ข้ามไปเนื้อหา

ดอยอ่างขาง

พิกัด: 19°54′1.2″N 99°2′21.5″E / 19.900333°N 99.039306°E / 19.900333; 99.039306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดอยอ่างขาง
สวนดอยอ่างขาง
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
1,400 เมตร (4,593 ฟุต)
พิกัด19°54′1.2″N 99°2′21.5″E / 19.900333°N 99.039306°E / 19.900333; 99.039306
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ดอยอ่างขางตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่
ดอยอ่างขาง
ดอยอ่างขาง
หมู่บ้านบ้านคุ้ม หมู่ 5 ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ดอยอ่างขางตั้งอยู่ในประเทศไทย
ดอยอ่างขาง
ดอยอ่างขาง
ดอยอ่างขาง (ประเทศไทย)
เทือกเขาทิวเขาแดนลาว
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
ประเภทภูเขาหินปูน
การพิชิต
เส้นทางง่ายสุดขับยานพาหนะ

ดอยอ่างขาง ตั้งอยู่บนทิวเขาแดนลาว ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงโดยค่าเฉลี่ย 1,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล และมียอดดอยสูงสุดถึง 1,928 เมตร เป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งเป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง เริ่มดำเนินงานเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน [1] และเปิดรับการช่วยเหลือชาวเขาเผ่าดาราอั้ง (ปะหล่อง) จากภัยสงครามในประเทศพม่า ได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเมื่อปี พ.ศ. 2527 ผู้นำชาวปะหล่องได้เข้ากราบบังคมทูลขอในหลวงอาศัยอยู่ในประเทศไทย ทรงโปรดเกล้าให้อาศัยบริเวณบ้านนอแลและบ้านขอบด้ง ซึ่งเป็นหมู่บ้านใกล้กับพื้นที่รับผิดชอบของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และได้รับสัญชาติไทยตามลำดับ ต่อมาได้ให้ชาวดาราอั้งเข้ามาทำงานในสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ปลูกสตรอว์เบอร์รีสายพันธุ์พระราชทานต่าง ๆ ตามที่สถานีเกษตรหลวงได้วิจัยพันธุ์ออกมาเป็นที่แห่งแรกในประเทศไทย เช่น สตรอว์เบอร์รีสายพันธุ์พระราชทาน 80, 88, 89 เป็นต้น รวมถึงไม้เมืองหนาวทั้งดอกไม้และผลไม้ ดอยอ่างขางยังเป็นสถานที่รวบรวมสายพันธุ์ต้นนางพญาเสือโคร่ง โดยมีนางพญาเสือโครงดอกสีขาวมากที่สุดในประเทศไทย และนำเข้าพืชในสกุล Prunus หรือซากุระ จากประเทศญี่ปุ่น, จีน, ไต้หวัน เข้ามาปลูกในแปลงทดลองเพื่อเปรียบเทียบกับนางพญาเสือโคร่งของไทยที่อยู่ในสกุลเดียวกันอีกด้วย

ภูมิอากาศ

[แก้]

สภาพอากาศเย็นตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยโดยประมาณ 15-17 °C อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 35-38 °C ในเดือนเมษายน ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ติดลบ -3 °C ในเดือนมกราคม มีหยาดน้ำฝนเฉลี่ย 2,075 มิลลิเมตรต่อปี

ข้อมูลภูมิอากาศของดอยอ่างขาง (พ.ศ. 2524–2553)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 20.0
(68)
23.0
(73.4)
26.2
(79.2)
27.4
(81.3)
24.3
(75.7)
24.0
(75.2)
22.9
(73.2)
22.4
(72.3)
22.6
(72.7)
21.6
(70.9)
19.8
(67.6)
18.7
(65.7)
22.7
(72.9)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 13.0
(55.4)
15.0
(59)
17.5
(63.5)
18.6
(65.5)
17.6
(63.7)
17.8
(64)
17.7
(63.9)
17.7
(63.9)
17.5
(63.5)
16.8
(62.2)
14.3
(57.7)
12.6
(54.7)
16.3
(61.3)
ความชื้นร้อยละ 64 47 46 59 80 85 88 91 88 88 77 73 74
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 272.8 240.1 275.9 243.0 198.4 159.0 161.2 158.1 183.0 198.4 249.0 251.1 2,590
แหล่งที่มา: สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา - กรมชลประทาน[2]

ข้อมูล

[แก้]

ดอยอ่างขางมีชาวไทยภูเขาหลายกลุ่ม เช่น ชาวจีนยูนนาน, ไทใหญ่, มูเซอดำ, และดาราอั้ง อาศัยอยู่ประมาณ 600 ครัวเรือนใน 6 หมู่บ้าน

ดอยอ่างขางมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจมากมาย เช่น สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง, สวนบอนไซ, จุดชมวิวกิ่วลม, จุดชมวิวม่อนสน, หมู่บ้านขอบดัง, หมู่บ้านนอแล เป็นต้น

ภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dawson, Alan (24 December 2017). "Living the high life". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 24 December 2017.
  2. "ปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิงโดยวิธีของ Penman Monteith (Reference Crop Evapotranspiration by Penman Monteith)" (PDF). สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา - กรมชลประทาน. p. 15. สืบค้นเมื่อ 31 July 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]