เมลียา
เมลียา Mřič | |
---|---|
![]() ที่ตั้งของเมลียาในประเทศสเปน | |
พิกัด: 35°17′32″N 2°56′27″W / 35.29222°N 2.94083°W | |
ประเทศ | ![]() |
ตั้งถิ่นฐานของชาวฟินิเชีย | ค.ศ. 8Rusadir[1] | , ในฐานะ
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี-ประธาน | ฆวน โฆเซ อิมโบรดา (พรรคประชาชน) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 12.3 ตร.กม. (4.7 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 19 |
ประชากร (2024)[2] | |
• ทั้งหมด | 85,985 คน |
• อันดับ | ที่ 18 |
• ความหนาแน่น | 7,000 คน/ตร.กม. (18,000 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | ที่ 1 |
• % ของสเปน | 0.16% |
จีดีพี[3] | |
• รวม | 1.750 พันล้านยูโร (2023) |
• ต่อหัว | 20,479 ยูโร (2023) |
เขตเวลา | UTC+01:00 (เวลายุโรปกลาง) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+02:00 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง) |
ISO 3166 code | ES-ML |
ภาษาราชการ | สเปน |
ธรรมนูญการปกครองตนเอง | 14 มีนาคม ค.ศ. 1995 |
รัฐสภา | Assembly of Melilla |
สภาผู้แทนราษฎรสเปน | 1 คน (จากทั้งหมด 350 คน) |
วุฒิสภา | 2 คน (จากทั้งหมด 264 คน) |
สกุลเงิน | ยูโร (€) (EUR) |
นักบุญองค์อุปถัมภ์ | ฟรังซิสแห่งอัสซีซี |
เอชดีไอ (2022) | 0.867[4] สูงมาก · ที่ 18 |
เว็บไซต์ | www.melilla.es |
เมลียา (สเปน: Melilla), มริตช์ (Tarifit: Mřič) หรือ มะลีลียะฮ์ (อาหรับ: مليلية) เป็นนครปกครองตนเองบนชายฝั่งแอฟริกาเหนือของประเทศสเปน ติดกับโมร็อกโกและอยู่ที่ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีพื้นที่ 12.3 km2 (4.7 sq mi) เคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมาลากา ก่อนจะได้รับสิทธิ์ในการปกครองตนเองเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1995
เมืองนี้ยังเคยเป็นเมืองท่าปลอดภาษีก่อนที่สเปนจะเข้าร่วมสหภาพยุโรป
ณ ค.ศ. 2019 เมลียามีประชากร 86,487 คน[5] พลเมืองประกอบด้วยคริสต์ศาสนิกชน ชาวมุสลิม ชาวยิว และชนกลุ่มน้อยชาวฮินดู ใช้ภาษาสเปนและ/หรือภาษาเบอร์เบอร์ในการสื่อสาร
เช่นเดียวกันกับเซวตา และดินแดนอื่น ๆ ของสเปนในแอฟริกา เมลียาตกอยู่ในข้ออ้างเรียกร้องดินแดนโดยโมร็อกโก[6]
สถานะทางการเมือง
[แก้]เมลียาและเซวตาเป็นดินแดนยุโรปที่เหลืออยู่เพียงสองแห่งบนแผ่นดินใหญ่ทวีปแอฟริกา ประเทศโมร็อกโกได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือเมืองทั้งสองรวมทั้งหมู่เกาะเล็ก ๆ หลายแห่งนอกชายฝั่ง (ปลาซัสเดโซเบรานีอา) โดยนำไปเปรียบเทียบกับการที่สเปนอ้างสิทธิ์เหนือยิบรอลตาร์ รัฐบาลสเปนปฏิเสธข้อเปรียบเทียบนี้ (เช่นเดียวกันกับชาวเมือง) และกล่าวว่าทั้งเซวตาและเมลียาเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับรัฐสเปน ไม่สามารถแบ่งแยกได้ ในขณะที่ยิบรอลตาร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นดินแดนโพ้นทะเลอังกฤษนั้น ไม่ได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรแต่อย่างใด ประวัติศาสตร์ของเมลียานั้นยังคล้ายคลึงกับประวัติศาสตร์ของหลาย ๆ เมืองทางภาคใต้ของแผ่นดินใหญ่สเปนที่เคยอยู่ใต้การปกครองของฟีนีเชีย พิวนิก ไบแซนไทน์ วันดัล วิซิกอท มุสลิม และคริสต์
เศรษฐกิจ
[แก้]อุตสาหกรรมหลักได้แก่การประมง ส่วนการค้าข้ามพรมแดน (ถูกกฎหมายหรือลักลอบ) เงินอุดหนุนจากสเปนและยุโรปรวมทั้งค่าจ้างแรงงานเป็นแหล่งรายได้อื่น ๆ
เศรษฐกิจของเมลียาต้องพึ่งพิงโมร็อกโกสูง ทั้งผัก ผลไม้ และปลาจะถูกนำเข้าผ่านพรมแดนเข้ามา ชาวโมร็อกโกประมาณ 36,000 คนเข้ามาในเมืองนี้ทุก ๆ วันเพื่อทำงานหรือขายของ

อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1]. Archaeology Data Service, Autonomous City of Melilla.
- ↑ "Annual population census 2021-2024". National Statistics Institute (Spain) (ภาษาอังกฤษ). 2024-12-19. สืบค้นเมื่อ 2025-01-29.
- ↑ "Contabilidad Regional de España" (PDF). www.ine.es.
- ↑ "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-01-28.
- ↑ "Cifras oficiales de población resultantes de la revisión del Padrón municipal a 1 de enero". Instituto Nacional de Estadística. สืบค้นเมื่อ 2020-06-26.
- ↑ Trinidad 2012, pp. 961–975.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- (ในภาษาสเปน) เว็บไซต์ทางการ
- Postal Codes Melilla