ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลเมืองเลย ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมืองเลย ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลเมืองเลย ยูไนเต็ด
Muang Loei United Football Club
ฉายานักรบเซไล
(Zelai Warrior)
ก่อตั้ง2012; 13 ปีที่แล้ว (2012)
( เทศบาลเมืองวังสะพุง )
2016; 9 ปีที่แล้ว (2016)
( เมืองเลย ยูไนเต็ด )
สนามสนามกีฬาร่วมใจมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
เจ้าของบริษัท เมืองเลย ยูไนเต็ด จำกัด
ประธานศิริศักดิ์ ศรีวิไลลักษณ์
ผู้จัดการเดชา บุญรอด
ผู้ฝึกสอนอาทิตย์ สุนทรพิธ
ลีกไทยลีก 3
2566–67ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อันดับที่ 7
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลเมืองเลย ยูไนเต็ด (อังกฤษ: Muang Loei United Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก 3

โดยสโมสรก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2555 ภายใต้ชื่อว่า สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองวังสะพุง และเคยสร้างผลงานการเลื่อนชั้น 3 ปีติดต่อกัน ได้แก่ การคว้ารองแชมป์ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ประจำปี 2557 ก่อนจะได้อันดับ 3 ในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. ประจำปี 2558 และได้แชมป์ ไทยลีก อเมเจอร์ ทัวร์นาเมนต์ โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในฤดูกาล 2559 จนได้เข้ามาแข่งขันในระดับไทยลีก 4 โดยในปัจจุบันสโมสรเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองเลย ยูไนเต็ด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559

ประวัติ

[แก้]

สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองวังสะพุง ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในรายการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรกในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ประจำปี 2557 ต่อมาในปี 2559 สโมสรได้เปลี่ยนชื่อจาก สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองวังสะพุง เป็น เมืองเลย ยูไนเต็ด

อัตลักษณ์สโมสร

[แก้]

เมืองเลย ยูไนเต็ด มีฉายาว่า นักรบเซไล โดยคำว่า เซไล เป็นชื่อเมืองเก่าแก่ในอาณาจักรสุโขทัย ยุคของพระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือ พระยาลิไท โดยเมืองเซไลก่อตั้งขึ้นโดยชาวโยนกที่อพยพมาจากแคว้นโยนกที่ล่มสลาย ต่อมาได้มีการสันนิษฐานว่าเมืองเซไลในอดีต ปัจจุบันคือบริเวณอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และเนื่องจากสโมสรมีที่ตั้งอยู่ที่อำเภอวังสะพุง ฉายานักรบเซไล จึงสื่อถึงที่มาและรากเหง้าของชาววังสะพุงที่มาจากชาวเซไล

ส่วนโลโก้ของสโมสรได้มีการออกแบบเป็นรูปนักรบแห่งเมืองเซไลอยู่บนพื้นหลังสีเขียว ด้านบนเป็นรูปพระธาตุศรีสองรัก ซึ่งตามประวัติศาสตร์เป็นสถานที่ที่ร่วมมือกันสร้างระหว่างสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง และสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งอาณาจักรอยุธยา เพื่อแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจกัน โดยพระธาตุศรีสองรักเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลของชาวจังหวัดเลย

เลข ค.ศ. 2016 บนโลโก้สโมสรหมายถึง ปีที่สโมสรเปลี่ยนชื่อจาก สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองวังสะพุง เป็น เมืองเลย ยูไนเต็ด

สนามและที่ตั้ง

[แก้]
พิกัด ที่ตั้ง สนาม ความจุ ปี
17°18′22″N 101°46′13″E / 17.306066°N 101.770147°E / 17.306066; 101.770147 อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย สนามกีฬากลางอำเภอวังสะพุง - พ.ศ. 2560
อำเภอเมืองเลยจังหวัดเลย สนามกีฬาร่วมใจมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย 3,000

ที่นั่ง

พ.ศ.

2567

ผลงานตามฤดูกาลแข่งขัน

[แก้]
ฤดูกาล/พ.ศ. การแข่งขัน โซน ผลงาน ลีกคัพ เอฟเอคัพ ลีก 3 คัพ
2562
ไทยลีก 4
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันดับที่ 1 รอบ 16 ทีม รอบ 64 ทีม
รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนตอนบน อันดับที่ 2
รอบแชมเปี้ยนส์ลีก รอบระดับประเทศ อันดับที่ 3
2563–64
ไทยลีก 3
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันดับที่ 2 ยกเลิกการแข่งขัน รอบ 16 ทีม
รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนตอนบน อันดับที่ 6
2564–65
ไทยลีก 3
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันดับที่ 1 รอบ 16 ทีม รอบ 32 ทีม
รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนตอนบน อันดับที่ 4
2565–66
ไทยลีก 3
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันดับที่ 6 รอบคัดเลือกรอบแรก รอบแรก
2566–67
ไทยลีก 3
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันดับที่ 7 ไม่ได้เข้าร่วม รอบแรก รอบคัดเลือกรอบสอง
2567–68
ไทยลีก 3
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รอบคัดเลือกรอบสอง รอบ 16 ทีมสุดท้าย
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ เลื่อนชั้น ตกชั้น

เกียรติประวัติ

[แก้]

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ประเทศไทย ภาณุพันธ์ จูเฮง
5 DF ประเทศไทย นนท์นวัฒน์ สาลาด
9 FW ประเทศไนจีเรีย ไมเคิล อลีอู
10 FW ประเทศไทย กิตติไกร จันทะรักษา
11 FW ประเทศอาเซอร์ไบจาน แมมมัด กูลิเยฟ
13 DF ประเทศไทย ชาญชัย ผลจำเริญ
14 FW ประเทศไทย วินิทร ดวงชัย
16 DF ประเทศไทย เจษฎา กันหา
20 MF ประเทศไทย พีรวิชญ์ คิดรอบ (ยืมตัวจาก บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
23 DF ประเทศไทย ทวีชัย เกลี้ยงเกลา
29 FW ประเทศไทย กฤษณะ ชิดเชื้อ
37 MF ประเทศไทย ธนกฤต บรรจงแก้ว
47 MF ประเทศไทย นนทวัฒน์ ชาวไร่
59 DF ประเทศไทย วีระชัย บัวใหญ่รักษา
71 DF ประเทศไทย เอกลักษณ์ ลุงนาม
77 MF ประเทศไทย อาทิตย์ สุนทรพิธ
88 FW ประเทศไทย อำพร ไชยป้อง
99 GK ประเทศไทย ธนรัฐ แนวโอโล

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

สถิติ

[แก้]

ทีมงานสตาฟประจำสโมสร

[แก้]
ตำแหน่ง สตาฟ
ประธานสโมสร ประเทศไทย ศิริศักดิ์ ศรีวิไลลักษณ์
ที่ปรึกษาสโมสร ประเทศไทย ธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ
ผู้จัดการทีม ประเทศไทย เดชา บุญรอด
ผู้อำนวยการด้านเทคนิค & ผู้จัดการทั่วไป ประเทศไทย ทินกร เกษเกษร
หัวหน้าผู้ฝีกสอน&เพลเยอร์ ประเทศไทย อาทิตย์ สุนทรพิธ
ผู้ช่วยผู้ฝีกสอน ประเทศไทย ประธาน เสนาลา
ประเทศไทย วัชรพงษ์ ปู่สา
ผู้ฝีกสอนผู้รักษาประตู ประเทศไทย วัชรินทร์ มีเสนา
ผู้ฝีกสอนฟิตเนส ประเทศไทย
นักวิเคาะห์การแข่งขัน ประเทศไทย
ทีมแพทย์ประจำสโมสร ประเทศไทย
นักกายภาพบำบัด ประเทศไทย
หมอนวด ประเทศไทย
นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ประเทศไทย
เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อมวลชน ประเทศไทย
ทีมสตาฟ์ประจำทีม ประเทศไทย

ทำเนียบผู้ฝึกสอน

[แก้]
ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2568
ชื่อ สัญชาติ ตั้งแต่ ถึง ความสำเร็จ
บุญโชค กลางประพันธ์ ไทย ประเทศไทย พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2558 รองแชมป์ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง.
ประจำปี 2557
ธวัชชัย พลซา ไทย ประเทศไทย 2558 2559 อันดับ 3 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค.
ประจำปี 2558
ยศกร ศิลาเกษ ไทย ประเทศไทย 2559 ธันวาคม พ.ศ. 2559 แชมป์ ไทยลีก อเมเจอร์ ทัวร์นาเมนต์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 4)
จ.ส.อ.แมน จันทนาม ไทย ประเทศไทย มกราคม พ.ศ. 2560 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ธีรพล ทองดี ไทย ประเทศไทย 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 กันยายน พ.ศ. 2560
ชูศักดิ์ ศรีภูมิ ไทย ประเทศไทย ตุลาคม พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2561
ชำนาญ แพรขุนทด ไทย ประเทศไทย พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 แชมป์ ไทยลีก 4 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อันดับที่ 3 รอบแชมเปียนส์ลีก
(เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 3)
รองแชมป์ ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อันดับที่ 6 รอบแชมเปียนส์ลีก
ยศกร ศิลาเกษ ไทย ประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2564 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ธีรธาดา จำรัส ไทย ประเทศไทย ตุลาคม พ.ศ. 2564 เมษายน พ.ศ. 2565 แชมป์ ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปรัชญา สิทธิ ไทย ประเทศไทย กรกฎาคม พ.ศ. 2565 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
พิชิตพงษ์ เฉยฉิว ไทย ประเทศไทย พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 พฤศจิกายน

พ.ศ.2567

กิษฐชัย วงศ์สิม ไทย พฤศจิกายน พ.ศ.2567 มกราคม

พ.ศ.2568

อาทิตย์ สุนทรพิธ ไทย มกราคม พ.ศ.2568

ผู้ทำประตูสูงสุดประจำฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ผู้ทำประตูสูงสุด สัญชาติ จำนวนประตูทั้งหมด จำนวนประตูในลีก จำนวนประตูในเอฟเอคัพ จำนวนประตูในลีกคัพ อื่นๆ ระดับ
2559 นิยม บุญพรม ประเทศไทย 3 3 0 0 0 ไทยลีก อเมเจอร์ ทัวร์นาเมนต์
2560 ดีมีทรี การ์ลอส โซซิมาร์ ประเทศมาดากัสการ์ 6 6 0 0 0 ไทยลีก 4
2561 ชาวิน ธีรวัจน์ศรี ประเทศไทย 20 17 1 1 1
2562 วิทยา ธนวัชรสันติ 17 13 0 3 1
2563–64 ดียารา ฌูนียอร์ อาบูบาการ์ ประเทศโกตดิวัวร์ 16 11 4 0 1 ไทยลีก 3
2564–65 อำพร ไชยป้อง ประเทศไทย 12 11 1 0 0
2565–66 อีบราอีม โกนาเร ประเทศมาลี 9 9 0 0 0
2566–67 ยายา ซิลลา ประเทศมาลี 7 7 0 0 0

สโมสรพันธมิตร

[แก้]

พันธมิตรในประเทศ

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]