ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อสนธิสัญญา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาย
ในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซาย
ในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919
เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน

ก่อน ค.ศ.1200 – ค.ศ. 1280

[แก้]
ปี ชื่อสนธิสัญญา ภาคีและเนื้อหา
ราว 1280-1283 ก่อน ค.ศ. สนธิสัญญาแรเมซีส-ฮัททูซิลี
Ramses-Hattusili Treaty
ระหว่าง : ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 แห่งอียิปต์ และฮัททูซิลีที่ 3 แห่งฮิตไทต์
เนื้อหา : เพื่อยุติยุทธการคาเดช[1][2][3]
ราว 493
ก่อน ค.ศ.
สนธิสัญญาโฟดัส
Foedus Cassianum หรือ
Treaty of Cassius
ระหว่าง : สาธารณรัฐโรมันกับสหพันธ์ลาติน
เนื้อหา : เพื่อสร้างพันธมิตรระหว่างคู่สัญญาหลังจากยุทธการทะเลสาบเรจิลลัส ทำให้อำนาจของสาธารณรัฐโรมันมีฐานะเท่าเทียมกับอำนาจของสมาชิกในสหพันธ์รวมกัน
ราว 450
ก่อน ค.ศ.
สนธิสัญญาคาลไลอัส
Peace of Callias
ระหว่าง : สหพันธ์เดเลียนนำโดยเอเธนส์กับจักรวรรดิอคีเมนียะห์
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามเปอร์เซีย
445
ก่อน ค.ศ.
สนธิสัญญาสันติภาพสามสิบปี
Thirty Years' Peace
ระหว่าง : เอเธนส์กับสปาร์ตา
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามเพโลพอนเนเชียนครั้งที่ 1
421
ก่อน ค.ศ.
สนธิสัญญานิเซียส
Peace of Nicias
ระหว่าง : เอเธนส์กับสปาร์ตา
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามเพโลพอนเนเชียนช่วงแรก
387
ก่อน ค.ศ.
สนธิสัญญาอันทาลซิดาส
Peace of Antalcidas
ระหว่าง : กรีซกับเปอร์เซีย
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามโครินเธีย
241
ก่อน ค.ศ.
สนธิสัญญาลูทาเทียส
Treaty of Lutatius
ระหว่าง : สาธารณรัฐโรมันกับคาร์เทจ
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามพิวนิคครั้งที่ 1
226
ก่อน ค.ศ.
สนธิสัญญาเอโบร
Ebro Treaty
ระหว่าง : สาธารณรัฐโรมันกับคาร์เทจ
เนื้อหา : ระบุให้แม่น้ำเอโบรในไอบีเรียเป็นเขตแดนระหว่างสาธารณรัฐโรมันและคาร์เทจ
216
ก่อน ค.ศ.
สนธิสัญญามาซิโดเนีย-คาร์เทจ
Macedonian-Carthaginian Treaty
ระหว่าง : ฟิลิปที่ 4 แห่งมาซิโดเนียกับฮันนิบาลแห่งคาร์เทจ
เนื้อหา : ทำขึ้นหลังยุทธการคันแน (Battle of Cannae) ในการร่วมมือกันเป็นพันธมิตรเพื่อต่อต้านสาธารณรัฐโรมัน
205
ก่อน ค.ศ.
สนธิสัญญาฟินิซ
Treaty of Phoenice
ระหว่าง : สาธารณรัฐโรมันกับราชอาณาจักรมาซิโดเนีย
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามมาซิโดเนียครั้งที่ 1
196
ก่อน ค.ศ.
สนธิสัญญาเทมเพีย
Treaty of Tempea
ระหว่าง : สาธารณรัฐโรมันกับราชอาณาจักรมาซิโดเนีย
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามมาซิโดเนียครั้งที่ 2
188
ก่อน ค.ศ.
สนธิสัญญาอพาเมีย
Treaty of Apamea
ระหว่าง : สาธารณรัฐโรมันกับพระเจ้าแอนทิโอคัสมหาราชแห่งจักรวรรดิเซลูซิยะห์
เนื้อหา : สนธิสัญญาสันติภาพทำขึ้นหลังจากยุทธการเธอโมไพเล (Battle of Thermopylae) และยุทธการแมกนีเซีย (Battle of Magnesia)
161
ก่อน ค.ศ.
สนธิสัญญาโรมัน-ยิว
Roman-Jewish Treaty
ระหว่าง : สาธารณรัฐโรมันกับจูดาส แม็คคาเบียส
เนื้อหา : เพื่อสร้างสัญญาพันธมิตรระหว่างคู่สัญญา ที่เสนอต่อโรมันโดยแม็คคาเบียส
85
ก่อน ค.ศ.
สนธิสัญญาดาร์ดานอส
Treaty of Dardanos
ระหว่าง : สาธารณรัฐโรมันกับพอนทัส (ภูมิภาคในอานาโตเลีย)
ลงนามโดยลูซิอัส คอร์เนลิอัส ซุลลากับมิธริดาทีสที่ 4 แห่งพอนทัส ในการยุติสงครามมิธริดาทีสครั้งที่ 1 (First Mithridatic War)
387 สนธิสัญญาอซิลิเซเน
Peace of Acilisene
ระหว่าง : จักวรรดิโรมันตะวันออกกับจักรวรรดิเปอร์เซีย
เนื้อหา : เพื่อแบ่งอาร์มีเนียระหว่างคู่สัญญา
587 สนธิสัญญาอันเดลอท
Treaty of Andelot หรือ
Pact of Andelot
ระหว่าง : กุนธรัมแห่งจักรวรรดิแฟรงก์กับบรุนฮิลดาแห่งออสทราเซีย
เนื้อหา : กุนธรัมรับชิลเดอแบร์ตที่ 2 บุตรของบรุนฮิลดาเป็นบุตรบุญธรรม
628 สนธิสัญญาฮูเดย์บิย์ยาห์
Treaty of Hudaybiyyah
ระหว่าง : มุสลิมกับชาวคูเรช์ (Quraysh)
สนธิสัญญาเพื่อการสร้างสันติภาพระหว่างคู่สัญญา
651 สนธิสัญญาบัคท์
Bakt
ระหว่าง : : ราชอาณาจักรคริสเตียนเมคูเรียและประมุขมุสลิมของอียิปต์
เนื้อหา : เป็นสนธิสัญญาที่มีอายุยืนยาวถึงเจ็ดร้อยปีซึ่งถือกันว่าเป็นสนธิสัญญาที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นสนธิสัญญาที่ลงนามกันหลังจากที่มุสลิมเข้ารุกรานอียิปต์
713 สนธิสัญญาโอริฮิวลา
Treaty of Orihuela หรือ
Treaty of Tudmir
เนื้อหา : สนธิสัญญาที่ใช้บังคับข้อตกลงเพื่อการพิทักษ์ (Dhimmi) โดยมัวร์ต่อประชาชนคริสเตียนในโอริฮิวลาในคาบสมุทรไอบีเรีย
716 สนธิสัญญา ค.ศ. 716
Treaty of 716
ระหว่าง : จักรวรรดิบัลแกเรียกับจักรวรรดิไบแซนไทน์
เนื้อหา : ยุติยุทธการอันเคียลัส และตกลงกันเรื่องเขตแดนระหว่างคู่สัญญา
803 ข้อตกลงนิเซโฟริ
Pax Nicephori
ระหว่าง : ชาร์เลอมาญกับจักรวรรดิไบแซนไทน์
เนื้อหา : รับรองดินแดนว่าเวนิสเป็นของจักรวรรดิไบแซนไทน์
811 สนธิสัญญาไฮลิเก็น
Treaty of Heiligen
ระหว่าง : ชาร์เลอมาญกับเฮมมิงแห่งเดนมาร์ก
เนื้อหา : ทำความตกลงกำหนดว่าเขตแดนตอนใต้ของเดนมาร์กอยู่ที่แม่น้ำไอเดอร์
815 สนธิสัญญา ค.ศ. 815
Treaty of 815
ระหว่าง : จักรวรรดิบัลแกเรียกับจักรวรรดิไบแซนไทน์
เนื้อหา : ยุติความขัดแย้งระหว่างคู่สัญญาที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน
836 กติกาสัญญาซิคาร์ดิ
Pactum Sicardi
ระหว่าง : ดัชชีแห่งเนเปิลส์กับราชรัฐซาเลอร์โน
เนื้อหา : สัญญาสันติภาพเพื่อยุติสงครามระหว่างบรรดารัฐกรีกและเบเนเวนโต
843 สนธิสัญญาแวร์เดิง
Treaty of Verdun
ระหว่าง : : ระหว่างพระราชโอรสสามพระองค์ของหลุยส์เดอะไพอัส
เนื้อหา : แบ่งแยกจักรวรรดิการอแล็งแฌียงออกเป็นสามส่วน: ดินแดนตอนกลางที่ต่อมาเป็นกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ, ราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก และราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก
870 สนธิสัญญาเมียร์เซน
Treaty of Meerssen
ระหว่าง : ราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกกับราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก
เนื้อหา : แบ่งแยกจักรวรรดิการอแล็งแฌียงออกไปอีกระหว่างชาร์ลส์เดอะบอลด์กับลุดวิกเดอะเยอรมัน
878–890 สนธิสัญญาอัลเฟรดและกูธรัม
Treaty of Alfred and Guthrum
ระหว่าง : อัลเฟรดแห่งเวสเซ็กซ์กับกูธรัมประมุขไวกิงแห่งอีสต์แองเกลีย
เนื้อหา : ทำความตกลงในเรื่องพรมแดนระหว่างทั้งสองฝ่าย
907 สนธิสัญญารุส-ไบแซนไทน์ (ค.ศ. 907)
Rus'-Byzantine Treaty (907)
ระหว่าง : เคียฟรุสกับจักรวรรดิไบแซนไทน์
เนื้อหา : กำหนดฐานะและสิทธิของพ่อค้าวารันเจียนในคอนสแตนติโนเปิล
911 สนธิสัญญารุส-ไบแซนไทน์ (ค.ศ. 911)
Rus'-Byzantine Treaty (911)
ระหว่าง : จักรวรรดิเคียฟรุสกับจักรวรรดิไบแซนไทน์
เนื้อหา : สนธิสัญญาที่ต่อเนื่องมาจากสนธิสัญญารุส-ไบแซนไทน์ (ค.ศ. 907) ฉบับร่าง
สนธิสัญญาแซงต์-แคลร์-เซอร์-เอ็พท์
Treaty of Saint-Clair-sur-Epte
ระหว่าง : ชาร์ลส์เดอะซิมเพิลแห่งฝรั่งเศสกับรอลโลประมุขของไวกิง
เนื้อหา :
ชาร์ลส์พระราชทานนอร์ม็องดีให้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของไวกิงเป็นการแลกเปลี่ยนกับการยุติการรุกรานของไวกิงในฝรั่งเศส
921 สนธิสัญญาบอนน์
Treaty of Bonn
ระหว่าง : ราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกกับราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก
เนื้อหา : เพื่อตกลงยอมรับฐานะของกันและกัน
945 สนธิสัญญารุส-ไบแซนไทน์ (ค.ศ. 945)
Rus'-Byzantine Treaty (945)
ระหว่าง : จักรวรรดิเคียฟรุสกับจักรวรรดิไบแซนไทน์
1004 สนธิสัญญาชานยวน
Shanyuan Treaty
ระหว่าง : ราชวงศ์ซ่งเหนือกับราชวงศ์เหลียว
เนื้อหา : เพื่อสร้างความสัมพันธไมตรีระหว่างคู่สัญญา
1018 สนธิสัญญาเบาท์เซน
Peace of Bautzen
ระหว่าง : ไฮนริคที่ 2แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับโบลสลอว์ที่ 1 โครบรีแห่งโปแลนด์
เนื้อหา : สัญญาสงบศึกยุติสงครามที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลา 15 ปีระหว่างคู่สัญญา
1059 สนธิสัญญาเมลฟิ
Treaty of Melfi
สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 2 ทรงยอมรับอิทธิพลของนอร์มันทางตอนใต้ของอิตาลี
1080 สนธิสัญญาเซปราโน (ค.ศ. 1080)
Treaty of Ceprano (1080)
สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 สร้างความเป็นพันธมิตรกับและรับรองการรุกรานของโรเบิร์ต จิสคาร์ด (Robert Guiscard)
1082 สนธิสัญญาไบแซนไทน์-เวนิส (ค.ศ. 1082)
Byzantine–Venetian Treaty of 1082
ระหว่าง : จักรวรรดิไบแซนไทน์กับสาธารณรัฐเวนิส
เนื้อหา : ไบแซนไทน์ยอมให้สิทธิทางการค้าแก่เวนิสในการแลกเปลี่ยนกับความช่วยเหลือทางทหารในการต่อต้านนอร์มัน
1091 สนธิสัญญาคอง
Treaty of Caen
ระหว่าง : วิลเลียมที่ 2แห่งอังกฤษและพระเชษฐาโรเบิร์ตที่ 2แห่งดยุกแห่งนอร์ม็องดี
เนื้อหา : เพื่อยุติความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างทั้งสองฝ่าย
1101 สนธิสัญญาอัลทอง
Treaty of Alton
ระหว่าง : เฮนรีที่ 1แห่งอังกฤษและพระเชษฐาโรเบิร์ตที่ 2แห่งดยุกแห่งนอร์ม็องดี
เนื้อหา : โรเบิร์ตยอมรับว่าเฮนรีเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอังกฤษอันชอบธรรม
1108 สนธิสัญญาเดโวล
Treaty of Devol
ระหว่าง : ราชรัฐอันติโอคกับจักรวรรดิไบแซนไทน์
เนื้อหา : อันติโอคตกไปเป็นรัฐบริวารของไบแซนไทน์
1122 ข้อตกลงคาลิกซ์ตัส
Pactum Calixtinum หรือ
Concordat of Worms
ระหว่าง : สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตัสที่ 2 และสมเด็จพระจักรพรรดิไฮนริคที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เนื้อหา : เป็นการยุติช่วงแรกของความขัดแย้งทางอำนาจระหว่างสถาบันพระสันตะปาปาและของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
1123 ข้อตกลงวอร์มุนดิ
Pactum Warmundi
ระหว่าง : ราชอาณาจักรเยรูซาเลมกับสาธารณรัฐเวนิส
เนื้อหา : เป็นการตกลงเป็นสัมพันธมิตรระหว่างสองอาณาจักร
1139 สนธิสัญญามินยาโน
Treaty of Mignano
เนื้อหา : สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 2 ทรงยอมรับว่าโรเจอร์ที่ 2เป็นพระมหากษัตริย์โดยชอบธรรมของซิซิลี
1141 Treaty of Shaoxing
Treaty of Shaoxing
ระหว่าง : ราชวงศ์จิ้นกับราชวงศ์ซ่ง
เนื้อหา : เพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างคู่สัญญา
1143 สนธิสัญญาซาโมรา
Treaty of Zamora
เนื้อหา : สนธิสัญญาเพื่อประกาศอิสรภาพของโปรตุเกสจากราชอาณาจักรเลออนและราชอาณาจักรคาสตีล
1151 สนธิสัญญาตูเดเลน
Treaty of Tudilén หรือ
Treaty of Tudején
ระหว่าง : พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 แห่งเลออนและกัสติยา กับราโมน บารังเกที่ 4 เคานต์แห่งบาร์เซโลนา
เนื้อหา : สนธิสัญญาเพื่อรับรองชัยชนะของการพิชิตของราชบัลลังก์อารากอนทางตอนใต้ของ Júcar และสิทธิในการขยายดินแดนออกไปผนวกเมอร์เซีย (Murcia)
1153 สนธิสัญญาวอลลิงฟอร์ด
Treaty of Wallingford หรือ
Treaty of Winchester หรือ
Treaty of Westminster
ระหว่าง : สมเด็จพระจักรพรรดินีมาทิลดา และพระญาติของสมเด็จพระเจ้าสตีเฟนแห่งอังกฤษ
เนื้อหา : เพื่อยุติความขัดแย้งกันในสิทธิการครองราชบัลลังก์อังกฤษ สนธิสัญญาบังคับให้สตีเฟนรับรองว่าพระราชโอรสของมาทิลดาเฮนรีแห่งอองชูเป็นรัชทายาทต่อจากพระองค์
สนธิสัญญาคอนแสตนซ์ (ค.ศ. 1153)
Treaty of Constance (1153) หรือ
First Treaty of Constance
ระหว่าง : สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ กับสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3
เนื้อหา : ฟรีดริชตกลงที่ป้องกันอิตาลีจากจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอส
1156 สนธิสัญญาเบเนเวนโต
Treaty of Benevento
ระหว่าง : พระสันตะปาปากับราชอาณาจักรซิซิลี
เนื้อหา : สัญญาสันติภาพ
1170 สนธิสัญญาซาอากุน
Treaty of Sahagún
ระหว่าง : พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 แห่งคาสตีล กับพระเจ้าอาฟงซูที่ 1 แห่งโปรตุเกส
1175 สนธิสัญญาวินด์เซอร์ (ค.ศ. 1175)
Treaty of Windsor (1175)
ระหว่าง : สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษและกษัตริย์องค์สุดท้ายของไอร์แลนด์, โรรี โอคอนเนอร์
เนื้อหา : สนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างการขยายดินแดนของนอร์มันในไอร์แลนด์
1177 สนธิสัญญาเวนิส
Treaty of Venice หรือ
Peace of Venice
ระหว่าง : สถาบันพระสันตะปาปากับสมาพันธ์ลอมบาร์ด, ราชอาณาจักรซิซิลี และเฟรดริก บาร์บารอสซาแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
1179 สนธิสัญญาคาซอร์ลา
Treaty of Cazorla หรือ
Treaty of Cazola
ระหว่าง : อารากอนกับคาสตีล
เนื้อหา : กำหนดดินแดนที่จะพิชิตของทั้งสองฝ่ายในอันดาลูซิอา
1183 สนธิสัญญาคอนแสตนซ์
Peace of Constance หรือ
Second Treaty of Constance
ระหว่าง : สมาพันธ์ลอมบาร์ดกับเฟรดริก บาร์บารอสซาแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เนื้อหา : เพื่อรับรองข้อตกลงในสนธิสัญญาเวนิสของปี ค.ศ. 1177
1192 สนธิสัญญารามลา
Treaty of Ramla
ระหว่าง : ศอลาฮุดดีนกับสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามครูเสดครั้งที่สาม

ค.ศ. 1200-ค.ศ. 1299

[แก้]
ปี ชื่อสนธิสัญญา ภาคีและเนื้อหา
1200 สนธิสัญญาเลอกูเลต์
Treaty of Le Goulet
ระหว่าง : อังกฤษกับฝรั่งเศส
เนื้อหา : พระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษกับพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศสตกลงทำสัญญาสันติภาพ โดยการจัดการสมรสระหว่างบลานซ์แห่งคาสตีล กับ พระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส
1209 สนธิสัญญาสเปเยอร์ (ค.ศ. 1209)
Treaty of Speyer (1209)
เนื้อหา : สมเด็จพระจักรพรรดิออตโตที่ 4 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ประณามข้อตกลงเวิร์มส์ (Concordat of Worms) และอ้างสิทธิในดินแดนที่อยู่ในปกครองของพระสันตะปาปาที่รวมทั้งราชอาณาจักรซิซิลี
1212 พระราชบัญญัติทองแห่งซิซิลี
Golden Bull of Sicily
เนื้อหา : พระราชบัญญัติทองออกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ระบุสิทธิและหน้าที่ของกษัตริย์แห่งโบฮีเมีย
1214 สนธิสัญญานิมเฟนเนียม (ค.ศ. 1214)
Treaty of Nymphaeum (1214)
ระหว่าง : จักรวรรดิไนเซีย และจักรวรรดิลาติน
เนื้อหา : สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างทั้งสองฝ่าย
1215 มหากฎบัตร
Magna carta
ระหว่าง : สมเด็จพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษและกลุ่มขุนนาง
เนื้อหา : กำหนดสิทธิและหน้าที่ของพระมหากษัตริย์อังกฤษให้อยู่ภายใต้กฎหมาย
1217 สนธิสัญญาแลมเบ็ธ
Treaty of Lambeth
ระหว่าง : พระเจ้าเฮนรีที่ 3แห่งอังกฤษกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 8แห่งฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพือยุติสงครามบารอนครั้งที่ 1 และการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษของพระเจ้าหลุยส์
1220 สนธิสัญญาสังฆราชเยอรมัน
Treaty with the Princes of the Church หรือ
Confoederatio cum principibus ecclesiasticis
ระหว่าง : สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และสังฆราชเยอรมัน
เนื้อหา : จักรพรรดิฟรีดริชทรงยอมพระราชทานอำนาจบางอย่างให้แก่สังฆราชเป็นการแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนการเลือกตั้งของพระราชโอรสไฮน์ริคเป็นกษัตริย์เยอรมัน
1218 พระราชบัญญัติทองแห่งแบร์น
Golden Bull of Berne
เนื้อหา : พระราชบัญญัติทองแห่งแบร์นออกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์พระราชทานสิทธิให้แบร์นเป็นราชนครรัฐอิสระ
1219 สนธิสัญญาไนเซีย-เวนิส (ค.ศ. 1219)
Nicaean–Venetian Treaty of 1219
ระหว่าง : จักรวรรดิไนเซียกับสาธารณรัฐเวนิส
เนื้อหา : จักรพรรดิธีโอดอร์ที่ 2 ลาคาสริสทรงมอบสิทธิให้เวนิสมีเสรีภาพในการค้าขายและซื้อสินค้าปลอดภาษีได้โดยทั่วไปในจักรวรรดิไนเซียเป็นการแลกเปลี่ยนกับการยุติการสนับสนุนจักรวรรดิลาตินโดยเวนิส
1222 พระราชบัญญัติทองแห่งปี ค.ศ. 1222
Golden Bull of 1222
เนื้อหา : พระราชบัญญัติทองที่ออกโดยสมเด็จพระเจ้าแอนดรูว์ที่ 2 แห่งฮังการี พระราชทานสิทธิให้ขุนนางสามารถที่จะไม่ต้องสนองพระบรมราชโองการถ้าพระองค์ทรงละเมิดกฎหมาย
1226 สนธิสัญญาเมเลิง
Treaty of Melun
ระหว่าง : พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศสกับฌานน์ เคานเทสแห่งฟลานเดอร์ส
เนื้อหา : บังคับให้เคานท์แห่งฟลานเดอร์สสาบานความภักดีต่อราชบัลลังก์ฝรั่งเศส และให้จ่ายเงิน 50,000 livres เพื่อปล่อยตัวเจ้าชายแฟร์รานด์ เคานท์แห่งฟลานเดอร์สสามีของฌานน์
พระราชบัญญัติทองแห่งริมินิ
Golden Bull of Rimini
เนื้อหา : พระราชบัญญัติทองออกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อรับรองสิทธิของอัศวินทิวทันในการครอบครองคุลเมอร์แลนด์
1229 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1229)
Treaty of Paris (1229)
ระหว่าง : พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสกับเรมงด์ที่ 7 เคานท์แห่งตูลูส
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามความขัดแย้งระหว่างทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นทางการของสงครามครูเสดอัลบิเจ็นเซียน
1230 สนธิสัญญาซานเจอร์มาโน
Treaty of San Germano
ระหว่าง : สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 9
เนื้อหา : จักรพรรดิฟรีดริชคืนซิซิลีแก่พระสันตะปาปา
สนธิสัญญาเชพราโน (ค.ศ. 1230)
Treaty of Ceprano (1230)
ระหว่าง : สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 9
เนื้อหา : จักรพรรดิฟรีดริชทรงยอมตกลงที่จะไม่รุกรานดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา
สนธิสัญญาครูสซวิคา
Treaty of Kruszwica
เนื้อหา : สนธิสัญญาที่ตามมาจากพระราชบัญญัติทองแห่งริมินิ คอนราดที่ 1 แห่งมาโซเวียมอบคุลเมอร์แลนด์ (Chełmno Land) แก่ปรัสเซียและลัทธิโดบริน (Order of Dobrin)
1234 พระราชบัญญัติทองแห่งรีตติ
Golden Bull of Rieti
เนื้อหา : รับรองคุลเมอร์แลนด์ว่าอยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปาและมิได้เป็นของขุนนางผู้ใด
1236 สนธิสัญญาเครมเมน
Treaty of Kremmen
เนื้อหา : วาร์ทิเสลาสที่ 3 ดยุกแห่งพอเมอเรเนียยอมรับว่ามาร์คกราฟแห่งบรันเดินบวร์คมีสิทธิในดินแดนและในการสืบครองพอเมอเรเนีย-เดมมิน
1237 สนธิสัญญายอร์ค
Treaty of York
ระหว่าง : พระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษกับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งสกอตแลนด์
เนื้อหา : ความตกลงระหว่างทั้งสองพระองค์เกี่ยวกับสิทธิของดินแดน ซึ่งเป็นการยุติความพยายามของสกอตแลนด์ในการขยายดินแดนลงมาทางใต้
1244 สนธิสัญญาอัลมิซรา
Treaty of Almizra หรือ
Treaty of Almiçra
ระหว่าง : ราชบัลลังก์อารากอนกับราชบัลลังก์คาสตีล
เนื้อหา : กำหนดเขตแดนของราชอาณาจักรบาเลนเซีย
สนธิสัญญาฮาติวา
Treaty of Jativa
ระหว่าง : พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอารากอนกับยูซุฟ อัล-มุตามาน อิบนุ ฮัด (Yusuf al-Mu'taman ibn Hud)
เนื้อหา : อนุญาตให้มัวร์ในสเปนรักษาปราสาทฮาติวาได้สองปีก่อนที่จะมอบให้พระเจ้าเจมส์
1245 สนธิสัญญาอัล-อัซรัค ค.ศ. 1245
Al-Azraq Treaty of 1245
ระหว่าง : พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอารากอนกับมุฮัมมัด อบู อับดัลลาห์ เบน ฮัดเซล อัล ซาเฮอร์ (Mohammad Abu Abdallah Ben Hudzail al Sahuir)
1249 สนธิสัญญาคริสต์บวร์ก
Treaty of Christburg
ระหว่าง : กลุ่มชนปรัสเซียเก่ากับอัศวินทิวทัน
เนื้อหา : สัญญาสันติภาพระหว่างทั้งสองฝ่ายที่ถือว่าเป็นการยุติการปฏิวัติปรัสเซีย (Prussian uprisings) แต่ไม่ได้รับการปฏิบัติตามข้อตกลงโดยเฉพาะหลังจากยุทธการครึคเค็นในปี ค.ศ. 1249
1250 สนธิสัญญาดานดิน
Treaty of Landin
ระหว่าง : : บาร์นิมที่ 1 ดยุกแห่งพอเมอเรเนีย]]กับมาร์คกราฟแห่งบรันเดินบวร์ค
เนื้อหา : ว่าด้วยการสืบครองพอเมอเรเนีย-เดมมิน: สิทธิของมาร์คกราฟแห่งบรันเดินบวร์คถูกเพิกถอนให้แก่บาร์นิม
1258 สนธิสัญญาคอร์แบย (ค.ศ. 1258)
Treaty of Corbeil (1258)
ระหว่าง : : สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอารากอน]]กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อการตกลงเรื่องพรมแดนระหว่างทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
1258 ข้อตกลงออกซฟอร์ด
Provisions of Oxford
ระหว่าง : สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษและขุนนาง
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งสภาที่ปรึกษาราชการที่ประกอบด้วยบารอนอย่างเป็นทางการที่เป็นรากฐานของรัฐสภา
1259 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1259)
Treaty of Paris (1259) หรือ
Treaty of Albeville
ระหว่าง : พระเจ้าหลุยส์ที่ 10 แห่งฝรั่งเศส กับสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ
เนื้อหา : เฮนรีสละสิทธิในนอร์ม็องดีเป็นการแลกเปลี่ยนกับการยุติการสนับสนุนกลุ่มปฏิวัติโดยหลุยส์ ดินแดนของเฮนรีในฝรั่งเศสเป็นดินแดนบริวารของหลุยส์
1261 สนธิสัญญานิมเฟนเนียม (ค.ศ. 1261)
Treaty of Nymphaeum (1261)
ระหว่าง : : สาธารณรัฐเจนัว]]กับจักรวรรดิไนเซีย
เนื้อหา : เพื่อตกลงทางการค้าและทางการป้องกันร่วมกันทางการทหาร
1262 สนธิสัญญาไอซ์แลนด์-นอร์เวย์
Old Covenant (Iceland)
ระหว่าง : : ประมุขต่าง ๆ ของไอซ์แลนด์กับฮาคอนที่ 4 แห่งนอร์เวย์
เนื้อหา : การตกลงรวมตัวระหว่างไอซ์แลนด์และนอร์เวย์
1265 สนธิสัญญาพิพทัน
Treaty of Pipton
ระหว่าง : ลูเอลเลนเดอะลาสต์ (Llywelyn the Last) แห่งเวลส์กับไซมอนเดอมอนฟอร์ท เอิร์ลแห่งเลสเตอรที่ 6
เนื้อหา : เพื่อการตกลงเป็นพันธมิตรหลังจากสงครามบารอนครั้งที่ 2
1266 ข้อตกลงเค็นนิลเวิร์ธ
Dictum of Kenilworth
เนื้อหา : ยุติความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่างผู้สนับสนุนไซมอนเดอมอนฟอร์ท เอิร์ลแห่งเลสเตอรที่ 6 และผู้สนับสนุนสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ มีผลใช้บังคับในปี ค.ศ. 1267
สนธิสัญญาเพิร์ธ
Treaty of Perth
ระหว่าง : นอร์เวย์กับสกอตแลนด์
เนื้อหา : เพื่อตกลงกันในรัฎฐาสิทธิของหมู่เกาะเวสเทิร์น, เกาะแมน และหมู่เกาะนอร์เทิร์น
1267 สนธิสัญญาบาดาโคซ (ค.ศ. 1267)
Treaty of Badajoz (1267)
ระหว่าง : พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 10 แห่งคาสตีลกับพระเจ้าอาฟงซูที่ 3 แห่งโปรตุเกส
เนื้อหา : เพื่อตกลงใช้แม่น้ำกวาเดียนา (Guadiana River) เป็นพรมแดนระหว่างคาสตีลกับโปรตุเกส
สนธิสัญญามอนตกอมเมอรี
Treaty of Montgomery
เนื้อหา : สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ ทรงยอมรับฐานะว่าลูเอลเลนเดอะลาสต์ว่าเป็น "เจ้าชายแห่งเวลส์"
สนธิสัญญาวิเทอร์โบ
Treaty of Viterbo
ระหว่าง : ชาร์ลส์แห่งอองชูกับบอลด์วินที่ 2 แห่งคอนสแตนติโนเปิล
เนื้อหา : บอลด์วินลงพระนามมอบสิทธิในจักรวรรดิลาตินที่ล่มสลายให้แก่ชาร์ลส์
1271 สนธิสัญญาเพรสบวร์ก
Peace of Pressburg หรือ
Peace of Bratislava
ระหว่าง : สมเด็จพระเจ้าออตโตคาร์ที่ 2 แห่งโบฮีเมีย กับสมเด็จพระเจ้าสตีเฟนที่ 1 แห่งฮังการี
เนื้อหา : ฮังการีสละสิทธิในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นออสเตรียกับสโลวีเนีย โบฮีเมียสละสิทธิในดินแดนที่ยึดได้ในฮังการี
1277 สนธิสัญญาอเบอร์คอนวี
Treaty of Aberconwy
ระหว่าง : พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ และลูเอลเลนเดอะลาสต์ แห่ง เวลส์
เนื้อหา : เอ็ดเวิร์ดยอมรับสิทธิในการปกครองตนเองของลูเอลเลนที่จะยุติลงเมื่อลูเอลเลนสิ้นพระชนม์
1281 สนธิสัญญาออร์เวียตโต
Treaty of Orvieto
ระหว่าง : พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งซิซิลี, สาธารณรัฐเวนิส และฟิลิปแห่งคูร์เตเนย์พระเจ้าแผ่นดินในนามของจักรวรรดิลาติน
เนื้อหา : เพื่อการฟื้นฟูจักรวรรดิลาติน
1283 สนธิสัญญาไรน์เฟลเดน
Treaty of Rheinfelden
ระหว่าง : รูดอล์ฟที่ 2 ดยุกแห่งออสเตรียกับอัลเบร็คท์ที่ 1 แห่งเยอรมนี
เนื้อหา : รูดอล์ฟสละสิทธิในราชบัลลังก์สติเรียและออสเตรียให้แก่พระเชษฐาเป็นการแลกเปลี่ยนกับดินแดนในฟาร์เทอร์ออสเตรีย
1289–1290 สนธิสัญญาเบอร์แกม
Treaty of Birgham
เนื้อหา : สนธิสัญญาในการพยายามยุติการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์สกอตแลนด์ระหว่างตระกูลบาลลิโอลกับตระกูลบรูซหลังจากการสิ้นพระชนม์ของอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งสกอตแลนด์โดยไม่มีรัชทายาท แต่ไม่มีผลปฏิบัติ
1291 สนธิสัญญาทาราสคอน
Treaty of Tarascon
ระหว่าง : สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 4, พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส, พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งเนเปิลส์กับพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 3 แห่งอารากอน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามสงครามครูเสดอารากอนระหว่างผู้ลงนามในสัญญา
1295 สนธิสัญญาพันธมิตรเก่า
Auld Alliance
ระหว่าง : สกอตแลนด์กับฝรั่งเศส
เนื้อหา : สัญญาสันติภาพเพื่อการประสานการป้องกันทางทหารร่วมกันในการต่อต้านอังกฤษ
สนธิสัญญาอนายี
Treaty of Anagni
ระหว่าง : สมเด็จพระสันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8, พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส, พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งเนเปิลส์กับพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอารากอน
เนื้อหา : สัญญาสันติภาพเพื่อการรับรองข้อตกลงในสนธิสัญญาทาราสคอนของปี ค.ศ. 1291 แต่ไม่สามารถตกลงกันในปัญญาซิซิลีได้

ค.ศ. 1300-ค.ศ. 1399

[แก้]
ปี ชื่อสนธิสัญญา ภาคีและเนื้อหา
1302 สนธิสัญญาคาลตาเบลลอตตา
Peace of Caltabellotta
เนื้อหา : เพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์อองชูกับราชวงศ์บาร์เซโลนาในแก่งแย่งอำนาจกันในบริเวณเมดิเตอเรเนียนโดยเฉพาะในซิซิลี สนธิสัญญาแบ่งราชอาณาจักรซิซิลีออกเป็นซิซิลีบนเกาะและซิซิลีบนแผ่นดินใหญ่
1303 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1303)
Treaty of Paris (1303)
ระหว่าง : อังกฤษกับฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อการคืนกาสโคนีแก่อังกฤษโดยฝรั่งเศสระหว่างสงครามร้อยปี
1304 สนธิสัญญาทอร์เรลาส
Treaty of Torrellas หรือ
sentencia arbitral หรือ
sentence by arbitration"
ระหว่าง : อารากอนกับคาสตีล
เนื้อหา : ว่าด้วยการตกลงสันติภาพและการแบ่งราชอาณาจักรเมอร์เซียระหว่างผู้ลงนาม
1305 สนธิสัญญาอทีส์-เซอร์-โอร์จ
Treaty of Athis-sur-Orge
ระหว่าง : พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสกับโรเบิร์ตที่ 3 เคานท์แห่งฟลานเดอร์ส
เนื้อหา : ฝรั่งเศสได้เมืองลีลล์, Douai และBéthune เป็นการแลกเปลี่ยนกับการรักษาอิสรภาพของฟลานเดอร์ส
สนธิสัญญาเอลช์
Treaty of Elche
ระหว่าง : อารากอนกับคาสตีล
เนื้อหา : ว่าด้วยการขยายความในสนธิสัญญาทอร์เรลาส และยก Cartagena แก่คาสตีล
1309 สนธิสัญญาโซลดิน (ค.ศ. 1309)
Treaty of Soldin (1309)
ระหว่าง : อัศวินทิวทันและมาร์คกราฟแห่งบรันเดินบวร์ค-สเทนดาล
เนื้อหา : อัศวินทิวทันซื้อสิทธิในพอเมอเรเนียกับดันซิก (กดานส์ค) (Gdańsk) จากวาลเดอมาร์ มาร์คกราฟแห่งบรันเดินบวร์ค-สเทนดาล
1317 สนธิสัญญาเทมพลิน
Treaty of Templin
ระหว่าง : อาณาจักรมาร์คกราฟแห่งบรันเดินบวร์คกับเดนมาร์ก
เนื้อหา : ตระกูลอัสคาเนียยกดินแดนชลาเวอ-สโทลพ์แก่พอเมอเรเนีย
1323 สนธิสัญญาเนิทบอร์ก
Treaty of Nöteborg หรือ
Treaty of Orekhovo
ระหว่าง : สวีเดนกับสาธารณรัฐโนฟโกรอด
เนื้อหา : ว่าด้วยการตกลงเรื่องพรมแดนระหว่างผู้ลงนามในสัญญา
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1323)
Treaty of Paris (1323)
หลุยส์ที่ 1 เคานท์แห่งฟลานเดอร์สสละการอ้างสิทธิในเซแลนด์
1326 สนธิสัญญาคอร์แบย (ค.ศ. 1326)
Treaty of Corbeil (1326)
ระหว่าง : สกอตแลนด์กับฝรั่งเศส
เนื้อหา : สนธิสัญญาสันติภาพเพื่อการฟื้นฟูข้อตกลงที่ทำกันในสนธิสัญญาพันธมิตรเก่า
สนธิสัญญาโนฟโกรอด
Treaty of Novgorod
ระหว่าง : นอร์เวย์กับสาธารณรัฐโนฟโกรอด
เนื้อหา : ว่าด้วยการยุติการต่อสู้กันอย่างประปรายในบริเวณพรมแดนระหว่างคู่กรณี
1328 สนธิสัญญาเอดินบะระห์-นอร์ทแธมตัน
Treaty of Edinburgh-Northampton
ระหว่าง : พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษกับโรเบิร์ต บรูซแห่งสกอตแลนด์
เนื้อหา : สนธิสัญญาสันติภาพในการยุติสงครามอิสรภาพสกอตแลนด์ครั้งที่ 1 ข้อตกลงยอมรับอิสรภาพของสกอตแลนด์, ว่าโรเบิร์ต บรูซและผู้สืบเชื้อสายเป็นประมุขของสกอตแลนด์โดยถูกต้อง และพรมแดนระหว่างสองฝ่ายเป็นพรมแดนของสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งสกอตแลนด์
1329 สนธิสัญญาพาเวีย (ค.ศ. 1329)
Treaty of Pavia (1329)
ระหว่าง : จักรพรรดิลุดวิกที่ 4 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และพระราชนัดดา
เนื้อหา : ลุดวิกได้บาวาเรียเหนือกับบาวาเรียใต้ในปี ค.ศ. 1340 พระราชนัดดากลายเป็นสาขาอาวุโสของราชวงศ์วิตเตลส์บาคที่กลับมามีอำนาจในบาวาเรียหลังจากการสิ้นสุดของผู้สืบสายของลุดวิก
1338 สนธิสัญญาเรนส์หรือ
พระราชประกาศเรนส์
Declaration of Rhense หรือ
Treaty of Rhense
เป็นพระราชประกาศที่ออกโดยพรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์เยอรมันโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากสถาบันพระสันตะปาปา
1343 สนธิสัญญาคาลิสซ์ (ค.ศ. 1343)
Treaty of Kalisz (1343)
ระหว่าง : พระเจ้าคาซิเมียร์ที่ 3 แห่งโปแลนด์กับอัศวินทิวทัน
เนื้อหา : ว่าด้วยการยุติสงครามโปแลนด์-ทิวทัน (ค.ศ. 1326-1332) โดยโปแลนด์ได้ดินแดนบางส่วนแต่เสียพอเมอเรเนียตลอดไป
1354 สนธิสัญญาสทราลซุนด์ (ค.ศ. 1354)
Treaty of Stralsund (1354)
เนื้อหา : ยุติปัญหาพรมแดนระหว่างดัชชีแห่งเม็คเลนบวร์ก และพอเมอเรเนีย
สนธิสัญญามานทีส
Treaty of Mantes
ระหว่าง : พระเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งฝรั่งเศสกับพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งนาร์วาร์
เนื้อหา : ว่าด้วยการตกลงสันติภาพครั้งแรกระหว่างผู้ลงนาม
1355 สนธิสัญญาวาโลญส์
Treaty of Valognes
ระหว่าง : พระเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งฝรั่งเศสกับพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งนาร์วาร์
เนื้อหา : ว่าด้วยการตกลงสันติภาพครั้งที่สองระหว่างผู้ลงนาม
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1355)
Treaty of Paris (1355)
ระหว่าง : อาณาจักรเคานท์แห่งซาวอยและอาณาจักรเคานท์แห่งเฌเนวอย
เนื้อหา : ยอมรับการผนวกอาณาจักรบารอนแห่งเกซ์โดยซาวอย
1358 สนธิสัญญาซาดาร์
Treaty of Zadar
เนื้อหา : สนธิสัญญาสันติภาพที่สาธารณรัฐเวนิสสูญเสียอิทธิพลในดินแดนดาลเมเชีย
1359 สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1359)
Treaty of London, 1359 หรือ
Second Treaty of London
ระหว่าง : อังกฤษกับฝรั่งเศส
เนื้อหา : ฝรั่งเศสเสียดินแดนทางตะวันตกของฝรั่งเศสให้แก่อังกฤษ แต่ต่อมาถูกคัดค้านโดยรัฐสภาทั่วไปแห่งฝรั่งเศสในกรุงปารีส
1360 สนธิสัญญาเบรทินยี
Treaty of Brétigny
ระหว่าง : พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษกับพระเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งฝรั่งเศส
เนื้อหา : ว่าด้วยการยุติช่วงแรกของสงครามร้อยปี
1370 สนธิสัญญาสทราลซุนด์ (ค.ศ. 1370)
Treaty of Stralsund (1370)
ระหว่าง : สันนิบาตฮันเซียติกกับเดนมาร์ก
เนื้อหา : ว่าด้วยการยุติสงครามระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง ข้อตกลงในสนธิสัญญาเป็นการเพิ่มอำนาจให้แก่สันนิบาตฮันเซียติกจนถึงจุดสูงสุด
1373 สนธิสัญญาอังกฤษ-โปรตุเกส (ค.ศ. 1373)
Anglo-Portuguese Treaty of 1373
ระหว่าง : พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษกับพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโปรตุเกสกับพระราชินีเอเลเนอร์แห่งโปรตุเกส
เนื้อหา : ว่าด้วยการมีสัมพันธไมตรีระหว่างชาติมหาอำนาจทางราชนาวีทั้งสอง และเป็นสนธิสัญญาฉบับที่เก่าที่สุดที่ยังคงมีผลปฏิบัติอยู่จนทุกวันนี้
1379 สนธิสัญญาน็อยแบร์ก
Treaty of Neuberg
ระหว่าง : อัลเบร็คที่ 3 ดยุกแห่งออสเตรียกับลีโอโพลด์ที่ 3 ดยุกแห่งออสเตรีย
เนื้อหา : ในการตกลงแบ่งดินแดนของฮับส์บวร์กระหว่างคู่สัญญา
1380 สนธิสัญญาดอดิสค์
Treaty of Dovydiškės
เนื้อหา : สนธิสัญญาลับระหว่างโยไกลา แกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนียผู้ต่อมาเป็นพระมหากษัตริย์โปแลนด์กับวินริค ฟอน คนิพโรเดอแกรนด์มาสเตอร์ของอัศวินทิวทัน
เนื้อหา : เพื่อการตกลงในการร่วมกันต่อต้าน Kęstutis ซึ่งเท่ากับเป็นการเข้าสู่สงครามกลางเมืองลิทัวเนีย (1381-1384)
1382 สนธิสัญญาดูบิซา
Treaty of Dubysa หรือ
Treaty of Dubissa
เนื้อหา : สนธิสัญญาลับระหว่างโยไกลา แกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนียผู้ต่อมาเป็นพระมหากษัตริย์โปแลนด์กับสเคอร์ไกลา (Skirgaila) แกรนด์มาร์แชลของอัศวินทิวทัน
เนื้อหา : เพื่อการตกลงของโยไกลาในการเปลี่ยนแกรนด์ดัชชีแห่งลิทัวเนียมานับถือคริสต์ศาสนา, เสียซาโมกิเชีย และเป็นพันธมิตรกับอัศวินทิวทันเป็นเวลาสี่ปี แต่สนธิสัญญามิได้มีผลในการปฏิบัติ
1385 พระราชบัญญัติสหภาพเครโว
Union of Krewo หรือ
Krėva Act
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งการรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรระหว่างโปแลนด์กับลิทัวเนียโดยการเสกสมรสระหว่างโยไกลากับยัดวิกาพระราชินีผู้ครองโปแลนด์
1386 สนธิสัญญาวินด์เซอร์ (ค.ศ. 1386)
Treaty of Windsor 1386
ระหว่าง : อังกฤษกับโปรตุเกส
สนธิสัญญาว่าด้วยการรื้อฟื้นการตกลงในสนธิสัญญาพันธมิตรอังกฤษ-โปรตุเกสของปี ค.ศ. 1373 โดยการเสกสมรสระหว่างฟิลิปปาแห่งแลงคาสเตอร์กับพระเจ้าจอห์นที่ 1 แห่งโปรตุเกส
1390 สนธิสัญญาเคอนิกสแบร์ก (ค.ศ. 1390)
Treaty of Königsberg (1390)
เนื้อหา : ลงนามระหว่างสงครามกลางเมืองลิทัวเนีย (1389-1392) สร้างสัมพันธไมตรีระหว่างVytautas the Great และอัศวินทิวทัน
สนธิสัญญาลิค
Treaty of Lyck
ระหว่าง : วิทอทาส (Vytautas) ผู้ต่อมาเป็นแกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนียกับแกรนด์มาสเตอร์ของอัศวินทิวทัน
เนื้อหา : เพื่อการตกลงในการร่วมมือกันต่อสู้ในสงครามกลางเมืองลิทัวเนีย (1389-1392)
1397 สนธิสัญญาคาลมาร์
Treaty of Kalmar
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งสหราชอาณาจักรคาลมาร์; สนธิสัญญามาสิ้นอายุและเพิกถอนในปี ค.ศ. 1523
1398 สนธิสัญญาซาลินาส
Treaty of Salynas
ระหว่าง : วิทอทาส (Vytautas) แกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนียกับคอนราด ฟอน ยุงกิงเก็นแกรนด์มาสเตอร์ของอัศวินทิวทัน
เนื้อหา : เพื่อการตกลงยกซาโมจิเชียให้แก่อัศวินทิวทัน

ค.ศ. 1400-ค.ศ. 1499

[แก้]
ปี ชื่อสนธิสัญญา ภาคีและเนื้อหา
1401 พระราชบัญญัติสหภาพวิลเนียสและราดม
Union of Vilnius and Radom
ระหว่าง : โปแลนด์กับลิทัวเนีย
เนื้อหา : เพื่อยืนยันข้อตกลงในพระราชบัญญัติสหภาพเครโว และรับรองสิทธิในการปกครองตนเองของแกรนด์ดัชชีแห่งลิทัวเนีย
1411 สนธิสัญญาสันติภาพธอร์น (ค.ศ. 1411)
Peace of Thorn (1411)
ระหว่าง : โปแลนด์กับลิทัวเนีย กับ อัศวินทิวทัน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามสงครามโปแลนด์-ลิทัวเนีย-ทิวทันระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1412 สนธิสัญญาลูโบว์ลา
Treaty of Lubowla
ระหว่าง : พระเจ้าวลาดิสเลาสที่ 2 ยากีลโลแห่งโปแลนด์ และพระเจ้าซิจิสมุนด์แห่งฮังการี
1413 พระราชบัญญัติสหภาพโฮรอดโล
Union of Horodło หรือ
Pact of Horodlo
ระหว่าง : โปแลนด์กับลิทัวเนีย
เนื้อหา : เพื่อยืนยันข้อตกลงในพระราชบัญญัติสหภาพเครโวกับข้อตกลงสหภาพวิลเนียสและราดม; อนุญาตให้ลิทัวเนียมีแกรนด์ดยุกและสภาเป็นของตนเอง
1420 สนธิสัญญาทรัวส์
Treaty of Troyes
ระหว่าง : อังกฤษกับฝรั่งเศส
เนื้อหา : ลงนามหลังจากฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในยุทธการอาแฌงคูร์ตของสงครามร้อยปี; ระบุให้สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษและผู้สืบเชื้อสายในการครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสต่อจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส
1422 สนธิสัญญาเมลโน
Treaty of Melno
ระหว่าง : โปแลนด์กับลิทัวเนีย กับ อัศวินทิวทัน
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามกอลลุบ (Gollub War); อัศวินทิวทันยอมยกนีสซาวา (Nieszawa) แก่โปแลนด์ และเพิกถอนสิทธิต่าง ๆ ในซาโมจิเชียและทางตอนเหนือของลิทัวเนียแก่แกรนด์ดัชชีแห่งลิทัวเนีย; โปแลนด์ยกเลิกสิทธิในพอเมอเรเนีย, คุลเมอร์แลนด์ และภูมิภาคมิเคลเลาเออร์ทางตะวันออกของคุลเมอร์แลนด์
1424 พระราชกฤษฎีกาวีลุน
Edict of Wieluń
เนื้อหา : พระราชกฤษฎีออกโดยสมเด็จพระเจ้าวลาดิสเลาสที่ 2 ยากีลโลแห่งโปแลนด์จากแรงกดดันของสถาบันโรมันคาทอลิก ให้ทรงประกาศให้ลัทธิฮุสไซท์ (Hussitism) เป็นลัทธิต้องห้ามในราชอาณาจักรโปแลนด์
1428 สนธิสัญญาเดลฟท์
Treaty of Delft หรือ
Reconciliation of Delft หรือ
Treaty of The Hague 1428
ระหว่าง : ยาเคลีน เคานเทสแห่งเอโนต์กับฟิลลิปเดอะกูดเคานท์แห่งฟลานเดอร์ส
เนื้อหา : เพื่อการยุติความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่างอังกฤษและอาณาจักรเคานท์แห่งฟลานเดอร์ส
1431 สนธิสัญญาเมดินาเดลแคมโพ (ค.ศ. 1431)
Treaty of Medina del Campo (1431)
ระหว่าง : ราชอาณาจักรคาสตีลและราชอาณาจักรโปรตุเกส
เนื้อหา : เพื่อสร้างสันติภาพระหว่างคู่สัญญา
1432 พระราชบัญญัติสหภาพกรอดโน
Union of Grodno หรือ
Pact of Grodno
ระหว่าง : โปแลนด์กับลิทัวเนีย
เนื้อหา : เพื่อย้ำความสัมพันธ์ของสหราชอาณาจักรโปแลนด์-ลิทัวเนีย
1433 สนธิสัญญาสงบศึกเล็คซิคา
Truce of Łęczyca
ระหว่าง : ราชอาณาจักรโปแลนด์ กับ อัศวินทิวทัน
เนื้อหา : เพื่อลดความตึงเครียดในสงครามโปแลนด์-ทิวทัน (ค.ศ. 1431-1435)
1435 การประชุมแห่งอาร์ราส
Congress of Arras
การประชุมระหว่างผู้แทนจากอังกฤษ ฝรั่งเศส และเบอร์กันดี
เนื้อหา : การประชุมเกิดขึ้นในตอนปลายของสงครามร้อยปี ในการพยายามยุติความบาดหมางระหว่างพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และฟิลลิปเดอะกูด ดยุกแห่งเบอร์กันดี
สนธิสัญญาบรเซสคคูยอว์สกี
Peace of Brześć Kujawski
ระหว่าง : ลิทัวเนียกับอัศวินทิวทัน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามโปแลนด์-ทิวทัน (ค.ศ. 1431-1435)ระหว่างผู้ลงนาม
1441 สนธิสัญญาโคเปนเฮเกน (ค.ศ. 1441)
Treaty of Copenhagen (1441) หรือ
Peace of Copenhagen
ระหว่าง : สันนิบาตฮันเซียติกกับเนเธอร์แลนด์
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามดัตช์-ฮันเซียติคระหว่างผู้ลงนาม เมื่อคริสโตเฟอร์แห่งบาวาเรียได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อการปฏิวัติของเกษตรกรทางตอนเหนือของคาบสมุทรจัตแลนด์ในการพยายามควบคุมเอกสิทธิ์ทางการค้า ความพ่ายแพ้เป็นผลให้เปิดทะเลบอลติคสำหรับพ่อค้าชาวดัตช์
1443 Treaty of Gyehae
Treaty of Gyehae
ระหว่าง : ราชวงศ์โชซอน และอาณาจักรโชกันอะชิคางะ (Ashikaga shogunate)
เนื้อหา : เพื่อการควบคุมโจรสลัดญี่ปุ่นและรับรองข้อตกลงทางการค้าระหว่างเกาะทสึชิมะ (Tsushima island) กับเมืองท่าของเกาหลี
1444 สนธิสัญญาสันติภาพเซเกด
Peace of Szeged หรือ
Treaty of Edirne
ระหว่าง : ราชอาณาจักรฮังการี และจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : เพื่อการตกลงให้เซอร์เบียเป็นฉนวนดินแดนระหว่างสองอาณาจักร; ออตโตมันคืนดินแดนที่ยึดไปได้และจ่ายค่าเสียหายแก่ฮังการี; ฮังการีตกลงที่จะไม่รุกรานบัลแกเรียหรือข้ามแม่น้ำดานูปเป็นเวลาสิบปี
1454 สนธิสัญญาโลดี
Treaty of Lodi หรือ
Peace of Lodi
ระหว่าง : มิลาน, ฟลอเรนซ์ และเวนิส
เนื้อหา : เพื่อสร้างสันติภาพเพื่อยุติการขยายดินแดนของมิลานและเวนิส โดยการระบุการใช้ลำแม่น้ำอัดดาเป็นพรมแดนระหว่างมิลานและเวนิส ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างดุลยภาพทางอำนาจทางตอนเหนือของอิตาลี
1456 สนธิสัญญายาเซลบิทซี
Treaty of Yazhelbitsy
ระหว่าง : วาซิลีที่ 2 แห่งมอสโคและประชาชนในเวลิคีโนฟโกรอด
เนื้อหา : เพื่อการสร้างสันติภาพระหว่างผู้ลงนาม
1460 สนธิสัญญาไรเบอ
Treaty of Ribe
เนื้อหา : พระราชประกาศออกโดยพระเจ้าคริสเตียนที่ 1 แห่งเดนมาร์กต่อขุนนางเยอรมันประกาศพระองค์เป็นเคานท์แห่งโฮลชไตน์และได้อำนาจการครอบครองชเลสวิกที่เสียไปคืนมา และประกาศให้ทั้งสองดินแดนเป็นดินแดนที่ "รวมกันชั่วกัลปวสานต์" (Up Ewig Ungedeelt)
1461 สนธิสัญญาเวสต์มินสเตอร์ (ค.ศ. 1461)
Treaty of Westminster (1461) หรือ
Treaty of Westminster-Ardtornish
ระหว่าง : ราชอาณาจักรอังกฤษกับราชอาณาจักรสกอตแลนด์
เนื้อหา : เพื่อแบ่งสกอตแลนด์ระหว่างสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษกับเจมส์ ดักกลาส เอิร์ลแห่งดักกลาสที่ 9
1465 สนธิสัญญาคงฟลองส์
Treaty of Conflans หรือ
Peace of Conflans
ระหว่าง : พระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศสกับชาร์ลส์เดอะโบลด์
เนื้อหา : เมื่อทรงพ่ายแพ้ในสงครามต่อดยุกแห่งอลองชอง, เบอร์กันดี, แบร์รี และ บูร์บอง พระเจ้าหลุยส์ก็ทรงถูกบังคับให้ลงพระนามในสนธิสัญญาเพื่อเป็นการยุติ สงครามวิปลาส (Guerre folle)
1466 สนธิสัญญาธอร์น (ค.ศ. 1466)
Second Peace of Thorn (1466) หรือ
Second Treaty of Thorn หรือ
Toruń
ระหว่าง : โปแลนด์กับอัศวินทิวทัน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามสิบสามปีที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1454 จนถึงปี ค.ศ. 1466
สนธิสัญญาโซลดิน (ค.ศ. 1466)
Treaty of Soldin (1466)
เนื้อหา : อีเล็คเตอร์แห่งบรันเดินบวร์คอ้างสิทธิในดัชชีแห่งพอเมอเรเนีย แต่การพยายามใช้บังคับประสบความล้มเหลว ที่ตามมาด้วยสงคราม
1468 สนธิสัญญาเพรอน (ค.ศ. 1466)
Treaty of Péronne (1468)
ระหว่าง : ชาร์ลส์ที่ 1 ดยุกแห่งเบอร์กันดีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศส
เนื้อหา : ชาร์ลส์อ้างสิทธิในดัชชีแห่งปงตีเยอ (Ponthieu) ของอังกฤษ
1472 สนธิสัญญาเพรนซเลา
Treaty of Prenzlau
เนื้อหา : เพื่อประกาศให้อัลเบร็คที่ 3 อีเล็คเตอร์แห่งบรันเดินบวร์คเป็นประมุขของพอเมอเรเนีย-สเต็ททิน
1474 สนธิสัญญาอูเทร็คท์ (ค.ศ. 1474)
Treaty of Utrecht (1474)
ระหว่าง : อังกฤษกับสันนิบาตฮันเซียติกที่นำโดยลือเบ็คกับดันซิก
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามสงครามอังกฤษ-ฮันเซียติคระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1475 สนธิสัญญาพิคิญญี
Treaty of Picquigny
ระหว่าง : อังกฤษกับฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศสทรงจ่ายเงินให้สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษให้ยกทัพกลับอังกฤษและยุติการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส รวมทั้งจ่ายเงินบำนาญให้แก่ขุนนางบางคนของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดด้วย
1478 สนธิสัญญาบรโน (ค.ศ. 1478)
Treaty of Brno (1478)
ระหว่าง : แม็ทไธยัส คอร์วินัสแห่งฮังการีกับพระเจ้าวลาดิสเลาสที่ 2 แห่งฮังการี
เนื้อหา : เพื่อเป็นร่างสำหรับการทำสนธิสัญญาโอโลมุคว่าด้วยการแบ่งดินแดนของโบฮีเมียระหว่างคู่สัญญา
1479 สนธิสัญญาสันติภาพโอโลมุค
Peace of Olomouc
ระหว่าง : แม็ทไธยัส คอร์วินัสแห่งฮังการีกับพระเจ้าวลาดิสเลาสที่ 2 แห่งฮังการี
เนื้อหา : เพื่ออนุมัติสนธิสัญญาบรโน (ค.ศ. 1478)
Treaty of Alcaçovas
Treaty of Alcaçovas หรือ
Treaty of Alcaçovas-Toledo
ระหว่าง : ราชอาณาจักรคาสตีลกับราชอาณาจักรโปรตุเกส
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามการเมืองคาสตีลที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1474 ระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 1479)
Treaty of Constantinople (1479)
ระหว่าง : สาธารณรัฐเวนิสกับจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามที่ดำเนินมาเป็นเวลาสิบห้าปีระหว่างทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นทางการ
1482 สนธิสัญญาอาร์ราส (ค.ศ. 1482)
Treaty of Arras (1482)
ระหว่าง : พระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศสและรัฐบาลของกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ
เนื้อหา : เพื่อการยุติปัญหาการสืบครองเบอร์กันดี
สนธิสัญญามึนซิงเกน
Treaty of Münsingen
ระหว่าง : เคานท์เอเบอร์ฮาร์ด
เนื้อหา : เพื่อรวมอาณาจักรเคานท์แห่งเวือร์ทเทิมแบร์คอันแตกแยกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
1484 สนธิสัญญาบาโยโล
Treaty of Bagnolo
ระหว่าง : แอร์โคเล เดสเตที่ 1แห่งเฟอร์รารากับสมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 4
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามเฟอร์รารา (ค.ศ. 1482–1484) ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1485 สนธิสัญญาไลพ์ซิก
Treaty of Leipzig
ระหว่าง : เอิร์นสท์ อีเล็คเตอร์แห่งแซกโซนีกับอัลเบร็คท์ที่ 3 ดยุกแห่งแซกโซนี
เนื้อหา : เพื่อแบ่งแซกโซนีระหว่างคู่สัญญา
1488 สนธิสัญญาซาเบล
Treaty of Sablé หรือ
Treaty of Verger หรือ
Treaty of Le Verger
ระหว่าง : บริตานีกับฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อระบุให้ฟรองซัวส์ที่ 2 ดยุกแห่งบริตานีเป็นบริวารของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส
1489 สนธิสัญญาเมเดินาเดลแคมโพ (ค.ศ. 1489)
Treaty of Medina del Campo (1489)
ระหว่าง : : อังกฤษและสเปน
เนื้อหา : เนื้อหาหลักคือสัญญาการเสกสมรสระหว่างอาร์เธอร์ ทิวดอร์ และแคเธอรีนแห่งอารากอน
สนธิสัญญาฟรังเฟิร์ต (ค.ศ. 1489)
Treaty of Frankfurt (1489)
ระหว่าง : สมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และผู้แทนของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อสร้างความปรองดองระหว่างจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนและฝ่ายปฏิวัติเฟล็มมิช; แม็กซิมิเลียนคืนเมืองที่ยึดครองในบริตานีแก่แอนน์แห่งบริตานี
สนธิสัญญาดอร์เดร็คท์ (ค.ศ. 1489)
Treaty of Dordrecht (1489)
ระหว่าง : สมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ
เนื้อหา : เพื่อการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาเรดอง
Treaty of Redon
ระหว่าง : สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษและผู้แทนของบริตานี
เนื้อหา : พระเจ้าเฮนรีตกลงส่งกองทหารอังกฤษ 6000 คนให้มาอยู่ภายใต้การนำโดยลอร์ดโดเบอเนย์แห่งบริตานี ในการช่วยป้องกันบริตานีจากการถูกผนวกโดยฝรั่งเศส
1490 สนธิสัญญาโอคิง (ค.ศ. 1490)
Treaty of Okyng (1490)
ระหว่าง : จักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 และพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และผู้แทนของคาสตีล--อิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีลกับเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอน
1491 สนธิสัญญาสันติภาพเพรสบวร์ก
Peace of Pressburg
เนื้อหา : เพื่อระบุการสืบสันตติวงศ์ของราชอาณาจักรออสเตรียและฮังการีในอนาคต
สนธิสัญญากรานาดา (ค.ศ. 1491)
Treaty of Granada (1491) หรือ
Capitulation of Granada
ระหว่าง : : กษัตริย์กรานาดา กับ อิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีลกับเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอน
เนื้อหา : กษัตริย์กรานาดายกราชอาณาจักรกรานาดาของมัวร์แก่พระมหากษัตริย์โรมันคาทอลิกแห่งสเปน
1492 สนธิสัญญาสันติภาพเอทาเพลอส์
Peace of Etaples
ระหว่าง : สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษกับพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อการยุติการรุกรานของอังกฤษในการพยายามยังยั้งฝรั่งเศสจากการสนับสนุนเพอร์คิน วอร์เบ็คผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษ ตามสนธิสัญญาฝรั่งเศสขับวอร์เบ็คออกจากฝรั่งเศส
1493 สนธิสัญญาบาร์เซโลนา
Treaty of Barcelona
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับสเปน
เนื้อหา : ฝรั่งเศสคืนรูซียง และแซร์ดาญ (Cerdagne) แก่สเปนเป็นการแลกเปลี่ยนกับความเป็นกลางของสเปนระหว่างที่ฝรั่งเศสทำสงครามในอิตาลี
สนธิสัญญาซองลีส์
Treaty of Senlis
ระหว่าง : จักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 และพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส
เนื้อหา : ฝรั่งเศสยกดัชชีแห่งเบอร์กันดี, อาณาจักรเคานท์แห่งอาร์ทัวส์, พิคาร์ดี และกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำให้แก่ฮับส์บวร์ก
1494 สนธิสัญญาทอร์เดซิลลาส
Treaty of Tordesillas
ระหว่าง : สเปนกับโปรตุเกส
เนื้อหา : ข้อตกลงแบ่งดินแดนที่พบนอกยุโรประหว่างคู่สัญญา
1496 สนธิสัญญาอินเทอร์เคอร์ซัสแม็กนัส
Intercursus Magnus
ระหว่าง : อังกฤษกับเนเธอร์แลนด์
เนื้อหา : เพื่อตกลงทางการค้าเพื่อการแก้ปัญหาสงครามการค้าระหว่างคู่สัญญา
1499 สนธิสัญญาบาเซิล (ค.ศ. 1499)
Treaty of Basel (1499)
ระหว่าง : สหพันธ์ชวาเบียกับสหพันธ์สวิตเซอร์แลนด์เดิม
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามชวาเบีย
1499 พระราชบัญญัติสหภาพคราเคาว์และวิลไนอัส
Union of Kraków and Vilnius
ระหว่าง : โปแลนด์กับลิทัวเนีย
เนื้อหา : การรวมตัวส่วนพระองค์ (personal union) กลายมาเป็นการรวมราชวงศ์ (dynastic union) เน้นความร่วมมือระหว่างสองอาณาจักรในการต่อต้านศัตรูร่วมกัน และฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักร

ค.ศ. 1500-ค.ศ. 1599

[แก้]
ปี ชื่อสนธิสัญญา ภาคีและเนื้อหา
1500 สนธิสัญญากรานาดา (ค.ศ. 1500)
Treaty of Granada (1500)
ระหว่าง : : กษัตริย์ฝรั่งเศสกับเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอน
เนื้อหา : เฟอร์ดินานด์ทรงตกลงสนับสนุนฝรั่งเศสในการอ้างสิทธิในราชอาณาจักรเนเปิลส์
1501 สนธิสัญญาเทรนเท
Treaty of Trente
เนื้อหา : ออสเตรียรับรองการยึดดินแดนของฝรั่งเศสทางตอนเหนือของอิตาลีทั้งหมด
1501 พระราชบัญญัติสหภาพมีลนิค
Union of Mielnik
ระหว่าง : โปแลนด์กับลิทัวเนีย
เนื้อหา : เป็นพระราชบัญญัติที่พยายามฟื้นฟูสหภาพโปแลนด์-ลิทัวเนีย
1502 สนธิสัญญาสันติสุขตลอดกาล (ค.ศ. 1502)
Treaty of Perpetual Peace (1502)
ระหว่าง : สมเด็จพระเจมส์ที่ 4 แห่งสกอตแลนด์กับสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ
เนื้อหา : เพื่อการยุติความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างสองราชอาณาจักร; เพิกถอน ค.ศ. 1513
1504 สนธิสัญญาบลัวส์
Treaty of Blois
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามอิตาลีเป็นการชั่วคราว
สนธิสัญญาลิยงส์
Treaty of Lyons
เนื้อหา : พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสทรงยกเนเปิลส์แก่เฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอน
1511 สนธิสัญญาเวสต์มินสเตอร์
Treaty of Westminster
ระหว่าง : สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ และเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอน
เนื้อหา : เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างคู่สัญญาในการต่อต้านฝรั่งเศส
1516 สนธิสัญญาโนยอง
Peace of Noyon
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับสเปน
เนื้อหา : เพื่อแบ่งอิตาลีระหว่างคู่สัญญา
1517 สนธิสัญญารูออง
Treaty of Rouen
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับสกอตแลนด์
เนื้อหา : เพื่อการฟื้นฟูข้อตกลงในสนธิสัญญาพันธมิตรเก่า
1518 สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1518)
Treaty of London (1518)
เนื้อหา : เพื่อการตกลงในการไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่างฝรั่งเศส, อังกฤษ, จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, สถาบันพระสันตะปาปา, สเปน, เบอร์กันดี และ เนเธอร์แลนด์
สนธิสัญญาทางไมตรี การพาณิชย์ และการเดินเรือ พ.ศ. 2061
Treaty of Friendship, Commerce and Navigation of 1518
ระหว่าง : โปรตุเกสกับอาณาจักรอยุธยา
เนื้อหา : ข้อตกลงทางการค้าระหว่างโปรตุเกส กับอาณาจักรอยุธยา (ไทย)
1522 สนธิสัญญาวินด์เซอร์ (ค.ศ. 1522)
Treaty of Windsor 1522
ระหว่าง : สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, และสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ
เนื้อหา : เกี่ยวกับการรุกรานฝรั่งเศส
1524 สนธิสัญญามาลเมอ
Treaty of Malmö
ระหว่าง : เดนมาร์ก-นอร์เวย์กับสวีเดน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามอิสรภาพสวีเดน เดนมาร์ก-นอร์เวย์รับรองอิสรภาพของสวีเดน สวีเดนสละสิทธิสกาเนีย และเบลคินจ์
1526 สนธิสัญญาพระราชวังแฮมพ์ตันคอร์ท (ค.ศ. 1526)
Treaty of Hampton Court (1526)
เนื้อหา : เพื่อการสร้างสันติภาพระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส หลังจาก สงครามอิตาลี (ค.ศ. 1521-1526)
สนธิสัญญามาดริด (ค.ศ. 1526)
Treaty of Madrid (1526)
เนื้อหา : เพื่อยุติความสนใจของฝรั่งเศสในการรุกรานอิตาลีเป็นการชั่วคราว (สงครามอิตาลี (ค.ศ. 1521-1526))
1527 สนธิสัญญาเวสต์มินสเตอร์ (ค.ศ. 1527)
Treaty of Westminster (1527)
ระหว่าง : สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ และพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างคู่สัญญาในการต่อต้านสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 แห่งสเปน
1528 สนธิสัญญาโกรินเคม
Treaty of Gorinchem
ระหว่าง : สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และชาร์ลส์ ดยุกแห่งเกลเดอร์ส
เนื้อหา : คาร์ลรับรองว่าดยุกชาร์ลส์เป็นผู้ปกครองเกลเดอร์ส, โกรนิงเกน และOverijssel โดยชอบธรรม เป็นการแลกเปลี่ยนกับดยุกชาร์ลส์ยอมตกลงให้จักรพรรดิคาร์ลเป็นทายาท แต่ต่อมาดยุกชาร์ลส์ละเมิดข้อตกลงและหันไปแต่งตั้งให้พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศสเป็นทายาทแทนที่
1529 สนธิสัญญาคัมแบร
Treaty of Cambrai หรือ
Paix des Dames
สนธิสัญญาซาราโกซา
Treaty of Saragossa
ระหว่าง : สเปนกับโปรตุเกส
เนื้อหา : ข้อตกลงแบ่งดินแดนที่พบจากการสำรวจระหว่างคู่สัญญา
1534 สนธิสัญญาบาสเซียง (ค.ศ. 1534)
Treaty of Bassein (1534)
ระหว่าง : : สุลต่านบาฮาเดอร์แห่งรัฐคุชราตกับจักรวรรดิโปรตุเกส
เนื้อหา : บาฮาเดอร์ยอมตกลงยกหมู่เกาะมุมไบแก่จักรวรรดิโปรตุเกส
1538 สนธิสัญญานากีวารัด
Treaty of Nagyvárad หรือ
Treaty of Várad
เนื้อหา : รับรองว่ายาโนส ซาโพลไยเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฮังการีโดยชอบธรรมขณะที่สมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ยังคงมีสิทธิในบริเวณทางตะวันตกของในบริเวณที่เรียกว่ารอยัลฮังการี (Royal Hungary)
1541 สนธิสัญญาเบริมเซโบรครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1541)
First Treaty of Brömsebro (1541)
ระหว่าง : เดนมาร์ก-นอร์เวย์ และสวีเดน
เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรในการร่วมมือในการต่อต้านศัตรูร่วมกัน
1543 สนธิสัญญากรีนนิช
Treaty of Greenwich หรือ
Treaties of Greenwich
ระหว่าง : : ผู้แทนของอังกฤษ และสกอตแลนด์
เนื้อหา : ข้อตกลงสองฉบับในการพยายามรวมราชบัลลังก์ (Union of the Crowns) ราชอาณาจักรสกอตแลนด์ และราชอาณาจักรอังกฤษเป็นสหภาพ
สนธิสัญญาเวนโล
Treaty of Venlo
เนื้อหา : ดยุกวิลเฮล์ม แห่ง ยือลิค-คลีฟส์-แบร์กยกดินแดนเกลเดอร์ส และอาณาจักรเคานท์แห่งซุทเฟนแก่สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์.
1544 สนธิสัญญาสเปเยอร์ (ค.ศ. 1544)
Treaty of Speyer (1544)
ระหว่าง : เดนมาร์ก และจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์
เนื้อหา : สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาเครปี
Treaty of Crépy
ระหว่าง : จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับฝรั่งเศส
เนื้อหา : จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ยุติการอ้างสิทธิในดัชชีแห่งเบอร์กันดี เป็นการแลกเปลี่ยนกับ พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศสยุติการอ้างสิทธิในราชอาณาจักรเนเปิลส์
1551 สนธิสัญญาไวส์เซนบวร์ก
Treaty of Weissenburg หรือ
Treaty of Karlsburg
เนื้อหา : เพื่อประกาศให้อาร์ชดยุกเฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรียเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรฮังการี และทรานสซิลเวเนีย
1552 สนธิสัญญาพาสเซา
Peace of Passau
เนื้อหา : หลังจากสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทรงการันตีเสรีภาพทางศาสนาแก่ลูเทอรัน
สนธิสัญญาชองบอร์ด
Treaty of Chambord
ระหว่าง : พระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศสกับมอริซ อีเล็คเตอร์แห่งแซกโซนี
เนื้อหา : มอริซเสียอาณาจักรสังฆราชแห่งเม็ทซ์, ทูล และแวร์เดิงแก่พระเจ้าอองรี
1555 สนธิสัญญาออกสเบิร์ก
Peace of Augsburg
ระหว่าง : สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และกองกำลังฝ่ายสหพันธ์ชมาลคาลดิค (Schmalkaldic League)
เนื้อหา : เพื่อการดำรงอยู่ร่วมกันระหว่างโรมันคาทอลิกกับลูเทอรัน
สนธิสัญญาอมาสยา
Treaty of Amasya
ระหว่าง : จักรวรรดิออตโตมันกับซาฟาวิยะห์เปอร์เซีย
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1556 สนธิสัญญาโวเซลล์ส
Treaty of Vaucelles
ระหว่าง : พระเจ้าอองรีที่ 1 แห่งฝรั่งเศสกับพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน
เนื้อหา : พระเจ้าอองรียกแคว้นฟรองช์-กงเตแก่พระเจ้าฟิลิป
1559 สนธิสัญญาคัมเบรซีส์
Peace of Cateau Cambrésis
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับสเปน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1551-1559) ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1560 สนธิสัญญาเอดินบะระห์
Treaty of Edinburgh
ระหว่าง : สกอตแลนด์กับฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อการเพิกถอนสนธิสัญญาพันธมิตรเก่า
1562 พระราชกฤษฎีกาแห่งแซงต์-แชร์แมง
Edict of Saint-Germain หรือ
Edict of January
เนื้อหา : ยอมรับความมีตัวตนของลัทธิโปรเตสแตนต์ในฝรั่งเศสและรับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนาและการสักการะเป็นการส่วนตัว
สนธิสัญญาพระราชวังแฮมพ์ตันคอร์ท (ค.ศ. 1562)
Treaty of Hampton Court (1562) หรือ
Treaty of Richmond
ระหว่าง : : อังกฤษและผู้นำอูเกอโนต์
เนื้อหา : เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางทหารและทางเศรษฐกิจระหว่างสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ และหลุยส์ที่ 1 เดอ บูร์บอง เจ้าชายแห่งคองเด
1563 พระราชกฤษฎีกาอองบัวส์
Edict of Amboise
เนื้อหา : พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ เพื่อการยุติช่วงแรกของสงครามศาสนาของฝรั่งเศส นอกจากนั้นก็ยังเป็นสนธิสัญญาที่นำสันติมาสู่ฝรั่งเศสโดยการรับรองอภิสิทธิ์และเสรีภาพทางศาสนาของอูเกอโนต์
1568 พระราชกฤษฎีกาลงชูโม
Peace of Longjumeau หรือ
Treaty of Longjumeau หรือ
Edict of Longjumeau
เนื้อหา : พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสกับแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ เพื่อการยุติช่วงที่สองของสงครามศาสนาของฝรั่งเศส; และเป็นการยืนยันพระราชกฤษฎีกาอองบัวส์ที่หมดอายุในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1568
1569 พระราชบัญญัติสหภาพลูบลิน
Union of Lublin
ระหว่าง : โปแลนด์กับลิทัวเนีย
เนื้อหา : เพื่อการรวมตัวระหว่าง ราชอาณาจักรโปแลนด์ และแกรนด์ดัชชีแห่งลิทัวเนีย เป็นรัฐเดียวกัน "สาธารณรัฐแห่งสองชาติ"
1570 สนธิสัญญาสเทททิน (ค.ศ. 1570)
Treaty of Stettin (1570)
ระหว่าง : สวีเดนกับเดนมาร์ก
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามเจ็ดปีของยุโรปเหนือ (Northern Seven Years' War) ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญาแซงต์-แชร์แมง-ออง-เลย์
Peace of Saint-Germain-en-Laye
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามศาสนาของฝรั่งเศสช่วงที่สามระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1572 สนธิสัญญาบลัวส์ (ค.ศ. 1572)
Treaty of Blois (1572)
ระหว่าง : สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษกับแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ
เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรร่วมกันในการต่อต้านสเปน
1573 พระราชกฤษฎีกาบูลอญน์
Edict of Boulogne
เนื้อหา : พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส เพื่อยุติสงครามศาสนาของฝรั่งเศสช่วงที่สี่; โดยมอบสิทธิให้แก่อูเกอโนต์ในการสักการะได้ใน ลาโรเชลล์, มงโตบอง และนีมส์
1576 พระราชกฤษฎีกาโบลิเยอ
Edict of Beaulieu หรือ
Edict of Beaulieu-les-Loches หรือ
Peace of Monsieur
เนื้อหา : พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยพระเจ้าอองรีที่ 3 แห่งฝรั่งเศส เพื่อการยุติสงครามศาสนาของฝรั่งเศสช่วงที่ห้า โดยมอบสิทธิให้แก่อูเกอโนต์ในการสักการะได้ในที่สาธารณะ
สนธิสัญญาเก้นท์
Pacification of Ghent
เนื้อหา : เพื่อการรวมตัวเป็นพันธมิตรกันของรัฐในกลุ่มเนเธอร์แลนด์ของฮับส์บวร์กเพื่อการต่อต้านสเปน
1577 สนธิสัญญาแบร์เชรัค
Treaty of Bergerac หรือ
Edict of Poitiers
ระหว่าง : พระเจ้าอองรีที่ 3 แห่งฝรั่งเศสและเจ้าชายอูเกอโนต์
เนื้อหา : สนธิสัญญามาได้รับการอนุมัติในสนธิสัญญาปัวติเยร์ เป็นสนธิสัญญาที่มาแทนพระราชกฤษฎีกาโบลิเยอ เนื้อความในสัญญาอนุญาตให้อูเกอโนต์ใสักการะได้เฉพาะนอกตัวเมืองของที่พำนักเท่านั้น
พระราชกฤษฎีกา ค.ศ. 1577
Edict of 1577 หรือ
Perpetual Edict
เนื้อหา : พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยข้าหลวงเนเธอร์แลนด์จอห์นแห่งออสเตรีย เพื่อการกำจัดกองทหารสเปนจากเนเธอร์แลนด์และการรักษาข้อตกลงในสนธิสัญญาเก้นท์
1579 ข้อตกลงอาเทร็คท์
Union of Atrecht หรือ
Union of Arras
เนื้อหา : รัฐทางตอนใต้ของเนเธอร์แลนด์ของสเปนประกาศสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน
ข้อตกลงการก่อตั้งสหภาพอูเทร็คท์
Union of Utrecht
เนื้อหา : เพื่อการรวมตัวของรัฐทางตอนเหนือของเนเธอร์แลนด์ที่เป็นรากฐานของสาธารณรัฐเจ็ดจังหวัดแห่งเนเธอร์แลนด์ต่อมา
1580 พระราชกฤษฎีกาแฟลซ์
Treaty of Fleix หรือ
Edict of Fleix หรือ
Peace of Fleix
เนื้อหา : พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยพระเจ้าอองรีที่ 3 แห่งฝรั่งเศส เพื่อการยุติสงครามศาสนาของฝรั่งเศสช่วงที่เจ็ด โดยยอมรับพระราชกฤษฎีกาฉบับต่าง ๆ ที่ออกมาก่อนหน้านั้นในการมอบสิทธิทางศาสนาให้แก่อูเกอโนต์
สนธิสัญญาเพลซีส์-เลอส์-ตูร์
Treaty of Plessis-les-Tours
เนื้อหา : รับรองให้ฟรองซัวส์ ดยุกแห่งอองชูเป็นประมุขของสาธารณรัฐดัตช์
1582 สนธิสัญญายามซาโพลสกี
Peace of Jam Zapolski
ระหว่าง : โปแลนด์กับแกรนด์ดัชชีแห่งมอสโคว์
เนื้อหา : เพื่อการยุติงสงครามลิโวเนียระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1583 สนธิสัญญาพลุสซา
Treaty of Plussa
ระหว่าง : รัสเซียกับสวีเดน
เนื้อหา : เพื่อการยุติงสงครามลิโวเนีย (ค.ศ. 1558–1583)
1584 สนธิสัญญาจอยน์วิลล์
Treaty of Joinville
เนื้อหา : เพื่อการก่อตั้งสหพันธ์คาทอลิกระหว่างสหพันธ์คาทอลิกฝรั่งเศส และ สเปนของฮับส์บวร์กในการต่อต้านกองกำลังโปรเตสแตนต์เช่นกองกำลังของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ
1585 สนธิสัญญาเนมูรส์
Treaty of Nemours
ระหว่าง : แคทเธอรีน เดอ เมดิชิและผู้แทนของตระกูลกีส
เนื้อหา : เพื่อเพิกถอนสิทธิที่มอบให้อูเกอโนต์ก่อนหน้านั้น ที่ทำให้เป็นต้นตอของสงครามสามเฮนรี (ค.ศ. 1584–1598)
สนธิสัญญานอนซุค
Treaty of Nonsuch
ระหว่าง : อังกฤษกับเนเธอร์แลนด์
เนื้อหา : อังกฤษตกลงช่วยเหลือเนเธอร์แลนด์ในสงครามแปดสิบปี
1586 สนธิสัญญาเบริค (ค.ศ. 1586)
Treaty of Berwick (1586)
ระหว่าง : สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษกับพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์
เนื้อหา : สนธิสัญญาสัมพันธไมตรีระหว่างคู่สัญญา
1590 สนธิสัญญาแฟร์ฮัทปาชา
Treaty of Ferhat Paşa
ระหว่าง : จักรวรรดิออตโตมันกับซาฟาวิยะห์เปอร์เซีย
เนื้อหา : เพื่อการควบคุมบริเวณคอเคซัสของตุรกี
1595 สนธิสัญญาทิวซินา
Treaty of Teusina หรือ
Treaty of Tyavzino หรือ
Eternal Peace with Sweden
ระหว่าง : รัสเซียกับสวีเดน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามรัสเซีย–สวีเดน (ค.ศ. 1590-1595) ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลงเป็นสนธิสัญญาที่ขยายความสนธิสัญญาพลุสซาที่ทำกันก่อนหน้านั้น
1598 สนธิสัญญาแวร์แวงส์
Peace of Vervins
ระหว่าง : สเปนกับฝรั่งเศส
เนื้อหา : สเปนถอนตัวจากดินแดนของฝรั่งเศส
พระราชกฤษฎีกาแห่งนองซ์
Edict of Nantes
เนื้อหา : พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส เพื่อมอบสิทธิแก่อูเกอโนต์ให้มีสิทธิมากขึ้นในประเทศที่ประชาการส่วนใหญ่ยังนับถือนิกายโรมันคาทอลิก

ค.ศ. 1600-ค.ศ. 1699

[แก้]
ปี ชื่อสนธิสัญญา ภาคีและเนื้อหา
1601 สนธิสัญญาลียง (ค.ศ. 1601)
Treaty of Lyon (1601)
ระหว่าง : ฝรั่งเศส, สเปน และซาวอย
เนื้อหา : พระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศสทรงยอมสละซาลุซโซแก่ซาวอยเป็นการแลกเปลี่ยนกับ Bugey, Valromey, Gex, Ain และBresse
1604 สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1604)
Treaty of London, 1604
ระหว่าง : อังกฤษ และสเปน
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามอังกฤษ-สเปน
1606 สนธิสัญญาซิทาวา
Peace of Žitava หรือ
Peace of Zsitvatorok
ระหว่าง : จักรวรรดิออตโตมันกับราชวงศ์ฮับส์บวร์ก
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามยืดเยื้อ (Long War)
สนธิสัญญาเวียนนา (ค.ศ. 1606)
Treaty of Vienna (1606) หรือ
Peace of Vienna
ระหว่าง : Stephen Bocskayขุนนางฮังการี และอาร์ชดยุกแม็ทไธยัส
เนื้อหา : จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์คืนสิทธิทางการเมืองและการศาสนาแก่ทั้งรอยัลฮังการีกับทรานซิลเวเนีย
1608 สนธิสัญญาลีเบน
Treaty of Lieben
ระหว่าง : จักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2 และพระอนุชา จักรพรรดิแม็ทไธยัสแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เนื้อหา : เพื่อรูดอล์ฟทรงสละสิทธิฮังการี, ดินแดนในการครอบครองของออสเตรียในบริเวณแม่น้ำดานูป และโมราเวียแก่พระอนุชา เป็นการแลกเปลี่ยนกับดินแดนไทโรล และฟอร์ลันเดอ
1609 สนธิสัญญาอันท์เวิร์พ (ค.ศ. 1609)
Treaty of Antwerp (1609) หรือ
Twelve Years Truce
ระหว่าง : สเปน และเนเธอร์แลนด์
เนื้อหา : คู่สัญญาตกลงสงบศึกเป็นเวลา 12 ปี
1610 สนธิสัญญาบรุซโซล
Treaty of Brussol หรือ
Treaty of Bruzolo
ระหว่าง : ชาร์ลส์ เอ็มมานูเอลที่ 1 ดยุกแห่งซาวอย และพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส
เนื้อหา : คู่สัญญาตกลงรวมกำลังในการขับสเปนจากอิตาลี
1612 สนธิสัญญานาซูห์ปาชา
Treaty of Nasuh Paşa
ระหว่าง : จักรวรรดิออตโตมัน และซาฟาวิยะห์เปอร์เซีย
เนื้อหา : สนธิสัญญาฉบับปรับปรุงจากฉบับ ค.ศ. 1590 เปอร์เซียได้ดินแดนที่เสียไปใน ค.ศ. 1590 คืน
1613 สนธิสัญญาคเนเรด
Treaty of Knäred
ระหว่าง : เดนมาร์กกับสวีเดน
เนื้อหา : ว่าด้วยการยุติสงครามคาลมาร์ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญาวัมปัมสองสาย
Guswhenta (Two Row Wampum Treaty) หรือ
Guswhenta หรือ
Kaswhenta
ระหว่าง : ชาวอเมริกันอินเดียนอิโรควอยส์และผู้แทนของรัฐบาลดัตช์
ว่าด้วยการดำรงชีวิตอยู่อย่างอิสระร่วมกันระหว่างอิโรควอยส์และผู้ตั้งถิ่นฐานชาวดัตช์
1614 สนธิสัญญาซานเตน
Treaty of Xanten
ระหว่าง : วูล์ฟกัง วิลเฮล์ม เคานท์พาเลไทน์แห่งนอยบวร์กกับจอห์น ซิจิมุนด์ อีเล็คเตอร์แห่งบรันเดินบวร์ค
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามสืบอาณาจักรยือลิคระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1615 สนธิสัญญาอัสติ
Peace of Asti
ระหว่าง : สเปน และซาวอย
เนื้อหา : ชาร์ลส์ เอ็มมานูเอลที่ 1 ดยุกแห่งซาวอยยกเลิกการอ้างสิทธิในมอนเฟอร์ราโต
สนธิสัญญาเทียร์เนา
Peace of Tyrnau
ระหว่าง : จักรพรรดิแม็ทไธยัสแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับทรานซิลเวเนีย
เนื้อหา : จักรพรรดิแม็ทไธยัสทรงยอมรับว่า Gábor Bethlen เป็นประมุขของทรานซิลเวเนีย
1616 สนธิสัญญาเลาดุน
Treaty of Loudun
ระหว่าง : มารี เดอ เมดิชิกับอองรีที่ 2 แห่งบูร์บอง เจ้าชายแห่งคงเด
เนื้อหา : เพื่อยุติการเป็นปรปักษ์ของฝ่ายเจ้านายที่นำโดยอองรี
1617 สนธิสัญญาพาเวีย
Treaty of Pavia
ระหว่าง : สเปน และซาวอย
เนื้อหา : ซาวอยคืนมอนเฟอร์ราโตแก่มานทัว
สนธิสัญญาสโทลโบโว
Treaty of Stolbovo
ระหว่าง : สวีเดนกับอาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามอินเกรียน (Ingrian War) ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1618 สนธิสัญญาดิวลิโน
Truce of Deulino หรือ
Treaty of Dywilino
ระหว่าง : เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียกับอาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามโปแลนด์-มอสโก (ค.ศ. 1605-1618) ที่หมดอายุในปี ค.ศ. 1632
1619 สนธิสัญญาอองกูแลม
Treaty of Angoulême
ระหว่าง : มารี เดอ เมดิชิและพระราชโอรสพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามกลางเมืองระหว่างผู้สนับสนุนของทั้งสองฝ่าย
สนธิสัญญามิวนิก (ค.ศ. 1619)
Treaty of Munich (1619)
ระหว่าง : จักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 2 และแม็กซิมิเลียนแห่งบาวาเรีย
เนื้อหา : แม็กซิมิเลียนยอมให้จักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ใช้กองทหารของตนเป็นการแลกเปลี่ยนกับดินแดนในอาณาจักรเลือกตั้งแห่งพาเลไทน์
1620 สนธิสัญญาอุล์ม (ค.ศ. 1620)
Treaty of Ulm (1620)
ระหว่าง : สันนิบาตคาทอลิกเยอรมันกับสหภาพโปรเตสแตนต์
เนื้อหา : สหภาพโปรเตสแตนต์ยุติการสนับสนุนฟริดริชที่ 5 อีเล็คเตอร์แห่งพาลาไทน์
1621 สนธิสัญญานิโคลสบวร์ก
Peace of Nikolsburg หรือ
Peace of Mikulov
ระหว่าง : จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับทรานซิลเวเนีย
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามระหว่างสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และGabriel Bethlen
สนธิสัญญามาดริด (ค.ศ. 1621)
Treaty of Madrid (1621)
ระหว่าง : : เพื่อคืนหุบเขาวาลเทลลินาแก่เกราบึนเดน (Graubünden) และมอบเสรีภาพทางศาสนาให้แก่ผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์
สนธิสัญญาโคทิน
Treaty of Khotyn
ระหว่าง : จักรวรรดิออตโตมัน และเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามโปแลนด์-ออตโตมัน (ค.ศ. 1620-1621)ระหว่างคู่สัญญาโดยเครือจักรภพยกเลิกการอ้างสิทธิในมอลดาเวีย
1622 สนธิสัญญามงต์เปอลิเยร์
Treaty of Montpellier หรือ
Peace of Montpellier
ระหว่าง : พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส และอองรี ดยุกแห่งโรออง
ระหว่าง: เพื่อการรับรองเนื้อหาของพระราชกฤษฎีกาแห่งนองซ์
1623 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1623)
Treaty of Paris (1623)
ระหว่าง : ฝรั่งเศส, ซาวอย และเวนิส
เนื้อหา : ภาคีสัญญาตกลงฟื้นฟูดินแดนวาลเทลลินา โดยการพยายามกำจัดกองทหารสเปนที่ตั้งมั่นอยู่ที่นั่น
1625 สนธิสัญญากรุงเฮก (ค.ศ. 1625)
Treaty of Den Haag (1625)
ระหว่าง : อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์
เนื้อหา : คู่สัญญาตกลงสนับสนุนทางการเงินแก่พระเจ้าคริสเตียนที่ 6 แห่งเดนมาร์กระหว่างสงครามสามสิบปี
1626 สนธิสัญญาเพรสบวร์ก
Peace of Pressburg หรือ
Treaty of Pozsony
ระหว่าง : จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับทรานซิลเวเนีย
เนื้อหา : เพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และGabriel Bethlen โดยการรับรองข้อตกลงในสนธิสัญญานิโคลสบวร์ก ของปี ค.ศ. 1621 โดยกาเบรียลให้สัญญาว่าจะยุติการต่อสู้และจะไม่ไปเป็นพันธมิตรกับจักรวรรดิออตโตมัน
สนธิสัญญามองซง
Treaty of Monzón
ระหว่าง : ฝรั่งเศส และสเปน
เนื้อหา : เพื่อแบ่งอำนาจเท่า ๆ กันระหว่างคู่สัญญาในการควบคุมวาลเทลลินา
1627 สนธิสัญญาฟรันซบวร์ก
Capitulation of Franzburg
ระหว่าง : จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับดัชชีแห่งพอเมอเรเนีย
เนื้อหา : พอเมอเรเนียถูกยึดครองโดยกองทัพของจักรวรรดิที่นำโดย อัลเบร็คท์ ฟอน วอลเล็นชไตน์
1628 สนธิสัญญามิวนิก (ค.ศ. 1628)
Treaty of Munich (1628)
ระหว่าง : สมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับแม็กซิมิเลียนแห่งบาวาเรีย
เนื้อหา : จักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ทรงรับรองตำแหน่งของแม็กซิมิเลียนในฐานะพรินซ์อีเล็คเตอร์ และพระราชทานการควบคุมพาลาทิเนทเหนือ และฝั่งขวาของแม่น้ำไรน์เป็นเวลาสามสิบปี
1629 พระราชกฤษฎีกาคืนสภาพ
Edict of Restitution
เนื้อหา : สมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์พยายามดำเนินการรักษาดินแดนและข้อตกลงตามสนธิสัญญาออกสเบิร์กที่ตกลงกันก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 1555
สนธิสัญญาลือเบ็ค
Treaty of Lübeck
ระหว่าง : จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับเดนมาร์ก
เนื้อหา : เดนมาร์กถอนตัวออกจากสงครามสามสิบปี
สนธิสัญญาอาลท์มาร์ค
Truce of Altmark หรือ
Treaty of Stary Targ
ระหว่าง : สวีเดนกับเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามโปแลนด์-สวีเดน (ค.ศ. 1626-1629) ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญาอเลส์
Peace of Alais หรือ
Edict of Alèsหรือ
Edict of Grace
ระหว่าง : อูเกอโนต์ และพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส
รับรองเนื้อหาพื้นฐานของพระราชกฤษฎีกาแห่งนองซ์ และเพิ่มเติมเนื้อหา
1630 สนธิสัญญาสันติภาพเรเกนส์บวร์ก (1630)
Peace of Regensburg (ค.ศ. 1630) หรือ
Treaty of Ratisbonne
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามสืบครองมานตัวเป็นการชั่วคราว
สนธิสัญญาสเทททิน (ค.ศ. 1630)
Treaty of Stettin (1630)
เนื้อหา : เป็นการวางรากฐานทางกฎหมายในการยึดครองดัชชีแห่งพอเมอเรเนียโดยจักรวรรดิสวีเดน
1631 สนธิสัญญาบาร์วอลด์
Treaty of Bärwalde
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับสวีเดน
เนื้อหา : เพื่อการร่วมมือเป็นพันธมิตรในการต่อต้านจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
สนธิสัญญาเชอราสโค (ค.ศ. 1631)
The Treaty of Cherasco
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามสืบครองมานตัว
สนธิสัญญามิวนิก (ค.ศ. 1631)
Treaty of Munich (1631) หรือ
Treaty of Fontainebleau (1631)
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับบาวาเรีย
เนื้อหา : สนธิสัญญาลับในการเป็นพันธมิตรระหว่างรัฐโรมันคาทอลิกคู่สัญญา
1632 สนธิสัญญาแซงต์แชร์แมงอองเลย์ (ค.ศ. 1632)
Treaty of Saint-Germain-en-Laye (1632)
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับอังกฤษ
เนื้อหา : อังกฤษคืนฝรั่งเศสใหม่ (เมืองเกแบ็ก) แก่ฝรั่งเศส
1634 สนธิสัญญาโพลียานอฟคา
Treaty of Polyanovka หรือ
Treaty of Polanów หรือ
Treaty of Polyanov
ระหว่าง : เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียกับอาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามสโมเล็งสค์ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1635 สนธิสัญญาปราก (ค.ศ. 1635)
Peace of Prague (1635)
ระหว่าง : สมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และรัฐโปรเตสแตนท์ของจักรวรรดิ
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามกลางเมืองที่เป็นส่วนหนึ่งของสงครามสามสิบปี
สนธิสัญญาสทูห์มส์ดอร์ฟ
Treaty of Sztumska Wieś หรือ
Treaty of Stuhmsdorf หรือ
Armistice of Stuhmsdorf หรือ
Peace of Stuhmsdorf หรือ
Truce of Stuhmsdorf
เนื้อหา : จักรวรรดิสวีเดนคืนดินแดนแก่เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย ที่เสียไประหว่างสงครามโปแลนด์-สวีเดน
1636 สนธิสัญญาวิสมาร์
Treaty of Wismar
ระหว่าง : สวีเดนกับฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อการร่วมมือเป็นพันธมิตรในการต่อต้านราชวงศ์ฮับส์บวร์ก
1638 สนธิสัญญาฮัมบวร์ค (ค.ศ. 1638)
Treaty of Hamburg (1638)
ระหว่าง : สวีเดนกับฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อยืนยันข้อตกลงในสนธิสัญญาวิสมาร์; ฝรั่งเศสจ่ายเงินให้แก่สวีเดน 1,000,000 livresเพื่อช่วยในการเสริมสร้างกองทหารในการต่อต้านราชวงศ์ฮับส์บวร์ก
สนธิสัญญาฮาร์ทฟอร์ด
Treaty of Hartford
ระหว่าง : อังกฤษกับเนเธอร์แลนด์
เนื้อหา : เพื่อการตกลงระหว่างคู่สัญญาในการแบ่งผลประโยชน์จากสงครามพิควัท (Pequot War); ห้ามการตั้งถิ่นฐานของพิควัทและการใช้ภาษา
1639 สนธิสัญญาเบอริค (ค.ศ. 1639)
Treaty of Berwick (1639) หรือ
Peace of Berwick หรือ
Pacification of Berwick
ระหว่าง : พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษกับสกอตแลนด์
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามสังฆราชครั้งที่ 1ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญาซูฮาบ
Treaty of Zuhab หรือ
Peace of Qasr-e-Shirin
ระหว่าง : ซาฟาวิยะห์เปอร์เซียกับจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : เพื่อการกำหนดเขตแดนระหว่างสองอาณาจักรซึ่งยังมีผลจนถึงปัจจุบันนี้
สนธิสัญญาอสูราร์ อาลี
Treaty of Asurar Ali
สนธิสัญญาว่าด้วยการกำหนดเขตแดนระหว่างจักรวรรดิโมกุลกับราชอาณาจักรอาหม
1640 สนธิสัญญาริพอน
Treaty of Ripon
ระหว่าง : พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษกับสกอตแลนด์
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามสังฆราชครั้งที่ 2ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1641 สนธิสัญญาเพรอน (ค.ศ. 1641)
Treaty of Péronne (1641)
ระหว่าง : เจ้าชายหลุยส์ที่ 3 กริมาลดีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส
เนื้อหา : หลุยส์ที่ 3 มอบสิทธิการครองโมนาโกให้แก่ฝรั่งเศสเป็นการแลกเปลี่ยนกับสิทธิในการเป็นประมุขและอาณาจักรของตนเอง
1642 สนธิสัญญาอักซิม (ค.ศ. 1642)
Treaty of Axim (1642)
ระหว่าง : อักซิม และบริษัทอินเดียตะวันตกของดัตช์
เนื้อหา : กำหนดเขตแดน และระบบการปกครองของดัตช์ในอักซิมทางตะวันตกของแอฟริกาตะวันตก
1643 ข้อตกลงระหว่างฝ่ายรัฐสภากับกลุ่มพันธสัญญา
Solemn League and Covenant
ระหว่าง : ฝ่ายรัฐสภาอังกฤษ และกลุ่มพันธสัญญาสกอตแลนด์
เนื้อหา : ข้อตกลงที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ฝ่ายรัฐสภาขอความช่วยเหลือจากสกอตแลนด์ในการปราบปรามกลุ่มปฏิวัติคาทอลิกในไอร์แลนด์
1645 สนธิสัญญาเบริมเซโบรครั้งที่สอง (ค.ศ. 1645)
Second Treaty of Brömsebro (1645)
Peace of Brömsebro
ระหว่าง : สวีเดนกับเดนมาร์ก-นอร์เวย์
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามทอรสเทนซันระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1647 สนธิสัญญาอุล์ม (ค.ศ. 1647)
Truce of Ulm (1647) หรือ
Treaty of Ulm
ระหว่าง : ฝรั่งเศส สวีเดน และบาวาเรีย
เนื้อหา : ข้อตกลงที่เกิดขึ้นหลังจากฝรั่งเศส และสวีเดน เข้ารุกรานบาวาเรียระหว่าง สงครามสามสิบปีที่บังคับให้แม็กซิมิเลียนที่ 1 พรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งบาวาเรียยุติการเป็นพันธมิตรกับสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
1648 สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย
Peace of Westphalia หรือ
Treaties of Münster and Osnabrück
ระหว่าง : สเปนกับสาธารณรัฐดัตช์และรัฐทั้งเจ็ด
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามสามสิบปี และสงครามแปดสิบปีระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง และการกำหนดเขตแดนของรัฐและอาณาจักรต่าง ๆ ในยุโรปที่ยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
สนธิสัญญาสันติภาพมึนสเตอร์
Peace of Münster
ระหว่าง : สเปนกับสาธารณรัฐดัตช์และรัฐทั้งเจ็ด
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามสามสิบปี และสงครามแปดสิบปีระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง สนธิสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย
สนธิสัญญาคองคอร์เดีย
Treaty of Concordia หรือ
Partition Treaty of 1648
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับสาธารณรัฐดัตช์
เนื้อหา : เพื่อแบ่งเกาะเซนต์มาร์ตินระหว่างคู่สัญญา
1649 สนธิสัญญารุย
Peace of Rueil
เนื้อหา : เพื่อการยุติช่วงแรกของสงครามฟรนด์ (Fronde) ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองในฝรั่งเศส
สนธิสัญญาซโบริฟ
Treaty of Zboriv
ระหว่าง : คอสแซ็คกับโปแลนด์
เนื้อหา : สนธิสัญญาหลังจากโปแลนด์พ่ายแพ้ในยุทธการซโบริฟ ตามข้อตกลงโปแลนด์ยกจังหวัดสามจังหวัดในยูเครนให้อยู่ภายใต้การปกครองของคอสแซ็ค
1650 สนธิสัญญาเบรดา (ค.ศ. 1650)
Treaty of Breda (1650)
ระหว่าง : สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และกลุ่มพันธสัญญาสกอตแลนด์
เนื้อหา : สนธิสัญญาที่ทำกันระหว่างสงครามสามอาณาจักร
สนธิสัญญาฮาร์ทฟอร์ด
Treaty of Hartford
ระหว่าง : ผู้ตั้งถิ่นฐานอังกฤษกับนิวอัมสเตอร์ดัม
เนื้อหา : เพื่อกำหนดเขตแดนในคอนเนทิคัตระหว่างคู่สัญญา
1651 สนธิสัญญาบิลาเซิร์ควา
Treaty of Bila Tserkva
ระหว่าง : เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย และคอสแซ็คยูเครน
เนื้อหา : เพื่อการสร้างสันติภาพหลังจากยุทธการเบอเรสเทโค (Battle of Berestechko) ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1653 สนธิสัญญาสเทททิน (ค.ศ. 1653)
Treaty of Stettin (1653)
ระหว่าง : จักรวรรดิสวีเดน และบรันเดินบวร์ค
เนื้อหา : เพื่อตกลงแบ่งแยกดัชชีแห่งพอเมอเรเนียระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1654 สนธิสัญญาเพเรยาสลาฟ
Treaty of Pereyaslav
ระหว่าง : อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย และคอสแซ็ค
เนื้อหา : ซาร์ตกลงพิทักษ์สาธารณรัฐคอสแซ็ค (Cossack Hetmanate)
สนธิสัญญาเวสต์มินสเตอร์ (ค.ศ. 1654)
Treaty of Westminster (1654)
ระหว่าง : เครือจักรภพแห่งอังกฤษกับสาธารณรัฐดัตช์
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่ 1 ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1656 สนธิสัญญาเคอนิกสแบร์ก (ค.ศ. 1656)
Treaty of Königsberg (1656)
ระหว่าง : พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 กุสตาฟแห่งสวีเดนกับฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 อีเล็คเตอร์แห่งบรันเดินบวร์ค
เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรระหว่างคู่สัญญาในการต่อต้านโปแลนด์
สนธิสัญญาลาเบียว
Treaty of Labiau
ระหว่าง : พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 กุสตาฟแห่งสวีเดนกับฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 อีเล็คเตอร์แห่งบรันเดินบวร์ค
เนื้อหา : ตามข้อตกลงฟรีดริช วิลเฮล์มต้องช่วยสวีเดนทางการทหารในการต่อต้านโปแลนด์ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการยกเลิกการอ้างสิทธิของสวีเดนในดัชชีปรัสเซียและวาร์เมียแก่พรินซ์อีเล็คเตอร์
สนธิสัญญาบูเทรอ (ค.ศ. 1656)
Treaty of Butre (1656)
ระหว่าง : รัฐอฮันทา (Ahanta) ในแหลมทองของแอฟริกาตะวัตก กับ รัฐสภาแห่งเนเธอร์แลนด์
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งอฮันทาเป็นรัฐในอารักขาและกำหนดเขตและระบบการปกครองโดยบริษัทอินเดียตะวันตกของดัตช์
1657 สนธิสัญญาบรอมแบร์ก
Treaty of Bromberg หรือ
Treaty of Bydgoszcz
ระหว่าง : พระเจ้าจอห์นที่ 2 คาซิเมียร์แห่งโปแลนด์ และฟรีดริช วิลเฮล์ม มาร์กราฟแห่งบรันเดินบวร์ค
เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรระหว่างคู่สัญญา โดยมีวัตถุประสงค์ในการยุติปรัสเซียจากการเป็นพันธมิตรกับสวีเดน
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1657)
Treaty of Paris (1657)
ระหว่าง : อังกฤษ และฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรระหว่างคู่สัญญาในการต่อต้านสเปน
สนธิสัญญาราลเทอ
Treaty of Raalte
เนื้อหา : สนธิสัญญาว่าด้วยการยุติการเป็นอุปราชแห่ง Overijssel ของเจ้าชายวิลเลียมแห่งออเรนจ์
สนธิสัญญาเวห์เลา
Treaty of Wehlau
ระหว่าง : โปแลนด์ และบรันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย
เนื้อหา : ข้อตกลงที่เกิดขึ้นระหว่างการรุกรานโปแลนด์ของสวีเดน (The Deluge)
โปแลนด์รับรองสิทธิและฐานะของบรันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย
1658 สนธิสัญญาฮาดิอัค
Treaty of Hadiach
ระหว่าง : เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย และคอสแซ็ค
เนื้อหา : เพื่อการยกฐานะของคอสแซ็คและรูเทเนียให้เท่าเทียมกับโปแลนด์ และ ลิทัวเนียที่เป็นรากฐานของเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย-รูเทเนียต่อมา
สนธิสัญญาทาสทรัพ
Treaty of Taastrup หรือ
Høje Taastrup Peace
ระหว่าง : พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 กุสตาฟแห่งสวีเดนกับพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 3 แห่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์
เนื้อหา : ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาก่อนหน้าสนธิสัญญารอสคิลด์หลังจากเดนมาร์กพ่ายแพ้ในสงครามเหนือ
สนธิสัญญารอสคิลด์
Treaty of Roskilde
ระหว่าง : พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 กุสตาฟแห่งสวีเดนกับพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 3 แห่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์
เนื้อหา : เดนมาร์ก-นอร์เวย์ยกดินแดนครึ่งหนึ่งของตนเองแก่สวีเดนเพื่อรักษาส่วนที่เหลือ และสละการอ้างสิทธิในฮาลแลนด์ (Halland)
1659 สนธิสัญญาพิเรนีส
Treaty of the Pyrenees
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับสเปน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามฝรั่งเศส-สเปน (ค.ศ. 1635) ระหว่างผู้ลงนามในสัญญา
1660 สนธิสัญญาโคเปนเฮเกน
Treaty of Copenhagen
ระหว่าง : สวีเดนและพันธมิตรเดนมาร์ก-นอร์เวย์ และเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย
เนื้อหา : สนธิสัญญาติดตามสนธิสัญญารอสคิลด์ที่กำหนดเขตแดนอย่างเป็นทางการระหว่างเดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์ ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนที่ใกล้เคียงกับที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
สนธิสัญญาโอลิวา
Treaty of Oliva หรือ
Peace of Oliva
ระหว่าง : สวีเดน และเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย
เนื้อหา : เพื่อยุติการเป็นปรปักษ์ต่อกันระหว่างคู่สัญญาที่เกิดขึ้นระหว่างการรุกรานโปแลนด์ของสวีเดน
1661 สนธิสัญญาคาร์ดิส
Treaty of Cardis หรือ
Peace of Cardis
ระหว่าง : สวีเดน และอาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามรัสเซีย-สวีเดน (ค.ศ. 1656-1658) ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญากรุงเฮก (ค.ศ. 1661)
Treaty of Den Haag (1661)
ระหว่าง : จักรวรรดิดัตช์ และจักรวรรดิโปรตุเกส
เนื้อหา : ดัตช์รับรองสิทธิของโปรตุเกสใน Recife ใน บราซิล
1662 สนธิสัญญามงต์มาร์ตร
Treaty of Montmartre
ระหว่าง : ชาร์ลส์ที่ 4 ดยุกแห่งลอร์แรน และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
เนื้อหา : ชาร์ลส์ถวายอำนาจการปกครองของดัชชีแห่งลอร์แรนแก่พระเจ้าหลุยส์
1663 สนธิสัญญา Ghilajharighat
Treaty of Ghilajharighat
ระหว่าง : ราชอาณาจักรอาหม และจักรวรรดิโมกุล
เนื้อหา : เพื่อยุติการยึดครองเมืองหลวงของอาหมโดยจักรวรรดิโมกุล
1664 สนธิสัญญาวาสวาร์
Peace of Vasvár
ระหว่าง : ราชบัลลังก์ฮับส์บวร์ก และจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : เพื่อยุติการสงครามระหว่างคู่สัญญาหลังจากยุทธการเซนต์ก็อทฮาร์ด (ค.ศ. 1664) (Battle of Saint Gotthard); สนธิสัญญามาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1683
1665 สนธิสัญญาปูรันดาร์ (ค.ศ. 1665)
Treaty of Purandar (1665) หรือ
Treaty of Purandhar
ระหว่าง : Rajput ใจสิงห์ที่ 1 และ มหาราชาShivaji
1667 สนธิสัญญาเบรดา (ค.ศ. 1667)
Treaty of Breda (1667)
ระหว่าง : อังกฤษ และสาธารณรัฐดัตช์
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่ 2 ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญาอันดรูโซโว
Treaty of Andrusovo
ระหว่าง : อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย และเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย
เนื้อหา : เพื่อยุติความขัดแย้งเรื่องพรมแดนที่มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1654
1668 สนธิสัญญาไตรพันธมิตร (ค.ศ. 1668)
Triple Alliance (1668)
ระหว่าง : อังกฤษ, สาธารณรัฐดัตช์ และสวีเดน
เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรระหว่างภาคีสัญญาในการพยายามยุติการขยายดินแดนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
สนธิสัญญาเอซ์-ลา-ชาเปล (ค.ศ. 1668)
Treaty of Aix-la-Chapelle (1668)
ระหว่าง : ฝรั่งเศส และสเปน
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามขยายดินแดนฝรั่งเศสระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส และสเปนของฮับส์บวร์ก
สนธิสัญญาบอนกายา
Treaty of Bongaja
ระหว่าง : สุลต่านซาอิฟ-อุด-ดินแห่งติดอร์ และบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์
เนื้อหา : สุลต่านยอมรับอำนาจของบริษัทอินเดียตะวันออกในดินแดนอินโดนีเซีย
สนธิสัญญาลิสบอน (ค.ศ. 1668)
Treaty of Lisbon (1668)
ระหว่าง : สเปน และโปรตุเกส
เนื้อหา : สเปนรับรองอิสรภาพของโปรตุเกสหลังจากสงครามฟื้นฟูโปรตุเกส; โปรตุเกสคืนเซวตาแก่สเปน
1670 สนธิสัญญาลับโดเวอร์
Secret Treaty of Dover
ระหว่าง : อังกฤษ และฝรั่งเศส
เนื้อหา : ฝรั่งเศสสัญญาว่าจะช่วยให้อังกฤษกลับสู่การเป็นโรมันคาทอลิก เป็นการแลกเปลี่ยนกับความช่วยเหลือของอังกฤษในการต่อต้านสาธารณรัฐดัตช์ทางทหาร
สนธิสัญญามาดริด (ค.ศ. 1670)
Treaty of Madrid (1670)
ระหว่าง : อังกฤษ และสเปน
เนื้อหา : สเปนรับรองสิทธิของอังกฤษในคาริบเบียน และจำกัดการค้าขายให้อยู่ภายในดินแดนของแต่ละฝ่าย
1672 สนธิสัญญาบัคซัคซ์
Treaty of Buczacz
ระหว่าง : เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย และจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : เพื่อยุติช่วงแรกของสงครามโปแลนด์-ออตโตมัน (ค.ศ. 1672–1676); โปแลนด์คืน Podolia แก่ตุรกี
1674 สนธิสัญญาเวสต์มินสเตอร์ (ค.ศ. 1674)
Treaty of Westminster (1674)
ระหว่าง : อังกฤษกับรัฐสภาแห่งเนเธอร์แลนด์
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่ 3ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1675 ความตกลงสตราสบูร์ก (ค.ศ. 1675)
Strasbourg Agreement (1675)
ระหว่าง : ฝรั่งเศส และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เนื้อหา : ถือว่าเป็นข้อตกลงนานาชาติฉบับแรกในการห้ามการใช้อาวุธเคมี (เช่นลูกปืนอาบยา)
1676 สนธิสัญญาซูรอว์โน
Treaty of Żurawno
ระหว่าง : จักรวรรดิออตโตมัน และเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย
เนื้อหา : เพื่อยุติช่วงที่สองของสงครามโปแลนด์-ออตโตมัน (ค.ศ. 1672–1676)
1677 สนธิสัญญาระหว่างเวอร์จิเนียและกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกัน (ค.ศ. 1677)
Treaty of 1677 หรือ
Treaty Between Virginia And The Indians 1677หรือ
Treaty of Middle Plantation
ระหว่าง : อังกฤษ และกลุ่มชนพื้นเมืองในเวอร์จิเนีย
เนื้อหา : สนธิสัญญาที่ลงนามโดยผู้แทนของ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และ ผู้แทนจากเผ่าต่าง ๆ ในเวอร์จิเนีย; ระบุให้ชาวอินเดียนเวอร์จิเนียสาบานความสวามิภักดิ์ต่อจักรวรรดิอังกฤษ เป็นการแลกเปลี่ยนกับสิทธิในการตั้งถิ่นฐานและการตกปลา
1678 สนธิสัญญานิจเมเกิน
Treaties of Nijmegen
ระหว่าง : ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามฝรั่งเศส-เนเธอร์แลนด์ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญาคาสโค (ค.ศ. 1678)
Treaty of Casco (1678)
ระหว่าง : กลุ่มชนพื้นเมืองทางตะวันออก และ ผู้ตั้งถิ่นฐานอังกฤษของอาณานิคมอ่าวแมสซาชูเซตส์
เนื้อหา : เพื่อตกลงในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันระหว่างผู้ตั้งถิ่นฐานและกลุ่มชนพื้นเมืองอย่างสันติ
1679 สนธิสัญญาแซงต์แชร์แมงอองเลย์ (ค.ศ. 1679)
Treaty of Saint-Germain-en-Laye (1679)
ระหว่าง : ฝรั่งเศส และอาณาจักรมาร์คกราฟแห่งบรันเดินบวร์ค
เนื้อหา : สวีเดนได้ พอเมอเรเนียของสวีเดน และเบรเมิน-แวร์เดิน หลัง สงครามสคาเนีย
1681 สนธิสัญญาบัคชิซาไร
Treaty of Bakhchisarai
ระหว่าง : จักรวรรดิออตโตมัน และอาณาจักรข่านแห่งไครเมีย
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามรัสเซีย-ตุรกี (ค.ศ. 1676-1681) ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง; กำหนดเขตแดนระหว่างคู่สัญญาตามพรมแดนแม่น้ำนีพเพอร์
1686 สนธิสัญญาสันติภาพตลอดกาล (ค.ศ. 1686)
Eternal Peace Treaty of 1686
ระหว่าง : อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย และเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย
เนื้อหา : เพื่อรับรองข้อตกลงในสนธิสัญญาอันดรูโซโว; และการตกลงเรื่องเขตแดนและอำนาจการปกครองในดินแดนต่าง ๆ ของคู่สัญญา
1689 สนธิสัญญาเนอร์ชิงสค์
Treaty of Nerchinsk
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซียกับราชวงศ์ชิง
1691 สนธิสัญญาลิเมอริค
Treaty of Limerick
ระหว่าง : ขบวนการจาโคไบท์และผู้สนับสนุนวิลเลียมแห่งออเรนจ์
เนื้อหา : ลงนามหลังจากการล้อมเมืองลิเมอริค (ค.ศ. 1691) เพื่อเป็นการยุติสงครามวิลเลียมในไอร์แลนด์; ขบวนการจาโคไบท์ได้รับข้อเสนอในการยุบตัวหลายข้อที่รวมทั้งการวางอาวุธและอพยพไปฝรั่งเศส
1697 สนธิสัญญาไรสวิก
Treaty of Ryswick
ระหว่าง : ฝ่ายฝรั่งเศส กับฝ่ายมหาสัมพันธมิตรอังกฤษ, สเปนและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และสาธารณรัฐดัตช์]]
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามมหาสัมพันธมิตรระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1698 สนธิสัญญากรุงเฮก (ค.ศ. 1698)
Treaty of Den Haag (1698) หรือ
Treaty of The Hague หรือ
First Partition Treaty
ระหว่าง : อังกฤษกับฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อพยายามแก้ปัญหาว่าผู้ใดควรจะมีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์สเปน
1699 สนธิสัญญาคาโรวิทซ์
Treaty of Karlowitz หรือ
Treaty of Karlovci
ระหว่าง : จักรวรรดิออสเตรียกับจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : เพื่อยุติมหาสงครามตุรกีระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญาโพรบาเซนสโคเยอ
Treaty of Preobrazhenskoye
เนื้อหา : สนธิสัญญาเพื่อแบ่งจักรวรรดิสวีเดนระหว่างเดนมาร์ก, รัสเซีย, แซกโซนี และเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย หลังจากการลงนามมหาสงครามเหนือก็อุบัติขึ้น

ค.ศ. 1700-ค.ศ. 1799

[แก้]
ปี ชื่อสนธิสัญญา ภาคีและเนื้อหา
1700 สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1700)
Treaty of London, 1700 หรือ
Second Partition Treaty
เนื้อหา : เพื่อการฟื้นฟูพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์สเปนหลังจากการสิ้นพระชนม์ของโจเซฟ เฟอร์ดินานด์แห่งบาวาเรีย เจ้าชายแห่งอัสทูเรีย
สนธิสัญญาคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 1700)
Treaty of Constantinople (1700)
ระหว่าง : อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซียกับจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามรัสเซีย-ตุรกี (ค.ศ. 1686-1700) และรักษาสันติภาพระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1701 สนธิสัญญามหาสันติภาพแห่งมอนทรีออล
Great Peace of Montreal
ระหว่าง : อาณาจักรอุปราชแห่งฝรั่งเศสใหม่ และกลุ่มปฐมชาติ 39 กลุ่มแห่งอเมริกาเหนือ
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามที่ดำเนินมาร่วมหนึ่งร้อยปีระหว่างอิโรควอยส์ผู้เป็นพันธมิตรของอังกฤษ และ ฝรั่งเศส และเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธไมตรีทางการทูตและทางการระหว่างคู่สัญญาที่ดำเนินต่อมาอีก 16 ปี
สนธิสัญญากรุงเฮก (ค.ศ. 1701)
Treaty of Den Haag (1701)
ระหว่าง : บริเตนใหญ่ ออสเตรีย และสาธารณรัฐดัตช์
เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรระหว่างภาคีสัญญาในการร่วมมือกันทางการทหารในการต่อต้านฝรั่งเศส
1703 สนธิสัญญาเมธูน
Methuen Treaty
ระหว่าง : บริเตนใหญ่ และโปรตุเกส
เนื้อหา : เพื่อการตกลงทางเศรษฐกิจระหว่างคู่สัญญาอันมีพื้นฐานมาจากสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน
1704 สนธิสัญญาอิลเบิร์สไฮม์
Treaty of Ilbersheim
เนื้อหา : ดึงบาวาเรียออกจากสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน
1706 สนธิสัญญาอัลทรันชเตดท์
Treaty of Altranstädt
ระหว่าง : พระเจ้าออกัสตัสที่ 2 แห่งโปแลนด์และอีเล็คเตอร์แห่งแซกโซนี กับ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 12 แห่งสวีเดน
1707 สนธิสัญญาสหภาพ (ค.ศ. 1707)
Treaty of Union 1707
ระหว่าง : ราชอาณาจักรอังกฤษ และราชอาณาจักรสกอตแลนด์
เนื้อหา : เพื่อการตกลงในการรวมตัวระหว่างสองราชอาณาจักรและก่อตั้งเป็นราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
สนธิสัญญาอัลทรันชเตดท์
Treaty of Altranstädt
เนื้อหา : สมเด็จพระจักรพรรดิโจเซฟที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงให้การันตีต่อพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 12 แห่งสวีเดน ในเสรีภาพและสิทธิทางศาสนาแก่โปรเตสแตนต์ในไซลีเชีย
1711 สนธิสัญญาสซัสทมาร์
Treaty of Szatmár หรือ
Peace of Szatmár
ระหว่าง : สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

และผู้นำทางทหารฝ่ายฮังการี
เนื้อหา : เพื่อการยุติการก่อการคูรุคที่นำโดย Francis II Rákóczi

สนธิสัญญาพรุธ
Treaty of Pruth
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซีย และจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามรัสเซีย-ตุรกี (ค.ศ. 1710-1711); ออตโตมันถอนตัวจากมหาสงครามเหนือ และการเกี่ยวข้องในกิจการของเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย; รัสเซียสูญเสียดินแดน ซึ่งเป็นการเปิดทางให้แก่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 12 แห่งสวีเดน
1713 สนธิสัญญาอูเทร็คท์ (ค.ศ. 1713)
Treaty of Utrecht (1713)
ระหว่าง : : ภาคีในยุโรป
เนื้อหา : เป็นสนธิสัญญาหลายฉบับที่มีเนื้อหาในการพยายามยุติสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนระหว่างภาคีผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญาพอร์ทสมัธ (ค.ศ. 1713)
Treaty of Portsmouth (1713)
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามพระราชินีแอนน์ที่สร้างความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างเผ่าอเบอนาคิสและจังหวัดอ่าวแมสซาชูเซตส์ เป็นข้อตกลงที่รื้อฟื้นข้อตกลงที่ทำกันก่อนหน้านั้นระหว่างอเบอนาคิสและข้าหลวงวิลเลียม ฟิบบ์สในปี ค.ศ. 1693
1714 สนธิสัญญาบาเดิน
Treaty of Baden
ระหว่าง : ฝรั่งเศส และสาธารณรัฐดัตช์
เนื้อหา : เพื่อยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างคู่สัญญาที่เริ่มขึ้นตั้งแต่สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน
สนธิสัญญาราสชตัทท์
Treaty of Rastatt
ระหว่าง : ฝรั่งเศส และออสเตรีย
เนื้อหา : เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาอูเทร็คท์ที่พยายามแก้ปัญหาสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน และยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส และสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
1717 สนธิสัญญาไตรพันธมิตร (ค.ศ. 1717)
Triple Alliance (1717)
ระหว่าง : ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่, สาธารณรัฐดัตช์ และฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อการพยายามรักษาข้อตกลงในสนธิสัญญาอูเทร็คท์ (ค.ศ. 1713) ที่มีบ่อเกิดมาจากความกังวลของการขยายอำนาจของสเปนทีจะทำให้สเปนกลายเป็นมหาอำนาจในยุโรป
1718 สนธิสัญญาพาสซาโรวิทซ์
Treaty of Passarowitz หรือ
Treaty of Požarevac หรือ
Pasarofça
ระหว่าง : จักรวรรดิออตโตมัน, ราชบัลลังก์ฮับส์บวร์ก และสาธารณรัฐเวนิส
เนื้อหา : ออตโตมันเสียดินแดนแก่ออสเตรีย, เวนิสสูญเสียอำนาจในคาบสมุทรเพโลพอนนีสกับครีต
1720 สนธิสัญญากรุงเฮก (ค.ศ. 1720)
Treaty of Den Haag (1720) หรือ
Treaty of The Hague
ระหว่าง : สเปนกับฝ่ายมหาสัมพันธมิตร
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามสี่พันธมิตรระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง; พระเจ้าฟิลิปที่ 5 แห่งสเปนทรงยกเลิกการอ้างสิทธิในคาบสมุทรอิตาลีแต่ยังคงได้ดัชชีแห่งปาร์มาแก่พระราชโอรส; วิคเตอร์ อมาเดอุสที่ 2 แห่งซาวอยตกลงแลกซิซิลีกับออสเตรียเป็นการแลกเปลี่ยนกับการเป็นกษัตริย์แห่งซาร์ดิเนีย
สนธิสัญญาเฟรเดอริคสบอร์ก
Treaty of Frederiksborg
ระหว่าง : สวีเดนกับเดนมาร์ก-นอร์เวย์
เนื้อหา : เพื่อยุติมหาสงครามเหนือและรักษาสันติภาพระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง; สวีเดนจากค่าปฏิกรรมสงคราม และ ยกเลิกความเป็นพันธมิตรกับโฮลชไตน์; เดนมาร์กได้รับสิทธิในการปกครองชเลสวิกเต็มตัว
สนธิสัญญาสต็อกโฮล์ม (ค.ศ. 1720)
Treaty of Stockholm (Great Northern War)
ระหว่าง : สวีเดน, ฮาโนเวอร์, ปรัสเซีย และเดนมาร์ก
เนื้อหา : เพื่อยุติมหาสงครามเหนือระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1721 สนธิสัญญานิสตัด
Treaty of Nystad
ระหว่าง : สวีเดนกับรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อยุติมหาสงครามเหนือระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง; รัสเซียได้รับดินแดนจากสวีเดนที่รวมทั้ง เอสโตเนีย, ลิโวเนีย, อิงเกรีย และเกาะในทะเลบอลติก ผลของสนธิสัญญาทำให้รัสเซียกลายมาเป็นมหาอำนาจแทนที่สวีเดน
1725 สนธิสัญญาฮาโนเวอร์
Treaty of Hanover
ระหว่าง : บริเตนใหญ่, ฝรั่งเศส, สวีเดน, ฮาโนเวอร์, ปรัสเซีย, เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก
เนื้อหา : เพื่อการร่วมมือกันทางการทหารในการต่อต้านสเปน
สนธิสัญญาเวียนนา (ค.ศ. 1725)
Treaty of Vienna (1725)
ระหว่าง : พระเจ้าคาร์ลที่ 6 แห่งออสเตรีย กับพระเจ้าฟิลิเปที่ 5 แห่งสเปน
เนื้อหา : เพื่อรับรองพระราชกฤษฎีว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ออสเตรีย ค.ศ. 1713 ของฮับส์บวร์ก เพื่อยุติอ้างสิทธิในราชบัลลังก์สเปนของจักรวรรดิออสเตรีย และออสเตรียจะช่วยสเปนในการยึดยิบรอลตาร์คืนจากบริเตน
1727 สนธิสัญญาคยัคทา
Treaty of Kyakhta หรือ
Кяхтинский договор หรือ
布連斯奇條約/恰克圖條約
ระหว่าง : อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซียกับจักรวรรดิชิง
เนื้อหา : เพื่อการสร้างสัมพันธไมตรีทางการค้าระหว่างคู่สัญญาที่ดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19; กำหนดเขตแดนทางตอนเหนือของมองโกเลียระหว่างคู่สัญญา
1729 สนธิสัญญาเซวิลล์ (ค.ศ. 1729)
Treaty of Seville (1729)
ระหว่าง : บริเตนใหญ่ ฝรั่งเศส และสเปน
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามอังกฤษ-สเปน (ค.ศ. 1727)ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง; บริเตนได้รรับสิทธิในการครอบครองพอร์ตแมน และยิบรอลตาร์เป็นการแลกเปลี่ยนกับการอ้างสิทธิในพาร์มาของเอลิซาเบธแห่งปาร์มา สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน
1731 สนธิสัญญาเวียนนา (ค.ศ. 1731)
Treaty of Vienna (1731)
ระหว่าง : จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, บริเตนใหญ่, จักรวรรดิดัตช์ และสเปน
เนื้อหา : เพื่อการยืนยันข้อตกลงสี่พันธมิตร (Quadruple Alliance) ระหว่างภาคีสัญญา
1732 สนธิสัญญาเลอเวินโวลด์
Löwenwolde's Treaty หรือ
Treaty of the Three Black Eagles หรือ
Treaty of Berlin
ระหว่าง : ออสเตรีย, จักรวรรดิรัสเซีย และปรัสเซีย
เนื้อหา : สนธิสัญญาที่ตั้งชื่อตามนักการทูตคาร์ล กุสตาฟ ฟอน เลอเวินโวลด์ เพื่อการกำหนดนโยบายร่วมกันระหว่างสามภาคีสัญญา ที่เกี่ยวกับการสืบราชบัลลังก์โปแลนด์หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าออกัสตัสที่ 2แห่งราชวงศ์เวททิน ภาคีทั้งสามตกลงกันที่จะไม่ยอมรับผู้มีสิทธิจากราชวงศ์เวททิน หรือสตานิสเลาส เลสซค์ซินสกีผู้สนับสนุนฝรั่งเศส แต่จะสนับสนุนเจ้าชายมานูเอล เคานท์แห่งโอเรมแทนที่
สนธิสัญญาราสห์ท
Treaty of Rasht
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซียกับเปอร์เซีย
เนื้อหา : รัสเซียยุติการอ้างสิทธิในดินแดนต่าง ๆ ของเปอร์เซีย
1738 สนธิสัญญาเวียนนา (ค.ศ. 1738)
Treaty of Vienna (1738)
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์; สตานิสเลาส เลสซค์ซินสกีสละสิทธิในการครองราชบัลลังก์โปแลนด์และรับรองว่าออกัสตัสที่ 3 ดยุกแห่งแซกโซนีเป็นผู้มิสิทธิโดยชอบธรรม ในการแลกเปลี่ยนกับดัชชีแห่งลอร์แรนและบาร์ แต่จะกลับคืนไปเป็นของฝรั่งเศสหลังจากที่เสียชีวิต
1739 สนธิสัญญาเอล ปาร์โด (ค.ศ. 1739)
Treaty of El Pardo (1739) หรือ Convention of Pardo
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับสเปน
เนื้อหา : เพื่อตกลงเกี่ยวกับเส้นทางการค้าทางทะเลในอเมริกา
สนธิสัญญานิซซา
Treaty of Nissa
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซีย และจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามรัสเซีย-ตุรกี (ค.ศ. 1735-1739) ที่มีสาเหตุจากความต้องการของรัสเซียในการมีอำนาจในบริเวณทะเลดำ
สนธิสัญญาเบลเกรด
Treaty of Belgrade
ระหว่าง : จักรวรรดิออตโตมัน และราชบัลลังก์ฮับส์บวร์ก
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามออสเตรีย-ตุรกี (ค.ศ. 1735-1739) ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง; ออสเตรียเสียดินแดนทางตอนเหนือของเซอร์เบียแก่ออตโตมัน และกำหนดพรมแดนระหว่างสองประเทศที่แม่น้ำซาวาและดานูบ
1740 สนธิสัญญามิตรภาพและพันธมิตร
Treaty of Friendship and Alliance
ระหว่าง : ชาติอินเดียนมิสคิโต และราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
เนื้อหา : ตามข้อตกลงกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดแห่งมิสคิโตทรงยกอาณาจักรของพระองค์ให้แก่สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการป้องกันทางการทหารจากอังกฤษ และยอมรับการใช้กฎหมายอังกฤษในการปกครองอาณาจักร
1742 สนธิสัญญาเบอร์ลิน (ค.ศ. 1742) หรือ
สนธิสัญญาเบรสเลา
Treaty of Berlin (1742) หรือ
Treaty of Breslau (1742)
ระหว่าง : มาเรีย เทเรซาแห่งออสเตรียกับฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามไซลีเชียครั้งที่ 1; ตามข้อตกลงมาเรีย เทเรซายกดินแดนไซลีเชียเกือบทั้งหมดให้แก่ฟรีดริช
1743 สนธิสัญญาเตอร์คู
Treaty of Åbo หรือ
Treaty of Turku
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซีย และสวีเดน
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามรัสเซีย-สวีเดน (ค.ศ. 1741-1743) ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญาเวิร์มส (ค.ศ. 1743)
Treaty of Worms (1743)
ระหว่าง : ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ออสเตรีย และซาร์ดิเนีย
เนื้อหา : เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีทางการเมืองระหว่างภาคี โดยบริเตนใหญ่มีความประสงค์ที่จะแยกสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 7 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

จากอิทธิพลของฝรั่งเศส และพยายามแก้ข้อขัดแย้งระหว่างมาเรีย เทเรซาแห่งออสเตรีย และชาร์ลส์เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งซาร์ดิเนีย

1745 สนธิสัญญาเดรสเดน
Treaty of Dresden
ระหว่าง : จักรวรรดิออสเตรีย แซกโซนี และปรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามไซลีเชียครั้งที่ 2; ตามข้อตกลงฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียรับรองฐานะของฟรานซ์ที่ 1 ว่าเป็นพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์; ปรัสเซียยังคงครอบครองไซลีเชีย; ปรัสเซียได้รับค่าปฏิกรรมสงครามจากแซกโซนี
สนธิสัญญาฟองแตงโบล (ค.ศ. 1745)
Treaty of Fontainebleau (1745)
ระหว่าง : พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส และชาร์ลส์ เอ็ดเวิร์ด สจวต (ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษ)
เนื้อหา : เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีทางการทหารระหว่างคู่สัญญาในการต่อต้านสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ผู้ทรงเป็นพรินซ์อีเล็คเตอร์แห่งฮาโนเวอร์
สนธิสัญญาฟึสเซ็น
Treaty of Füssen
ระหว่าง : อาณาจักรเลือกตั้งแห่งบาวาเรียกับราชบัลลังก์ฮับส์บวร์ก
เนื้อหา : เพื่อยุติบาวาเรียจากการสนับสนุนฝรั่งเศสในสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย
1748 สนธิสัญญาเอซ์-ลา-ชาเปล (ค.ศ. 1748)
Treaty of Aix-la-Chapelle (1748)
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย; สาระสำคัญก็ได้แก่ ออสเตรียรับรองอำนาจของปรัสเซียในไซลีเชีย และเสียดินแดนบางส่วนในอิตาลีให้แก่สเปน; ฝรั่งเศสถอยจากเนเธอร์แลนด์เป็นการแลกเปลี่ยนกับดินแดน; มาเรีย เทเรซาแห่งออสเตรียสละดัชชีแห่งพาร์มา, พิอาเชนซา และ กาสตาลลาในอิตาลี; ดัชชีแห่งโมเดนากับสาธารณรัฐเจนัวได้รับการฟื้นฟู
1750 สนธิสัญญามาดริด (ค.ศ. 1750)
Treaty of Madrid (1750)
ระหว่าง : พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 6 แห่งสเปนกับพระเจ้าจอห์นที่ 5 แห่งโปรตุเกส
เนื้อหา : เพื่อกำหนดเขตแดนของอาณานิคมในอเมริกาใต้ระหว่างคู่สัญญา ซึ่งเป็นข้อตกลงใหม่ที่มาแทนสนธิสัญญาทอร์เดซิลลาสของปี ค.ศ. 1494
1752 สนธิสัญญาอรันเฮซ (ค.ศ. 1752)
Treaty of Aranjuez (1752)
ระหว่าง : ออสเตรียกับจักรวรรดิสเปน
เนื้อหา : คู่สัญญาตกลงยอมรับความสนใจในผลประโยชน์ของคาบสมุทรอิตาลีของทั้งสองฝ่าย
1755 สนธิสัญญากิยานติ
Treaty of Giyanti หรือ
Treaty of Gianti Java หรือ
Gianti Agreement
ระหว่าง : Prince Mangkubumi, บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ และพรินซ์ Mangkubumi
เนื้อหา : เพื่อการแบ่งอาณาจักรสุลต่านแห่งมาตารัมระหว่างพรินซ์ Mangkubumi และ Pakubuwono III
1756 สนธิสัญญาเวสต์มินสเตอร์ (ค.ศ. 1756)
Treaty of Westminster (1756)
ระหว่าง : ฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียกับสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่
เนื้อหา : เพื่อการรักษาความเป็นกลางระหว่างคู่สัญญา
1757 สนธิสัญญาอลินาคะ
Treaty of Alinagar
ระหว่าง : บริษัทอินเดียตะวันออกของบริติช และ ข้าหลวงแห่งเบงกอล
เนื้อหา : สาระสำคัญบางข้อของสนธิสัญญารวมทั้งข้าหลวงยอมรับกฤษฎีกาทั้งหมดของจักรพรรดิโมกุล Farrukh Siyar; สินค้าอังกฤษที่ผ่านเบงกอลได้รับการยกเว้นภาษี; อังกฤษสามารถสร้างป้อมปราการเพื่อการป้องกันกัลกัตตาและตีเหรียญกษาปณ์
1758 สนธิสัญญาอีสตัน
Treaty of Easton
ระหว่าง : รัฐบาลอาณานิคมบริติชและกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในเคานตี้โอไฮโอ
เนื้อหา : สนธิสัญญาลงนามกันในระหว่างสงครามฝรั่งเศส-อินเดียน สาระสำคัญคือกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันตกลงที่ไม่เข้าต่อสู้ในฝ่ายฝรั่งเศสในการเป็นปฏิปักษ์ต่อราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ เป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่ทางฝ่ายอังกฤษจะไม่เข้าไปตั้งถิ่นฐานเลยจากเทือกเขาอาเลเกนีหลังจากที่สงครามยุติลง
1761 สนธิสัญญาเอลปาร์โด (ค.ศ. 1761)
Treaty of El Pardo (1761)
ระหว่าง : จักรวรรดิสเปนกับจักรวรรดิโปรตุเกส
เนื้อหา : เพื่อการเพิกถอนข้อตกลงในสนธิสัญญามาดริด (ค.ศ. 1750)
1762 สนธิสัญญาฟองแตงโบล (ค.ศ.1762)
Treaty of Fontainebleau (1762)
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับสเปน
เนื้อหา : สนธิสัญญาลับที่ทำขึ้นหลังจากสงครามฝรั่งเศส-อินเดียนที่ฝรั่งเศสยกลุยเซียนาแก่สเปน
สนธิสัญญาเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก (ค.ศ. 1762)
Treaty of Saint Petersburg (1762)
ระหว่าง : รัสเซียกับปรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามเจ็ดปีระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญาฮัมบวร์ค (ค.ศ. 1762)
Treaty of Hamburg (1762)
ระหว่าง : ปรัสเซียกับจักรวรรดิสวีเดน
เนื้อหา : สนธิสัญญาทำขึ้นหลังจากรัสเซียตัดสินใจยุติการเป็นพันธมิตรกับปรัสเซีย
1763 สนธิสัญญาฮูแบร์ทัสบวร์ก
Treaty of Hubertusburg
ระหว่าง : ปรัสเซีย ออสเตรีย และแซกโซนี
เนื้อหา : สนธิสัญญาฉบับนี้และสนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1763) เป็นสนธิสัญญาที่เป็นการยุติสงครามฝรั่งเศส-อินเดียนกับสงครามเจ็ดปี; ไซลีเชียยังคงอยู่ในการปกครองของปรัสเซีย และปรัสเซียมีฐานะเป็นมหาอำนาจในยุโรป
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1763)
Treaty of Paris (1763) หรือ
Peace of Paris หรือ
Treaty of 1763
ระหว่าง : ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ฝรั่งเศส และสเปน กับโปรตุเกส
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามเจ็ดปีระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญาเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นมหาอำนาจของอังกฤษนอกยุโรป; ปรัสเซียและออสเตรีย ลงนามในสนธิสัญญาฮูแบร์ทัสบวร์กต่างหาก
1765 สนธิสัญญาอัลลาฮาบัด
Treaty of Allahabad
ระหว่าง : จักรพรรดิโมกุลชาห์อลามที่ 2กับบริษัทอินเดียตะวันออกของบริติช
เนื้อหา : ชาห์อลามพระราชทานสิทธิดิวานิ (Diwani) แก่บริษัทอินเดียตะวันออกที่อนุญาตให้บริษัทสามารถเรียกเก็บภาษีจากประชาชนเบงกอล, พิหาร และ โอริสสาได้ เป็นการแลกเปลี่ยนกับการส่งรายได้ประจำปีจำนวน 2.6 ล้านรูปีแก่ชาห์
1766 สนธิสัญญาบัตติคาโลอา
Treaty of Batticaloa หรือ
Hanguranketha Treaty
ระหว่าง : ข้าหลวงดัตช์และพระเจ้า Keerthisiri Rajasinghe แห่ง Kandy
เนื้อหา : พระเจ้า Keerthisiri ทรงรับรองการเป็นเจ้าของศรีลังกาของจักรวรรดิอาณานิคมดัตช์
1768 สนธิสัญญาฟอร์ทแสตนวิกซ์
Treaty of Fort Stanwix
ระหว่าง : กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันกับจักรวรรดิอังกฤษ
เนื้อหา : เพื่อการเลื่อนเขตแดนในอเมริกาของจักรวรรดิอังกฤษที่ระบุไว้ในพระราชประกาศว่าด้วยเขตแดนในทวีปอเมริกา ค.ศ. 1763 ออกไปทางตะวันตก
สนธิสัญญามาซูลิพาทัม
Treaty of Masulipatam
เนื้อหา : เพื่อรับรองการพิชิตไฮเดอราบัด (Hyderabad, India) โดย จักรวรรดิอังกฤษ
1770 สนธิสัญญาล็อกคาเบอร์
Treaty of Lochaber
ระหว่าง : : ผู้แทนของจักรวรรดิอังกฤษกับเชอรคี
เนื้อหา : เชอรคียกเลิกการครอบครองดินแดนในนอร์ทคาโรไลนา, เวอร์จิเนีย และเวสต์เวอร์จิเนีย แก่จักรวรรดิอังกฤษ
1774 สนธิสัญญาคูชุคไคนาร์จี
Treaty of Küçük Kaynarca หรือ
Kuchuk Kainarji
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซียกับจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามรัสเซีย-ตุรกี (ค.ศ. 1768-1774) ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง; ออตโตมันเสียดินแดนแก่รัสเซีย และรัสเซียได้ทางออกสู่ทะเลดำเป็นครั้งแรก
1776 สนธิสัญญาวอเทอร์ทาวน์
Treaty of Watertown
ระหว่าง : จังหวัดอ่าวแมสซาชูเซตส์กับกลุ่มปฐมชาติ Mi'kmaq ของโนวาสโกเชีย
เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรระหว่างคู่สัญญาในการต่อต้านจักรวรรดิอังกฤษในสงครามปฏิวัติอเมริกัน
สนธิสัญญาปูรันดาร์ (ค.ศ. 1776)
Treaty of Purandar (1776)
ระหว่าง : รัฐมนตรีของชาวมราฐา (Maratha) และบริษัทอินเดียตะวันออกของบริติชในกัลกัตตา
เนื้อหา : ตามข้อตกลงบริติชได้รับเกาะซาลเซ็ตต์ (Salsette Island)
1777 สนธิสัญญาซานอิลเดอฟอนโซฉบับที่ 1
First Treaty of San Ildefonso
ระหว่าง : จักรวรรดิสเปนกับจักรวรรดิโปรตุเกส
เนื้อหา : เพื่อแก้ปัญหาขัดแย้งเรื่องพรมแดนในบริเวณริโอเดอลาพลาตา; ตามข้อตกลงสเปนยกดินแดนในบราซิลแก่โปรตุเกส เป็นการแลกเปลี่ยนกับการควบคุม Banda Oriental
สนธิสัญญาอารันเฮซ (ค.ศ. 1777)
Treaty of Aranjuez (1777)
ระหว่าง : จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสกับจักรวรรดิโปรตุเกส
เนื้อหา : เพื่อกำหนดข้อตกลงในอาณานิคมบนเกาะซานโตโดมิงโกระหว่างคู่สัญญา
1778 สนธิสัญญามิตรภาพและการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส
Treaty of Amity and Commerce (USA-France) หรือ
Treaty of Amity and Commerce between The United States and France
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อการสร้างสัมพันธไมตรีทางการค้าระหว่างคู่สัญญาที่ลงนามกันระหว่างสงครามปฏิวัติอเมริกัน
สนธิสัญญาพันธมิตรฝรั่งเศส-อเมริกัน (ค.ศ. 1778)
Treaty of Alliance (1778) หรือ
Franco-American Alliance
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีทางการทหารระหว่างคู่สัญญาในการป้องกันจากการถูกโจมตีโดยจักรวรรดิอังกฤษ ที่ลงนามกันระหว่างสงครามปฏิวัติอเมริกัน
สนธิสัญญาเอลปาร์โด (ค.ศ. 1778)
Treaty of El Pardo (1778)
ระหว่าง : สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกสกับพระเจ้าชาร์ลที่ 3 แห่งสเปน
เนื้อหา : ตามข้อตกลงพระราชินีมาเรียยก Annobón, Bioko และดินแดนตามชายฝั่งทะเลกินีแก่พระเจ้าชาร์ล เป็นการแลกเปลี่ยนกับบราซิล
สนธิสัญญาฟอร์ทพิทท์ (ค.ศ. 1778)
Treaty of Fort Pitt (1778) หรือ
Treaty with the Delawares หรือ
Fourth Treaty of Pittsburgh
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับชนพื้นเมือง Lenape
เนื้อหา : ตามข้อตกลงสหรัฐมีสิทธิเดินทางผ่านดินแดนเดลาแวร์ และเกณฑ์อินเดียนเดลาแวร์ให้ช่วยเหลือกองทหารอเมริกันในการต่อสู้กับอังกฤษ สหรัฐวางแผนที่จะโจมตีอังกฤษที่ป้อมที่ดีทรอยท์ฉะนั้นความสัมพันธ์กับ Lenape จึงเป็นปัจจัยสำคัญ
1779 สนธิสัญญาอรันเฮซ (ค.ศ. 1779)
Treaty of Aranjuez (1779)
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับสเปน
เนื้อหา : ฝรั่งเศสตกลงช่วยสเปนยึดยิรอลตาร์และฟลอริดา และ เกาะมายอร์คา เป็นการแลกเปลี่ยนกับสเปนเข้าร่วมกับฝรั่งเศสในการต่อสู้กับอังกฤษ และสเปนเข้าร่วมในสงครามปฏิวัติอเมริกันในการต่อต้านราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
สนธิสัญญาเทสเชน
Treaty of Teschen หรือ
Frieden von Teschen
ระหว่าง : ออสเตรียกับปรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามสืบราชบัลลังก์บาวาเรีย
1780 สนธิสัญญาอารันเฮซ (ค.ศ. 1780)
Treaty of Aranjuez (1780)
ระหว่าง : สเปนกับโมร็อกโก
เนื้อหา : สเปนคืนดินแดนแก่โมร็อกโก เป็นการแลกเปลี่ยนกับการรับรองว่าสเปนมีสิทธิในการปกครองส่วนที่เหลือของเมลียาโดยโมร็อกโก
1782 พระราชกฤษฎีกายอมรับ ค.ศ. 1782
1782 Edict of Tolerance
เนื้อหา : พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิโจเซฟที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในการยอมรับสิทธิและเสรีภาพทางศาสนาของชาวยิว
สนธิสัญญาซาลไบ
Treaty of Salbai
ระหว่าง : จักรวรรดิมราฐากับบริษัทอินเดียตะวันออกของบริติช
1783 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783)
Treaty of Paris (1783)
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามปฏิวัติอเมริกันที่เริ่มขึ้นเมื่อสหรัฐอเมริกาประท้วงการปกครองโดยอังกฤษ และอังกฤษมอบเอกราชและอิสรภาพให้แก่อเมริกาอย่างสมบูรณ์ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ตั้งรัฐบาลปกครองตนเองไว้แล้ว เมื่อปี ค.ศ. 1776
สนธิสัญญาจอร์จีฟสค์
Treaty of Georgievsk
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซียกับราชอาณาจักรคาทลี-คาเคที
เนื้อหา : เพื่อการก่อตั้งราชอาณาจักรคาทลี-คาเคทีเป็นรัฐในอารักขาของจักรวรรดิรัสเซีย
1784 สนธิสัญญาฟอร์ทสแตนวิกซ์ (ค.ศ. 1784)
Treaty of Fort Stanwix (1784)
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหพันธ์อิโรควอยส์
เนื้อหา : อิโรควอยส์ยกดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำไนแอการาทั้งหมดให้แก่สหรัฐอเมริกา
1785 สนธิสัญญาฟองแตงโบล (ค.ศ. 1785)
Treaty of Fontainebleau (1785)
ระหว่าง : จักรพรรดิแห่งออสเตรียกับรัฐสภาแห่งเนเธอร์แลนด์
เนื้อหา : เพื่อรับรองข้อตกลงในสนธิสัญญาสันติภาพมึนสเตอร์ที่ทำกันในปี ค.ศ. 1648 ที่ Scheldt Estuary ตกอยู่ในความควบคุมของสาธารณรัฐดัตช์และรัฐทั้งเจ็ด
สนธิสัญญาโฮพเวลล์
Treaty of Hopewell
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มชนพื้นเมืองเชอรคี
เนื้อหา : เพื่อกำหนดเขตแดน, สิทธิ, ข้อตกลงทางการค้า และอื่น ๆ ระหว่างสหรัฐอเมริกาและคู่สัญญา
สนธิสัญญาฟอร์ทแม็คคินทอช
Treaty of Fort McIntosh
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มชนพื้นเมือง
เนื้อหา : เพื่อระบุว่ากลุ่มชนพื้นเมืองยกเลิกการอ้างสิทธิในดินแดนโอไฮโอคันทรีทางตะวันออกของ Cuyahoga River และแม่น้ำมัสคิงกัม นอกจากนั้นก็ยังสละสิทธิในดินแดนบริเวณรอบฟอร์ทเชลบีในมิชิแกน และ ฟอร์ท Michilimackinac
1786 ความตกลงอีเดน
Eden Agreement
ระหว่าง : ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่กับฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามเศรษฐกิจระหว่างคู่สัญญาและกำหนดระบบเพื่อลดอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าของแต่ละประเทศ
สนธิสัญญามิตรภาพโมร็อกโก-อเมริกัน
Moroccan-American Treaty of Friendship
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับโมร็อกโก
เนื้อหา : สนธิสัญญาพันธไมตรีที่มีอายุต่อเนื่องยืนยาวที่สุดระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาฮาร์ทฟอร์ด
Treaty of Hartford
ระหว่าง : ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวดัตช์ในนิวอัมสเตอร์ดัมและชาวอังกฤษในนิวยอร์กกับแมสซาชูเซตส์
เนื้อหา : เพื่อตกลงเรื่องปัญหาเขตแดนระหว่างนิวยอร์กกับแมสซาชูเซตส์
สนธิสัญญาโฮพเวลล์
Treaty of Hopewell
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มชนพื้นเมืองชอคทอว์ และชิคาซอว์
เนื้อหา : เพื่อกำหนดเขตแดน, สิทธิ, ข้อตกลงทางการค้า และอื่น ๆ ระหว่างสหรัฐอเมริกาและคู่สัญญาแต่ละกลุ่ม
1787 สนธิสัญญาโบฟอร์ท
Treaty of Beaufort หรือ
Beaufort Convention
เนื้อหา : สนธิสัญญาของสหรัฐอเมริกาเพื่อกำหนดเขตแดนแม่น้ำทุกสายอย่างเป็นทางการระหว่างรัฐจอร์เจียกับรัฐเซาท์แคโรไลนา
รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา
US Constitution
เนื้อหา : รัฐยอมลดการลดอำนาจลงเพื่อก่อตั้งรัฐบาลกลางของสหพันธรัฐ (Federal Government)
1788 สนธิสัญญาไตรพันธมิตร (ค.ศ. 1788)
Triple Alliance (1788)
ระหว่าง : ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่, สาธารณรัฐดัตช์ และราชอาณาจักรปรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อตกลงในการเป็นพันธมิตรระหว่างภาคีสัญญาเพื่อยับยั้งฝรั่งเศสจากการเป็นมหาอำนาจในยุโรปโดยการยึดอาณานิคมของดัตช์, กองเรือ และ ท่าเรือ
1789 สนธิสัญญาเจย์-การ์โดคี
Jay-Gardoqui Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสเปน
เนื้อหา : เพื่อตกลงทางการค้าที่มอบอภิสิทธิ์แก่สเปนในการใช้แม่น้ำมิสซิสซิปปีเป็นเวลาสามสิบปี เป็นการแลกเปลี่ยนกับการเปิดเมืองท่าของสเปนในยุโรปและเวสต์อินเดียแก่การเดินเรือของสหรัฐ
สนธิสัญญาฟอร์ทฮาร์มาร์
Treaty of Fort Harmar
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันหลายกลุ่มผู้อ้างสิทธิในโอไฮโอคันทรี
1790 สนธิสัญญาไรเค็นบาค (ค.ศ. 1790)
Treaty of Reichenbach (1790)
ระหว่าง : พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 แห่งปรัสเซีย และสมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เนื้อหา : เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาเวเรเล
Treaty of Värälä
ระหว่าง : รัสเซียกับสวีเดน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามรัสเซีย-สวีเดน (ค.ศ. 1788-1790) ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญานิวยอร์ก
Treaty of New York
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและผู้นำของกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกัน
เนื้อหา : เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญา
1791 สนธิสัญญาโฮลสตัน
Treaty of Holston
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับชาติเชอรคี

เนื้อหา : เพื่อการแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาในเรื่องดินแดนของสหรัฐทางตอนใต้ของแม่น้ำโอไฮโอ; ก่อตั้งชาติเชอรคีในฐานะรัฐอารักขาของสหรัฐโดยมีสหรัฐเป็นผู้บริหารกิจการต่างประเทศ
สนธิสัญญาซิสโทวา
Treaty of Sistova
ระหว่าง : จักรวรรดิออสเตรียกับจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามออสเตรีย-ตุรกี (ค.ศ. 1787-1791) และรักษาสันติภาพระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1792 สนธิสัญญาจาสซี
Treaty of Jassy
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซียกับจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามรัสเซีย-ตุรกี (ค.ศ. 1787-1792) ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง; สนธิสัญญารับรองการผนวกอาณาจักรข่านไครเมียโดยรัสเซียและการยกเยดิซานแก่รัสเซียที่ทำให้แม่น้ำนีสเตอร์กลายเป็นพรมแดนระหว่างสองจักรวรรดิ
1794 สนธิสัญญาเจย์
Jay Treaty หรือ
Jay's Treaty หรือ
Treaty of London
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
เนื้อหา : เพื่อการพยายามแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามปฏิวัติอเมริกัน
สนธิสัญญาพิคเคอริง
Treaty of Canandaigua หรือ
Pickering Treaty หรือ
Calico Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและสภาหกชาติแห่งอิโรควอยส์ (Haudenosaunee)
เนื้อหา : เพื่อรักษาสันติภาพและสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างคู่สัญญา และรับรองสิทธิดินแดนของ Haudenosaunee ในรัฐนิวยอร์กและเขตแดนที่กำหนดขึ้นในปี ค.ศ. 1788
1795 สนธิสัญญาพิงค์นีย์
Pinckney's Treaty หรือ
Treaty of San Lorenzo หรือ
Treaty of Madrid
ชื่อทางการ: Treaty of Friendship, Limits, and Navigation Between Spain and the United States
ระหว่างสหรัฐอเมริกาและอาณานิคมของสเปน
เนื้อหา : เพื่อกำหนดเขตแดนระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญากรุงเฮก (ค.ศ. 1795)
Treaty of Den Haag (1795)
หรือ Hedges Treaty
ระหว่าง : สาธารณรัฐปัตตาเวียกับสาธารณรัฐฝรั่งเศส
เนื้อหา : ตามข้อตกลงปัตตาเวียสละเวนโล, ฟลานเดอร์ส และมาสทริคท์ให้กับฝรั่งเศส
สนธิสัญญากรีนวิลล์
Treaty of Greenville
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและสหพันธ์กลุ่มชนพื้นเมืองที่เรียกว่า "สหพันธ์ตะวันตก"
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามอินเดียนตะวันตกเฉียงเหนือที่มีสาเหตุมาจากการที่สหพันธ์ตะวันตกพยายามยุติการขยายดินแดนของสหรัฐเข้าไปในบริเวณดินแดนตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Territory) หลังจากอังกฤษถอนตัวออกไปหลังจากสงครามปฏิวัติอเมริกัน
สนธิสัญญาสันติภาพบาเซิล
Peace of Basel
ระหว่าง : ฝรั่งเศส, ปรัสเซีย, สเปน และเฮสส์-คาสเซิล
เนื้อหา : ฝรั่งเศสทำสัญญาสันติภาพกับปรัสเซีย, กับสเปนในการยุติสงครามพิเรนีส และ กับเฮสส์-คาสเซิลในการยุติสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสในช่วงสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่ 1
1796 สนธิสัญญาตริโปลี (ค.ศ. 1796)
Treaty with Tripoli (1796) หรือ
Treaty of Peace and Friendship
ชื่อทางการ: Treaty of Peace and Friendship between the United States of America and the Bey and Subjects of Tripoli of Barbary
ระหว่างสหรัฐอเมริกากับตริโปลี
สนธิสัญญานิวยอร์ก
Treaty of New York
ระหว่าง : กลุ่มเจ็ดชาติแห่งแคนาดา และผู้แทนของสหรัฐอเมริกา
สนธิสัญญาโคเลอเรน
Treaty of Colerain
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับชาติครีค
เนื้อหา : รับรองข้อตกลงในสนธิสัญญานิวยอร์กของปี ค.ศ. 1790 และกำหนดเขตแดนระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาซานอิลเดอฟอนโซฉบับที่ 2
Second Treaty of San Ildefonso
ระหว่าง : จักรวรรดิสเปนกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1
เนื้อหา : เพื่อตกลงเป็นพันธมิตรในการต่อต้านจักรวรรดิอังกฤษ
1797 สนธิสัญญาเลโอเบน
Treaty of Leoben หรือ
Peace of Leoben
ระหว่าง : ออสเตรียกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1
เนื้อหา : ร่างข้อตกลงลับเพื่อการทำสนธิสัญญาแคมโพฟอร์มิโอต่อมา; ออสเตรียยอมเสียเบลเยียม และลอมบาร์ดี เป็นการแลกเปลี่ยนกับ อิสเทรีย และดาลเมเชีย
สนธิสัญญาแคมโพฟอร์มิโอ
Treaty of Campo Formio
ระหว่าง : ออสเตรียกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1
เนื้อหา : ออสเตรียเสียดินแดนหลายดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสที่รวมทั้งเบลเยียม, เกาะในทะเลเมดิเตอเรเนียน และ เวนิสถูกแบ่งเป็นสองส่วนระหว่างคู่สัญญา นอกจากนั้นก็ยังมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่ไม่เป็นที่เปิดเผย
สนธิสัญญาโทเรนทิโน
Treaty of Tolentino
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับอาณาจักรพระสันตะปาปา
เนื้อหา : อาณาจักรพระสันตะปาปาเสียดินแดนแก่ฝรั่งเศส; ฝรั่งเศสยึดงานสะสมศิลปะจากวาติกันและขนย้ายกลับไปปารีส; ผู้แทนฝรั่งเศสมีสิทธิในการเข้าตรวจสิ่งก่อสร้างทั้งของส่วนตัวและศาสนา เพื่อการประเมิน รายละเอียดข้อนี้ต่อมาขยายความออกไปรวมทั้งประเทศอิตาลีในปี ค.ศ. 1798
สนธิสัญญากับทูนิส (ค.ศ. 1797)
Treaty with Tunis (1797)
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มรัฐบาร์บารี
เนื้อหา : เพื่อตกลงการเป็นพันธมิตรกันระหว่างคู่สัญญา

ค.ศ. 1800-ค.ศ. 1899

[แก้]
ปี ชื่อสนธิสัญญา ภาคีและเนื้อหา
1800 สนธิสัญญาซานอิลเดอฟอนโซฉบับที่ 3
Third Treaty of San Ildefonso หรือ
Treaty of San Ildefonso
ชื่อทางการ: Preliminary and Secret Treaty between the French Republic and His Catholic Majesty the King of Spain, Concerning the Aggrandizement of His Royal Highness the Infant Duke of Parma in Italy and the Retrocession of Louisiana
ภาษาไทย: ร่างและสนธิสัญญาลับระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสและพระมหากษัตริย์คาทอลิกแห่งสเปน ว่าด้วยการแต่งตั้งสมเด็จเจ้าฟ้าดยุกแห่งพาร์มาในอิตาลี และ การสละสิทธิ์ในลุยเซียนา
ระหว่างฝรั่งเศสกับสเปน
เนื้อหา : ข้อตกลงลับที่สเปนจำยอมยกอาณานิคาในลุยเซียนาในอเมริกาให้แก่ฝรั่งเศสแต่สเปนมิได้ระบุเขตแดนที่แน่นอนของลุยเซียนา ที่ทำให้เกิดปัญหาต่อมาเมื่อสหรัฐซื้อต่อจากฝรั่งเศส
สนธิสัญญามอร์เทฟอนเทน
Treaty of Mortefontaine หรือ
Convention of 1800
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อการแก้ปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามกำกวม (Quasi-War) ระหว่างปี ค.ศ. 1798 ถึงปี ค.ศ. 1800
1801 สนธิสัญญาคาร์นาติค
Carnatic Treaty
ระหว่าง : จักรวรรดิอังกฤษกับข้าหลวงของคาร์นาติค
เนื้อหา : ข้าหลวงยอมยกดินแดนแก่จักรวรรดิอังกฤษเป็นการแลกเปลี่ยนกับเงิน 200 รูปี
สนธิสัญญาอรันเฮซ (ค.ศ. 1801)
Treaty of Aranjuez (1801)
ระหว่าง : จักรวรรดิสเปนกับฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อยืนยันข้อตกลงในสนธิสัญญาซานอิลเดอฟอนโซฉบับที่ 3; เฟอร์ดินานด์ ดยุกแห่งพาร์มาตกลงยกดัชชีแห่งพาร์มาพร้อมด้วยปิอาเชนซากับกาสตาลลาแก่ฝรั่งเศส เป็นการแลกเปลี่ยนกับหลุยส์แห่งอีทรูเรียบุตรของเฟอร์ดินานด์ได้รับแกรนด์ดัชชีแห่งทัสเคนีที่กลายมาเป็นราชอาณาจักรอีทรูเรียต่อมา
สนธิสัญญาบาดาโฮซ (ค.ศ. 1801)
Treaty of Badajoz (1801) หรือ
Peace of Badajoz
ระหว่าง : จักรวรรดิสเปนกับโปรตุเกส
เนื้อหา : พระเจ้าจอห์นที่ 6 แห่งโปรตุเกสตกลงยก Almeida, Olivenza และป้อมอื่น ๆ และจ่ายค่าค่าชดเชยให้แก่สเปน และปิดอ่าวต่อจักรวรรดิอังกฤษ
สนธิสัญญามาดริด (ค.ศ. 1801)
Treaty of Madrid (1801)
ระหว่าง : พระเจ้าจอห์นที่ 6 แห่งโปรตุเกส และผู้แทนของ สาธารณรัฐฝรั่งเศส
เนื้อหา : โปรตุเกสยอมตกลงรักษาข้อตกลงในสนธิสัญญาบาดาโฮซ (ค.ศ. 1801) โดยเพิ่มเติมข้อที่โปรตุเกสต้องจ่ายค่าชดเชยเป็นจำนวน 20 ล้านฟรังก์ และยกครึ่งหนึ่งของเกียนาให้แก่ฝรั่งเศส
สนธิสัญญาฟลอเรนซ์
Treaty of Florence
ระหว่าง : สาธารณรัฐฝรั่งเศส และราชอาณาจักรเนเปิลส์
เนื้อหา : เนเปิลส์เสียดินแดนทางตอนกลางของคาบสมุทรอิตาลี, เอลบา และAthena of Velletri ให้แก่ฝรั่งเศส
สนธิสัญญาลูเนวิลล์
Treaty of Lunéville
ระหว่าง : สาธารณรัฐฝรั่งเศส และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เนื้อหา : ว่าด้วยการยุติสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่ 2
1802 สนธิสัญญาอาเมียงส์
Treaty of Amiens
ระหว่าง : จักรวรรดิอังกฤษกับสาธารณรัฐฝรั่งเศส
เนื้อหา : ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาที่ลงนามกันระหว่างสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส ว่าด้วยการดำรงสันติภาพระหว่างคู่สัญญา; ตามข้อตกลงอังกฤษรับรองฐานะของสาธารณรัฐฝรั่งเศส
สนธิสัญญาบาสไซน์ (ค.ศ. 1802)
Treaty of Bassein (1802)
ระหว่าง : บริษัทอินเดียตะวันออกของบริติชกับBaji Rao IIประมุขแห่งปูนะ
เนื้อหา : Baji Rao II เสียดินแดนทางตะวันตกของอินเดียแก่อังกฤษหลังจากการพ่ายแพ้ในยุทธการปูนะ (Battle of Poona)
1803 ข้อตกลงซื้อลุยเซียนา
Louisiana Purchase
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสาธารณรัฐฝรั่งเศส
เนื้อหา : สหรัฐตกลงซื้อที่ดิน 2,147,000 ตารางกิโลเมตรที่เป็นดินแดนอาณานิคมลุยเซียนาของฝรั่งเศส เป็นจำนวนเงิน 60 ล้านฟรังก์ (11,250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และยกเลิกหนี้สินอีก cancellation of debts worth 18 ล้านฟรังก์ (3,750,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
Treaty of Surji-Arjungaon
Treaty of Surji-Arjungaon
ระหว่าง : จักรวรรดิอังกฤษกับDaulat Rao Sindhia ประมุขของชาวมราฐา
เนื้อหา : อังกฤษได้ดินแดน Gurgaon มาอยู่ในความควบคุมของบริษัทอินเดียตะวันออก
สนธิสัญญาฟอร์ทเวย์น (ค.ศ. 1803)
Treaty of Fort Wayne (1803)
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกัน
เนื้อหา : เพื่อการกำหนดพรมแดนในบริเวณแนวฟอร์ทวินเซนส์ในอินดีแอนาบนฝั่งแม่น้ำวอแบชที่ได้รับการรับรองว่าเป็นของสหรัฐในสนธิสัญญากรีนวิลล์
1804 สนธิสัญญาเซนต์หลุยส์
Treaty of St. Louis
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มชาติแซ็คและฟ็อกซ์
เนื้อหา : ชาติแซ็คและฟ็อกซ์สูญเสียดินแดนแก่สหรัฐอเมริกาที่รวมทั้งดินแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของมิสซูรี ตลอดไปถึงดินแดนทางตอนเหนือของอิลลินอยเหนือแม่น้ำอิลลินอย และดินแดนผืนใหญ่ทางตอนใต้ของวิสคอนซิน
1805 สนธิสัญญาฟอร์ทอินดัสตรี
Treaty of Fort Industry
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันหลายกลุ่ม
เนื้อหา : เป็นข้อตกลงที่ต่อเนื่องจากสนธิสัญญากรีนวิลล์ที่กำหนดเขตแดนทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกาออกไปจนถึงบริเวณที่ปัจจุบันคือโทลีโด, โอไฮโอ
สนธิสัญญาเพรสบวร์ก
Treaty of Pressburg หรือ
Fourth Peace of Pressburg หรือ
Preßburger Frieden หรือ
Traité de Presbourg
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับออสเตรีย
เนื้อหา : เพื่อการรยุติสงครามหลังจากการพ่ายแพ้ของออสเตรียต่อฝรั่งเศส; ออสเตรียถอนตัวจากสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่ 3 และเสียดินแดนในยุโรปเป็นจำนวนมากแก่ฝรั่งเศส และดินแดนในเยอรมนีแก่พันธมิตรของฝรั่งเศสที่รวมทั้งกษัตริย์แห่งบาวาเรีย, กษัตริย์แห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค และอีเล็คเตอร์แห่งบาเดิน
1806 สนธิสัญญาโพซนัน
Treaty of Poznań
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับแซกโซนี
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่ 4 หลังจากการพ่ายแพ้ของแซกโซนีผู้ต้องจ่ายค่าชดเชยจำนวน 25 ล้านฟรังก์แก่ฝรั่งเศส, การได้เลื่อนฐานะเป็นราชอาณาจักร และการตกลงเข้าร่วมในสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์
1807 สนธิสัญญาดีทรอยท์
Treaty of Detroit
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มชาติออตาวา, ชิพพวา, Wyandot และ โพททาวโทมี
เนื้อหา : กลุ่มชาติสละการอ้างสิทธิในบริเวณที่ในปัจจุบันคือทางตะวันออกเฉียงใต้ของมิชิแกนและทางตะวันตกเฉียงเหนือของโอไฮโอ และการกำหนดเขตแดนในบริเวณที่เป็นปัญหา[4]
สนธิสัญญาทิลซิท
Treaties of Tilsit
ระหว่าง : ฝรั่งเศส, รัสเซีย และปรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อการก่อตั้งดัชชีแห่งวอซอ
สนธิสัญญาฟิงเคนสไตน์
Treaty of Finckenstein
ระหว่าง : จักรวรรดิฝรั่งเศสกับเปอร์เซีย
เนื้อหา : จักรพรรดินโปเลียนที่ 1ทรงรับรองฐานะของเปอร์เซีย และรับรองดินแดนในจอร์เจียกับทรานส์คอเคเชียว่าเป็นของชาห์ และสัญญาว่าจะตีดินแดนที่เสียไปคืนแก่เปอร์เซีย เป็นการแลกเปลี่ยนกับการประกาศสงครามต่อจักรวรรดิอังกฤษของชาห์ และ ขับชาวอังกฤษออกจากเปอร์เซีย
สนธิสัญญาฟองแตงโบล (ค.ศ. 1807)
Treaty of Fontainebleau (1807)
ระหว่าง : จักรวรรดิสเปนกับฝรั่งเศส
เนื้อหา : การตกลงแบ่งโปรตุเกสและดินแดนในครอบครองระหว่างคู่สัญญา
1808 สนธิสัญญาฟอร์ทคลาร์ค
Treaty of Fort Clark หรือ
Treaty with the Osage หรือ
Osage Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับชาติโอเซจ
เนื้อหา : โอเซจสูญเสียดินแดนส่วนใหญ่ของดินแดนมิสซูรี (Missouri Territory) แก่สหรัฐอเมริกา
1809 สนธิสัญญาดาร์ดาเนลล์ส
Treaty of the Dardanelles หรือ
Dardanelles Treaty of Peace, Commerce, and Secret Alliance หรือ
Treaty of Çanak หรือ
''Treaty of Chanak
ระหว่าง : จักรวรรดิออตโตมันกับสหราชอาณาจักร
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามอังกฤษ-ตุรกี (ค.ศ. 1807-1809) ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง; อังกฤษสัญญาว่าจะช่วยพิทักษ์อิสรภาพของตุรกีในกรณีที่ถูกรุกรานโดยฝรั่งเศส ทั้งโดยการสนับสนุนทางการทหารและการส่งอาวุธ และกำหนดห้ามเรือสงครามไม่ว่าจะของชาติใดเข้าช่องแคบดาร์ดาเนลล์สกับช่องแคบบอสฟอรัส
สนธิสัญญาเฟรดริคสแฮมน์
Treaty of Fredrikshamn หรือ
Treaty of Hamina
ระหว่าง : สวีเดนกับจักรวรรดิรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามฟินแลนด์ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง; สวีเดนเสียดินแดนแก่รัสเซีย
สนธิสัญญาเชินบรุนน์
Treaty of Schönbrunn หรือ
Treaty of Vienna
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับออสเตรีย
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่ 5 ระหว่างสงครามนโปเลียน; ฝรั่งเศสเสียดินแดนไทโรลและซาลส์บวร์กแก่บาวาเรีย, เวสต์กาลิเซียแก่ดัชชีแห่งวอร์ซอ, เทอร์โนพิลแก่จักรวรรดิรัสเซีย, และทรีสเทอกับดาลเมเชียแก่ฝรั่งเศส
สนธิสัญญาฟอร์ทเวย์น (ค.ศ. 1809)
Treaty of Fort Wayne (1809) หรือ
Ten O'clock Line Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกัน
เนื้อหา : สหรัฐอเมริกาตกลงซื้อดินแดน 12,000 ตารางกิโลเมตรจากกลุ่มชนพื้นเมืองสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานผิวขาวในโอไฮโอ และอินดีแอนา
1810 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1810)
Treaty of Paris (1810)
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับสวีเดน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามฟินแลนด์หลังจากสวีเดนพ่ายแพ้ต่อรัสเซียผู้เป็นพันธมิตรกับฝ่ายฝรั่งเศส
1812 สนธิสัญญาบูคาเรสต์ (ค.ศ. 1812)
Treaty of Bucharest, 1812
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซียกับจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามรัสเซีย-ตุรกี, ค.ศ. 1806-1812 ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง; แม่น้ำพรุทกลายเป็นพรมแดนระหว่างสองจักรวรรดิ
1813 สนธิสัญญากุลิสถาน
Treaty of Gulistan
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซียกับเปอร์เซีย
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามรัสเซีย-เปอร์เซีย, ค.ศ. 1804-1813; รัสเซียได้ดินแดนอาเซอร์ไบจาน ดาเกสตาน และจอร์เจีย
สนธิสัญญาฟุลดา
Treaty of Fulda
เนื้อหา : เวือร์ทเทิมแบร์คออกจากการเป็นสมาชิกของสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์
สนธิสัญญาคาลิสซ์ (ค.ศ. 1813)
Treaty of Kalisz (1813)
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซียกับปรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรระหว่างคู่สัญญาในการร่วมมือในการต่อต้านจักรพรรดินโปเลียน
สนธิสัญญาไรเคนบาค (ค.ศ. 1813)
Treaties of Reichenbach (1813)
ระหว่าง : ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่, จักรวรรดิรัสเซีย, ปรัสเซีย และออสเตรีย
เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรระหว่างภาคีสัญญาในการร่วมมือในการต่อต้านจักรพรรดินโปเลียน
สนธิสัญญาเทอพลิทซ์
Treaty of Töplitz หรือ
Treaty of Toeplitz หรือ
Treaty of Toplitz
ระหว่าง : ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่, จักรวรรดิรัสเซีย, ปรัสเซีย และออสเตรีย
เนื้อหา : เพื่อเน้นการเป็นพันธมิตรระหว่างภาคีสัญญาในการร่วมมือในการต่อต้านจักรพรรดินโปเลียน
สนธิสัญญาปีเตอร์วอลเดา
Treaty of Peterswaldau
ระหว่าง : ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่กับจักรวรรดิรัสเซีย
เนื้อหา : วัตถุประสงค์พื้นฐานก็เพื่อต่อต้านจักรพรรดินโปเลียน โดยบริเตนตกลงส่งกองทหารเยอรมัน 10,000 คนสำหรับกองทัพรัสเซีย
สนธิสัญญารีด
Treaty of Ried
ระหว่าง : ออสเตรียกับบาวาเรีย
เนื้อหา : บาวาเรียออกจากการเป็นสมาชิกของสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ และตกลงเข้าร่วมในสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่ 6 ในการต่อต้านนโปเลียน
1814 สนธิสัญญาอังกฤษ-ดัตช์ (ค.ศ. 1814)
Anglo-Dutch Treaty of 1814 หรือ
Convention of London
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับเนเธอร์แลนด์
เนื้อหา : เพื่อการแลกเปลี่ยนดินแดนระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1814)
Treaty of Paris (1814)
ระหว่าง : ฝรั่งเศสและพันธมิตรในสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่ 6
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่ 6
สนธิสัญญาเก้นท์
Treaty of Ghent
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงคราม ค.ศ. 1812 และฟื้นฟูสัมพันธไมตรีระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาคีล
Treaty of Kiel
ระหว่าง : เดนมาร์ก-นอร์เวย์กับสวีเดน
เนื้อหา : เดนมาร์ก-นอร์เวย์เสียนอร์เวย์ให้แก่สวีเดน เป็นการแลกเปลี่ยนกับพอเมอเรเนียของสวีเดน
อนุสัญญามอส
Convention of Moss
ระหว่าง : นอร์เวย์กับสวีเดน
เนื้อหา : การตกลงการหยุดรบชั่วคราวระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาฟองแตงโบล (ค.ศ. 1814)
Treaty of Fontainebleau (1814)
ระหว่าง : จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และ ฝ่ายมหาสัมพันธมิตร
เนื้อหา : ยุติอำนาจการปกครองของนโปเลียนและส่งพระองค์ไปประทับที่เกาะเอลบา
สนธิสัญญาฟอร์ทแจ็คสัน
Treaty of Fort Jackson หรือ
Treaty with the Creeks, 1814
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับชาติครีค
เนื้อหา : ชาติครีคสูญเสียดินแดน 93,000 ตารางกิโลเมตรแก่สหรัฐอเมริกาในแอละแบมากับจอร์เจียแก่สหรัฐอเมริกาหลังจากการพ่ายแพ้ที่ยุทธการฮอร์สชูเบนด์
1815 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1815)
Treaty of Paris (1815)
เนื้อหา : ลงนามหลังจากการพ่ายแพ้ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในยุทธการวอเตอร์ลู
การประชุมแห่งเวียนนา
Congress of Vienna
ระหว่าง : : ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปแต่ส่วนใหญ่นำโดย “สี่มหาอำนาจ” ที่รวมทั้งบริเตน รัสเซีย ฝรั่งเศส และออสเตรีย
เนื้อหา : เพื่อตกลงกันในปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส, สงครามนโปเลียน และการยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จุดประสงค์เป็นผลให้แผนที่ทางการเมืองของยุโรปต้องร่างใหม่หมด "การประชุมแห่งเวียนนา" เป็นกลายมาเป็นโครงร่างของการก่อตั้งสันนิบาตชาติกับสหประชาชาติต่อมา
สนธิสัญญาซูกอลี
Sugauli Treaty หรือ
Segowlee Treaty
ระหว่าง : บริษัทอินเดียตะวันออกของบริติชกับเนปาล
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามอังกฤษ-เนปาลระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญาสปริงเวลล์ส
Treaty of Springwells
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มชาติออตาวา, ชิพพวา, Wyandot และโพททาวโทมีที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเคานตี้เจเนสซี
เนื้อหา : เพื่อยุติบรรยากาศความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่างภาคีที่เกิดขึ้นตั้งแต่สนธิสัญญาดีทรอยท์ ในปี ค.ศ. 1807; สหรัฐอเมริกาตกลงสละสิทธิในเคานตี้เจเนสซี และคืนสิทธิและดินแดนต่าง ๆ ของกลุ่มกลุ่มชนพื้นเมืองที่เคยมีก่อนสงคราม ค.ศ. 1812
1816 สนธิสัญญาเซนต์หลุยส์
Treaty of St. Louis
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสภาสามเพลิง
เนื้อหา : สภาสูญเสียแนวดินแดน 20 ไมล์แก่สหรัฐอเมริกา ที่เชื่อมชิคาโกกับทะเลสาบมิชิแกน กับ แม่น้ำอิลลินอย
1817 สนธิสัญญารัช-เบกอท
Rush-Bagot Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหราชอาณาจักร
เนื้อหา : เพื่อการแก้ปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับพรมแดนระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาฟอร์ทเมกส์
Treaty of Fort Meigs หรือ
Treaty of the Foot of the Rapids
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและWyandot, ชาติเซเนคา, ชาติเลนาเพ, ชาติชอว์นี, ชาติโพทาวาโทมี, ออตาวากับOjibwa
เนื้อหา : กลุ่มชาติเสียดินแดนในโอไฮโอแก่สหรัฐอเมริกา
สนธิสัญญาทิทาเลีย
Treaty of Titalia
ระหว่าง : บริษัทอินเดียตะวันออกของบริติชและประมุขของรัฐสิกขิม
เนื้อหา : บริติชการันตีความปลอดภัยของสิกขิม และคืนดินแดนสิกขิมที่ถูกผนวกไปโดยเนปาลในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา เป็นการแลกเปลี่ยนกันสิทธิทางการค้า และการเดินทางผ่านไปยังพรมแดนทิเบต
1818 อนุสัญญาอังกฤษ-อเมริกัน (ค.ศ. 1818)
Anglo-American Convention of 1818 หรือ
Treaty of 1818 หรือ
London Convention หรือ
Convention of 1818
ชื่อทางการ: Convention respecting fisheries, boundary, and the restoration of slaves
หรือ: อนุสัญญาว่าด้วยการตกลงในเรื่องการประมง, เขตแดน และการรื้อฟื้นการมีทาส
ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์
เนื้อหา : คู่สัญญาตกลงกันในการแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องชายแดน และตกลงในการตั้งถิ่นฐานร่วมกันในโอเรกอนคันทรีของทั้งสองฝ่าย
สนธิสัญญาเซนต์แมรี
Treaty of St. Mary's
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มชนพื้นเมืองไมแอมี
เนื้อหา : ไมแอมีสูญเสียดินแดนแก่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่แม่น้ำวอแบช และส่งเกลืออีกปีละ 160 บุชเชล เป็นการแลกเปลี่ยนกับเงินประจำปีจำนวน 15,000 ดอลลาร์สหรัฐ และก่อสร้างสิ่งก่อสร้างทางอาชีพเช่นโรงเลื่อย
สนธิสัญญาครีคเอเจนซี (ค.ศ. 1818)
Treaty of the Creek Agency (1818)
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มชนพื้นเมืองชาติครีค
เนื้อหา : ชาติครีคเสียแนวดินแดนแก่สหรัฐอเมริกา เป็นการแลกเปลี่ยนกับเงินจำนวน 120,000 ดอลลาร์สหรัฐที่จ่ายในชั่วเวลา 11 ปี
สนธิสัญญาเซนต์ลุยส์
Treaty of St. Louis
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับชาติโอเซจ
เนื้อหา : โอเซจสูญเสียดินแดนทั้งหมดแก่สหรัฐอเมริกาที่เริ่มตั้งแต่แม่น้ำ อาร์คันซอ จนถึง แม่น้ำเวอร์ดิกริส
1819 สนธิสัญญาแอดัมส-โอนิส
Adams-Onís Treaty หรือ
Transcontinental Treaty of 1819 หรือ
Florida Purchase Treaty
ชื่อทางการ: Treaty of Amity, Settlement, and Limits Between the United States of America and His Catholic Majesty, the Transcontinental Treaty of 1819
ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสเปน
เนื้อหา : สนธิสัญญาที่เป็นผลมาจากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้น เพื่อการแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องเขตแดนในทวีปอเมริการะหว่างคู่สัญญา, สเปนสูญเสียฟลอริดาแก่สหรัฐ
Treaty of Saginaw
Treaty of Saginaw
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในบริเวณเกรตเลคส์
เนื้อหา : กลุ่มชนพื้นเมืองสูญเสียดินแดนผืนใหญ่แก่สหรัฐอเมริกาที่มีเนื้อที่มากกว่า 24,000 ตารางกิโลเมตรทางตอนล่างของคาบสมุทรมิชิแกน
1820 สนธิสัญญาโดคส์สแตนด์
Treaty of Doak's Stand หรือ
Treaty with the Choctaw
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับชาติช็อคทอว์
เนื้อหา : ชาติช็อคทอว์ตกลงยกดินแดนประมาณครึ่งหนึ่งของส่วนที่เหลือในมิสซิสซิปปีให้แก่สหรัฐอเมริกา
1821 สนธิสัญญาคอร์โดบา
Treaty of Córdoba
ระหว่าง : สเปนกับเม็กซิโก
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามประกาศเอกราชเม็กซิโก เมื่อประกาศตนเป็นอิสระจากสเปน
สนธิสัญญาชิคาโก
Treaty of Chicago
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มชาติชาติออตาวา, ชิพพวา, Wyandot และโพททาวโทมี
เนื้อหา : กลุ่มชนพื้นเมืองเสียดินแดนทั้งหมดในบริเวณดินแดนมิชิแกนทางตอนใต้ของแม่น้ำแกรนด์ให้แก่สหรัฐอเมริกา
สนธิสัญญาอินเดียนสปริงส์
Treaty of Indian Springs
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับครีค
เนื้อหา : ชาติครีคเสียดินแดนที่เป็นรัฐจอร์เจียให้แก่สหรัฐอเมริกาเป็นการแลกเปลี่ยนกับเงินจำนวน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐผ่อนชำระในช่วงเวลา 14 ปี
1824 สนธิสัญญาอังกฤษ-ดัตช์ (ค.ศ. 1824)
Anglo-Dutch Treaty of 1824 หรือ
Treaty of London
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
เนื้อหา : เพื่อการแก้ปัญหาข้อพิพาทหลายข้อที่เกิดขึ้นระหว่างการยึดครองดินแดนที่เป็นของเนเธอร์แลนด์ระหว่างสงครามนโปเลียน ที่จบลงด้วยการแบ่งดินแดนในบริเวณมาเลเซีย
สนธิสัญญารัสเซีย-อเมริกัน (ค.ศ. 1824)
Russo-American Treaty of 1824
ชื่อทางการ: Convention Between the United States of America and His Majesty the Emperor of All the Russians, Relative to Navigating, Fishing, Etc., in the Pacific Ocean
ภาษาไทย: อนุสัญญาระหว่างสหรัฐอเมริกาและสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซียทั้งหมดว่าด้วยการเดินเรือ, การประมง, และอื่น ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก
เนื้อหา : รัสเซียมีสิทธิในแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือทางตอนใต้ของเส้นขนาน 54°40'
1825 สนธิสัญญาอังกฤษ-รัสเซีย (ค.ศ. 1825)
Treaty of Saint Petersburg (1825) หรือ
Anglo-Russian Treaty of 1825
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับจักรวรรดิรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อกำหนดเขตแดนระหว่างอเมริกาของรัสเซียและส่วนที่อ้างว่าเป็นของสหราชอาณาจักรในแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือที่เส้นขนาน 54°40'
สนธิสัญญาโอเซจ (ค.ศ. 1825)
Osage Treaty (1825) หรือ
Treaty with the Osage
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับชาติโอเซจ
เนื้อหา : โอเซจสูญเสียดินแดนทางตะวันตกของดินแดนมิสซูรี และดินแดนอาร์คันซอแก่สหรัฐอเมริกา
สนธิสัญญาชอว์นี
Treaty of St. Louis
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและชาติชอว์นีเนื้อหา : ชอว์นีสูญเสียดินแดน Cape Geredeau แก่สหรัฐอเมริกา
สนธิสัญญาฮาโนเวอร์
Treaty of Hanover
ระหว่าง : สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และปรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรระหว่างภาคีสัญญาในการร่วมมือกันต่อต้านสเปน
สนธิสัญญาอินเดียนสปริงส์
Treaty of Indian Springs
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับชาติครีค
เนื้อหา : เพื่อการโยกย้ายชาติครีคในจอร์เจียให้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณ 'ที่ยังไม่ได้รับการปรับปรุง' ริมฝั่งแม่น้ำแม่น้ำอาร์คันซอ เป็นการแลกเปลี่ยนกับเงินจำนวน 400,000 ดอลลาร์สหรัฐที่ค่อย ๆ ผ่อนชำระเป็นเวลาหลายปี
สนธิสัญญาแพรรีดูเชียง
Treaty of Prairie du Chien
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับผู้แทนของซู, แซ็คและฟ็อกซ์, Menominie, Ioway, Ho-Chunk และAnishinaabeg
เนื้อหา : เพื่อการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างซู และชนเผ่าเพื่อนบ้าน และกำหนดเขตแดนระหว่างเผ่าต่าง ๆ
1826 อนุสัญญาอัคเคอร์มัน
Akkerman Convention
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซีย และจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : ออตโตมันถูกบังคับให้ถอยจากมอลดาเวีย และวาลเลเคีย และ มอบเสรีภาพแก่ราชรัฐเซอร์เบีย
สนธิสัญญามิสซิสซิเนอวา
Treaty of Mississinwas หรือ
Treaty of Mississinewa
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับไมแอมี
เนื้อหา : ไมแอมีสูญเสียดินแดนในเขตอินเดียนไมแอมี (Miami reservation) ในอินดีแอนา เป็นการแลกเปลี่ยนกับบ้านและที่ดินในอินดีแอนา
สนธิสัญญายันดาโบ
Treaty of Yandaboo
ระหว่าง : บริษัทอินเดียตะวันออกของบริติชกับพม่า
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 1ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง; พม่าสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะไข่ และตะนาวศรี ให้กับอังกฤษ
สนธิสัญญาเบอร์นี
Burney Treaty
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับประเทศไทย
เนื้อหา : อังกฤษรับรองสิทธิของไทยในสี่รัฐทางตอนเหนือของมลายูที่รวมทั้ง รัฐเกอดะฮ์, รัฐกลันตัน, รัฐปะลิส และรัฐตรังกานู; ตกลงกันทางการค้า, การเก็บภาษี และ ระเบียบว่าด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับ
1827 สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1827)
Treaty of London, 1827
ระหว่าง : สหราชอาณาจักร จักรวรรดิรัสเซีย และฝรั่งเศส
เนื้อหา : ภาคีสัญญาประสงค์ที่จะใช้สนธิสัญญาในการบังคับให้จักรวรรดิออตโตมันก่อตั้งกรีซเป็นรัฐอิสระ
1828 สนธิสัญญาเติร์กเมนเชย์
Treaty of Turkmenchay
ระหว่าง : จักรวรรดิเปอร์เซียกับจักรวรรดิรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามรัสเซีย-เปอร์เซีย (ค.ศ. 1826-1828); เปอร์เซียเสียดินแดนบางส่วนทางตอนเหนือแก่รัสเซีย; กำหนดเขตแดนระหว่างสองจักรวรรดิ
สนธิสัญญามอนเตวิเดโอ (ค.ศ. 1828)
1828 Treaty of Montevideo
ระหว่าง : บราซิลกับอาร์เจนตินา
เนื้อหา : เพื่อรับรองอิสรภาพของอุรุกวัย
1829 พิธีสารลอนดอน
London Protocol
ระหว่าง : สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และจักรวรรดิรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อกำหนดเขตแดนของประเทศกรีซ
สนธิสัญญาอาเดรียโนเปิล
Treaty of Adrianople หรือ
Treaty of Edirne
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซียกับจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามรัสเซีย-ตุรกี (ค.ศ. 1828-1829); รัสเซียได้รับสิทธิในการพิทักษ์กรีซ และการควบคุมปากแม่น้ำดานูบ; ออตโตมันรับรองสิทธิของรัสเซียในจอร์เจีย และ อาณาจักรข่านเอริวาน และนาคิเชวาน; เปิดช่องแคบดาร์ดะเนลส์สำหรับเรือสินค้าทุกชาติ
สนธิสัญญาแพรรีดูเชียง
Treaty of Prairie du Chien
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสภาสามเพลิง
เนื้อหา : สภาสูญเสียดินแดนแก่สหรัฐอเมริกา ที่รวมทั้งทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิลลินอยและทางตะวันตกเฉียงใต้ของวิสคอนซินและอื่น ๆ ; กำหนดเขตอินเดียนทางทางตะวันตกของอิลลินอยสำหรับแพรรีแบนด์และชาติโพทาวาโทมี
1830 พิธีสารลอนดอน
London Protocol
เนื้อหา : เพื่อรับรองอิสรภาพของกรีซ
สนธิสัญญาแดนซิงแรบบิทครีค
Treaty of Dancing Rabbit Creek
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มชนพื้นเมืองชอคทอว์เนื้อหา : แลกเปลี่ยนดินแดน 45,000 ตารางกิโลเมตรของชอคทอว์ในมิสซิสซิปปี กับ 61,000 ตารางกิโลเมตรในโอคลาโฮมา; มอบสิทธิการเป็นพลเมืองอเมริกันแก่ชอคทอว์
1831 สนธิสัญญาแปดสิบมาตรา
Treaty of the Eighty Articles
ระหว่าง : เบลเยียมกับเนเธอร์แลนด์
เนื้อหา : เพื่อกำหนดพรมแดนเบลเยียม
Pacto Federal
Pacto Federal
ระหว่าง : : จังหวัดในอาร์เจนตินา
เนื้อหา : สนธิสัญญาเพื่อสร้างสัมพันธไมตรีทางการทหารระหว่างจังหวัดบัวโนสไอเรส, จังหวัดเอนเทรริโอส และจังหวัดซานตาเฟ
1832 สนธิสัญญาคัสเซทา
Treaty of Cusseta
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับชาติครีค
เนื้อหา : ชาติครีคเสียดินแดนทางตะวันออกของแม่น้ำมิสซิสซิปปีรวมทั้งดินแดนในแอละแบมาให้แก่สหรัฐอเมริกา เป็นการแลกเปลี่ยนกับที่ดิน 1.3 ตารางกิโลเมตรสำหรับครอบครัวครีคแต่ละครอบครัว และ 2.6 ตารางกิโลเมตรสำหรับหัวหน้าเผ่าเก้าสิบคน และนโยบายพื้นฐานของสนธิสัญญาคือการไล่ที่
สนธิสัญญาคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 1832)
Treaty of Constantinople (1832)
ระหว่าง : สหราชอาณาจักร จักรวรรดิรัสเซีย และฝรั่งเศสฝ่ายหนึ่ง กับจักรวรรดิออตโตมันอีกฝ่ายหนึ่ง
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามประกาศเอกราชกรีซ
พิธีสารลอนดอน
London Protocol
เนื้อหา : ยืนยันและรับรองข้อตกลงในสนธิสัญญาคอนสแตนติโนเปิล
1833 สนธิสัญญาฮึงคาร์อิสเคเลซิ
Treaty of Hünkâr İskelesi
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซีย และจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : เพื่อตกลงการป้องกันร่วมกันในกรณีที่คู่สัญญาถูกโจมตีจากต่างประเทศ; รัสเซียได้รับสิทธิในการใช้ช่องแคบบอสฟอรัส
อนุสัญญาคูทาห์ยา
Convention of Kutahya
ระหว่าง : จักรวรรดิออตโตมัน และประมุขของรัฐบริวารมูฮัมหมัด อาลีแห่งอียิปต์
สนธิสัญญาชิคาโก
Treaty of Chicago
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มชนอเมริกันอินเดียน
เนื้อหา : กลุ่มชนพื้นเมืองเสียดินแดนในบริเวณทางตะวันตกของทะเลสาบมิชิแกนให้แก่สหรัฐอเมริกา เป็นการแลกเปลี่ยนกับเขตสงวนอินเดียนออกไปทางตะวันตกของแม่น้ำมิสซูรีที่มีเนื้อที่เท่ากัน
สนธิสัญญาโรเบิร์ต
Robert Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับประเทศไทย
เนื้อหา : สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา และตกลงว่าด้วยการค้า ผลประโยชน์ และการจัดเก็บภาษี
สนธิสัญญาซอนโฮเฟน
Treaty of Zonhoven
ระหว่าง : ฮอลแลนด์ และเบลเยียม
เนื้อหา : เพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาที่ทำกันในลอนดอนในปี ค.ศ. 1833 ที่ระบุกฎระเบียบการใช้แม่น้ำเชสดท์กับแม่น้ำเมิซโดยคู่สัญญา
1834 สนธิสัญญาเดส์ไมเคิลส์
Treaty of Desmichels
ระหว่าง : ฝรั่งเศส และแอลจีเรีย
เนื้อหา : ฝรั่งเศสรับรองฐานะการเป็นประมุขของอับด์ อับ-คาเดียร์ในมาสคารา, แอลจีเรีย และโอราน
1835 สนธิสัญญาเอโชทา
Treaty of New Echota
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและฝักฝ่ายภายในชาติเชอรคี
เนื้อหา : สนธิสัญญาระบุว่าชาติเชอรคีทั้งชาติต้องย้ายถิ่นฐานไปยังเขตสงวนอินเดียนทางตะวันตก สนธิสัญญามิได้รับการรับรองโดยสภาแห่งชาติเชอรคี แต่ได้รับการอนุมัติโดยวุฒิสภาแห่งสหรัฐอเมริกาและกลายมาเป็นกฎหมายใช้บังคับในการบังคับการโยกย้ายถิ่นฐานที่มารู้จักกันว่า "เส้นทางธารน้ำตา"
สนธิสัญญาแบ็ทแมน
Batman's Treaty
ระหว่าง : จอห์น แบ็ทแมน และกลุ่มผู้อาวุโสของวูรันเดอรีเนื้อหา : เพื่อการตกลงเช่าที่ดินบริเวณอ่าวพอร์ทฟิลลิปใกล้เมืองเมลเบิร์นในออสเตรเลียปัจจุบัน
1836 สนธิสัญญาเวอลาสโค
Treaties of Velasco
ระหว่าง : เม็กซิโกกับสาธารณรัฐเท็กซัส
เนื้อหา : สนธิสัญญาที่ทำขึ้นหลังยุทธการซานฮาซินโต เพื่อยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างคู่สัญญา และปูทางไปสู่อิสรภาพของเท็กซัส
สนธิสัญญาวอชิงตัน (ค.ศ. 1836)
Treaty of Washington (1836)
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและชาติออตาวากับชิพพวา
อเมริกันอินเดียนเสียดินแดนในบริเวณทางตะวันตกเฉียงเหนือของแหลมมิชิแกนตอนใต้และทางตะวันออกของแหลมมิชิแกนตอนเหนือให้แก่สหรัฐอเมริกา
1837 สนธิสัญญาทาฟนา
Treaty of Tafna
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับแอลจีเรีย
เนื้อหา : อับด์ อับ-คาเดียร์ ยอมรับสิทธิในการมีอำนาจของฝรั่งเศสในแอฟริกา เป็นการแลกเปลี่ยนกับดินแดนสองในสามส่วนของแอลจีเรีย ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสสามารถรักษาเมืองท่าไว้ได้เพียงสองสามเมือง
1838 สนธิสัญญาบาลทาลิมาน
Treaty of Balta Liman
ระหว่าง : จักรวรรดิออตโตมันกับสหราชอาณาจักร
เนื้อหา : สนธิสัญญาเพื่อการตกลงทางการค้าระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาบัฟฟาโลครีค
Treaty of Buffalo Creek หรือ
Treaty With The New York Indians, 1838
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับชาติเซเนคา, ชาติโมฮอว์ค, ชาติคายูกา, ชาติโอไนดา และอื่น ๆ
เนื้อหา : สหรัฐขายเขตสงวนอินเดียนสี่แห่งในนิวยอร์ก และโยกย้ายชาวอเมริกันอินเดียนไปยังมิสซูรี; ระบุว่าเขตสงวนของชาติเซเนคาจะได้รับการซื้อโดยบริษัทที่ดินโอกเดน
1839 พระราชกฤษฎีกาเสรีภาพศาสนาในฮาวาย
Edict of Toleration (Hawaii)
เนื้อหา : พระราชกฤษฎีกาที่อนุมัติโดยพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 3 ในการอนุญาตให้มีการก่อตั้งสังฆมณฑลแห่งโฮโนลูลูขึ้นได้ ซึ่งก่อนหน้านั้นคริสต์ศาสนาไม่ได้รับการยอมรับในฮาวาย
สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1839)
Treaty of London, 1839 หรือ
Convention of 1839
ระหว่าง : : มหาอำนาจในยุโรปกับสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
เนื้อหา : เพื่อรับรองอิสรภาพและความเป็นกลางของเบลเยียม และ รับรองอิสรภาพของลักเซมเบิร์ก
1840 สนธิสัญญาไวทังกิ
Treaty of Waitangi
เนื้อหา : นิวซีแลนด์กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอังกฤษ
1842 สนธิสัญญานานกิง
Treaty of Nanking
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับจีน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามฝิ่นครั้งที่ 1; จีนเสียเกาะฮ่องกงแก่สหราชอาณาจักร
สนธิสัญญาเว็บสเตอร์-แอชเบอร์ตัน
Webster-Ashburton Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับแคนาดา
เนื้อหา : เพื่อการแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่อพรมแดนโดยเฉพาะเขตแดนระหว่างรัฐเมนและนิวบรันสวิคระหว่างคู่สัญญา
1844 สนธิสัญญาแทนเจียร์ส
Treaty of Tangiers
ระหว่าง : โมร็อกโกกับจักรวรรดิฝรั่งเศส
สนธิสัญญาเพื่อการยุติสงครามฝรั่งเศส-โมร็อกโกครั้งที่ 1; โมร็อกโกยอมรับว่าแอลจีเรียเป็นของฝรั่งเศส
สนธิสัญญาเทฮัวคานา
Treaty of Tehuacana Creek หรือ
Treaty of Peace, Friendship and Commerce
ระหว่าง : สาธารณรัฐเท็กซัสกับกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันกลุ่มต่าง ๆ
เนื้อหา : ภาคีสัญญาตกลงยุติความเป็นปรปักษ์ต่อกันและดำเนินนโยบายทางการเมืองและทางการค้าขายในทางที่ร่วมมือกัน
สนธิสัญญาวางเกีย
Treaty of Wanghia หรือ
Sino-American Treaty of Wanghia
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับจีน
เนื้อหา : เพื่อระบุสิทธิของชาวอเมริกันในประเทศจีน; กำหนดพิกัดอัตราค่าธรรมเนียมที่ตายตัวในเมืองท่าที่มีการค้าขาย
สนธิสัญญาวัมเปา
Treaty of Whampoa
ระหว่าง : จักรวรรดิฝรั่งเศสกับจีน
เนื้อหา : จีนมอบอภิสิทธิ์เดียวกับที่มอบให้แก่อังกฤษแก่จักรวรรดิฝรั่งเศส ที่รวมทั้งการเปิดเมืองท่าสำหรับการค้าขายแก่ฝรั่งเศส
1846 สนธิสัญญาโอเรกอน
Oregon Treaty หรือ
Treaty with United Kingdom, in Regard to Limits Westward of the Rocky Mountains หรือ
Treaty of Washington
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับสหรัฐอเมริกา
เนื้อหา : เพื่อกำหนดพรมแดนระหว่างดินแดนส่วนที่เป็นของอังกฤษและสหรัฐอเมริกาในโอเรกอนคันทรี
สนธิสัญญาลาฮอร์
Treaty of Lahore
ระหว่าง : : สหราชอาณาจักรและจักรวรรดิซิกข์
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามอังกฤษ-ซิกข์ครั้งที่ 1ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง; ซิกข์สูญเสียดินแดนส่วนใหญ่
สนธิสัญญาอัมริตสา
Treaty of Amritsar
ระหว่าง : : สหราชอาณาจักรและจักรวรรดิซิกข์
เนื้อหา : เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องดินแดนกัศมีร์
สนธิสัญญามาลลาริโน-บิดลัค
Mallarino-Bidlack Treaty
ชื่อทางการ: ''Tratado de Paz, Amistad, Navegación y Comercio
ภาษาไทย: สนธิสัญญาเพื่อสันติภาพ, มิตรภาพ, การเดินเรือ และ การค้า
ระหว่างสาธารณรัฐนิวกรานาดากับสหรัฐอเมริกา
เนื้อหา : เพื่อความร่วมมือระหว่างกันระหว่างคู่สัญญา
1847 Treaty of Cahuenga
Treaty of Cahuenga หรือ
Capitulation of Cahuenga
เนื้อหา : ข้อตกลงอย่างไม่เป็นทางการระหว่างกองทหารผู้มีส่วนในสงครามเม็กซิกัน-อเมริกันเพื่อยุติสงคราม
1848 สนธิสัญญากวาดาลูเปฮิลดาโก
Treaty of Guadalupe Hidalgo
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและรัฐบาลผู้ครองเม็กซิโก
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน; เม็กซิโกเสียดินแดน 1.36 ล้านตารางกิโลเมตรแก่สหรัฐ เป็นการแลกเปลี่ยนกับเงิน 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือ 313 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2006)
1850 สนธิสัญญาเคลย์ตัน-บุลเวอร์
Clayton-Bulwer Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหราชอาณาจักร
เนื้อหา : คู่สัญญาตกลงที่จะไม่ยึดอเมริกากลางเป็นอาณานิคม
ความตกลงโอลมึทซ์
Punctation of Olmütz หรือ
Agreement of Olmütz
ระหว่าง : ปรัสเซียกับออสเตรีย
เนื้อหา : ปรัสเซียถอนตัวจากข้อตกลงสหภาพแอร์ฟวร์ต และหันมาฟื้นฟูสหพันธรัฐเยอรมันภายใต้การนำของออสเตรีย
1851 สนธิสัญญาเมนโดทา
Treaty of Mendota
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและกลุ่มชนพื้นเมืองซูในมิเนโซตา
เนื้อหา : ซูได้รับเงินจำนวน 1,410,000 ดอลลาร์สหรัฐเป็นการแลกเปลี่ยนกับการย้ายไปตั้งถิ่นฐานในเขตสงวนอินเดียนซูใต้ที่เมนโดทาในมิเนโซตา ที่เป็นสละดินแดนผืนใหญ่ทางตอนใต้ของมิเนโซตาที่กลายมาเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนผิวขาว
สนธิสัญญาฟอร์ทลารามี (ค.ศ. 1851)
Treaty of Fort Laramie (1851)
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ระหว่างแม่น้ำอาร์คันซอและแม่น้ำมิสซูรี
เนื้อหา : เพื่อการันตีความปลอดภัยของการใช้เส้นทางโอเรกอน และเส้นทางซานตาเฟสำหรับผู้เดินทางไปตั้งถิ่นฐานทางตะวันตก เป็นการแลกเปลี่ยนกับค่าธรรมเนียมประจำปีจำนวน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐเป็นเวลาห้าสิบปี
สนธิสัญญาคุลจาคุลจา
Treaty of Kulja หรือ
Treaty of Kuldja
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซียกับจีน
เนื้อหา : เพื่อวางบทบัญญัติทางการค้าระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาทราเวิร์สเดอซู
Treaty of Traverse des Sioux
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและกลุ่มชนพื้นเมืองซูในมิเนโซตา
เนื้อหา : ซูเสียดินแดนเป็นการแลกเปลี่ยนการการถูกโยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานในเขตสงวนอินเดียนใหม่
1852 พิธีสารลอนดอน
London Protocol
เนื้อหา : ลงนามหลังจากสงครามชเลสวิกครั้งที่ 1
อนุสัญญาแซนด์ริเวอร์
Sand River Convention
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับอาณานิคมเคพกับโบเออร์
เนื้อหา : เพื่อวางบทบัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลบริติชของอาณานิคมเคพและโบเออร์ทางตอนเหนือของแม่น้ำออเรนจ์ในแอฟริกาใต้
1854 อนุสัญญาคานากาวา
Convention of Kanagawa หรือ
Kanagawa Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น
เนื้อหา : ญี่ปุ่นเปิดเมืองท่า Shimoda และ Hakodate เพื่อค้าขายกับสหรัฐ
สนธิสัญญามิตรภาพอังกฤษ-ญี่ปุ่น
Anglo-Japanese Friendship Treaty
ระหว่าง : สราชอาณาจักรกับญี่ปุ่น
เนื้อหา : ญี่ปุ่นเปิดการค้าขายกับอังกฤษ
สนธิสัญญาคาลาพูยา
Kalapuya Treaty หรือ
Treaty of Dayton
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกา และ กลุ่มชนพื้นเมือง Kalapuya, Molala, Clackamas และอื่นในดินแดนโอเรกอน
เนื้อหา : กลุ่มชนพื้นเมืองเสียดินแดนในบริเวณลุ่มแม่น้ำวิลเลมิท เป็นการแลกเปลี่ยนกับเงินชดเชย
สนธิสัญญาเมดิซินครีค
Treaty of Medicine Creek
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและกลุ่มชนพื้นเมือง Nisqually, Puyallup และ Squaxin Island และอื่น ๆ
เนื้อหา : กลุ่มชนพื้นเมืองเสียดินแดน 9,060 ตารางกิโลเมตรเป็นการแลกเปลี่ยนกับการตั้งถิ่นฐานในเขตสงวนและเงินชดเชย
1855 สนธิสัญญาเบาว์ริง
Bowring Treaty หรือ
Treaty of Friendship and Commerce
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับประเทศไทย
เนื้อหา : เพื่อเปิดเสรีการค้าระหว่างคู่สัญญา; สหราชอาณาจักรรับรองฐานะการเป็นราชอาณาจักรอิสระของประเทศไทย
สนธิสัญญาเฮลเกท
Treaty of Hellgate
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและกลุ่มชนพื้นเมืองในมอนแทนา
เนื้อหา : กลุ่มชนพื้นเมืองเสียดินแดน เป็นการแลกเปลี่ยนกับเงินชดเชย
สนธิสัญญาชิโมดา
Treaty of Shimoda
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซียกับญี่ปุ่น
เนื้อหา : เพื่อกำหนดเขตแดนระหว่างคู่สัญญา; ญี่ปุ่นเปิดเมืองท่าสามเมืองเพื่อค้าขายกับนานาชาติ
สนธิสัญญาเนห์เบย์
Treaty of Neah Bay
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและกลุ่มชนพื้นเมืองมาคาห์
สนธิสัญญาแลกเปลี่ยนแคนาดา-อเมริกัน
Canadian-American Reciprocity Treaty หรือ
Elgin-Marcy Treaty
ระหว่าง : : อาณานิคมของบริติชนอร์ธอเมริกากับสหรัฐอเมริกา
เนื้อหา : เพี่อตกลงทางการค้าระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาพอยท์อีเลียท
Point Elliott Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและกลุ่มชนพื้นเมืองในบริเวณอ่าวพิวจิท
เนื้อหา : ระบุสิทธิในการตกปลา
สนธิสัญญาพอยท์โนพอยท์
Point No Point Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและกลุ่มชนพื้นเมือง S'Klallam, Chimacum และ Skokomish
เนื้อหา : กลุ่มชนพื้นเมืองเสียดินแดนแหลมคิทซัพเป็นการแลกเปลี่ยนกับการตั้งถิ่นฐานในเขตสงวนและเงินชดเชย 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ
สนธิสัญญาควินอลท์
Quinault Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและกลุ่มชนพื้นเมืองควินอลท์และ ควิลล็อยท์ในดินแดนวอชิงตัน
เนื้อหา : กลุ่มชนพื้นเมืองเสียดินแดนแก่สหรัฐอเมริกาเป็นการแลกเปลี่ยนกับการตั้งถิ่นฐานในเขตสงวนและเงินชดเชย
1856 สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส พ.ศ. 2399
Franco–Siamese Treaty of 1856
ระหว่าง : จักรวรรดิฝรั่งเศสกับประเทศไทย
เนื้อหา : เป็นข้อตกลงระหว่างสองชาติที่สืบเนื่องจากสนธิสัญญาเบาว์ริง
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1856)
Treaty of Paris (1856) หรือ
Congress of Paris
ระหว่าง : รัสเซียและพันธมิตรของจักรวรรดิออตโตมัน, ราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย, ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร
เนื้อหา : ระบุให้บริเวณทะเลดำเป็นเขตเป็นกลางปลอดจากเรือรบทุกชนิด, ห้ามการสร้างป้อมปราการ และ การมีอาวุธบนฝั่งทะเล ข้อตกลงเป็นการลิดรอนอิทธิพลของรัสเซียในบริเวณทะเลดำ
1858 สนธิสัญญาเทียนสิน
Treaty of Tientsin
ระหว่าง : : ฝ่ายรัสเซีย, สหรัฐอเมริกา, ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร กับจีน
เนื้อหา : เพื่อการยุติช่วงแรกของสงครามฝิ่นครั้งที่ 2; จีนเปิดเมืองท่าเพื่อค้าขายกับชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้น
สนธิสัญญาไอกุน
Treaty of Aigun
ระหว่าง : รัสเซียกับจีน
เนื้อหา : เพื่อการตกลงเรื่องพรมแดนระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญามิตรภาพและการค้าระหว่างสหรัฐ-ญี่ปุ่น
United States-Japan Treaty of Amity and Commerce หรือ
Harris Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น
เนื้อหา : คู่สัญญาแลกเปลี่ยนทูต, ญี่ปุ่นเปิดเมืองท่าในการค้าขายกับต่างประเทศ, กำหนดพิกัดค่าธรรมเนียมขาเข้าขาออกที่ขึ้นอยู่กับการควบคุมโดยนานาชาติ
สนธิสัญญาว่าด้วยมิตรภาพ การพาณิชย์ และการเดินเรือ พ.ศ. 2401
Treaty of Friendship, Commerce and Navigation of 1858
ระหว่าง : เดนมาร์กกับประเทศไทย
เนื้อหา : ข้อตกลงทางการค้าระหว่างเดนมาร์กกับประเทศไทย
1859 สนธิสัญญาซือริช
Treaty of Zurich
ระหว่าง : จักรวรรดิออสเตรีย จักรวรรดิฝรั่งเศส และราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย]
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามออสเตรีย-ซาร์ดิเนีย สนธิสัญญาซือริชเป็นสนธิสัญญาสามฉบับ ที่ฉบับสุดท้ายเป็นสนธิสัญญามิตรภาพระหว่างออสเตรียกับซาร์ดิเนีย
1860 สนธิสัญญาคอบเดน-เชวาเลียร์
Cobden-Chevalier Treaty
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งการค้าเสรีระหว่าคู่สัญญา
อนุสัญญาปักกิ่ง
Convention of Peking หรือ
First Convention of Peking
ระหว่าง : : จีน กับฝ่ายสหราชอาณาจักร รัสเซีย และฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามฝิ่นครั้งที่ 2; จีนเสียเกาลูนแก่สหราชอาณาจักร
1861 สนธิสัญญาฝรั่งเศส-โมเนอกาสค์
Franco-Monegasque Treaty
เนื้อหา : มอบอิสรภาพแก่โมนาโก
1862 สนธิสัญญาการค้าและการเดินเรือ
Treaty of Commerce and Navigation Between the United States and the Ottoman Empire
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับจักรวรรดิออตโตมัน[5]
สนธิสัญญาไซง่อนฉบับที่ 1
First Treaty of Saigon
ระหว่าง : จักรวรรดิฝรั่งเศสกับเวียดนาม
เนื้อหา : เวียดนามเสียไซ่ง่อนและดินแดนอื่นแก่ฝรั่งเศส
สนธิสัญญาออยเลนบวร์ก
Eulenburg Treaty หรือ
Treaty of Amity, Commerce and Navigation with Prussia, in the name of the German Customs and Commercial Union
ระหว่าง : ราชอาณาจักรปรัสเซียกับประเทศไทย
เนื้อหา : สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรปรัสเซีย (เยอรมนี) กับประเทศไทย
1863 สนธิสัญญาฮิว (ค.ศ. 1863)
Treaty of Hué (1863)
ระหว่าง : จักรวรรดิฝรั่งเศสกับเวียดนาม
เนื้อหา : เพื่อรับรองข้อตกลงในสนธิสัญญาไซง่อนฉบับแรก และเวียดนามเปิดเมืองท่าอีกสามเมือง และ อนุญาตการเผยแพร่คริสต์ศาสนาของผู้สอนศาสนา; ไซ่ง่อนได้รับการประกาศให้เป็นเมืองหลวงของอินโดจีนของฝรั่งเศส
สนธิสัญญารูบีแวลลี (ค.ศ. 1863)
Treaty of Ruby Valley 1863
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับดินแดนเนวาดา
เนื้อหา : เพื่อมอบสิทธิบางอย่างในดินแดนเนวาดาแก่สหรัฐอเมริกา แต่เนื้อหาข้อตกลงยังคงเป็นข้อพิพาทกันมาจนถึงทุกวันนี้ สภาคองเกรสพยายามซื้อดินแดน 97,000 ตารางกิโลเมตรในราคา 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 1992 แต่ยังไม่เป็นที่ตกลงกัน ในขณะเดียวกันราคาก็ถีบตัวสูงขี้นไปถึง 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ
สนธิสัญญาลับสยาม–กัมพูชา
Siamese-Cambodian Secret Treaty
ระหว่าง : ประเทศไทยกับกัมพูชา
เนื้อหา : เพื่อยืนยันสิทธิของสยามเหนือกัมพูชา
1864 อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่หนึ่ง
First Geneva Convention
ชื่อทางการ: Convention for the Amelioration of the Condition of the Wounded in Armies in the Field, 1864
ภาษาไทย: อนุสัญญาว่าด้วยการดูแลรักษาทหารผู้บาดเจ็บในสนามรบ, ค.ศ. 1864
สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1864)
Treaty of London (1864)
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับกรีซ
เนื้อหา : อังกฤษเสียหมู่เกาะไอโอเนียนแก่กรีซ
สนธิสัญญาเวียนนา (ค.ศ. 1864)
Treaty of Vienna (1864)
ระหว่าง : จักรวรรดิออสเตรีย ราชอาณาจักรปรัสเซีย และราชอาณาจักรเดนมาร์ก
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามชเลสวิกครั้งที่ 2ระหว่างออสเตรียและปรัสเซีย
1866 สนธิสัญญาสันติภาพปราก (ค.ศ. 1866)
Peace of Prague (1866)
ระหว่าง : จักรวรรดิออสเตรียกับราชอาณาจักรปรัสเซีย
เนื้อหา : สนธิสัญญาเพื่อการยุติสงครามออสเตรีย-ปรัสเซียระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
1867 ข้อตกลงซื้ออะแลสกา
Alaska Purchase
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับรัสเซีย
เนื้อหา : สหรัฐตกลงซื้ออะแลสกาที่มีเนื้อที่ทั้งหมด 1,518,800 ตารางกิโลเมตร ในราคา 7,200,000 ดอลลาร์สหรัฐ (4.74 ดอลลาร์สหรัฐต่อตารางกิโลเมตร)
สนธิสัญญาเมดิซินลอดจ์
Medicine Lodge Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและกลุ่มชนพื้นเมือง Kiowa, Comanche, Plains Apache, Southern Cheyenne และ Southern Arapaho
เนื้อหา : การเจรจาต่อรองในการจัดเขตสงวนอินเดียนให้แก่ชนพื้นเมืองแต่ละกลุ่ม โดยสหรัฐมีนโยบายที่จะลดจำนวนเขตสงวนลง ที่เป็นรากฐานที่ก่อให้เกิดข้อพิพาทต่อมา
สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1867)
Treaty of London (1867) " หรือ
Second Treaty of London"
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : ข้อตกลงที่ทำขึ้นหลังจากสงครามออสเตรีย-ปรัสเซียและวิกฤติการณ์ลักเซมเบิร์ก
สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส พ.ศ. 2410
Franco–Siamese Treaty of 1867
ระหว่าง : จักรวรรดิฝรั่งเศสกับประเทศไทย
เนื้อหา : สยามรับรองให้เขมรส่วนนอกด้านติดกับโคชินไชนา รวมเกาะอีก 6 เกาะเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส
1868 สนธิสัญญาเบอร์ลิงเกม
Burlingame Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับจีน
เนื้อหา : เพื่อสร้างความสัมพันธไมตรีระหว่างสองฝ่าย; จีนได้รับฐานะเป็นชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favored Nation)
สนธิสัญญาฟอร์ทลารามี (ค.ศ. 1868)
Treaty of Fort Laramie (1868) หรือ
Sioux Treaty of 1868
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับชาติลาโคตา, ซู และอื่น ๆ
เนื้อหา : สนธิสัญญาเพื่อการยุติสงครามเรดเคลาด์ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง; ลาโคตาได้รับแบล็คฮิลส์และสิทธิในการล่าในดินแดนที่ระบุ
สนธิสัญญาแบนครอฟท์
Bancroft Treaties
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกาและประเทศในสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือและอื่น ๆ
เนื้อหา : ชาติภาคีสัญญารับรองสิทธิของประชาชนผู้ถือสัญชาติใหม่ของชาติภาคี และกำหนดว่าถ้าผู้ถือสัญชาติใหม่กลับไปยังถิ่นฐานเดิมเป็นระยะเวลาสองปีผู้นั้นก็จะได้รับสัญชาติเดิมคืน
สนธิสัญญาว่าด้วยมิตรภาพ การพาณิชย์ และการเดินเรือ พ.ศ. 2411
Treaty of Friendship, Commerce and Navigation of 1868
ระหว่าง : ราชอาณาจักรอิตาลีกับประเทศไทย
เนื้อหา : ข้อตกลงทางการค้าระหว่างอิตาลีกับประเทศไทย
สนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ระหว่างเบลเยียมกับสยาม
Treaty of Friendship and Commerce between Belgium and Siam
ระหว่าง : เบลเยียมกับประเทศไทย
เนื้อหา : ข้อตกลงทางการค้าระหว่างเบลเยียมกับประเทศไทย
1869 สนธิสัญญาไมตรี การค้า และการเดินเรือ พ.ศ. 2412
Treaty of Friendship, Commerce and Navigation of 1869
ระหว่าง : จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีกับประเทศไทย
เนื้อหา : ข้อตกลงทางการค้าระหว่างจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ออสเตรีย, ฮังการี) กับประเทศไทย
1870 สนธิสัญญาไมตรี การค้า และการเดินเรือ พ.ศ. 2413
Treaty of Friendship, Commerce and Navigation of 1870
ระหว่าง : จักรวรรดิสเปนกับประเทศไทย
เนื้อหา : ข้อตกลงทางการค้าระหว่างสเปนกับประเทศไทย
1871 สนธิสัญญาฟรังเฟิร์ต (ค.ศ. 1871)
Treaty of Frankfurt (1871)
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับปรัสเซีย
ว่าด้วยการยุติสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญาวอชิงตัน (ค.ศ. 1871)
Treaty of Washington (1871)
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหราชอาณาจักร
เนื้อหา : เพื่อการแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญา โดยเฉพาะในการเรียกร้องค่าเสียหายในกรณีแอลาบามา (Alabama Claims); บริเตนจ่ายค่าเสียหาย 15.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเรือรบที่สร้างในอังกฤษและขายให้แก่ฝ่ายคอนเฟเดอเรซีในการทำสงครามกลางเมืองอเมริกัน
สนธิสัญญาฉบับที่ 1
Treaty 1 หรือ
Stone Fort Treaty
ระหว่าง : พระราชินีวิคตอเรียประมุขแห่งแคนาดา และกลุ่มปฐมชาติแห่งแคนาดา[6]
สนธิสัญญาฉบับที่ 2
Treaty 2 หรือ
Manitoba Post Treaty
ระหว่าง : พระราชินีวิคตอเรียประมุขแห่งแคนาดา และกลุ่มปฐมชาติแห่งแคนาดา
1873 สนธิสัญญาฉบับที่ 3
Treaty 3 หรือ
Northwest Angle Treaty
ระหว่าง : พระราชินีวิคตอเรียประมุขแห่งแคนาดา และกลุ่มปฐมชาติแห่งแคนาดา[7][8]
1874 สนธิสัญญาปังกอร์ (ค.ศ. 1874)
Pangkor Treaty of 1874
ระหว่าง : จักรวรรดิอังกฤษกับรัฐมาลายู
เนื้อหา : รัฐเประเป็นรัฐแรกในมาลายูที่รับผู้ตั้งถิ่นฐานบริติช ข้อตกลงในสนธิสัญญาปูพื้นฐานไปสู่ความมีอำนาจต่อมาลายูของจักรวรรดิอังกฤษ
สนธิสัญญาแบร์น
Treaty of Bern
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้ง "สหภาพไปรษณีย์ทั่วไป" (General Postal Union) ที่ต่อมาเป็นสหภาพสากลไปรษณีย์ซึ่งเป็นองค์การสากลที่เก่าเป็นที่สองของโลก
สนธิสัญญาไซง่อนฉบับที่ 2
Second Treaty of Saigon
ระหว่าง : จักรวรรดิฝรั่งเศสกับเวียดนาม
เนื้อหา : เพื่อย้ำข้อตกลงในสนธิสัญญาไซง่อนฉบับที่ 1; เวียดนามเปิดแม่น้ำแดง และฮานอย, ไฮฟอง และ Qui Nonh เพื่อการค้าขาย
สนธิสัญญาฉบับที่ 4
Treaty 4 หรือ
Qu'appelle Treaty
ระหว่าง : พระราชินีวิคตอเรียประมุขแห่งแคนาดา และกลุ่มปฐมชาติแห่งแคนาดา[9]
1875 สนธิสัญญาเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก (ค.ศ. 1875)
Treaty of Saint Petersburg (1875)
ระหว่าง : จักรวรรดิญี่ปุ่นกับจักรวรรดิรัสเซีย
เนื้อหา : ญี่ปุ่นยุติการอ้างสิทธิในเกาะซาคาริน เป็นการแลกเปลี่ยนกับหมู่เกาะคูริลไปจนถึงคาบสมุทรคัมชัทคา
อนุสัญญาระบบเมตริก
Meter Convention หรือ
Convention du Mètre
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งองค์กรสามองค์กรในการควบคุมการรักษามาตรฐานของระบบเมตริกที่รวมทั้งองค์กรการประชุมทั่วไปเกี่ยวกับการชั่งตวงวัด, สำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ และคณะกรรมการชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ
สนธิสัญญาการแลกเปลี่ยนทางการค้าระหว่างสหรัฐและราชอาณาจักรฮาวาย
Reciprocity Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับราชอาณาจักรฮาวาย
เนื้อหา : เพื่อตกลงการค้าเสรีระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาฉบับที่ 5
Treaty 5 (Manitoba)
ระหว่าง : พระราชินีวิคตอเรียประมุขแห่งแคนาดา และกลุ่มปฐมชาติแห่งแคนาดา[10]
1876 สนธิสัญญากังวามิตรภาพญี่ปุน-เกาหลี
Treaty of Ganghwa หรือ
Japanese-Korea Treaty of Amity
ระหว่าง : จักรวรรดิญี่ปุ่นกับเกาหลี
เนื้อหา : เกาหลียุติการเป็นรัฐบริวารของจีนและเปิดการค้าขายกับญี่ปุน
สนธิสัญญาฉบับที่ 6
Treaty 6
ระหว่าง : พระราชินีวิคตอเรียประมุขแห่งแคนาดา และกลุ่มปฐมชาติแห่งแคนาดา[11]
1877 พิธีสารลอนดอน
London Protocol
นื้อหา: อังกฤษตกลงทำตัวเป็นกลางในกรณีที่เกิดการขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิออตโตมัน
สนธิสัญญาฉบับที่ 7
Treaty 7 (Blackfoot Crossing)
ระหว่าง : พระราชินีวิคตอเรียประมุขแห่งแคนาดา และกลุ่มปฐมชาติแห่งแคนาดา[12]
1878 อนุสัญญาไซปรัส
Cyprus Convention
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : ข้อตกลงลับที่มอบอำนาจการควบคุมไซปรัสแก่สหราชอาณาจักร เป็นการแลกเปลี่ยนกับความช่วยเหลือทางทหารในการต่อต้านจักรวรรดิรัสเซีย
กติกาสัญญาซานฮน
Pact of Zanjón
ระหว่าง : คิวบากับจักรวรรดิสเปน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามสิบปีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามประกาศอิสรภาพของคิวบาจากสเปน
สนธิสัญญาซานสเตฟาโน
Treaty of San Stefano
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซียกับจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : ร่างข้อตกลงเพื่อการยุติสงครามรัสเซีย-ตุรกี (ค.ศ. 1877-1878)ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง; บัลแกเรียได้รับอิสรภาพหลังจากตกอยู่ใต้อิทธิพลของจักรวรรดิออตโตมันมาเป็นเวลาเกือบห้าร้อยปี
สนธิสัญญาเบอร์ลิน (ค.ศ. 1878)
Treaty of Berlin (1878)
ระหว่าง : : ฝ่ายสหราชอาณาจักร, ออสเตรีย-ฮังการี, จักรวรรดิฝรั่งเศส, จักรวรรดิเยอรมัน, อิตาลี และจักรวรรดิรัสเซีย และ ฝ่ายจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาซานสเตฟาโน
1879 สนธิสัญญากันดามัค
Treaty of Gandamak
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับอัฟกานิสถาน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งที่ 2 ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง; อัฟกานิสถานสูญเสียดินแดนแก่อังกฤษเป็นการแลกเปลี่ยนกับการยุติการรุกรานในบริเวณอื่นของประเทศ
1881 สนธิสัญญาพรมแดน ค.ศ. 1881 ระหว่างชิลีและอาร์เจนตินา
Boundary treaty of 1881 between Chile and Argentina
เนื้อหา : เพื่อกำหนดเขตแดนระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาอคาล
Treaty of Akhal
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซียกับจักรวรรดิเปอร์เซีย
เนื้อหา : เปอร์เซียยอมรับการผนวกควาราซัมของรัสเซียอย่างเป็นทางการ
สนธิสัญญาบาร์โด
Treaty of Bardo หรือ
Treaty of Al-Qasr as-Sa'id หรือ
Treaty of Kasser Said
ระหว่าง : จักรวรรดิฝรั่งเศสกับตูนิเซีย
เนื้อหา : ตูนิเซียกลายเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส
1882 สนธิสัญญาไตรพันธมิตร (ค.ศ. 1882)
Triple Alliance (1882)
ระหว่าง : จักรวรรดิเยอรมัน, ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี
เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรในการป้องกันการถูกโจมตีร่วมกันระหว่างภาคีสัญญา
สนธิสัญญาคิลเมนัม
Kilmainham Treaty
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับชาร์ลส์ สจวต พาร์เนลล์ผู้แทนของขบวนการชาตินิยมไอร์แลนด์
เนื้อหา : สหราชอาณาจักรยอมปฏิรูปการปกครองไอร์แลนด์
1883 อนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม
Paris Convention for the Protection of Industrial Property หรือ
Paris Convention
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
เนื้อหา : ภาคีผู้ลงนามต้องมีความรับผิดชอบต่อการคุ้มครองสิทธิของทรัพย์สินอุตสาหกรรม (รวมทั้งสิทธิบัตร, การออกแบบอุตาสหกรรม, เครื่องหมายการค้า และอื่น ๆ) ระหว่างชาติผู้ลงนามอย่างเท่าเทียมกัน[13][14]
สนธิสัญญาอังคอง
Treaty of Ancón
เนื้อหา : เพื่อการแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาฮิว (ค.ศ. 1883)
Treaty of Hué (1883) หรือ
Treaty of Protectorate
ระหว่าง : จักรวรรดิฝรั่งเศสกับเวียดนาม
เนื้อหา : ฝรั่งเศสได้เข้ามาปกครองเวียดนามโดยกำหนดให้เป็นรัฐในอารักขาของตน จึงทำเวียดนามตกเป็นส่วนหนึ่งในการปกครองของฝรั่งเศส
1884 สนธิสัญญาฮิว (ค.ศ. 1884)
Treaty of Hué (1884)
ระหว่าง : จักรวรรดิฝรั่งเศสกับเวียดนาม
เนื้อหา : เพื่อรับรองข้อตกลงในสนธิสัญญาฮิว (ค.ศ. 1883)
1885 สนธิสัญญาไซมูลัมบูโค
Treaty of Simulambuco
ระหว่าง : โปรตุเกสและผู้แทนของราชอาณาจักรN'Goyo
1886 อนุสัญญากรุงเบิร์นว่าด้วยความคุ้มครองงานวรรณกรรม และศิลปกรรม
Berne Convention for the Protection of Literary and Artistic Works หรือ
Berne Convention
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : ผู้ลงนามในสัญญาตกลงยอมรับลิขสิทธิ์ของงานของผู้สร้างในประเทศอื่นที่ลงนาม เช่นเดียวกับงานของผู้สร้างในประเทศของตนเอง, ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องมีการลงทะเบียน, งานทุกชิ้นนอกจากภาพถ่ายหรือภาพยนตร์จะได้รับลิขสิทธิ์ต่อไปอีกอย่างน้อยห้าสิบปีหลังจากผู้สร้างงานเสียชีวิตไปแล้ว
สนธิสัญญาบูคาเรสต์ (ค.ศ. 1886)
Treaty of Bucharest, 1886
ระหว่าง : เซอร์เบียกับบัลแกเรีย
เนื้อหา : สนธิสัญญาสันติภาพเพื่อการยุติสงครามเซอร์เบีย-บัลแกเรียระหว่างผู้ลงนามในสัญญา
1887 สนธิสัญญาเยอรมัน-รัสเซีย (ค.ศ. 1887)
Reinsurance Treaty
ระหว่าง : จักรวรรดิเยอรมันกับจักรวรรดิรัสเซีย
เนื้อหา : สนธิสัญญาลับที่ออทโท ฟอน บิสมาร์คยังคงพยายามดำรงความเป็นพันธมิตรกับรัสเซียแม้ว่าหลังจากที่สันนิบาติสามจักรพรรดิล่มสลายลงไปแล้ว
ปฏิญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ระหว่างญี่ปุ่นกับสยาม
Declaration of Amity and Commerce between Japan and Siam
ระหว่าง : จักรวรรดิญี่ปุ่นกับประเทศไทย
เนื้อหา : สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศไทย
1889 สนธิสัญญาเบอร์ลิน (ค.ศ. 1889)
Treaty of Berlin (1889)
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และจักรวรรดิเยอรมัน
เนื้อหา : ภาคีสัญญาตกลงก่อตั้ง ดินแดนภายใต้การปกครองร่วมกัน (Condominium) ในซามัว และรับรองอิสรภาพของซามัว
สนธิสัญญาวูคาเล
Treaty of Wuchale หรือ
Treaty of Ucciale หรือ
Trattato di Uccialli
ระหว่าง : เอธิโอเปียกับอิตาลี
เนื้อหา : เอธิโอเปียสูญเสียดินแดนบางส่วน เป็นการแลกเปลี่ยนกับเงินช่วยเหลือและอาวุธ
1890 สนธิสัญญาเฮลิโกแลนด์-แซนซิบาร์
Heligoland-Zanzibar Treaty หรือ
Anglo-German Agreement of 1890
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับจักรวรรดิเยอรมัน
เนื้อหา : ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาที่ส่วนใหญ่เกี่ยวกับผลประโยชน์ในแอฟริกา
1891 สนธิสัญญามาดริด (ค.ศ. 1891)
Treaty of Madrid (1891) หรือ
Madrid Agreement concerning the International Registration of Marks
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อช่วยการจดทะเบียนตราสินค้าในประเทศต่าง ๆ เป็นไปได้โดยสะดวกขึ้น ตัวอย่างของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ก็ได้แก่สิทธิของฝรั่งเศสในการใช้คำว่า แชมเปญ
1893 สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 112
Franco–Siamese Treaty of 1893
ระหว่าง : สาธารณรัฐฝรั่งเศสกับราชอาณาจักรสยาม
เนื้อหา : ว่าด้วยการถอนทหารของสยามออกจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
1895 สนธิสัญญากรุงเฮก (ค.ศ. 1895)
Treaty of Den Haag 1895
เนื้อหา : เพื่อพรมแดนเกาะนิวกินีของสหราชอาณาจักร
สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ
Treaty of Shimonoseki หรือ
Treaty of Maguan
ระหว่าง : จักรวรรดิญี่ปุ่นกับจีน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1
1896 ปฏิญญาอังกฤษ–ฝรั่งเศส พ.ศ. 2439
Anglo-French Declaration 1896 หรือ
Declaration between Great Britain and France with regard to the Kingdom of Siam and other matters
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับฝรั่งเศส
เนื้อหา : รัฐบาลอังกฤษกับรัฐบาลฝรั่งเศส สัญญาไว้ต่อกันว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะไม่ยกกำลังพร้อมอาวุธเข้าไปยังดินแดนเหล่านี้ คือ พื้นที่ที่เป็นลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงลำคลองย่อยทั้งหลายจากแม่น้ำเหล่านี้ และจะไม่หาประโยชน์จากที่ดินที่ยังไม่ได้รับเสมอเหมือนกัน
สนธิสัญญาอัสดิสอบาบา
Treaty of Addis Ababa
ระหว่าง : เอธิโอเปียกับอิตาลี
เนื้อหา : เพิกถอนสนธิสัญญาวูคาเล, ยุติสงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่ 1 และรับรองเอธิโอเปียว่าเป็นรัฐอิสระ
1897 อนุสัญญาลับอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2440
Anglo-Siamese Secret Convention of 1897
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับราชอาณาจักรสยาม
เนื้อหา : สยามยอมให้อังกฤษ มีสิทธิเหนือดินแดนภาคใต้ ตั้งแต่ตำบลบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ลงไปจดสุดแหลมมลายู
1898 สนธิสัญญาว่าด้วยมิตรภาพ การพาณิชย์ และการเดินเรือระหว่างญี่ปุ่นกับสยาม พ.ศ. 2440
Treaty of Friendship, Commerce and Navigation between Japan and Siam
ระหว่าง : จักรวรรดิญี่ปุ่นกับประเทศไทย
เนื้อหา : ข้อตกลงทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศไทย
สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1898)
Treaty of Paris (1898)
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับจักรวรรดิสเปน
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามสเปน-อเมริกา
อนุสัญญาว่าด้วยการต่อสัญญาการเช่าดินแดนฮ่องกง
Convention for the Extension of Hong Kong Territory หรือ
Second Convention of Peking
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับจีน
เนื้อหา : สหราชอาณาจักรเช่าดินแดนใหม่เป็นเวลา 99 ปี
1899 อนุสัญญาเฮก (ค.ศ. 1899 และ 1907)
Hague Conventions (1899 and 1907)
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : ข้อตกลงในการพยายามวางกฎเกณฑ์ว่าด้วยกฎหมายสงคราม (laws of war) และอาชญากรรมสงครามอย่างเป็นทางการ
อนุสัญญาไตรภาคี (ค.ศ. 1899)
Tripartite Convention (1899)
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และจักรวรรดิเยอรมัน
เนื้อหา : เพื่อการแบ่งซามัว ระหว่างสหรัฐอเมริกา และ เยอรมัน
สนธิสัญญาฉบับที่ 8
Treaty 8 (Lesser Slave Lake)
ระหว่าง : พระราชินีวิคตอเรียประมุขแห่งแคนาดา และกลุ่มปฐมชาติแห่งแคนาดา[15]

ค.ศ. 1900-ค.ศ. 1999

[แก้]
ปี ชื่อสนธิสัญญา ภาคีและเนื้อหา
1900 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1900)
Treaty of Paris (1900)
ระหว่าง : จักรวรรดิฝรั่งเศสกับจักรวรรดิฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อยุติข้อพิพาทในสิทธิริโอ มูนิ (อิเควทอเรียลกินี)
1901 Hay-Pauncefote Treaty
Hay-Pauncefote Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหราชอาณาจักร
เนื้อหา : เพื่อเพิกถอนสนธิสัญญาเคลย์ตัน-บุลเวอร์ ที่ทำในปี ค.ศ. 1850 เพื่อมอบสิทธิแก่สหรัฐในการสร้างและควบคุมคลองข้ามอเมริกากลางที่เชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกและแอตแลนติก
พิธีสารนักมวย
Boxer Protocol หรือ
Peace Agreement between the Great Powers and China
ชื่อทางการ: Austria-Hungary, Belgium, France, Germany, Great Britain, Italy, Japan, Netherland, Russia, Spain, United States and China —Final Protocol for the Settlement of the Disturbances of 1900
ภาษาไทย: ออสเตรีย-ฮังการี, เบลเยียม, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, สหราชอาณาจักร, อิตาลี, ญี่ปุ่น, เนเธอร์แลนด์, รัสเซีย, สเปน, สหรัฐอเมริกา และ จีน—พิธีสารฉบับสุดท้ายเพื่อการแก้ปัญหาเกี่ยวกับความไม่สงบของปี ค.ศ. 1900
ระหว่างจีนกับพันธมิตรแปดประเทศ
1902 พันธมิตรอังกฤษ-ญี่ปุ่น
Anglo-Japanese Alliance
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับจักรวรรดิญี่ปุ่น
เนื้อหา : เพื่อการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างคู่สัญญา; ต่ออายุในปี ค.ศ. 1905 และต่อมา ค.ศ. 1911; เพิกถอน ค.ศ. 1923
สนธิสัญญาเวอร์เรียนไนจิง
Treaty of Vereeniging
ระหว่าง : สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และ ฝ่ายเสรีรัฐออเรนจ์ และสหราชอาณาจักร
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามอังกฤษ-โบเออร์ครั้งที่ 2
1903 สนธิสัญญาคิวบา-อเมริกา
Cuban-American Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสาธารณรัฐคิวบา
เนื้อหา : คิวบาให้สหรัฐอเมริกาเช่าบริเวณอ่าวกวานทานาโม
สนธิสัญญาเฮย์-เฮอร์รัน
Hay-Herran Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับโคลอมเบีย
เนื้อหา : สหรัฐพยายามทำสัญญาเช่าปานามา เนื้อหาของสนธิสัญญาได้รับการอนุมัติในสหรัฐ แต่ไม่ได้รับการอนุมัติในโคลอมเบีย ซึ่งไม่สามารถใช้บังคับได้
สนธิสัญญาเฮย์-เฮอร์เบิร์ต
Hay-Herbert Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหราชอาณาจักร
เนื้อหา : เพื่อการแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างแอลาสกาและแคนาดาระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาเฮย์-บูเนา วาริลลา
Hay-Bunau Varilla Treaty หรือ
Treaty No Panamanian Signed
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งโซนคลองปานามา
สนธิสัญญาเพโทรโพลิส
Treaty of Petrópolis
ระหว่าง : โบลิเวียกับบราซิล
เนื้อหา : เพื่อลดความตรึงเครียดระหว่างคู่สัญญาในกรณีเอเคอร์
1904 ความตกลงฉันทไมตรี
entente cordiale
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับสาธารณรัฐฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อลดความขัดแย้งผลประโยชน์ต่างๆที่มีกันมาอย่างยาวนาน และต่างฝ่ายต่างยอมรับผลประโยชน์และการรักษาอำนาจซึ่งกันและกันของคู่สัญญา
สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122
Franco–Siamese Treaty of 1904
ระหว่าง : สาธารณรัฐฝรั่งเศสกับราชอาณาจักรสยาม
เนื้อหา : ว่าด้วยการยกอาณาเขตปกครองฝั่งตะวันออกของสยามที่เรียกว่า"ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง" (เมืองไชยบุรี ฝั่งตะวันตกของเมืองหลวงพระบาง เมืองจำปาศักดิ์ เมืองตระแบงมีชัย บางส่วนของเมืองสตึงแตรง) ไปให้เป็นของฝรั่งเศส; ได้ดินแดนคืนในปี พ.ศ. 2484 ถึง พ.ศ. 2489
1905 สนธิสัญญาพอร์ตสมัท
Treaty of Portsmouth
ระหว่าง : จักรวรรดิรัสเซียกับจักรวรรดิญี่ปุ่น
ว่าด้วยการยุติสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น
สนธิสัญญาโควิสโท
Treaty of Koivisto หรือ
Treaty of Björkö
ระหว่าง : จักรวรรดิเยอรมนีกับจักรวรรดิรัสเซีย
เนื้อหา : ข้อตกลงลับในการร่วมมือในการต่อต้านการรุกราน
แถลงการณ์เดือนตุลาคม
October Manifesto หรือ
The Manifesto on the Improvement of the State Order
เนื้อหา : คำแถลงการณ์โดยซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียในการตอบโต้ การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1905 ที่ระบุว่าจะพระราชทานเสรีภาพทางศาสนา, เสรีภาพในการออกความเห็น และอื่น ๆ แก่ประชาชน แต่เมื่อเหตุการณ์ผ่อนคลายความตึงเครียดลง พระองค์ก็ทรงหันไปปกครองโดยสิทธิ์ขาดตามเดิม
ความตกลงทาฟต์-คัตซุระ
Taft-Katsura Agreement หรือ
Taft-Katsura Memorandum
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับจักรวรรดิญี่ปุ่น
เนื้อหา : เพื่อทำความตกลงกันในเรื่อง "วงอิทธิพล" (Sphere of influence) ในเอเชียของแต่ละฝ่าย
สนธิสัญญาอึลซา
Eulsa Treaty
ระหว่าง : จักรวรรดิญี่ปุ่นกับจักรวรรดิเกาหลี
เนื้อหา : เริ่มการยึดครองเกาหลีโดยญี่ปุ่นเข้ายึดครองแล้วกำหนดให้เป็นอาณานิคมอารักขา ข้อตกลงที่เป็นผลมาจากสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น; ยกเลิก ค.ศ. 1965
สนธิสัญญาฉบับที่ 9
Treaty 9 หรือ
James Bay Treaty
ระหว่าง : พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ประมุขแห่งแคนาดาและกลุ่มปฐมชาติแห่งแคนาดา[16]
1906 อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สอง
Second Geneva Convention
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการดูแลรักษาทหารผู้บาดเจ็บ, เจ็บป่วย และ เรือแตกกลางทะเล
สนธิสัญญาหมายเลข 10
Treaty 10
ระหว่าง : พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ประมุขแห่งแคนาดาและกลุ่มปฐมชาติแห่งแคนาดา[17]
1907 สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 125
Franco–Siamese Treaty of 1907
ระหว่าง : สาธารณรัฐฝรั่งเศสกับราชอาณาจักรสยาม
เนื้อหา : สยามมอบดินแดนมณฑลบูรพา (พระตะบอง, เสียมราฐ, ศรีโสภณ) ไปให้เป็นของฝรั่งเศส; ได้ดินแดนคืนในปี พ.ศ. 2484 ถึง พ.ศ. 2489
1909 สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452
Anglo-Siamese Treaty of 1909 หรือ
Bangkok Treaty of 1909
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับราชอาณาจักรสยาม
เนื้อหา : สยามมอบดินแดนทั้งสี่รัฐมลายู (ดินแดนตอนเหนือของประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) ให้แก่อังกฤษอย่างเป็นทางการ; ได้ดินแดนคืนในปี พ.ศ. 2486 ถึง พ.ศ. 2489
1910 สนธิสัญญาญี่ปุ่น–เกาหลี ค.ศ. 1910
Japan-Korea Annexation Treaty
ระหว่าง : จักรวรรดิญี่ปุ่นกับจักรวรรดิเกาหลี
เนื้อหา : การตกลงการผนวกดินแดนโดยญี่ปุ่น ที่เป็นการยกเลิกการปกครองตนเองของเกาหลี หลังจากที่ก่อนหน้านี้ถูกกำหนดให้เป็นรัฐในอารักขาของญี่ปุ่น; เพิกถอนในปี ค.ศ. 1965
1911 อนุสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์และพิทักษ์แมวน้ำเฟอร์แห่งแปซิฟิคเหนือ (ค.ศ. 1911)
North Pacific Fur Seal Convention of 1911
คือสนธิสัญญาระหว่างประเทศในการตกลงควบคุมการล่าแมวน้ำเฟอร์เพื่อการค้าในหมู่เกาะพริบิลอฟในทะเลแบริง อนุสัญญาฉบับนี้เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับแรกที่มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมและอนุรักษ์สัตว์ป่า
1912 อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการผลิตและการขายฝิ่นนานาชาติ
International Opium Convention
ระหว่าง : ประเทศต่างที่รวมทั้งประเทศไทย
อนุสัญญาฉบับนี้เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับแรกที่มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมยาเสพติดนานาชาติโดยมีวัตถุประสงค์ให้ภาคีแต่ละชาติผู้ลงนามพยายามควบคุมผู้ผลิต, นำเข้า, ขาย และส่งมอร์ฟีนและโคเคนออก
1913 สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1913)
Treaty of London, 1913
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามบอลข่านครั้งที่ 1 ระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญาบูคาเรสต์ (ค.ศ. 1913)
Treaty of Bucharest, 1913
ระหว่าง : บัลแกเรีย, โรมาเนีย, เซอร์เบีย, มอนเตเนโกร และกรีซ
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ระหว่างผู้ลงนามในข้อ
สนธิสัญญามิตรภาพและพันธมิตรระหว่างทิเบตและมองโกเลีย (ค.ศ. 1913)
Treaty of friendship and alliance between the Government of Mongolia and Tibet
ระหว่าง : ทิเบต, มองโกเลีย
1914 สนธิสัญญาไบรอัน-ชาโมร์โร
Bryan-Chamorro Treaty
เนื้อหา : สหรัฐอเมริกาได้รับสิทธิในคลองที่ขุดในนิการากัว, สิทธิในการสร้างฐานรัฐนาวีในอ่าวฟอนเซคา และสิทธิในการเช่าหมู่เกาะคอร์นเล็กและใหญ่ในคาริบเบียน
1915 กติกาสัญญาลอนดอน
London Pact
ระหว่าง : สหราชอาณาจักร จักรวรรดิรัสเซีย และฝรั่งเศส กับอิตาลี
เนื้อหา : อิตาลีเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1
1916 ความตกลงไซค์ส-พิคอท
Sykes-Picot Agreement
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อกำหนดวงอิทธิพบในตะวันออกกลาง
สนธิสัญญาบูคาเรสต์ (ค.ศ. 1916)
Treaty of Bucharest, 1916
ระหว่าง : โรมาเนียกับพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรกับฝ่ายพันธมิตร
1917 ความตกลงแลนซิง-อิชิอิ
Lansing-Ishii Agreement
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น
เนื้อหา : เนื้อหา : เพื่อตกลงทางการค้า
ปฏิญญาคอร์ฟู
Corfu Declaration
เนื้อหา : เพื่อแสดงความตั้งใจในการก่อตั้งราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
1918 สนธิสัญญาสงบศึกมูโดรส
Armistice of Mudros
ระหว่าง : จักรวรรดิออตโตมันกับพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เนื้อหา : ออตโตมันเสียดินแดนส่วนใหญ่ของจักรวรรดิ
สนธิสัญญาบาตัม
Treaty of Batum
ระหว่าง : สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาร์มีเนียกับจักรวรรดิออตโตมัน
สนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์
Treaty of Brest-Litovsk
เนื้อหา : รัสเซียถอนตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 1
สนธิสัญญาบูคาเรสต์ (ค.ศ. 1918)
Treaty of Bucharest, 1918
ระหว่าง : : โรมาเนีย และฝ่ายมหาอำนาจกลาง; ไม่ได้รับอนุมัติ
1919 สนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง
Treaty of Saint-Germain
เนื้อหา : ยุบจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
สนธิสัญญาแวร์ซาย
Treaty of Versailles
เนื้อหา : ยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างเป็นทางการ
สนธิสัญญาเนอยี-ซูร์-แซน
Treaty of Neuilly-sur-Seine
เนื้อหา : บัลแกเรียกับฝ่ายสัมพันธมิตร
ความตกลงไฟซาล-ไวซ์มันน์
Faisal–Weizmann Agreement
เนื้อหา : ข้อตกลงเพื่อความร่วมมือระหว่างอาหรับ-ยิวในตะวันออกกลาง
สนธิสัญญาราวัลปินดี
Treaty of Rawalpindi
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับอัฟกานิสถาน
เนื้อหา : สนธิสัญญาที่ทำกันระหว่างสงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งที่ 3; สหราชอาณาจักรรับรองอิสรภาพและให้เอกราชแก่อัฟกานิสถาน; แก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. 1921
1920 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1920)
Treaty of Paris (1920)
ระหว่าง : : ฝ่ายมหาอำนาจ (ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, อิตาลี และญี่ปุ่น) กับโรมาเนีย
เนื้อหา : เพื่อรับรองเอกราชของโรมาเนียเหนือเบสซาราเบีย
สนธิสัญญาบรโน (ค.ศ. 1920)
Treaty of Brno (1920)
ระหว่าง : ออสเตรียกับเชโกสโลวาเกีย
เนื้อหา : คู่สัญญาตกลงให้สัญชาติแก่ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานและพูดภาษาในเขตแดนของตนเองทั้งหมด ยกเว้นชาวยิว
สนธิสัญญาราพาลโล (ค.ศ. 1920)
Treaty of Rapallo, 1920
ระหว่าง : อิตาลี และราชอาณาจักรเซอร์เบีย, โครเอเชีย และสโลวีเนีย (ต่อมาเป็นราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย)
เนื้อหา : เพื่อการแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องพรมแดนในบริเวณภูมิภาคชายแดนจูเลียนระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญามอสโก (ค.ศ. 1920)
Treaty of Moscow (1920)
ระหว่าง : รัสเซียกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยจอร์เจีย
เนื้อหา : รัสเซียรับรองฐานะของจอร์เจียเป็นการแลกเปลี่ยนกับการไม่ยอมรับผู้ลี้ภัยที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบอลเชวิค
สนธิสัญญาทาร์ทู (รัสเซีย-ฟินแลนด์)
Treaty of Tartu (Russian–Finnish)
ระหว่าง : รัสเซียกับฟินแลนด์
เนื้อหา : เพื่อกำหนดเขตแดนระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาทาร์ทู (รัสเซีย-เอสโทเนีย)
Treaty of Tartu (Russian–Estonian)
ระหว่าง : รัสเซียกับเอสโทเนีย
เนื้อหา : เพื่อกำหนดเขตแดนระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาทรียานง
Treaty of Trianon
ระหว่าง : พันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับฮังการี
เนื้อหา : เพื่อกำหนดพรมแดนฮังการีซึ่งเป็นประเทศที่ก่อตั้งขึ้นใหม่
สนธิสัญญาแซฟวร์
Treaty of Sèvres
ระหว่าง : พันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับจักรวรรดิออตโตมัน
เนื้อหา : ฝ่ายพันธมิตรตกลงแบ่งแยกจักรวรรดิตามความตกลงลับ
สนธิสัญญาสันติภาพลัตเวีย-โซเวียต
Latvian–Soviet Peace Treaty หรือ
Latvian-Soviet Riga Peace Treaty
ระหว่าง : รัสเซียกับสาธารณรัฐลัตเวีย
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามประกาศเอกราชลัตเวียและรักษาสันติภาพระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญาอเล็กซานโดรโพล
Treaty of Alexandropol
ระหว่าง : ตุรกีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาร์มีเนีย
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามตุรกี-อาร์มีเนียระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
สนธิสัญญาสพิทสแบร์เกิน
Spitsbergen Treaty หรือ
Treaty concerning Spitsbergen
เนื้อหา : เพื่อรับรองสิทธิของนอร์เวย์ในกลุ่มเการสพิทสแบร์เกิน (ปัจจุบัน สฟาลบาร์)
สนธิสัญญาไทย-สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2463
Treaty and Protocol (1920)
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับประเทศไทย
เนื้อหา : เพื่อรับรองเอกราชทางการศาลและภาษีศุลกากรของไทย และยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและเนื้อหาของสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ไทยได้ทำกับประเทศอื่นและได้รับผลกระทบ
1921 สนธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารระหว่างฝรั่งเศส-โปแลนด์
Franco-Polish Military Alliance
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับโปแลนด์
เนื้อหา : เพื่อการร่วมมือกันทางการทหารระหว่างคู่สัญญาระหว่าง ค.ศ. 1921 และ ค.ศ. 1940
สนธิสัญญาอังกฤษ-ไอร์แลนด์
Anglo-Irish Treaty หรือ
Articles of Agreement for a Treaty Between Great Britain and Ireland
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับไอร์แลนด์
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามอังกฤษ-ไอร์แลนด์และก่อตั้งเสรีรัฐไอร์แลนด์
สนธิสัญญาสันติภาพริกา
Peace of Riga หรือ
Treaty of Riga
ระหว่าง : รัสเซียบอลเชวิคกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามรัสเซียน-บอลเชวิค
สนธิสัญญาทอมสัน-ยูร์รูเชีย
Thomson-Urrutia Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับโคลอมเบีย
เนื้อหา : โคลอมเบียรับรองอิสรภาพของอิสรภาพของปานามาเป็นการแลกเปลี่ยนกับเงิน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สนธิสัญญาเบอร์ลิน (ค.ศ. 1921)
Treaty of Berlin, 1921
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับเยอรมนี
เนื้อหา : ข้อตกลงสันติภาพระหว่างคู่สัญญาที่กระทำสงครามโลกครั้งที่ 1
สนธิสัญญาคาร์ส
Treaty of Kars
ระหว่าง : ขบวนการแห่งชาติตุรกี กับฝ่ายสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย, สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย
เนื้อหา : เพื่อการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างภาคีสัญญา
สนธิสัญญาอังการา (ค.ศ. 1921)
Treaty of Ankara (1921) หรือ
Accord of Ankara หรือ
Franklin-Bouillon Agreement หรือ
Franco-Turkish Agreement of Ankara
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับขบวนการแห่งชาติตุรกี
เนื้อหา : ฝรั่งเศสตกลงอพยพออกจากซิลิเซียเป็นการแลกเปลี่ยนกับการลดหย่อนทางเศรษฐกิจโดยตุรกี; ตุรกีรับรองอธิปไตยของฝรั่งเศสต่อซีเรีย
สนธิสัญญามิตรภาพรัสเซีย-เปอร์เซีย (ค.ศ. 1921)
Russo-Persian Treaty of Friendship (1921)
ระหว่าง : อิหร่านกับสหภาพโซเวียต
เนื้อหา : เพื่อมอบสิทธิการเดินเรือในทะเลแคสเปียนอย่างเต็มที่และอย่างเท่าเทียมกันแก่คู่สัญญา
สนธิสัญญามอสโก (ค.ศ. 1921)
Treaty of Moscow (1921)
ระหว่าง : รัฐบาลบอลเชวิคของรัสเซียบอลเชวิคกับสภาแห่งชาติแห่งตุรกี
เนื้อหา : เพื่อการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาหมายเลข 11
Treaty 11 (Northwest Territories)
ระหว่าง : พระเจ้าจอร์จที่ 5 ประมุขแห่งแคนาดาและกลุ่มปฐมชาติแห่งแคนาดา[18]
1922 สนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน
Washington Naval Treaty หรือ
Five-Power Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, จักรวรรดิญี่ปุ่น, สาธารณรัฐฝรั่งเศส และราชอาณาจักรอิตาลี
เนื้อหา : เพื่อพยายามจำกัดการขยายตัวทางนาวี
สนธิสัญญาราพาลโล (ค.ศ. 1922)
Treaty of Rapallo, 1922
ระหว่าง : สาธารณรัฐไวมาร์กับรัสเซียบอลเชวิค
เนื้อหา : คู่สัญญาแต่ละฝ่ายตกลงยุติการอ้างสิทธิในดินแดนและข้อเรียกร้องทางการเงินต่อกันและกัน
1923 สนธิสัญญาโลซาน
Treaty of Lausanne
เนื้อหา : เพื่อกำหนดเขตแดนของตุรกีปัจจุบันโดยการเพิกถอนสนธิสัญญาแซฟวร์
สนธิสัญญาฮาลิบัท
Halibut Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับแคนาดา
เนื้อหา : เพื่อทำความตกลงเกี่ยวกับสิทธิการประมงทางตอนเหนือของมหาสมุ่ทรแปซิฟิก
1924 สนธิสัญญาโรม (ค.ศ. 1924)
Treaty of Rome, 1924
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพิกถอนบางส่วนของสนธิสัญญาราพาลโล (ค.ศ. 1920)ที่ก่อตั้งเสรีรัฐฟิอูเม; ฟิอูเมถูกผนวกโดยอิตาลี ขณะที่ Sušak ตกไปเป็นของยูโกสลาเวีย
1925 สนธิสัญญาโลคาร์โน
Locarno Treaties
ระหว่าง : : พันธมิตรยุโรปตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และ รัฐใหม่ในยุโรปตะวันออก
เนื้อหา : เพื่อตกลงเรื่องพรมแดน
1926 สนธิสัญญาเบอร์ลิน (ค.ศ. 1926)
Treaty of Berlin, 1926
ระหว่าง : เยอรมนีกับสหภาพโซเวียต
เนื้อหา : คู่สัญญาต่างก็ตกลงให้คำปฏิญาณในการดำรงความเป็นกลางในกรณีที่ถูกรุกรานโดยประเทศที่สามเป็นเวลาห้าปี
1927 สนธิสัญญาเจดดา
Treaty of Jedda
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งซาอุดีอาระเบียเป็นรัฐอธิปไตยจากการเป็นรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักร
1928 สนธิสัญญาเคลลอก-บริอองด์
Kellogg-Briand Pact หรือ
Pact of Paris
ประเภท: สนธิสัญญาพหุภาคี
เนื้อหา : เพื่อประณามการใช้สงครามในการเป็น "เครื่องมือของนโยบายแห่งชาติ"[19] ที่เดิมเป็นข้อตกลงระหว่างสหรัฐและฝรั่งเศส
สนธิสัญญาอิตาลี-เอธิโอเปีย (ค.ศ. 1928)
Italo–Ethiopian Treaty of 1928
ระหว่าง : ราชอาณาจักรอิตาลีกับจักรวรรดิเอธิโอเปีย
เนื้อหา : เพื่อตกลงเป็นพันธมิตรกันระหว่างคู่สัญญาเป็นเวลา 20 ปี
1929 สนธิสัญญาแลเตอรัน
Lateran Treaty
ระหว่าง : ราชอาณาจักรอิตาลีกับนครรัฐวาติกัน
เนื้อหา : คู่สัญญารับรองอธิปไตยของกันและกัน
อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 3
Third Geneva Convention หรือ
GCIII
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับดูแลนักโทษสงคราม
1930 สนธิสัญญาว่าด้วยการจำกัดและการลดอาวุธทางรัฐนาวี
London Naval Treaty หรือ
Treaty for the Limitation and Reduction of Naval Armament
ระหว่าง : สหราชอาณาจักร จักรวรรดิญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อิตาลี และสหรัฐอเมริกา
เนื้อหา : เพื่อเป็นการวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการรบด้วยเรือดำน้ำ และการจำกัดจำนวนการต่อเรือรบ
สนธิสัญญาอังกฤษ-อิรัก (ค.ศ. 1930)
Anglo-Iraqi Treaty (1930)
ระหว่าง : สหราชอาณาจักร กับอิรัก
เนื้อหา : สหราชอาณาจักร ประนีประนอมในการปกครองอาณานิคมอารักขาอิรัก ก่อนจะรับรองและให้เอกราชและอิสรภาพแก่อิรัก ในปี ค.ศ. 1932
1931 สนธิสัญญาเวสต์มินสเตอร์ (ค.ศ. 1931)
Treaty of Westminster (1931) หรือ
Statute of Westminster 1931
ประเภท: พระราชบัญญัติของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งเครือจักรภพแห่งชาติแห่งจักรวรรดิอังกฤษ
1932 กติกาสัญญาว่าด้วยการไม่รุกรานกันระหว่างโซเวียต-โปแลนด์
Soviet-Polish Non-Aggression Pact
ระหว่าง : สหภาพโซเวียตกับสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง
เนื้อหา : คู่สัญญาตั้งปฏิญญาในการไม่รุกรานกัน
1934 กติกาสัญญาว่าด้วยการไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมัน-โปแลนด์
German-Polish Non-Aggression Pact
ระหว่าง : นาซีเยอรมนีกับสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง
เนื้อหา : คู่สัญญาตั้งปฏิญญาในการพยายามแก้ข้อพิพาทโดยการเจรจาต่อรอง
กติกาสัญญาบอลข่าน
Balkan Pact
ระหว่าง : กรีซ, ตุรกี และยูโกสลาเวีย
เนื้อหา : เพื่อการตกลงในการยุติการพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างภาคีสัญญา
1935 กติกาสัญญาไม่รุกรานซึ่งกันและกันระหว่างฝรั่งเศสและโซเวียต
Soviet-French Non-Aggression Pact
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับสหภาพโซเวียต
เนื้อหา : ข้อตกลงที่มีจุดประสงค์เพื่อการหยุดยั้งการก้าวร้าวของเยอรมนี
สนธิสัญญาเพื่อการก่อตั้งการค้าและการเดินเรือ
Treaty of Establishment, Commerce and Navigation หรือ
Treaty of Establishment, Commerce and Navigation with Full Protocols and Annex
ระหว่าง : อิหร่านกับสหภาพโซเวียต
เนื้อหา : เพื่อยืนยันข้อตกลงในสนธิสัญญามิตรภาพรัสเซีย-เปอร์เซีย
1936 สนธิสัญญาอังกฤษ-อียิปต์ (ค.ศ. 1936)
Anglo-Egyptian Treaty of 1936
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับอียิปต์
เนื้อหา : อังกฤษถอนทหารจากอียิปต์นอกจากที่จำเป็นในการรักษาคลองสุเอซและบริเวณแวดล้อม
สนธิสัญญาอิสรภาพฝรั่งเศส-ซีเรีย (ค.ศ. 1936)
Franco-Syrian Treaty of Independence (1936)
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับซีเรีย
เนื้อหา : ฝรั่งเศสรับรองอิสรภาพของซีเรีย
อนุสัญญามองโทรซ์
Montreux Convention
ชื่อทางการ: Montreux Convention Regarding the Regime of the Turkish Straits
ภาษาไทย: อนุสัญญามองโทรซ์ว่าด้วยระบบควบคุมช่องแคบตุรกี
เนื้อหา : เพื่อรับรองสิทธิในการควบคุมช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดะเนลส์ของตุรกี
1937 อนุสัญญานานาชาติว่าด้วยกฎการล่าวาฬ
International Convention for the Regulation of Whaling
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : อนุสัญญาว่าด้วยการจำกัดวิธี และ กระบวนการในการการล่าวาฬที่ลงนามกันในปี ค.ศ.1938 และอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ.1945
สนธิสัญญาซาดาบัด
Treaty of Saadabad หรือ
Saadabad Pact
ระหว่าง : ตุรกี อิหร่าน อิรัก และอัฟกานิสถาน
เนื้อหา : กติกาสัญญาในการไม่รุกรานซึ่งกันและกัน
1938 ความตกลงมิวนิก
Munich Agreement
เนื้อหา : ผู้ลงนามตกลงยกซูเทนแลนด์แก่เยอรมนี
1939 สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ
Molotov-Ribbentrop Pact หรือ
Hitler-Stalin Pact หรือ
German-Soviet Nonaggression Pact หรือ
Nazi-Soviet Pact
ชื่อทางการ: Treaty of Nonaggression between Germany and the Union of Soviet Socialist Republics
ภาษาไทย: สนธิสัญญาว่าด้วยการไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนีและสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
1940 สนธิสัญญาสันติภาพมอสโก
Moscow Peace Treaty (1940)
ระหว่าง : ฟินแลนด์กับสหภาพโซเวียต
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามฤดูหนาว; ฟินแลนด์เสียดินแดนแก่โซเวียตเป็นการแลกเปลี่ยนกับการดำรงตัวเป็นอิสระ
สนธิสัญญาว่าด้วยการค้าและการเดินเรือ
Treaty of Commerce and Navigation
ระหว่าง : อิหร่านกับสหภาพโซเวียต
เนื้อหา : เพื่อรับรองข้อตกลงในสนธิสัญญาเพื่อการก่อตั้งการค้าและการเดินเรือ ของ ค.ศ. 1935
สนธิสัญญาไทย–ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2483)
Treaty between Thailand and Japan (1940)
ระหว่าง : ไทยกับจักรวรรดิญี่ปุ่น
เนื้อหา : ไทยและญี่ปุ่นยังเป็นสัมพันธมิตรสนิทเสน่หา และจะเคารพบูรณภาพในดินแดนของกันและกัน
สนธิสัญญาไครโอวา
Treaty of Craiova
ระหว่าง : ราชอาณาจักรโรมาเนียกับราชอาณาจักรบัลแกเรีย
เนื้อหา : โรมาเนียคืนดินแดนแก่บัลแกเรีย และตกลงการแลกเปลี่ยนประชากร
1941 อนุสัญญาโตเกียว
Tokyu Convention
ระหว่าง : ไทยกับวิชีฝรั่งเศส
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามฝรั่งเศส-ไทย; ไทยได้ดินแดนพิพาทมาอยู่ในปกครอง
1942 สนธิสัญญาอังกฤษ-โซเวียต (ค.ศ. 1942)
Anglo-Soviet Treaty of 1942
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับสหภาพโซเวียต
เนื้อหา : เพื่อการสร้างสัมพันธไมตรีทางทหารและทางการเมืองระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองเป็นเวลายี่สิบปี
1944 กติกาเบรททัน วูดส์
Bretton Woods system หรือ
Bretton Woods Agreement
ระหว่าง : : ประเทศผู้นำทางอุตสาหกรรม
เนื้อหา : เพื่อพยายามหาวิธีวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับระบบการเงินการแลกเปลี่ยนเงินระหว่างรัฐ เพื่อเตรียมตัวในการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจสากลหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[20]
สนธิสัญญาวิส
Treaty of Vis หรือ
Tito-Šubašić Agreement
ระหว่าง : : ประเทศตะวันตก
เนื้อหา : เพื่อรวมรัฐบาลลี้ภัยของราชอาณาจักรยูโกสลาเวียกับฝ่ายขบวนการเสรียูโกสลาเวียผู้ได้รับการหนุนหลังจากคอมมิวนิสต์
อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
Convention on International Civil Aviation หรือ
Chicago Convention
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
พิธีสารลอนดอน
London Protocol
เนื้อหา : เพื่อแบ่งเยอรมนีออกเป็นเขตยึดครองสามส่วนระหว่าง พันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง
1945 สนธิสัญญาวาร์คิซา
Treaty of Varkiza หรือ
Varkiza Pact หรือ
Varkiza Peace Agreement
ระหว่าง : : รัฐมนตรีต่างประเทศของกรีซ และ ผู้แทนของพรรคคอมมิวนิสต์กรีซ
เนื้อหา : เพื่อการพยายามยุติสงครามกลางเมืองกรีซอย่างเป็นทางการ; สนธิสัญญาเสนอให้มีจัดการลงประชามติในการหาวิธีทำความตกลงเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญภายในหนึ่งปี
กฎบัตรสหประชาชาติ
UN Charter
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อวางวัตถุประสงค์และหลักการ ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานและบริหารงานต่าง ๆ ขององค์การสหประชาชาติ ที่ถือเป็นกฎหมายระหว่างประเทศและตราสารในการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ
ความตกลงวานฟรีด
Wanfried agreement
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับเขตเยอรมนีที่ยึดครองโดยพันธมิตรรัสเซีย
เนื้อหา : ย้ายหมู่บ้านสามหมู่บ้านในเฮสส์ไปอยู่ในความควบคุมสหภาพโซเวียต และหมู่บ้านสองหมู่บ้านของไอค์สเฟลด์มาอยู่ในความควบคุมของสหรัฐ
1946 ความตกลงสมบูรณ์แบบ
Formal Agreement for The Termination of The State of War Between Siam and Allies ("United Nations")
ระหว่าง : ประเทศสมาชิกกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร (ประกอบไปด้วย สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐจีน) กับประเทศไทย
เนื้อหา : ความตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์และภารกิจระหว่างประเทศสมาชิกกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรกับประเทศไทย วัตถุประสงค์หลักคือเพื่อพิจารณากำหนดให้คู่สัญญาทั้งสองที่เคยทำสงครามกันในสงครามโลกครั้งที่สองนั้นเป็นอันยุติและสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ
สนธิสัญญาทางไมตรีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณัฐจีน
Treaty of Amity between the Kingdom of Siam and the Republic of China
ระหว่าง : สาธารณรัฐจีนกับประเทศไทย
เนื้อหา : สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนกับประเทศไทย
สนธิสัญญาสันติภาพออสเตรเลีย–ไทย
Australian–Thai Peace Treaty
ระหว่าง : ออสเตรเลียกับประเทศไทย
เนื้อหา : ยุติสถานะสงครามระหว่างไทยกับออสเตรเลีย
สนธิสัญญาระงับกรณีฝรั่งเศส–ไทย พ.ศ. 2489
Franco–Thai Settlement Treaty of 1946
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับประเทศไทย
เนื้อหา : ยุติสถานะสงครามระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
ความตกลงเบอร์มิวดา
Bermuda Agreement
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหราชอาณาจักร
เนื้อหา : ความตกลงว่าด้วยการบริการการบินพลเรือนระหว่างคู่สัญญา
ความตกลงกรูเบอร์-เดอ กาส์แปรี
Gruber-De Gasperi Agreement
ระหว่าง : ออสเตรียกับอิตาลี
เนื้อหา : เพื่อให้จังหวัดโบลซาโน-โบเซน และเตรนโตยังคงอยู่ในอิตาลี แต่มีฐานะเป็นแคว้นปกครองตนเอง
อนุสัญญานานาชาติว่าด้วยกฎการล่าวาฬ
International Convention for the Regulation of Whaling
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อวางกฎเกณฑ์ว่าด้วยการล่าวาฬที่ ที่รวมทั้งการควบคุมวิธีการล่าทางการค้า, ทางการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ และ ทางการล่าเพื่อใช้ในการดำรงชีพโดยชนพื้นเมืองในประเทศสมาชิกห้าสิบเก้าประเทศ; ลงนาม ค.ศ.1938 และ ค.ศ.1945
พิธีสารเลคซัคเซส (ค.ศ. 1946)
1946 Lake Success Protocol หรือ
'
ชื่อทางการ: Protocol Amending the Agreements, Conventions and Protocols on Narcotic Drugs concluded at The Hague on 23 January 1912, at Geneva on 11 February 1925 and 19 February 1925, and 13 July 1931, at Bangkok on 27 November 1931 and at Geneva on 26 June 1936
ภาษาไทย: พิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมความตกลง อนุสัญญา และพิธีสารว่าด้วยยาเสพติดซึ่งทำขึ้น ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 23 มกราคม 1912 ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1925 และวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1925 และวันที่ 13 กรกฎาคม 1931 ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 1931 และ ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 26 กรกฎษคม 1936
เนื้อหา : เพื่อย้ายความรับผิดชอบจากสันนิบาตชาติไปยังสหประชาชาติ
สนธิสัญญามะนิลา (ค.ศ. 1946)
Treaty of Manila (1946) หรือ
Treaty of General Relations Between The United States Of America And The Republic Of The Philippines[21]
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับประเทศฟิลิปปินส์
เนื้อหา : เพื่อรับรองอิสรภาพและให้เอกราชแก่สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1946)
Treaty of London (1946)
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับทรานสจอร์แดน
เนื้อหา : สหราชอาณาจักรรับรองอิสรภาพของอาณาจักรอีเมียร์ทรานสจอร์แดน
1947 ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า
General Agreement on Tariffs and Trade หรือ
GATT
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อวางกฎเกณฑ์ทางการค้าสากล ที่ดำเนินมาจนถึง ค.ศ. 1995 เมื่อมาแทนด้วยองค์การการค้าโลก
สนธิสัญญาสันติภาพปารีส (ค.ศ. 1947)
Paris Peace Treaties, 1947
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ
สนธิสัญญาให้ความช่วยเหลือกันระหว่างรัฐในทวีปอเมริกา[22]
Inter-American Treaty of Reciprocal Assistance หรือ
Rio Treaty หรือ
Rio Pact
ประเภท: ข้อตกลงระดับภูมิภาคในประเทศภาคพื้นอเมริกา
เนื้อหา : เพื่อทำความตกลงในหลักการ (doctrine) การป้องกันร่วมกันที่เรียกว่า "การป้องกันระดับภูมิภาค" (hemispheric defense)
1949 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ
North Atlantic Treaty หรือ
Treaty of Washington
ประเภท: ข้อตกลงระดับภูมิภาคในประเทศภาคพื้นยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกา
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ
อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 4
Fourth Geneva Convention หรือ
GCIV
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับพิทักษ์พลเรือนในระหว่างยามสงคราม
สนธิสัญญากรุงเฮก (ค.ศ. 1949)
Treaty of Den Haag (1949)
ระหว่าง : เนเธอร์แลนด์กับอินโดนีเซีย
เนื้อหา : เนเธอร์แลนด์มอบอิสรภาพและให้เอกราชแก่อินโดนีเซียยกเว้นหมู่เกาะโมลุกกะและนิวกินีตะวันตก
สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1949)
Treaty of London, 1949
ประเภท: ข้อตกลงระดับภูมิภาคในประเทศภาคพื้นยุโรปตะวันตก
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งสภาแห่งยุโรป (Council of Europe)
1950 กติกาสัญญาลิอาควัต-เนห์รู
Liaquat-Nehru Pact
ระหว่าง : ปากีสถานกับอินเดีย
เนื้อหา : ลงนามโดยนายกรัฐมนตรีปากีสถานลิอาควัต อาลี ข่าน และนายกรัฐมนตรีอินเดียชวาหระลาล เนห์รู เพื่อพยายามบรรเทาสถานการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อชนกลุ่มน้อยต่างศาสนาในประเทศคู่สัญญา, เพื่อเพิ่มความสันติในประชาคม และ เพื่อการสร้างบรรยากาศที่เหมาะแก่การแก้ปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาซกอร์เซอเล็ค
Treaty of Zgorzelec
ชื่อทางการ: Treaty between the Republic of Poland and the German Democratic Republic concerning the demarcation of the established and existing Polish-German state border
ภาษาไทย: สนธิสัญญาระหว่างสาธารณรัฐโปแลนด์ และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีว่าด้วยการกำหนดเขตแดนโปแลนด์-เยอรมัน
1951 สนธิสัญญาเพื่อการป้องกันทางทหารร่วมกันระหว่างฟิลิปปินส์และสหรัฐอเมริกา
Mutual Defense Treaty between the Republic of the Philippines and the United States of America
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับฟิลิปปินส์
เนื้อหา : เพื่อการร่วมมือกันในการป้องกันทางทหารร่วมกันระหว่างคู่สัญญา
อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและการลงโทษอาชญากรรมพันธุฆาต
Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อระบุนิยามของคำว่าพันธุฆาตและ กำหนดว่าเป็นอาชญากรรมที่ผิดกฎหมาย
สนธิสัญญาสันติภาพซานฟรานซิสโก
Treaty of San Francisco หรือ
San Francisco Peace Treaty หรือ
Treaty of Peace with Japan
ระหว่าง : พันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 กับญี่ปุ่น
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ
สนธิสัญญาความมั่นคงระหว่างสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
Security Treaty Between the United States and Japan
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น
เนื้อหา : เพื่อการร่วมมือกันในการป้องกันทางทหารร่วมกันระหว่างคู่สัญญา
ความตกลงเพื่อการช่วยเหลือกันและกันทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
U.S. and Japan Mutual Defense Assistance Agreement
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น
เนื้อหา : ข้อตกลงที่มอบสิทธิให้แก่สหรัฐอเมริกาในการตั้งฐานทัพในประเทศญี่ปุ่น ขณะที่สนับสนุนให้ญี่ปุ่นเริ่มขยายตัวทางการทหารเพื่อป้องกันตนเอง
1952 สนธิสัญญาแอนซัส
ANZUS Treaty หรือ
Australia, New Zealand, United States Security Treaty
ระหว่าง : ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา
เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรระหว่างภาคีสัญญา
สนธิสัญญาไทเป
Treaty of Taipei หรือ
Sino-Japanese Peace Treaty
ระหว่าง : สาธารณรัฐจีนกับญี่ปุ่น
เนื้อหา : สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาปลดแอกเยอรมนี
Generalvertrag Treaty หรือ
Deutschlandvertrag
สนธิสัญญาระหว่าง สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันกับพันธมิตรตะวันตก (ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา) เนื้อหา : เพื่อยุติการเป็นเขตยึดครองของพันธมิตรตะวันตก และเปลี่ยนฐานะเป็นรัฐอธิปไตยภายใต้ข้อแม้บางประการ
1954 องค์การสนธิสัญญากลาง
Central Treaty Organization หรือ
CENTO หรือ
Middle East Treaty Organization หรือ
METO' หรือ
Baghdad Pact
ระหว่าง : : กลุ่มประเทศพันธมิตรในตะวันออกกลางและสหราชอาณาจักร
เนื้อหา : ก่อตั้งพันธมิตรในภูมิภาค; ยุบเลิก ค.ศ. 1979
สนธิสัญญาเพื่อการป้องกันร่วมกันของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Southeast Asia Collective Defense Treaty หรือ
Manila Pact
ประเภท: ข้อตกลงระดับภูมิภาคระหว่างกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, (SEATO); เพื่อการเป็นพันธมิตรทางการทหารระหว่าง ออสเตรเลีย, ฝรั่งเศส, นิวซีแลนด์, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, เกาหลีใต้, เวียดนามใต้, ประเทศไทย, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
1955 การประชุมเอเชีย-แอฟริกา
Asian-African Conference หรือ
Bandung Conference
ประเภท: การประชุมระดับภูมิภาคระหว่างกลุ่มประเทศในเอเชียและแอฟริกา
เนื้อหา : เพื่อการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม และการต่อต้านอิทธิพลของลัทธิอาณานิคมนิยม หรือ ลัทธิอาณานิคมนิยมใหม่โดยสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต หรือชาติ "จักรวรรดินิยม" อื่น
สนธิสัญญารัฐออสเตรีย
Austrian State Treaty หรือ
Austrian Independence Treaty
ระหว่าง : พันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง (ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต) ยุติการยึดครองออสเตรีย และก่อตั้งเป็นรัฐอิสระ, รัฐอธิปไตย และ รัฐประชาธิปไตย
ความตกลงไซมอนทาวน์
Simonstown Agreement
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับสหภาพแอฟริกาใต้
เนื้อหา : ราชนาวีแห่งสหราชอาณาจักรคืนฐานทัพทางเรือที่ไซมอนทาวน์แก่รัฐบาลของสหภาพแอฟริกาใต้
สนธิสัญญาวอร์ซอ
Warsaw Pact หรือ
Warsaw Treaty หรือ
Treaty of Friendship, Co-operation and Mutual Assistance
ประเภท: ข้อตกลงระดับภูมิภาคของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก
เนื้อหา : เพื่อการเป็นพันธมิตรทางการทหารระหว่างกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกภาคีสัญญา
1956 แถลงการณ์ร่วมระหว่างโซเวียต-ญี่ปุ่น (ค.ศ. 1956)
Soviet-Japanese Joint Declaration of 1956
ระหว่าง : สหภาพโซเวียตกับญี่ปุ่น
เนื้อหา : เพื่อฟื้นฟูสัมพันธไมตรีทางการทูตระหว่างคู่สัญญาขึ้นใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
1957 ความตกลงเพื่อการป้องกันทางทหารระหว่างอังกฤษ และมาลายู
Anglo-Malayan Defence Agreement หรือ
Anglo-Malaysian Defence Agreement
เนื้อหา : เพื่อป้องกันความมั่นคงของสหพันธรัฐมาลายูที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นเป็นรัฐอธิปไตยใหม่
สนธิสัญญาโรม
Treaties of Rome
ประเภท: ข้อตกลงระดับภูมิภาค
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
สนธิสัญญาพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
International Atomic Energy Treaty
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
1958 ความตกลงร่วมกันทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
1958 US-UK Mutual Defence Agreement
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหราชอาณาจักร
เนื้อหา : เพื่อตกลงร่วมมือในการออกแบบ และพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง
Convention on the Territorial Sea and Contiguous Zone
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อวางกฎเกณฑ์ทางกฎหมายสากลเกี่ยวกับเขตทางทะเลประเภทต่าง ๆ เพื่อการบริหารทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและควบคุมมลพิษ
1959 ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติกา
Antarctic Treaty System หรือ
ATS
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อจำกัดทวีปแอนตาร์กติกาไว้เป็นบริเวณสำหรับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเสรีภาพในการศึกษา และห้ามการใช้สำหรับกิจการทหาร
1960 สนธิสัญญาเพื่อความร่วมมือร่วมกันและความมั่นคงระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
Treaty of Mutual Cooperation and Security between the United States and Japan หรือ
Treaty of Mutual Cooperation and Security
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น
เนื้อหา : เพื่อเพิ่มความแน่นหนาของความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญาในช่วงระหว่างสงครามเย็น
สนธิสัญญาเครือลำน้ำสินธุ
Indus Waters Treaty
ระหว่าง : อินเดียกับปากีสถาน
เนื้อหา : เพื่อการตกลงร่วมใช้ระบบลำน้ำสินธุ ที่มอบสิทธิให้อินเดียใช้ลำน้ำทุกสายของแม่น้ำทางตะวันออกและแควก่อนที่จะถึงจุดที่เข้าไปยังปากีสถาน
สนธิสัญญามอนเตวิเดโอ
Treaty of Montevideo
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งสมาคมการรวมกลุ่มของละตินอเมริกา (Latin American Integration Association (ALADI) ) ซึ่งเป็นสมาคมการค้าเสรีของละตินอเมริกา
ความตกลงซือริชและลอนดอน
Zürich and London Agreement
ระหว่าง : สหราชอาณาจักร, ตุรกี และกรีซ
เนื้อหา : เพื่อการตกลงเรื่องอิสรภาพของไซปรัส
1961 องค์การเพื่อการควบคุมและปลดอาวุธ
Arms Control and Disarmament Agency
ประเภท: องค์การอิสระจากรัฐบาลภายในประเทศของสหรัฐ
เนื้อหา : เพื่อสร้างเสริมความมั่นคงของสหรัฐโดยการดำเนินนโยบายอันมีประสิทธิภาพในการควบคุมและปลดอาวุธ
สนธิสัญญาแม่น้ำโคลัมเบีย
Columbia River Treaty
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับแคนาดา
เนื้อหา : เพื่อการพัฒนาและบริหารเขื่อนในบริเวณทางตอนเหนือของลุ่มแม่น้ำโคลัมเบีย
อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต
Vienna Convention on Diplomatic Relations
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ และ เอกสิทธิและความคุ้มกันทางการทูตแก่คณะผู้แทนทางการทูต
พันธมิตรเพื่อความก้าวหน้า
Alliance for Progress
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับอเมริกาใต้
เนื้อหา : ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดีพยายามวางรากฐานของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ[23]
Single Convention on Narcotic Drugs
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อการต่อต้านการผลิตและการค้ายาเสพติด
อนุสัญญาว่าด้วยการลดจำนวนผู้ไร้สัญชาติ (ค.ศ. 1961)
1961 Convention on the Reduction of Statelessness
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อวางนิยามของผู้ที่ถือว่าเป็นผู้ไร้ชาติ และหาวิธีต่าง ๆ ในการพยายามลดจำนวนผู้ไร้ชาติในประเทศต่าง ๆ ลง
1962 ความตกลงนาซอ
Nassau Agreement
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหราชอาณาจักร
เนื้อหา : สหรัฐมอบขีปนาวุธโพลาริส (Polaris missiles) แก่สหราชอาณาจักรเป็นการแลกเปลี่ยนกับฐานทัพสำหรับเรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่โฮลีล็อกไม่ไกลจากกลาสโกว์
1963 อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล
Vienna Convention on Consular Relations
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : ว่าด้วยการวางกฎเกณฑ์ว่าด้วยการกงสุล
อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งสำหรับความเสียหายอันเกิดจากนิวเคลียร์
Vienna Convention on Civil Liability for Nuclear Damage
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : ว่าด้วยการวางกฎเกณฑ์ว่าด้วยการชดเชยความเสียหายที่เกิดจากนิวเคลียร์ไม่ว่าในรูปใด
สนธิสัญญาด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์บางส่วน
Partial Test Ban Treaty หรือ
Limited Test Ban Treaty หรือ
Nuclear Test Ban Treaty หรือ
Treaty Banning Nuclear Weapon Tests In The Atmosphere, In Outer Space And Under Water
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อห้ามกาทดลองการระเบิดอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมดนอกจากการทดลองใต้ดิน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการชะลอการแข่งขันการมีอาวุธ และการยุติการปล่อยฝุ่นรังสีนิวเคลียร์ (Nuclear fallout) ขึ้นไปในบรรยากาศของโลก
สนธิสัญญาความร่วมมือฝรั่งเศส-เยอรมัน
Franco-German cooperation หรือ
Elysée Treaty หรือ
Franco-German Partnership
ระหว่าง : ฝรั่งเศสกับเยอรมนี
เนื้อหา : เพื่อการสร้างความร่วมมือร่วมกันในนโยบายด้านการต่างประเทศ, การเศรษฐกิจ, การทหาร และการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างคู่สัญญา
อนุสัญญาสิทธิบัตรสตราสบวร์ก
Convention on the Unification of Certain Points of Substantive Law on Patents for Invention หรือ
Strasbourg Patent Convention
ประเภท: ข้อตกลงระดับภูมิภาคในกลุ่มประเทศยุโรป
เนื้อหา : เพื่อวางผสานมาตรฐานกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรในกลุ่มประเทศยุโรป
1965 สนธิสัญญารวมองค์กร
Merger Treaty หรือ

Merger Treaty'
ประเภท: ข้อตกลงระดับภูมิภาคในกลุ่มประเทศยุโรป
เนื้อหา : เพื่อจัดตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป, ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และประชาคมพลังงานปรมาณูแห่งยุโรป (Euratom); ก่อตั้งคณะกรรมการยุโรป และคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป
สนธิสัญญาว่าด้วยความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลี
Treaty on Basic Relations between Japan and the Republic of Korea
ระหว่าง : ญี่ปุ่นกับเกาหลี
เนื้อหา : เพื่อวางรากฐานของความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างคู่สัญญา
1967 สนธิสัญญาเพื่อการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ในลาตินอเมริกาและคาริบเบียน
Treaty of Tlatelolco หรือ
Treaty for the Prohibition of Nuclear Weapons in Latin America and the Caribbean
เนื้อหา : เพื่อการรักษาบริเวณของภาคีสัญญาให้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์
ปฏิญญาอาเซียน
ASEAN Declaration หรือ
Bangkok Declaration
เนื้อหา : เอกสารเพื่อการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อนุสัญญาว่าด้วยการก่อตั้งองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก
Convention Establishing the World Intellectual Property Organization หรือ
WIPO Convention
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อการก่อตั้งองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก
สนธิสัญญาห้วงอวกาศ
Outer Space Treaty
ชื่อทางการ: Treaty on Principles Governing the Activities of States in the Exploration and Use of Outer Space, including the Moon and Other Celestial Bodies
ภาษาไทย: สนธิสัญญาว่าด้วยพื้นฐานการการควบคุมกิจการของรัฐในการสำรวจและการใช้ห้วงอวกาศ รวมทั้งดวงจันทร์และเทห์ฟากฟ้าอื่น
ประเภท: อนุสัญญาระหว่างประเทศ
เนื้อหา : ห้ามการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์หรืออาวุธทำลายล้างระดับสูงบนเทห์ฟากฟ้าและในห้วงอวกาศโดยทั่วไป
1968 สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์
Nuclear Non-Proliferation Treaty หรือ
Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อจำกัดการแพร่ขยายของอาวุธนิวเคลียร์ โดยการห้ามการครอบครอง หรือการให้ความช่วยเหลือในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์[24]
1969 อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา
Vienna Convention on the Law of Treaties หรือ
VCLT
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสนธิสัญญา จากกฎหมายที่มีอยู่เกี่ยวกับ โดยการเพิ่มเติมเนื้อหาที่บกพร่อง หรือขยายความเนื้อหาที่ไม่กระจ่างแจ้ง
ความตกลงอารูชา
Arusha Agreement
ระหว่าง : สหภาพยุโรป กับเคนยา ยูกานดา และแทนซาเนีย
เนื้อหา : เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างภาคีสัญญา
1970 สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร
Patent Cooperation Treaty หรือ
PCT
ประเภท: กฎหมายนานาชาติเกี่ยวกับสิทธิบัตร
เนื้อหา : เพื่อวางมาตรฐานของกระบวนการในการจดทะเบียนสิทธิบัตร เพื่อป้องกันสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ; ใช้บังคับ ค.ศ. 1978; แก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. 1979; ขยายความ ค.ศ. 1984 และ ค.ศ. 2001. .
สนธิสัญญาเขตแดน (ค.ศ. 1970)
Boundary Treaty of 1970
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับเม็กซิโก
เนื้อหา : เพื่อการตกลงเรื่องพรมแดนระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาวอร์ซอว์ (ค.ศ. 1970)
Treaty of Warsaw (1970)
ระหว่าง : ประเทศเยอรมนีตะวันตกกับสาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์
เนื้อหา : คู่สัญญาตกลงการไม่ใช้ความรุนแรงและยอมรับแนวโอเดอร์และไนส์เซอ
1971 อนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
Convention on Psychotropic substances[25]
Convention on Psychotropic Substances
ประเภท: สนธิสัญญาสหประชาชาติ
เนื้อหา : เพื่อพยายามควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เช่น แอมเฟตามีน, barbiturates และแอลเอสดี
ข้อตกลงด้านการป้องกันประเทศระหว่างสมาชิก 5 ประเทศ
Five Power Defence Arrangements หรือ
FPDA
ระหว่าง : สหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สิงคโปร์ และมาเลเซีย
เนื้อหา : ข้อตกลงด้านการป้องกันทางทหารระหว่างภาคีสัญญา ที่ตกลงกันให้การปรึกษากันในกรณีที่สิงคโปร์และมาเลเซียถูกรุกรานจากภายนอก
อนุสัญญาแรมซาร์
Ramsar Convention
ประเภท: อนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
เนื้อหา : เพื่อการอนุรักษ์และการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetlands) อย่างยั่งยืน
ความตกลงสตราสบวร์กว่าด้วยหมวดหมู่สิทธิบัตรนานาชาติ
Strasbourg Agreement Concerning the International Patent Classification หรือ
IPC Agreement
ระหว่าง : : ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งมาตรฐานการจัดระบบหมวดหมู่ของสิทธิบัตรสิทธิบัตร สำหรับ สิ่งประดิษฐ์, ใบรับรองการประดิษฐ์, utility models and utility certificates; ใช้บังคับ ค.ศ. 1975; แก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. 1979
สนธิสัญญาว่าด้วยการควบคุมอาวุธบนพื้นท้องทะเล
Seabed Arms Control Treaty หรือ
Seabed Treaty
ชื่อทางการ: Treaty on the Prohibition of the Emplacement of Nuclear Weapons and other Weapons of Mass Destruction on the Sea-Bed and the Ocean Floor and in the Subsoil Thereof
ภาษาไทย: สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามการติดตั้งอาวุธนิเคลียร์และอาวุธเพื่อการทำลายล้างระดับสูงอื่น ๆ บนพื้นท้องทะเล และ พื้นมหาสมุทร และ ฝังใต้ดิน
ระหว่างสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และสหราชอาณาจักร และประเทศอื่นอีก 84 ประเทศ
สนธิสัญญาว่าด้วยมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างอินเดียและโซเวียต
Indo-Soviet Treaty of Friendship and Cooperation
ระหว่าง : สหภาพโซเวียตกับอินเดีย
เนื้อหา : เพื่อระบุความร่วมมือทางยุทธศาสตร์
1972 สนธิสัญญาขีปนาวุธต่อต้าน
Anti-Ballistic Missile Treaty หรือ
ABM Treaty or ABMT
ระหว่าง : : ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อจำกัดการใช้ระบบขีปนาวุธต่อต้าน (Anti-ballistic missile (ABM) ) ในการต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ (US PL 92-448).
สนธิสัญญาพื้นฐาน (ค.ศ. 1972)
Basic Treaty (1972) หรือ
Treaty concerning the basis of relations between the Federal Republic of Germany and the German Democratic Republic
ระหว่าง : สหพันธ์สาธารัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐประชาชนเยอรมนี
เนื้อหา : คู่สัญญารับรองอธิปไตยของกันและกันเป็นครั้งแรก
อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ
Biological Weapons Convention
ชื่อทางการ: Convention on the Prohibition of the Development, Production and Stockpiling of Bacteriological (Biological) and Toxin Weapons and on their Destruction
ภาษาไทย: อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามการพัฒนา, การผลิต, และการสะสมอาวุธชีวภาพ และ ท็อกซิน และการทำลายอาวุธดังกล่าว
ระหว่าง: อนุสัญญาระหว่างประเทศ
อนุสัญญาเพื่อการอนุรักษ์แมวน้ำอาร์ติค
Convention for the Conservation of Antarctic Seals
เนื้อหา : เพื่อการพิทักษ์แมวน้ำในบริเวณทวีปแอนตาร์กติกา
อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันมลพิษทางทะเลเนื่องจากการทิ้งวัสดุเหลือใช้และวัสดุอย่างอื่น
Convention on the Prevention of Marine Pollution by Dumping of Wastes and Other Matter หรือ
London Convention
เนื้อหา : ข้อตกลงในการพยายามควบคุมมลพิษทางทะเลจากการจงใจกำจัดของเสียจากเรือ, ยานบิน และ สถานีขุดน้ำมันกลางทะเล
แถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน
Joint Communiqué of the Government of Japan and the Government of the People's Republic of China หรือ
Sino-Japanese Joint Communiqué
ระหว่าง : ญี่ปุ่นกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
เนื้อหา : เพื่อการจัดตั้งความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างคู่แถลงการณ์ ซึ่งเท่ากับการยุติความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างญี่ปุ่นและสาธารณรัฐจีน
ความตกลงซิมลา
Simla Agreement หรือ
Simla Pact หรือ
Simla Treaty
ระหว่าง : อินเดียและปากีสถาน
เนื้อหา : เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันเป็นปกติระหว่างคู่สัญญาหลังจากสงครามประกาศเอกราชบังกลาเทศ
1973 อนุสัญญาสิทธิบัตรยุโรป
European Patent Convention หรือ
Convention on the Grant of European Patents
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อตกลงในการก่อตั้งองค์การสิทธิบัตรแห่งยุโรป (European Patent Organisation)
ข้อตกลงสันติภาพปารีส
Paris Peace Accords
ระหว่าง : สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม, สาธารณรัฐเวียดนาม และสหรัฐอเมริกา
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามรัฐเวียดนาม และเพื่อการถอนตัวของสหรัฐจากเวียดนาม
สนธิสัญญาเวียงจันทน์
Vientiane Treaty
ระหว่าง : : ฝ่ายต่าง ๆ ของรัฐบาลราชอาณาจักรลาว และรัฐบาลคอมมิวนิสต์ประเทศลาว
เนื้อหา : เพื่อการกำจัดกองทหารต่างประเทศออกจากลาว, การตกลงในการก่อตั้งรัฐบาลผสม และการรักษาความปลอดภัยของเมืองหลักโดยกองกำลังร่วมของคู่สัญญา
อนุสัญญาว่าด้วยการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์
Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora หรือ
CITES หรือ
Washington Convention
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อการรับรองว่าการค้าดังว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อความอยู่รอดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ และ สอดคล้องกับกฎการอนุรักษ์พืชและสัตว์อีกกว่า 33,000 สปีซีส์
ความตกลงว่าด้วยนกย้ายถิ่นระหว่างญี่ปุ่นและออสเตรเลีย
Japan Australia Migratory Bird Agreement หรือ
JAMBA
ระหว่าง : ญี่ปุ่นกับออสเตรเลีย
เนื้อหา : เพื่อลดอันตรายต่อบริเวณสำคัญที่ใช้โดยนกที่ย้ายถิ่นฐานระหว่างสองประเทศ
สนธิสัญญาจำกัดการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ใต้ดิน
Threshold Test Ban Treaty หรือ
Treaty on the Limitation of Underground Nuclear Weapon Tests
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต
เนื้อหา : เพื่อกำหนดเพดาน (threshold) อำนาจการทำลาย โดยการห้ามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ที่มีอำนาจการทำลายที่เกินกว่า 150 กิโลตัน (เท่ากับราว 150,000 ตันทีเอ็นที)
1975 สนธิสัญญาโอซิโม
Treaty of Osimo
ระหว่าง : อิตาลีกับยูโกสลาเวีย
เนื้อหา : เพื่อแบ่งแคว้นปกครองตนเองทรีเอสเตระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาลาโกส
Treaty of Lagos
เนื้อหา : เพื่อการก่อตั้งกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตก (ECOWAS) โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจในแอฟริกาตะวันตก
ข้อตกลงเฮลซิงกิ
Helsinki Accords หรือ
Helsinki Final Act
Helsinki Declaration
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : ข้อตกลงจากกรรมสาร (Act) ขั้นสุดท้ายของการประชุมว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Conference on Security and Cooperation in Europe) โดยมีผู้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมทั้งหมด 35 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ และ กลุ่มประเทศตะวันตก
1976 อนุสัญญาว่าด้วยการแปรสภาพสิ่งแวดล้อม
Environmental Modification Convention หรือ
ENMOD Convention
ชื่อทางการ: Convention on the Prohibition of Military or Any Other Hostile Use of Environmental Modification Techniques
เนื้อหา : Prohibits the military or other hostile use of environmental modification techniques
สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia
ระหว่าง : : ประเทศผู้ก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
International Covenant on Civil and Political Rights หรือ
ICCPR
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อวางรากฐานในการเคารพสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของแต่ละบุคคลที่รวมทั้งสิทธิในการดำรงชีวิต, เสรีภาพทางศาสนา, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น, เสรีภาพในการชุมนุม, เสรีภาพในการเลือกตั้ง และ เสรีภาพในระบบการได้รับการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมในศาล
1977 สนธิสัญญาทอร์ริโฮส-คาร์เตอร์
Torrijos-Carter Treaties
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับปานามา
เนื้อหา : เพิกถอนHay-Bunau Varilla Treaty และการันตีการควบคุมคลองปานามาโดยปานามาหลัง ค.ศ.1999
1978 ความตกลงแคมพ์เดวิด
Camp David Accords
ระหว่าง : อียิปต์กับอิสราเอล
เนื้อหา : กรอบข้อตกลงที่ปูทางไปสู่สันติภาพระหว่างอียิปต์และอิสราเอล
สนธิสัญญาสันติภาพและมิตรภาพระหว่างญี่ปุ่นกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
Treaty of Peace and Friendship between Japan and the People's Republic of China
ระหว่าง : ญี่ปุ่นกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
เนื้อหา : ข้อตกลงสันติภาพระหว่างคู่สัญญา
1979 สนธิสัญญาสันติภาพอิสราเอล-อียิปต์
Israel-Egypt Peace Treaty
ระหว่าง : อียิปต์กับอิสราเอล
เนื้อหา : คู่สัญญาตกลงรับรองฐานะของกันและกัน; อิสราเอลตกลงถอนทัพออกจากคาบสมุทรไซนายเป็นการแลกเปลี่ยนกับการใช้คลองซุเอซ.
สนธิสัญญาจันทรา
Moon Treaty หรือ
Moon Agreement
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : การพยายามมอบอำนาจในการควบคุมเทห์ฟากฟ้าอื่นไปอยู่ในมือของประชาคมนานาชาติ
สนธิสัญญามอนเตวิเดโอ
Treaty of Montevideo
ระหว่าง : อาร์เจนตินากับชิลี
เนื้อหา : คู่สัญญาตกลงแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องพรมแดนอย่างสันติที่ช่องแคบบีเกิล
1983 ความตกลงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์
Australia New Zealand Closer Economic Relations Trade Agreement หรือ
ANZCERTA
เนื้อหา : ความตกลงการค้าเสรีระหว่างรัฐบาลของคู่สัญญา
1984 แถลงการณ์ร่วมระหว่างจีน-อังกฤษ
Sino-British Joint Declaration
ชื่อทางการ: Joint Declaration of the Government of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland and the Government of the People's Republic of China on the Question of Hong Kong
ภาษาไทย: แถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยปัญหาฮ่องกง
เนื้อหา : สหราชอาณาจักรคืนฮ่องกงแก่สาธารณรัฐประชาชนจีน
ความตกลงนโคมาติ
Nkomati Accord
ระหว่าง : โมซัมบิกกับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
เนื้อหา : ข้อตกลงเพื่อการไม่รุกรานซึ่งกันและกันระหว่างคู่สัญญา
สนธิสัญญาสหภาพอาหรับ-แอฟริกา
Arabic-African Union Treaty
ระหว่าง : โมร็อกโกกับลิเบีย
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งสหภาพอาหรับ-แอฟริกา
สนธิสัญญาสันติภาพและมิตรภาพระหว่างชิลีกับอาร์เจนตินา (ค.ศ. 1984)
Treaty of Peace and Friendship of 1984 between Chile and Argentina
ระหว่าง : ชิลีกับอาร์เจนตินา
เนื้อหา : เพื่อการแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องความเป็นเจ้าของหมู่เกาะ Picton, Lennox and Nueva
1985 ความตกลงพลาซา
Plaza Accord หรือ
Plaza Agreement
เนื้อหา : ฝรั่งเศส, เยอรมนีตะวันตก, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรตกลงลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐตามอัตราส่วนของเยนและมาร์กเยอรมันในการแทรกแซงตลาดการเงิน
ความตกลงเชงเกน
Schengen Agreement
ระหว่าง : : ประเทศในสหภาพยุโรป
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งนโยบายร่วมกันเกี่ยวกับการเดินทางข้ามพรมแดนของสมาชิกในสหภาพยุโรปโดยไม่ต้องถือหนังสือเดินทาง
พิธีสารว่าด้วยการลดปริมาณการปล่อยแก๊สเรือนกระจก
Sulphur Emissions Reduction Protocol
ชื่อทางการ: Protocol to the 1979 Convention on Long-Range Transboundary Air Pollution on the Reduction of Sulphur Emissions or Their Transboundary Fluxes by at Least 30%
ภาษาไทย: พิธีสารของอนุสัญญาว่าด้วยมลพิษข้ามแดนระยะยาวเกี่ยวกับการลดการปล่อยซัสเฟอร์หรือการทำให้ก๊าซดังกล่าวไหลนองข้ามแดนลงอย่างน้อยร้อยละสามสิบ ค.ศ. 1979
ประเภท: อนุสัญญาระหว่างประเทศ
เนื้อหา : ลดปริมาณการปล่อยแก๊สลงตามปริมาณที่ระบุภายในปี ค.ศ. 1993
สนธิสัญญาราโรโตงา
Treaty of Rarotonga หรือ
South Pacific Nuclear Free Zone Treaty
ระหว่าง : : ประเทศในภูมิภาคมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้
เนื้อหา : เพื่อการตกลงอย่างเป็นทางการในการจัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคของผู้ลงนามโดยการห้ามการใช้, การทดสอบ และการเป็นเจ้าของภายในเขตแดนของผู้ลงนาม
1986 ความตกลงว่าด้วยนกย้ายถิ่นระหว่างจีนและออสเตรเลีย
China Australia Migratory Bird Agreement
ระหว่าง : จีนกับออสเตรเลีย
เนื้อหา : เพื่อลดอันตรายต่อบริเวณสำคัญที่ใช้โดยนกที่ย้ายถิ่นฐานระหว่างสองประเทศ
1987 สนธิสัญญาเพื่อกำจัดกองกำลังนิวเคลียร์พิสัยกลาง
Intermediate-Range Nuclear Forces Treaty
เนื้อหา : เพื่อกำจัดอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธรัศมีระหว่าง 500 ถึง 5,500 กิโลเมตร
1988 พิธีสารว่าด้วยการควบคุมปริมาณการปล่อยไนโตรเจนออกไซด์
Nitrogen Oxide Protocol
ชื่อทางการ: Protocol to the 1979 Convention on Long-Range Transboundary Air Pollution Concerning the Control of Emissions of Nitrogen Oxides or Their Transboundary Fluxes
ภาษาไทย: พิธีสารของอนุสัญญาว่าด้วยมลพิษข้ามแดนระยะยาวเกี่ยวกับการควบคุมการปล่อยไนโตรเจนออกไซด์หรือการทำให้ก๊าซดังกล่าวไหลนองข้ามแดน ค.ศ. 199
[[อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท]]
United Nations Convention Against Illicit Traffic in Narcotic Drugs and Psychotropic Substances
เนื้อหา : ใช้บังคับ ค.ศ. 1961 อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ และ ค.ศ. 1971 อนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
1989 พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารที่ทำลายชั้นโอโซน
Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone Layer หรือ
Montreal Protocol
ประเภท: ข้อตกลงระหว่างประเทศ
เนื้อหา : ข้อตกลงในการพยายามพิทักษ์ชั้นโอโซนโดยการลดปริมาณการผลิตสารที่เชื่อกันว่ามีส่วนในการทำลายโอโซน
สนธิสัญญาจำกัดกำลังทหารและอาวุธในยุโรป
Treaty on Conventional Armed Forces in Europe]]หรือ
CFE
เนื้อหา : เพื่อการจำกัดอาวุธสามัญทางทหารตามที่ระบุในยุโรป และ การทำลายอาวุธที่เกินจากจำนวนที่กำหนด
สนธิสัญญาติมอร์แกป
Timor Gap Treaty
ระหว่าง : ออสเตรเลียกับอินโดนีเซีย
1990 ความตกลงมาเลเซีย-สิงคโปร์ (ค.ศ. 1990)
Malaysia-Singapore Points of Agreement of 1990
ระหว่าง : มาเลเซียกับสิงคโปร์
เนื้อหา : ข้อตกลงระหว่างกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกี่ยวกับอนาคตของที่ดินรถไฟที่เป็นของรัฐบาลมาเลเซียในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นกรณีที่ทำให้บรรยากาศขอความสัมพันธ์ของคู่สัญญาอยู่ในสภาวะที่ค่อนข้างตึงเครียด
สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี
Treaty on the Final Settlement with Respect to Germany
ระหว่าง : สี่มหาอำนาจ
เนื้อหา : สี่มหาอำนาจที่รวมทั้งรัสเซีย, ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกาผู้ยึดครองเยอรมนีมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองประกาศสละสิทธิที่มีอยู่ในเยอรมนี และเยอรมนีสละการอ้างสิทธิในดินแดนทางตะวันออกของแนวโอเดอร์และไนส์เซอ ซึ่งเป็นการเปิดทางไปสู่การรวมตัวของเยอรมนี
1991 ความตกลงบริโอนิ
Brioni Agreement
ระหว่าง : สโลวีเนีย, โครเอเชีย และสาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามสิบวัน ในสโลวีเนีย
สนธิสัญญาอบูจา
Abuja Treaty
เนื้อหา : ข้อตกลงนานาชาติในการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจแอฟริกา.
สนธิสัญญาอาซุนซิออน
Treaty of Asunción
ระหว่าง : อาร์เจนตินา, บราซิล, อุรุกวัย และปารากวัย
เนื้อหา : ข้อตกลงนานาชาติที่ลงนามโดยภาคีสัญญาเพื่อเป็นพื้นฐานในการก่อตั้งเขตการค้าร่วมเมร์โกซูร์หรือ 'ตลาดร่วมตอนใต้' (Southern Common Market) โดยการเริ่มกำจัดค่าธรรมเนียมขาเข้า/ขาออกที่มีเป้าหมายให้เป็นเขตปลอดค่าธรรมเนียมภายในปี ค.ศ. 1994
1992 สนธิสัญญามาสทริคท์
Maastricht Treaty หรือ
Treaty on European Union
ระหว่าง : : ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป
เนื้อหา : สนธิสัญญาเพื่อการก่อตั้งสหภาพยุโรป
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ
UNFCCC หรือ FCCC
ระหว่าง : : ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป
เนื้อหา : เพื่อการพยายามลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกเพื่อการบรรเทาอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่โลกจากปรากฏการณ์โลกร้อน
สนธิสัญญาเบิกฟ้า
Treaty on Open Skies
เนื้อหา : ข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการก่อตั้งโครงการนานาชาติในการใช้อากาศยานลาดตระเวนไร้นักบิน (Unarmed surveillance aircraft) ในดินแดนของภาคีสมาชิก วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและความเชื่อมั่นระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นขนาดใดโดยการมีบทบาทโดยตรงในการรวบรวมข้อมูลทางการทหารและกิจการทางทหารในประเทศที่ร่วมในสัญญา
องค์กรสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน
Collective Security Treaty Organization
ระหว่าง : อาร์มีเนีย, เบลารุส, คาซัคสถาน, คีร์กีซสถาน, รัสเซีย, ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน
เนื้อหา : เพื่อวางรากฐานในการก่อตั้งเครือจักรภพรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States)
ความตกลงโซชิ
Sochi agreement
ระหว่าง : จอร์เจียกับออสเซเชียใต้
เนื้อหา : เพื่อตกลงการหยุดยิงในสงครามกลางเมือง
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
Convention on Biological Diversity หรือ
Biodiversity Convention
เนื้อหา : เพื่อดำรงความหลากหลายทางชีวภาพ, เพื่อการใช้อย่างยั่งยืน และ เพื่อความยุติธรรมในการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากทรัพยากรทางพันธุกรรม
1993 ข้อตกลงออสโล
Oslo Accords หรือ
Declaration of Principles on Interim Self-Government Arrangements หรือ
Declaration of Principles (DOP)
ระหว่าง : รัฐบาลอิสราเอลและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์
เนื้อหา : เพื่อเป็นกรอบสำหรับการเจรจาต่อรองและความสัมพันธุ์ระหว่างคู่สัญญา
อนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี
Chemical Weapons Convention
ชื่อทางการ: Convention on the Prohibition of the Development, Production, Stockpiling and Use of Chemical Weapons and on their Destruction
ภาษาไทย: อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามการพัฒนา, การผลิต, การสะสม และการใช้อาวุธเคมี และการทำลายอาวุธดังว่า
ระหว่าง: อนุสัญญาระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อการห้ามการผลิตและการใช้อาวุธเคมี
1994 สนธิสัญญาสันติภาพอิสราเอล-จอร์แดน
Israel-Jordan Peace Treaty หรือ
Treaty of Peace Between the State of Israel and the Hashemite Kingdom of Jordan
ระหว่าง : อิสราเอลกับจอร์แดน
เนื้อหา : เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันเป็นปกติ และ แก้ปัญหาข้อพิพาทในเรื่องพรมแดนระหว่างคู่สัญญา
ความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
North American Free Trade Agreement
ระหว่าง : แคนาดา, สหรัฐอเมริกากับเม็กซิโก
เนื้อหา : เพื่อตกลงในการค้าเสรีระหว่างภาคีสัญญา
ข้อตกลงเครมลิน
Kremlin accords
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อยกเลิกการใช้ขีปนาวุธนิวเคลียร์ที่ได้มีการตั้งเป้าหมายไว้ล่วงหน้า และเพื่อวางแผนการปลดอาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซียในยูเครน
อนุสัญญาสหประชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล
United Nations Convention on the Law of the Sea หรือ
UNCLOS
ระหว่าง : : อนุสัญญาระหว่างประเทศ
เนื้อหา : อนุสัญญาระบุสิทธิ และความรับผิดชอบในการใช้มหาสมุทร โดยการกำหนดหลักการทั่วไปทางกฎหมายในการบริหารทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและการควบคุมมลพิษ
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย
United Nations Convention to Combat Desertification
ชื่อทางการ: United Nations Convention to Combat Desertification in Those Countries Experiencing Serious Drought and/or Desertification, Particularly in Africa
ภาษาไทย: อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทรายในประเทศที่ประสพกับความแห้งแล้งอย่างรุนแรง และ/หรือ การแปรสภาพเป็นทะเลทราย, โดยเฉพาะในแอฟริกา
ระหว่าง: อนุสัญญาระหว่างประเทศ
เนื้อหา : อนุสัญญาเพื่อการต่อต้านและเพื่อการบรรเทาผลที่เกิดสภาวะที่เกิดจากความแห้งแล้ง
1995 ความตกลงเดย์ตัน
Dayton Agreement หรือ
Dayton Accords หรือ
Dayton-Paris Agreement หรือ
General Framework Agreement for Peace in Bosnia and Herzegovina
เนื้อหา : เพื่อการยุติสงครามบอสเนียระหว่างบอสเนียเซิร์บ, บอสเนียโครแอท และ บอสเนียบอสเนียค, ข้อตกลงระบุดินแดนในการครอบครองของแต่ละกลุ่ม
ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ
General Agreement on Trade in Services หรือ
GATS
เนื้อหา : เป็นความตกลงขององค์การการค้าโลกที่ขยายระบบการค้าพหุภาคี เพื่อรวมกิจการค้าบริการ (service sector) ก่อนหน้าที่จะมีความตกลง กิจการค้าบริการมิได้อยู่ในเครือข่ายขององค์การการค้าโลก
1996 สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์
[26]
Comprehensive Test Ban Treaty หรือ
CTBT
ระหว่าง : : อนุสัญญาระหว่างประเทศรับรองโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
เนื้อหา : เพื่อห้ามการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นการระเบิดโดยมีวัตถุประสงค์ทางการทหารหรือทางพลเรือน
ความตกลงคาซาฟ-เยิร์ท
Khasav-Yurt Accord
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามเชชเนียครั้งที่หนึ่งเป็นการชั่วคราว
สนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก
WIPO Copyright Treaty หรือ
World Intellectual Property Organization Copyright Treaty
องค์กร: องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก
เนื้อหา : เพื่อให้การพิทักษ์ลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มขึ้น เนื่องจากความจำเป็นอันเกิดจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
สนธิสัญญาว่าด้วยการแสดงและสิ่งบันทึกเสียงของขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก
WIPO Performances and Phonograms Treaty]] หรือ
WPPT
องค์กร: องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก
เนื้อหา : เพื่อกำหนดสิทธิและอภิสิทธิ์สำหรับนักแสดงและผู้สร้างงาน audio-visual
1997 สนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม
Amsterdam Treaty
ชื่อทางการ: Treaty of Amsterdam amending the Treaty of the European Union, the Treaties establishing the European Communities and certain related acts
ภาษาไทย: สนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัมเพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาสหภาพยุโรป, สนธิสัญญาเพื่อก่อตั้งประชาคมยุโรป และกิจการที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหา : แก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญามาสทริคท์เป็นอันมาก
อนุสัญญาออตตาวา
Ottawa Convention on Landmines หรือ
Mine Ban Treaty หรือ
Ottawa Treaty
ชื่อทางการ: Convention on the Prohibition of the Use, Stockpiling, Production and Transfer of Anti-Personnel Mines and on their Destruction
ภาษาไทย: อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิต และขนย้ายระเบิดต่อต้านบุคคล และว่าด้วยการทำลายระเบิดเช่นว่า
ระหว่าง: อนุสัญญาระหว่างประเทศ
อนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี
Chemical Weapons Convention
ชื่อทางการ: Convention on the Prohibition of the Development, Production, Stockpiling and Use of Chemical Weapons and on their Destruction
ภาษาไทย: อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต สะสม และใช้อาวุธเคมี และว่าด้วยการทำลายอาวุธเช่นว่า
ระหว่าง: อนุสัญญาระหว่างประเทศ
พิธีสารเกียวโต
Kyoto Protocol
ชื่อทางการ: Kyoto Protocol to the United Nations Framework Convention on Climate Change
ภาษาไทย: พิธีสารเกียวโตแนบท้ายอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ระหว่าง: อนุสัญญาระหว่างประเทศ
เนื้อหา : เพื่อกำหนดการลดปริมาณการปล่อยแก๊สเรือนกระจก; เริ่มเจรจา ค.ศ. 1997, รับรองข้อตกลง ค.ศ. 2004 และมีผลปฏิบัติ ค.ศ. 2005
1998 ความตกลงเบลฟาสต์
Belfast Agreement หรือ
Good Friday Agreementหรือ
Stormont Agreement
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับไอร์แลนด์
เนื้อหา : เพื่อการพัฒนาทางการเมือของกระบวนการสันติภาพไอร์แลนด์เหนือ
พิธีสารมวลพิษตกค้างยาวนาน
POP Air Pollution Protocol หรือ
ชื่อทางการ: Protocol to the 1979 Convention on Long-Range Transboundary Air Pollution on Persistent Organic Pollutants
ภาษาไทย: พิธีสารของอนุสัญญาว่าด้วยมลพิษข้ามแดนระยะยาวอันเกี่ยวกับมลพิษอินทรีย์ประเภทตกค้างยาวนาน ค.ศ. 1979'
ระหว่าง: อนุสัญญาระหว่างประเทศ
เนื้อหา : ข้อตกลงเพื่อการควบคุมและการลดปริมาณการปล่อยมลพิษอินทรีย์ประเภทตกค้างยาวนาน
ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ
Rome Statute of the International Criminal Court หรือ
Rome Statute
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ
1999 ข้อตกลงว่าด้วยการปรับสนธิสัญญาจำกัดกำลังทหารและอาวุธในยุโรป
Adapted Conventional Armed Forces in Europe Treaty
เนื้อหา : เพื่อการปรับสนธิสัญญาจำกัดกำลังทหารและอาวุธในยุโรปแทนจำนวนที่ให้ไว้กับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือและสนธิสัญญาวอร์ซอ
สนธิสัญญาประชาคมอีสต์แอฟริกา
East African Community Treaty
เนื้อหา : สนธิสัญญาเพื่อก่อตั้งประชาคมอีสต์แอฟริกา ระหว่าง ยูกันดา, เคนยา และแทนซาเนีย ที่มีผลปฏิบัติเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2000

ค.ศ. 2000-ปัจจุบัน

[แก้]
ปี ชื่อสนธิสัญญา ภาคีและเนื้อหา
2000 ความตกลงโคโตนู
Cotonou Agreement
ระหว่าง : สหภาพยุโรปกับกลุ่มรัฐแอฟริกา, คาริบเบียน และ แปซิฟิก
ข้อตกลงในการพยายามลดความยากจนและดึงกลุ่มรัฐแอฟริกา, คาริบเบียน และ แปซิฟิกเข้ามาในวงเศรษฐกิจโลกที่มีผลปฏิบัติในปี ค.ศ. 2002
สนธิสัญญาว่าด้วยกฎหมายสิทธิบัตร
Patent Law Treaty
หรือในชื่อย่อว่า PLT
ระหว่าง : : ผู้เข้าร่วมตกลง 53 ชาติ และองค์การสิทธิบัตรแห่งยุโรป
เนื้อหา : เพื่อกำหนดมาตรฐานอย่างเป็นทางการของกระบวนการในการลงทะเบียนสิทธิบัตร เช่นการระบุสิ่งที่ต้องการสำหรับการสมัครขอสิทธิบัตร, เนื้อหาและข้อมูลที่ต้องการในใบสมัคร และ ตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์
สนธิสัญญาเจดดา
Treaty of Jedda
ระหว่าง : ซาอุดีอาระเบียกับเยเมน
เนื้อหา : สนธิสัญญาเพื่อตกลงเรื่องปัญหาเขตแดนที่มีมาตั้งแต่การอ้างสิทธิของซาอุดีอาระเบียในปี ค.ศ. 1934
2001 ความตกลงเพื่อการอนุรักษ์อัลบาทรอสและเพเทรล
Agreement on the Conservation of Albatrosses and Petrels
เนื้อหา : ข้อตกลงเพื่อการที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันการลดจำนวนประชากรของนกทะเลโดยเฉพาะอัลบาทรอส และprocellariidae
อนุสัญญาว่าด้วยอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
Cybercrime Convention
เนื้อหา : อนุสัญญานี้เป็นสนธิสัญญานานาชาติฉบับแรกที่ระบุอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และอาชญากรรมอินเทอร์เน็ต ที่ห้ามการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเป็นเครื่องมือทางอาชญากรรม โดยการประสานกฎหมายระดับชาติ, ปรับปรุงวิธีการสืบสวนสอบสวน และเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ
สนธิสัญญามิตรภาพจีน-รัสเซีย (ค.ศ. 2001)
2001 Sino-Russian Treaty of Friendship
ชื่อทางการ: Treaty of Good-Neighborliness and Friendly Cooperation Between the People's Republic of China and the Russian Federation
ภาษาไทย: สนธิสัญญาว่าด้วยการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี และ การร่วมมืออย่างฉันท์มิตรระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหพันธรัฐรัสเซีย
ระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
เนื้อหา : เป็นสนธิสัญญาทางยุทธศาสตร์ที่บรรยายความสัมพันธ์อันเป็นสันติภาพอย่างกว้างระหว่างคู่สัญญาทางด้านเศรษฐกิจ, ทางการทูต และทางการร่วมมือทางภูมิศาสตร์
สนธิสัญญานีซ (ค.ศ. 2001)
Treaty of Nice (2001)
เนื้อหา : เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาฉบับพื้นฐานในการก่อตั้งสหภาพยุโรป.
2002 ความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน
ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution
ระหว่าง : : ชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เนื้อหา : เพื่อการลดปริมาณของมลพิษที่มีลักษณะเป็นมลหมอก (Haze) ให้ลงมาอยู่ภายใต้การควบคุมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความตกลงกบาโดไลท์
Gbadolite Agreement
เนื้อหา : การพยายามของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในหยุดยั้งความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันในสงครามคองโกครั้งที่ 2 แต่ข้อตกลงไม่มีผลเท่าใดนัก
ข้อตกลงพรีทอเรีย
Pretoria Accord
เนื้อหา : กองทหารรวันดาตกลงถอยจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเป็นการแลกเปลี่ยนกับความจริงจังของนานาชาติในการปลดอาวุธกลุ่ม อินเตราฮัมเว และ ex-FAR fighters
สนธิสัญญาลดอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์เชิงรุก
SORT หรือ
Moscow Treaty หรือ
Treaty on Strategic Offensive Reductions
ระหว่าง : สหรัฐอเมริกากับสหพันธรัฐรัสเซีย
เนื้อหา : เพื่อตกลงตกลงในการจำกัดจำนวนอาวุธนิวเคลียร์ของคู่สัญญาลงตามจำนวนที่ระบุ
2003 เขตการค้าเสรีอาเซียน
ASEAN Free Trade Area
หรือในชื่อย่อว่า AFTA
ระหว่าง : : ชาติสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เนื้อหา : เพื่อสนับสนุนการผลิตสินค้าโดยประเทศสมาชิกทุกประเทศ
สนธิสัญญาสมาชิกสหภาพยุโรป (ค.ศ. 2003)
Treaty of Accession 2003
เนื้อหา : เพื่อรวมชาติสิบชาติเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป; มีผลบังคับ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2004
กรอบสนธิสัญญาองค์การอนามัยโลกว่าด้วยการควบคุมยาสูบ
World Health Organization Framework Convention on Tobacco Control
หรือในชื่อย่อว่า FCTC
เนื้อหา : เพื่อ "พิทักษ์ประชากรรุ่นปัจจุบันและอนาคตจากผลอันร้ายแรงที่มีต่อสุขภาพ, สังคม, สิ่งแวดล้อม และ เศรษฐกิจ อันเป็นผลมาจากการใช้ยาสูบ และ จากการหายใจควันยาสูบจากผู้ใช้ผู้อื่น"
2004 สนธิสัญญานานาชาติว่าด้วยทรัพยากรทางพันธุกรรมสำหรับอาหารและการเกษตร
International Treaty on Plant Genetic Resources for Food and Agriculture หรือ
International Seed Treaty
เนื้อหา : เพื่อตกลงตามนโยบายของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพในการพยายามรักษาความปลอดภัยทางอาหารโดยการอนุรักษ์, แลกเปลี่ยน และการอย่างยั่งยืนของทรัพยากรทางพันธุกรรมสำหรับอาหารและการเกษตร
2005 ความตกลงสันติภาพเบ็ดเสร็จแห่งซูดาน
Comprehensive Peace Agreement (Sudan) หรือ
Naivasha Agreement
เนื้อหา : เพื่อยุติสงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่ 2 ระหว่างรัฐบาลแห่งซูดาน และกองกำลังปลดปล่อยประชาชนชาวซูดาน; ก่อตั้ง Government of National Unity; ลงนาม 9 มกราคม ค.ศ. 2005 และมีผลใช้บังคับเต็มตัว 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2011.
สนธิสัญญาประชาคมพลังงานยุโรปตะวันออกเฉียงใต้
Energy Community South East Europe Treaty หรือ
ECSEE
เนื้อหา : เพื่อก่อตั้ง ประชาคมพลังงานแห่งยุโรป (Energy Community)
สนธิสัญญาสมาชิกสหภาพยุโรป (ค.ศ. 2005)
Treaty of Accession 2005
เนื้อหา : เพื่อรับบัลแกเรียและโรมาเนียเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป; มีผล 1 มกราคม ค.ศ. 2007
2006 ความตกลงตริโปลี
Tripoli Agreement หรือ
Libya Accord หรือ
Tripoli Declaration
ระหว่าง : ชาดกับซูดาน
สนธิสัญญาเพื่อการยุติความขัดแย้งชาด-ซูดานระหว่างผู้ลงนามในข้อตกลง
ความตกลงเซนต์แอนดรูว์
St Andrews Agreement
เนื้อหา : เพื่อแก้ปัญหาขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือ เพื่อกลับมาปกครองโดยรัฐบาลร่วม
2007 สนธิสัญญาลิสบอน
Treaty of Lisbon
ระหว่าง : รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป
เนื้อหา : การปฏิรูปภายในสหภาพยุโรป
2008 สนธิสัญญาเพื่อการก่อตั้งสหภาพกลุ่มชาติในอเมริกาใต้
Constitutive Treaty[27]
เนื้อหา : สนธิสัญญาเพื่อการก่อตั้งสหภาพกลุ่มชาติในอเมริกาใต้
2009 สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
Extradition Treaty
ระหว่าง : สหราชอาณาจักรกับฟิลิปปินส์
เนื้อหา : การส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือและสาธารณรัฐฟิลิปปินส์[28]
2010 สนธิสัญญาเขตแดนทะเลแบเร็นตส์
Treaty of Barents Sea Border
ระหว่าง : รัสเซียกับนอร์เวย์
เนื้อหา : การแบ่งเขตแดนบนน่านน้ำทะเลแบเร็นตส์ระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียและราชอาณาจักรนอร์เวย์ [29]
2015 ความตกลงปารีส

Paris Agreement

เนื้อหา : กำหนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 ควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม และเกิดการไหลเวียนของกระแสเงินทุนซึ่งสอดคล้องกับแนวทางไปสู่การพัฒนาที่ก่อแก๊สเรือนกระจกในระดับต่ำและคงทนต่อสภาพอากาศ
2017 สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์

Treaty on the Prohibition of Nuclear Weapons

เนื้อหา:ข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันทางกฎหมายฉบับแรกในการห้ามอาวุธนิวเคลียร์อย่างครอบคลุมโดยมีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การกำจัดให้หมดสิ้น
2019 สนธิสัญญาอาเค่น

Aachen Treaty

ระหว่าง : ฝรั่งเศสและเยอรมนี
เนื้อหา : สนธิสัญญาทวิภาคีสำหรับประเด็นระดับภูมิภาค รวมถึงประเด็นทางการทหาร วัฒนธรรม และการเมือง โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการเมืองการป้องกันประเทศ[30]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Peace Treaty between Ramses II and Hattusili III". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2009-11-02.
  2. "Peace Treaty between Ramses II and Hattusili III". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2009-11-02.
  3. "Ramses and the first Peace Treaty in History". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2009-11-02.
  4. "Treaty Between the Ottawa, Chippewa, Wyandot, and Potawatomi Indians". World Digital Library. 1807-11-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2013-08-03.
  5. Written Proclamation <http://avalon.law.yale.edu/19th_century/ot1862.asp เก็บถาวร 2009-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>
  6. Tough, Frank (1997). As Their Natural Resources Fail: Native Peoples and the Economic History of Northern Manitoba, 1870–1930. UBC Press. p. 148. ISBN 0-7748-0571-4.
  7. W.E. Daugherty, Treaty 3 Research Report (1873. Indian and Northern Affairs, Canada, 1985
  8. "Treaty 3 between Her Majesty the Queen and the Saulteaux Tribe of the Ojibbeway Indians at the Northwest Angle on the Lake of the Woods with Adhesions". Indian and Northern Affairs Canada. Government of Canada. 2008-11-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-23. สืบค้นเมื่อ 2009-01-05.
  9. Stonechild, Blair (2006). "Treaty 3 between Her Majesty the Queen and the Saulteaux Tribe of the Ojibbeway Indians at the Northwest Angle on the Lake of the Woods with Adhesions4". The Encyclopedia of Saskatchewan. Canadian plains research center, University of Regina. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-26. สืบค้นเมื่อ 2009-01-05.
  10. "Treaty Guide to Treaty No. 5 (1875)". Indian and Northern Affairs Canada. Government of Canada. 2008-11-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-17. สืบค้นเมื่อ 2009-01-05.
  11. Beal, Bob (2006). "Treaty 6". The Encyclopedia of Saskatchewan. Canadian plains research center, University of Regina. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-15. สืบค้นเมื่อ 2009-01-05.
  12. "Alberta Online Encyclopedia - Treaty 7 - Treaty 7 Past and Present ..." Heritage Communty Foundation. Albertasource.ca. 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-13. สืบค้นเมื่อ 2009-01-05.
  13. "Summary of the Paris Convention for the Protection of Industrial Property (1883)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-22. สืบค้นเมื่อ 2009-11-02.
  14. กรมทรัพย์สินทางปัญญา: คำกล่าวการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง การสมัครเข้าเป็นภาคีอนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม[ลิงก์เสีย]
  15. "The Making of Treaty 8 in Canada's Northwest". Heritage Community Foundation. Albertasource.ca. 2002. สืบค้นเมื่อ 2009-01-05.
  16. "James Bay Treaty Turns 100: "Peoples and Events Shaping Treaty No. 9"". Archives of Ontario. Government of Ontario. 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-27. สืบค้นเมื่อ 2009-01-05.
  17. "Treaty Guide to Treaty No. 10 (1906)". Indian and Northern Affairs of Canada. Government of Canada. 2008-11-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-24. สืบค้นเมื่อ 2009-01-05.
  18. "Treaty Guide to Treaty No. 11 (1921)". Indian and Northern Affairs of Canada. Government of Canada. 2008-11-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-23. สืบค้นเมื่อ 2009-01-05.
  19. "Kellogg-Briand Pact, 1928". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-11. สืบค้นเมื่อ 2009-11-02.
  20. "ryt9.com: Bretton Woods System". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2009-11-02.
  21. "Treaty of General Relations Between The United States Of America And The Republic Of The Philippines" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 2009-11-02.
  22. "English-Thai Dictionary of International Relations". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-12. สืบค้นเมื่อ 2009-11-02.
  23. Single Convention on Narcotic Drugs[1] เก็บถาวร 2009-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  24. "กระทรวงต่างประเทศ: การลดอาวุธในกรอบสหประชาชาติ". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-21. สืบค้นเมื่อ 2009-11-02.
  25. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-02. สืบค้นเมื่อ 2009-11-02.
  26. "กระทรวงต่างประเทศ: สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-21. สืบค้นเมื่อ 2009-11-02.
  27. Constitutive Treaty of the Union of South American Nations เก็บถาวร 2008-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Ministry of External Relations. Accessed on May 25, 2008
  28. Treaty, U.K. Foreign and Commonwealth Office.
  29. [2] เก็บถาวร 2012-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The treaty text in Norwegian
  30. Online, FOCUS. "Unterwerfung eingeleitet: Warum manche Franzosen Vertrag mit Deutschland fürchten". FOCUS Online (ภาษาเยอรมัน).

ดูเพิ่ม

[แก้]