ข้ามไปเนื้อหา

โรงพยาบาลดารารัศมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลดารารัศมี
Dararassamee Hospital
ชื่อย่อดร.รพ.ตร.
ก่อตั้ง1 ตุลาคม พ.ศ. 2523
ประเภทโรงพยาบาลของรัฐ
สังกัดโรงพยาบาลตำรวจ
ที่ตั้ง
ผู้บังคับการโรงพยาบาล (ผบก.ดร.รพ.ตร.)
พลตำรวจตรี[1] แสวง เที่ยงใจ
องค์กรปกครอง
โรงพยาบาลตำรวจ
เว็บไซต์www.darahospital.go.th

โรงพยาบาลดารารัศมี (Dararassamee Hospital) โรงพยาบาลของรัฐในสังกัดโรงพยาบาลตำรวจ ตั้งชื่อตามพระนามของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา

ประวัติ

[แก้]

กิจการแพทย์ตำรวจได้เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2441 รัฐบาลได้เปลี่ยนโรงพยาบาลสำหรับรักษาหญิงโสเภณีที่หลังวัดพลับพลาไชย ซึ่งสร้างปี พ.ศ. 2440 มาเป็นโรงพยาบาลตำรวจสำหรับพลตระเวน เพื่อรักษาตำรวจที่เจ็บป่วยพิสูจน์บาดแผลและชันสูตรพลิกศพ เพื่อประกอบการพิจารณาคดีต่าง ๆ

ต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้แพทย์ตำรวจปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค พร้อมรับสั่งให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตำรวจเข้าเฝ้า ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2512 แต่ขณะนั้นทำได้เพียงส่งแพทย์ไปช่วยราชการภูธรชายแดน และออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เป็นครั้งคราวเท่านั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งสถานพยาบาลของกรมตำรวจประจำภาคต่าง ๆ ขึ้น โดยเริ่มดำเนินการในภาคเหนือเป็นแห่งแรก กระทั่งในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2522 กองแพทย์ได้รับการยกฐานะเป็น สำนักงานแพทย์ใหญ่ (พต.) มีการแบ่งส่วนราชการภายในเป็น 4 กองบังคับการ และ 1 งาน โดยมีงานโรงพยาบาลดารารัศมี เป็นหนึ่งในนั้น

กรมตำรวจได้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคาร และประกาศจัดตั้งเป็น "โรงพยาบาลดารารัศมี" ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523[2] เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง เป็นโรงพยาบาลขึ้นตรงต่อสำนักแพทย์ใหญ่ กรมตำรวจ และในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2548 โรงพยาบาลตำรวจ ได้รับการยกฐานะให้เป็นหน่วยงานในระดับกองบัญชาการ โดยควบรวมสำนักงานแพทย์ใหญ่ (พต.) เข้าด้วยกัน ขึ้นตรงต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามพระราชกฤษฎีการแบ่งส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 [3] ส่งผลให้โรงพยาบาลดารารัศมี เป็นโรงพยาบาลในสังกัดโรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

อ้างอิง

[แก้]
  1. นายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรโรงพยาบาลดารารัศมี
  2. "ประวัติความเป็นมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-28. สืบค้นเมื่อ 2014-12-10.
  3. พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548