกลุ่มเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ส่งทีมลงแข่งขันในระดับถ้วย ข.

โลโก้ทีม

[แก้]


ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ประเทศไทย พลณฤต สุดตา
2 DF ประเทศไทย พงศ์ศิริ สุขรอด
4 MF ประเทศไทย ณพนันท์ ทิพย์อักษร
5 MF ประเทศไทย พารินธร ตระการจันทร์
7 FW ประเทศบราซิล ลูกัส มัสซารู
8 MF ประเทศไทย สหรัฐ รัตนวิจิตร
9 MF ประเทศไทย อภิรัตน์ หีมขาว
10 MF ประเทศไทย ณัฏฐิกรณ์ ย่าพรหม
11 MF ประเทศไทย จักรี ปันคำ
13 MF ประเทศไทย ชินพัฒน์ ไกรแก้ว
14 MF ประเทศไทย ศุภกร กลัดกลีบ
15 DF ประเทศบราซิล ลูกัส เดาเบอร์มันน์
17 FW ประเทศไทย อภิชาติ สาหร่าย
19 FW ประเทศไนจีเรีย จอห์น โอเวอรี
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
20 DF ประเทศไทย ตะวัน หันทำเล
26 MF ประเทศไทย นันทวัฒน์ สีดา
27 DF ประเทศไทย ศาสตรา รัตน์ลงเมือง
30 GK ประเทศไทย ประพัฒน์ ยศไกร
31 DF ประเทศไทย ธรรมวัฒน์ ไตรล้ำ
32 FW ประเทศบราซิล เอรีแวลตู
36 GK ประเทศไทย ณัฐวุฒิ ทรพล
38 FW ประเทศไทย อนุชา พานทอง
45 MF ประเทศไทย ธีรกรณ์ สุนทรเวช
47 MF ประเทศไทย จิรายุ คำบาง
53 MF ประเทศไทย กานต์พิชชา ใจซื่อ
55 MF ประเทศไทย อภิรักษ์ สวนกัน
58 MF ประเทศไทย จักรพงศ์ พูลจวง (กัปตันทีม)
65 MF ประเทศไทย ภาณุวิชญ์ ศิลาพงษ์
96 MF ประเทศไทย ปุณณภพ นามอนุ

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ลีก 3 คัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2561 ไทยลีก 4
โซนภาคตะวันออก
27 13 10 4 34 18 49 อันดับที่ 1 รอบ 16 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบแรก ประเทศโกตดิวัวร์ กามารา ซูเลมาน 7
2562 ไทยลีก 4
โซนภาคตะวันออก
28 19 6 3 60 19 63 อันดับที่ 1 รอบ 16 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบแรก ประเทศไทย ธาตรี สีหา 16
2563–64 ไทยลีก 3
โซนภาคตะวันออก
16 10 1 5 33 16 31 อันดับที่ 3 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบแรก สาธารณรัฐคองโก บูร์เนล อ็อกานา-ซตาซี 18
2564–65 ไทยลีก 3
โซนภาคตะวันออก
22 10 9 3 37 22 39 อันดับที่ 4 ไม่ได้เข้าร่วม รอบคัดเลือกรอบสอง ประเทศไทย อนุวัฒน์ นาคเกษม 15
2565–66 ไทยลีก 3
โซนภาคตะวันออก
22 5 10 7 20 26 25 อันดับที่ 8 ไม่ได้เข้าร่วม รอบเพลย์ออฟ ประเทศบราซิล อับแนร์ โกมีส ฟาเรีย 4
2566–67 ไทยลีก 3
โซนภาคตะวันออก
20 13 3 4 30 14 42 อันดับที่ 2 ไม่ได้เข้าร่วม รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบ 16 ทีมสุดท้าย สาธารณรัฐคองโก บูร์เนล อ็อกานา-ซตาซี 10
ไทยลีก 3
รอบแชมเปี้ยนส์ลีก
โซนตอนบน
5 2 1 2 7 7 7 อันดับที่ 3
2567–68 ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออก รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบสอง รอบลีก
แชมป์ รองแชมป์ อันดับที่ 3 เลื่อนชั้น ตกชั้น

ผู้ทำประตูสูงสุดในลีกประจำฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ผู้ทำประตูสูงสุด จำนวนประตู สัญชาติ ตำแหน่ง ระดับ
2559 ภานุกรณ์ ประภา 5 ประเทศไทย กองกลาง ดิวิชั่น 3
2560 พชรดนัย ล่ำสัน 8 ประเทศไทย กองกลาง ไทยลีก 4
2561 กามารา ซูเลมาน 7
(โซนภาคตะวันออก​ 6​ ประตู
รอบแชมเปียนส์ลีก​1​ประตู)
ประเทศโกตดิวัวร์ กองหน้า ไทยลีก 4
2562 ธาตรี สีหา 13 ประเทศไทย กองหน้า ไทยลีก 4
2563 Burnel Okana-Stazi 18 สาธารณรัฐคองโก กองหน้า ไทยลีก 3

ทำเนียบผู้ฝึกสอน (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559)

[แก้]
ณ วันที่ 27 มกราคม 2568
ชื่อ สัญชาติ ตั้งแต่ ถึง
คณิศร ศิริโต ประเทศไทย ธันวาคม พ.ศ.​ 2559 กุมภาพันธ์ พ.ศ.​ 2560
สัมพันธ์ เอี่ยมวิไล ประเทศไทย กุมภาพันธ์ พ.ศ.​ 2560 เมษายน พ.ศ.​ 2560
ประเสริฐ ภิญโญ ประเทศไทย พฤษภาคม พ.ศ.​ 2560 มีนาคม พ.ศ.​ 2561
สมเกียรติ ฟองเพชร ประเทศไทย เมษายน พ.ศ.​ 2561 มิถุนายน​ พ.ศ.​ 2561
ชำนาญ​ แพรขุนทด ประเทศไทย กรกฎาคม​ พ.ศ.​ 2561 ตุลาคม​ พ.ศ. 2561
วิมล​ จันทร์คำ ประเทศไทย ธันวาคม​ พ.ศ. 2561 ตุลาคม​ พ.ศ. 2562
ศรายุทธ ชัยคำดี ประเทศไทย พฤศจิกายน​ พ.ศ. 2562 ตุลาคม พ.ศ. 2563
สายฝน เกษมแสง ประเทศไทย ตุลาคม พ.ศ. 2563 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
วิลสัน เจมส์ ดอส ซานโตส ประเทศบราซิล พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 มกราคม พ.ศ. 2564
ทรงยศ กลิ่นศรีสุข ประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2564 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
มาร์กุช ฌูนีโยร์ ประเทศบราซิล สิงหาคม พ.ศ. 2565 ตุลาคม พ.ศ. 2565
อิศวะ สิงห์ทอง ประเทศไทย ตุลาคม พ.ศ. 2565 ตุลาคม พ.ศ. 2565
สุธี สุขสมกิจ ประเทศไทย มกราคม พ.ศ. 2566 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
ศุภชัย ศรีลาชัย ประเทศไทย สิงหาคม พ.ศ. 2566 ตุลาคม พ.ศ. 2566
นพพร เอกศาสตรา ประเทศไทย ตุลาคม พ.ศ. 2566 มกราคม พ.ศ.

2568

ใหญ่ นิลวงษ์ ประเทศไทย มกราคม พ.ศ.

2568

สถิติ

[แก้]

สถิติผลการแข่งขัน

[แก้]

สถิติผู้เล่น

[แก้]

สนามและที่ตั้ง

[แก้]
พิกัด ที่ตั้ง สนาม ความจุ ปี
12°48′26″N 101°17′52″E / 12.807265°N 101.297814°E / 12.807265; 101.297814 หมู่ 2 ตำบลบางบุตร อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง สนามกีฬาโรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินบ้านค่าย-วัดหวายกรอง
(หวายกรอง สเตเดี้ยม)
1,362 คน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]