ชัยยง ขำเปี่ยม
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | พ.ต.อ.ชัยยง ขำเปี่ยม | ||
วันเกิด | 29 สิงหาคม ค.ศ. 1965 | ||
สถานที่เกิด | กรุงเทพมหานคร | ||
ส่วนสูง | 1.77 m (5 ft 9 1⁄2 in) | ||
ตำแหน่ง | ผู้รักษาประตู | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
1985–1987 | โอสถสภา | ||
1987–2000 | ตำรวจ | ||
ทีมชาติ | |||
1987–1999 | ทีมชาติไทย | ||
จัดการทีม | |||
2006–2007 | ตำรวจ | ||
2009–2010 | เพื่อนตำรวจ | ||
2010–2011 | บุรีรัมย์ เอฟซี | ||
2010–2011 | เชียงใหม่ | ||
2012–2013 | เพื่อนตำรวจ | ||
2013–2014 | ปตท. ระยอง | ||
2015-ปัจจุบัน | โค้ชผู้รักษาประตูฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย | ||
2016 | ทีมชาติไทย U–16 | ||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น |
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
---|---|
แผนก/ | กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง |
ประจำการ | พ.ศ. 2531–ปัจจุบัน |
ชั้นยศ | พันตำรวจเอก |
พันตำรวจเอก ชัยยง ขำเปี่ยม (เกิดวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508) เป็นอดีตนักฟุตบอลชาวไทยตำแหน่งผู้รักษาประตู โด่งดังและเป็นที่รู้จักในช่วงที่เล่นให้กับสโมสรฟุตบอลตำรวจ และทีมชาติไทย โดยเป็นหนึ่งในนักฟุตบอลทีมชาติไทยชุดที่ได้อันดับ 4 เอเชี่ยนเกมส์ ถึง 2 สมัย
หลังจากเลิกเล่นฟุตบอล พ.ต.อ.ชัยยง ได้ผันตัวเองไปทำงานโค้ช และได้เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนให้กับหลายสโมสร โดยเคยพาสโมสรฟุตบอลตำรวจคว้าแชมป์ไทยลีก ดิวิชัน 1 ในฤดูกาล 2549 และพาสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ เอฟซี คว้าแชมป์ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ในฤดูกาล 2553
นอกจากนี้ยังเคยทำหน้าที่เป็นโค้ชผู้รักษาประตูให้กับฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ในการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2015 [1][2][3]
ปัจจุบัน พ.ต.อ.ชัยยง ขำเปี่ยม รับราชการตำรวจในตำแหน่งผู้กำกับการฝ่ายวิทยบริการ ศูนย์ฝึกอบรม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
ประวัติ
[แก้]ชัยยง ขำเปี่ยม เกิดวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ที่กรุงเทพมหานคร เริ่มโด่งดังกับสโมสรฟุตบอลตำรวจ หรือสโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 และพาทีมคว้าแชมป์ฟุตบอลชิงถ้วย มวก. และแชมป์ฟุตบอลโตโยต้าคัพอีก 2 สมัย จนถูกเรียกติดทีมชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ชัยยง เป็นผู้รักษาประตูในชุดที่ได้อันดับที่ 4 เอเชียนเกมส์ถึง 2 ครั้ง คือ เอเชียนเกมส์ ที่กรุงปักกิ่ง พ.ศ. 2533 และเอเชียนเกมส์ ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2541
ในปี พ.ศ. 2549 ชัยยงพาสโมสรฟุตบอลตำรวจได้แชมป์ ฟุตบอลดิวิชั่น 1 ในฐานะหัวหน้าผู้ฝึกสอน ทำให้สโมสรได้เลื่อนชั้นกลับขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดของประเทศ ก่อนจะตกชั้นกลับมาเล่นฟุตบอลดิวิชั่น 1 ในปีถัดมา และได้วางมือในการเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน ของสโมสรฟุตบอลตำรวจ ให้วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์มาเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนในปี พ.ศ. 2551 แต่วิฑูรย์ก็ไม่สามารถพาสโมสรฟุตบอลตำรวจ กลับขึ้นมาเล่นในรายการไทยพรีเมียร์ลีก ได้
ชัยยง ได้รับเลือกให้กลับมาทำหน้าที่หัวหน้าผู้ฝึกสอน ของสโมสรอีกครั้งในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งสามารถคว้าแชมป์ในฟุตบอลรายการ ดิวิชั่น 1 ได้อีก 1 สมัย และพาสโมสรฟุตบอลตำรวจ กลับสู่ลีกสูงสุดของประเทศได้อีกครั้งซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อสโมสรเป็นสโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจ
พ.ต.ท.ชัยยง สมรสกับนางวันนา ขำเปี่ยม มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ สหวิช และวรณัฐย์ ขำเปี่ยม โดยบุตรชายคนโต สหวิช ขำเปี่ยม เล่นฟุตบอลในตำแหน่งผู้รักษาประตูเช่นเดียวกัน และสหวิชเคยติดทีมชาติไทยชุดเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี ไปแข่งขันรายการทันเนียนคัพที่ประเทศเวียดนาม ได้ตำแหน่งรองแชมป์
รางวัลในฐานะผู้รักษาประตู
[แก้]- ชนะเลิศฟุตบอล โตโยต้าคัพ พ.ศ. 2532
- รางวัลถ้วยอัศวิน ถ้วยพระราชทาน ก. พ.ศ. 2532
- ชนะเลิศถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ พ.ศ. 2533
- ที่ 4 ฟุตบอล เอเชี่ยนเกมส์ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน พ.ศ. 2533
- ชนะเลิศฟุตบอล โตโยต้าคัพ พ.ศ. 2536
- ชนะเลิศฟุตบอล มวก.คัพ พ.ศ. 2537
- ที่ 4 ฟุตบอล เอเชี่ยนเกมส์ กรุงเทพฯ พ.ศ. 2541
- ผู้รักษาประตูยอดเยี่ยม ไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก พ.ศ. 2541
- ชนะเลิศฟุตบอลซีเกมส์ พ.ศ. 2542
รางวัลในฐานะหัวหน้าผู้ฝึกสอน
[แก้]- ชนะเลิศ : ดิวิชั่น 1 ปี 2549 สโมสรฟุตบอลตำรวจ
- ชนะเลิศ : ดิวิชัน 1 ปี 2552 สโมสรฟุตบอลตำรวจ
- ผู้ฝีกสอนยอดเยี่ยม ดิวิชั่น 1 ปี 2552 สโมสรฟุตบอลตำรวจ
- สยามกีฬาโหวต 10 ยอดกุนซือ ดิวิชั่น 1 เลกแรก ปี 2554 สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์เอฟซี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[4]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[5]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[6]
- พ.ศ. 2560 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ไหม นำ 26 แข้งสาวไทย เก็บตัวฮอลแลนด์ - Sport - Manager Online[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สาวไทยประกาศ 26 แข้งเก็บตัวฮอลแลนด์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-29. สืบค้นเมื่อ 2015-01-31.
- ↑ "แข้งสาวติวเข้มบินฝึกฮอลแลนด์ 1 เดือน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๔ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๑๒, ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒๔, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๖ ข หน้า ๒๔, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๑๐, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2508
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- ผู้รักษาประตูฟุตบอลชาวไทย
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ
- นักฟุตบอลจากกรุงเทพมหานคร
- ผู้เล่นในไทยลีก
- ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตูฟุตบอล
- ผู้ฝึกสอนทีมชาติ
- ตำรวจชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเทพลีลา
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวไทย
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลเชียงใหม่
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลพีทีที ระยอง