ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลพัทลุง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พัทลุง เอฟซี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลพัทลุง
ฉายาอีแอ่นเหินฟ้า
ก่อตั้งพ.ศ. 2552
สนามสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง
ความจุ4,000 ที่นั่ง
ประธานไทย เกษมศักดิ์ เส้งสุ้น
ผู้จัดการไทย เอกสิทธิ์ คงสมแสวง
ผู้ฝึกสอนไทย มาฆะ หอประสาทสุข
ลีกไทยลีก 3
2566–67อันดับที่ 4 (ระดับประเทศ)

สโมสรฟุตบอลพัทลุง เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย โดยเป็นทีมจากจังหวัดพัทลุง ปัจจุบันเล่นในไทยลีก 3 โซนภาคใต้

ประวัติสโมสร

[แก้]

สโมสรฟุตบอลพัทลุง เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนธันวาคม ปลายปี 2552 โดยมีนางนาที รัชกิจประการ เลขานุการประธานรัฐสภา เป็นประธานสโมสรหญิงอีกคนหนึ่งของประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] คุณนาทีเริ่มการจัดตั้งสโมสร โดยสมาชิกแฟนคลับชาวพัทลุง ที่รักฟุตบอลและเห็นถึงความสำคัญของการสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพที่นำชื่อเสียงมาสู่จังหวัดบ้านเกิด นั่นคือที่มาของการเริ่มต้นส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค (ภาคใต้) 2010 สโมสรได้มีพิธีเปิดสโมสรอย่างเป็นทางการเมื่อวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2553 โดยถือเป็นสโมสรภาคใต้ทีมแรกที่ได้ถ่ายทอดสดทั่วประเทศผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง NBT สทท. ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมากจากพี่น้องชาวจังหวัดพัทลุงทั้งในพื้นที่และอยู่ทั่วทั้งประเทศ โดยในวันเปิดตัวได้รับเกียรติจากผู้ว่าราชการจังหวัด นายวินัย ครุวรรณพัฒน์ เป็นผู้เปิดงาน และสโมสรอินทรีเพื่อนตำรวจ ร่วมแข่งขันนัดเปิดสนาม ซึ่งผลทีมเจ้าบ้านแพ้ไป 2 - 4 [1]

สนามเหย้า

[แก้]

สโมสรใช้สนามกีฬากลางจังหวัดพัทลุง ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสายเอเชีย สนามได้มีการเพิ่มเติมอัฒจันทร์ทั้งฝั่งมีหลังคาและกระถางคบเพลิง เพื่อรองรับผู้ชมให้ได้มากยิ่งขึ้น โดยอัฒจันทร์ฝั่งกระถางคบเพลิงจุคนได้ประมาณ 1,500-1,800 คน ส่วนฝั่งมีหลังคารองรับผู้ชมได้ประมาณ 2,000-2,500 คน

ด้านห้องพัก มีการใช้ใต้ถุนอัฒจันทร์เป็นห้องต่าง ๆ ได้แก่ ห้องพักนักกีฬา ห้องผู้ตัดสิน ห้องปฐมพยาบาล และห้องประชุมสนามกีฬากลางจังหวัดพัทลุงมีสกอร์บอร์ดแบบดิจิตอลและมีไฟส่องสว่างทั้ง 4 มุมของสนาม ทำให้สามารถรองรับการแข่งขันในเวลากลางคืนได้

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย สุรฉัตร สุวรรณตานนท์
3 DF ไทย ธนกร โตม่วย
4 MF ไทย วิชิตชัย ช่วยสีนวล
6 MF ไทย อภิสิทธิ์ ช่วยกลับ
7 FW ไทย ธีรวัฒน์ ดุนี
8 MF ไทย ทิเบท สูทอก
9 FW ไทย อนุชา เลี่ยนกัตวา
10 FW ไทย ธรรมยุต รักบุญ
11 DF ไทย อิทธิพล แก้วเขียว
17 MF ไทย ธีรพัฒน์ เกิดกุญชร
18 GK ไทย ธนวัฒน์ วิเศษคามิน
19 FW ไทย รัฐพล อินทรชัย
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
20 DF ไทย ภาณุพันธ์ จันทร์แก้ว
22 FW ไทย ปณิธาน รักบุญ
24 MF ไทย ปานเทพ โชติกวิน
25 MF ไทย นัทธพงศ์ มณีสว่าง
26 GK ไทย วาริชณ์ มะหมีน
27 MF ไทย โชคทวี จันทะภูรี
31 FW ไทย เดชา หวัดแท่น
33 DF บราซิล ไคอู เซนา
48 DF ไทย สรศักดิ์ สุขภักดี
70 FW บราซิล ลูกัส เกาเดนซีอู มูไรส์
99 GK ไทย พงศกร สมรรถนเรศวร์

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ลีก 3 คัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2563–64 ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ 16 3 0 13 15 34 9 อันดับที่ 12 ไม่ได้เข้าร่วม รอบคัดเลือกรอบแรก ไทย อนุชา เลี่ยนกัตวา 4
2564–65 ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ 24 5 4 15 19 37 19 อันดับที่ 12 ไม่ได้เข้าร่วม รอบคัดเลือกรอบแรก ไทย เดชา หวัดแท่น 4
2565–66 ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ 22 5 9 8 24 33 24 อันดับที่ 9 ไม่ได้เข้าร่วม รอบคัดเลือกรอบสอง โกตดิวัวร์ อาลีมามูว์ แอดารา เชริฟ 6
2566–67 ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ 22 14 6 2 56 15 48 อันดับที่ 2 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบสอง ชนะเลิศ บราซิล ฌูนาตัน บือร์นาร์ดู 19
ไทยลีก 3
รอบแชมเปี้ยนส์ลีก
โซนตอนล่าง
5 2 2 1 8 6 8 อันดับที่ 2
2567–68 ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ รอบคัดเลือกรอบสอง
แชมป์ รองแชมป์ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

เกียรติประวัติ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]