ข้ามไปเนื้อหา

อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก

Francia occidentalis
ค.ศ. 843–ค.ศ. 987
West Francia within Europe after the Treaty of Verdun in 843.
West Francia within Europe after the Treaty of Verdun in 843.
เมืองหลวงปารีส
ภาษาทั่วไปแกลโล-โรมัน, ลาติน, แฟรงกิช
ศาสนา
คริสตจักรโรมันคาทอลิก
การปกครองราชาธิปไตย
พระมหากษัตริย์ 
• ค.ศ. 840–877
ชาร์ลผู้หัวล้าน (องค์แรก)
• ค.ศ. 986–987
หลุยส์ที่ 5 แห่งฝรั่งเศส (องค์สุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์ยุคกลาง
ค.ศ. 843
ค.ศ. 870
ค.ศ. 987
สกุลเงินเดอนีเย
ก่อนหน้า
ถัดไป
Francia
Lotharingia
ฝรั่งเศสสมัยกลาง
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ฝรั่งเศส
 สเปน

เวสต์ฟรังเกีย หรือ อาณาจักรแฟรงค์ตะวันตก[1] (อังกฤษ: West Francia หรือ West Frankish Kingdom) เป็นราชอาณาจักรที่รุ่งเรืองอยู่เพียงระยะเวลาอันสั้น ตั้งอยู่ทางตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียง ได้ตกมาเป็นของจักรพรรดิคาร์ลพระเศียรล้าน[2] ตามสนธิสัญญาแวร์เดิงปี ค.ศ. 843

เมื่อจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาเสด็จสวรรคต ราชอาณาจักรแฟรงก์อันยิ่งใหญ่ที่ชาร์เลอมาญก่อตั้งขึ้น ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตก ก็ถูกแบ่งแยกหลังจากสงครามกลางเมืองที่ยาวสามปีระหว่างพระราชนัดดาสามพระองค์ในระหว่างปี ค.ศ. 840 ถึงปี ค.ศ. 843 ในระหว่างสงคราม คาร์ลพระเศียรล้านทรงเข้าข้างลุดวิจชาวเยอรมัน พระอนุชาต่างพระมารดา ในข้อขัดแย้งในสิทธิการครองราชบัลลังก์กับจักรพรรดิโลทาร์ที่ 1 พระเชษฐา ผู้ทรงใช้ตำแหน่งจักรพรรดิแห่งชาวโรมันที่เคยเป็นตำแหน่งของพระอัยกา และกลายมาเป็นตำแหน่งที่ใช้กันต่อมาสำหรับจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่จักรพรรดิออทโทที่ 1 เป็นต้นมา เมื่อสงครามสิ้นสุดลงราชอาณาจักรแฟรงก์ถูกแบ่งแยกออกเป็นสามส่วนตามสนธิสัญญาแวร์เดิง

การก่อตัวและชายแดน

[แก้]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 843 สามปีหลังสงครามกลางเมืองที่ตามมาหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าหลุยส์ผู้ศรัทธาเมื่อ 20 มิถุนายน ค.ศ. 840 สนธิสัญญาแวร์เดิงถูกลงนามโดยพระโอรสและทายาททั้งสาม คนเล็กสุด ชาร์ลผู้หัวล้าน ได้รับเวสต์ฟรังเกีย

นับตั้งแต่การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าปิปปินที่ 1 แห่งอากีแตนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 838 พระโอรสของพระองค์ได้รับการยอมรับจากเหล่าขุนนางอากีแตนให้เป็นพระเจ้าปิปปินที่ 2 แห่งอากีแตน แม้การสืบทอดต่อจะไม่ได้รับการยอมรับจากจักรพรรดิก็ตาม ชาร์ลผู้หัวล้านทำสงครามกับปิปปินที่ 2 ตั้งแต่เริ่มต้นรัชสมัยของพระองค์ใน ค.ศ. 840 และสนธิสัญญาแวร์เดิงได้ปฏิเสธการอ้างสิทธิ์และการยกอากีแตนให้เป็นของชาร์ล[3] ดังนั้น ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 845 หลังความพ่ายแพ้ทางทหารหลายครั้ง ชาร์ลได้ลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นัวต์-ซูร์-ลัวร์และยอมรับการปกครองของพระนัดดา ข้อตกลงนี้คงอยู่มาจนถึง 25 มีนาคม ค.ศ. 848 เมื่อบารอนอากีแตนยอมรับชาร์ลเป็นกษัตริย์ หลังจากนั้นกองทัพของชาร์ลกุมความได้เปรียบ และใน ค.ศ. 849 ก็สามารถรักษาอากีแตนเอาไว้ได้[4] ในเดือนพฤษภาคม ชาร์ลสวมมงกุฎให้ตนเองเป็น "กษัตริย์ของชาวแฟรงก์และชาวอากีแตน" ในเออร์ลียงส์ อาร์ชบิชอปเวนิโลแห่งซ็องส์เป็นผู้ประกอบพิธีในการราชาภิเษก ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการเจิมน้ำมันหลวงในเวสต์ฟรังเกีย

รัชสมัยของชาร์ลผู้อ้วนพี

[แก้]

หลังการสิ้นพระชนม์ของพระนัดดาของชาร์ล คาร์โลมันที่ 2 เมื่อ 12 ธันวาคม ค.ศ. 884 ขุนนางเวสต์ฟังเกียเลือกพระปิตุลาของพระองค์ ชาร์ลผู้อ้วนพี ที่เป็นกษัตริย์ในอีสต์ฟรังเกีย (อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก) กับราชอาณาจักรอิตาลีอยู่แล้ว เป็นกษัตริย์ของตน พระองค์อาจได้รับการสวมมงกุฎ "กษัตริย์แห่งกอล" (เร็กซ์ อิน อัลเลีย) เมื่อ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 885 ที่กร็องด์[5] รัชสมัยของพระองค์เป็นช่วงเวลาเดียวหลังการสิ้นพระชนม์ของหลุยส์ผู้ศรัทธาที่ฟรังเกียทั้งหมดถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้งภายใต้ผู้ปกครองคนเดียว ด้วยสามารถที่มีในฐานะกษัตริย์แห่งเวสต์ฟรังเกีย พระองค์น่าจะมอบยศตำแหน่งและอาจจะเครื่องราชกกุธภัณฑ์ด้วย ให้แก่ผู้ปกครองกึ่งเอกเทศแห่งบริททานี อลันที่ 1[6] การรับมือกับชาวไวกิ้งที่ปิดล้อมปารีสใน ค.ศ. 885–86 ลดพระเกียรติภูมิของพระองค์ลงอย่างมาก ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 887 พระนัดดาของพระองค์ อาร์นูล์ฟแห่งคารินเธียก่อปฏิวัติและยึดเอาตำแหน่งกษัตริย์แห่งอีสต์ฟรังเกียไป ชาร์ลเกษียณตัวเองและสิ้นพระชนม์หลังจากนั้นไม่นาน เมื่อ 13 มกราคม ค.ศ. 888

ในอากีแตน ดยุครานูล์ฟที่ 2 อาจยอมรับตนเองเป็นกษัตริย์ แต่ก็มีชีวิตอยู่อีกเพียงสองปี[7] แม้อากีแตนจะไม่ได้กลายเป็นราชอาณาจักรที่แยกออกมา แต่ก็อยู่เหนือการควบคุมของกษัตริย์เวสต์ฟรังเกียอย่างมาก

ต่อมาโอโด เคานต์แห่งปารีส ได้รับเลือกโดยเหล่าขุนนางให้เป็นกษัตริย์คนใหม่ของเวสต์ฟรังเกีย และได้รับการสวมมงกุฎในเดือนต่อมา ถึงตอนนี้ เวสต์ฟรังเกียประกอบด้วยนิวสเตรียในฝั่งตะวันตก ส่วนฝั่งตะวันออกเป็นสิทธิครอบครองของฟรังเกีย แคว้นที่อยู่ระหว่างแม่น้ำเมิซกับแม่น้ำเซน

การขึ้นมาของชาวโรแบเตียง

[แก้]

หลังยุค 860 ขุนนางโลธาริงเกีย โรแบต์ผู้แข็งแกร่ง เริ่มมีอำนาจมากขึ้นในฐานะเคานต์แห่งอ็องฌู, ตูแรน และเมน พี่น้องชายของโรแบต์ อูก พระอธิการแห่งแซ็งต์-เดอนีส์ ได้รับอำนาจควบคุมออสเตรเชียจากชาร์ลผู้หัวล้าน บุตรชายของโรแบต์ โอโด ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์ในค.ศ. 888[8] พี่น้องชายของโอโด โรแบต์ที่ 1 ปกครองในช่วง ค.ศ. 922 ถึง ค.ศ. 923 และตามมาด้วยรูดอล์ฟ ตั้งแต่ ค.ศ. 923 จนถึง ค.ศ. 936 อูกมหาราช พระโอรสของโรแบต์ที่ 1 ได้รับเลือกเป็น "ดยุคของชาวแฟรงก์" โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 ใน ค.ศ. 987 บุตรชายของพระองค์ พระเจ้าอูก กาแป ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์และเริ่มต้นราชวงศ์กาเปเตียง ถึงตอนนี้พวกเขาควบคุมดินแดนเล็กมาก ๆ เหนืออิล-เดอ-ฟร็องซ์

การขึ้นมาของเหล่าดยุค

[แก้]
อำนาจควบคุมของกษัตริย์การอแล็งเฌียงลดลงอย่างมากในคริสต์ศตวรรษที่ 10 (สีเหลือง)
พระราชดินแดน (สีน้ำเงิน) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10

นอกอาณาเขตเดิมของชาวแฟรงก์และในตอนใต้ หลัง ค.ศ. 887 ขุนนางท้องถิ่นได้ตั้งตนเป็นดัชชีกึ่งเอกเทศ - เบอร์กันดี, อากีแตน, บริททานี, แกสโคนี, นอร์ม็องดี, ช็อมปาญ และเคานตี้ฟลานเดอส์

อำนาจของกษัตริย์ถูกปฏิเสธต่อไป ทั้งด้วยความไร้พระปรีชาสามารถในการต่อต้านชาวไวกิ้ง และการต่อต้านของเหล่าขุนนางประจำแคว้นที่ไม่ได้ถูกแต่งตั้งโดยกษัตริย์อีกต่อไป แต่กลายเป็นดยุคท้องถิ่นที่สืบทอดตำแหน่งทางสายเลือด ใน ค.ศ. 877 โบโซแห่งโพรว็องซ์ พระอนุชาของพระมเหสีของชาร์ลผู้หัวล้าน สวมมงกุฎให้ตนเองเป็นกษัตริย์แห่งเบอร์กันดีและโพรว็องซ์ พระโอรสของพระองค์ หลุยส์ผู้ตาบอด เป็นกษัตริย์แห่งโพรว็องซ์ตั้งแต่ ค.ศ. 890 และจักรพรรดิในช่วง ค.ศ. 901 ถึง ค.ศ. 905 รูดอล์ฟที่ 2 แห่งเบอร์กันดีสถาปนาราชอาณาจักรอาร์ลส์ขึ้นมาใน ค.ศ. 933

ชาร์ลผู้เรียบง่าย

[แก้]

หลังการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์การอแล็งเฌียงคนสุดท้ายของอีสต์ฟรังเกีย พระเจ้าหลุยส์ผู้เป็นเด็กน้อย โลธาริงเกียเปลี่ยนมาเป็นพันธมิตรกับกษัตริย์แห่งเวสต์ฟรังเกีย ชาร์ลผู้เรียบง่าย หลัง ค.ศ. 911 ดัชชีชวาเบียขยายอาณาเขตไปทางตะวันออกและได้ดินแดนอัลซาสมาเพิ่ม บาลด์วินที่ 2 แห่งฟลานเดอส์เริ่มมีอำนาจมากขึ้นหลังการสิ้นพระชนม์ของโอโดใน ค.ศ. 898 โดยได้โบโลญและแทร์นัวส์มาจากชาร์ล อาณาเขตที่อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์อย่างแท้จริงลดลงอย่างมาก และถูกตัดทอนดินแดนที่อยู่ระหว่างนอร์ม็องดีกับแม่น้ำลัวร์ ราชสำนักมักอยู่ในไรม์หรือไม่ก็ล็อง[9]

ชาวนอร์สเริ่มตั้งถิ่นฐานในนอร์ม็องดี และตั้งแต่ ค.ศ. 919 ชาวมักยาร์รุกรานครั้งแล้วครั้งเล่า ในการขาดหายไปของพระราชอำนาจที่แข็งแกร่ง ผู้รุกรานถูกสู้รบและปราบโดยเหล่าขุนนางท้องถิ่น อาทิเช่น ริชาร์ดแห่งเบอร์กันดีและโรแบต์แห่งนิวสเตีย ที่ปราบผู้นำไวกิ้ง รอลโล ใน ค.ศ. 911 ที่ชาร์ตส์ ท้ายที่สุดการคุกคามของชาวนอร์มันก็สิ้นสุดลง พร้อมกับการจ่ายเดนเกลด์ก้อนสุดท้ายใน ค.ศ. 924 และ ค.ศ. 926 เหล่าขุนนางต่อต้านชาร์ลมากขึ้นและใน ค.ศ. 922 ได้ปลดพระองค์ออกจากตำแหน่งและเลือก โรแบต์ที่ 1 เป็นกษัตริย์คนใหม่ หลังการสิ้นพระชนม์ของโรแบต์ใน ค.ศ. 923 เหล่าขุนนางเลือกรูดอล์ฟเป็นกษัตริย์ และยังคงคุมขังชาร์ลจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 929 หลังการปกครองของพระเจ้าชาร์ลผู้เรียบง่าย ดยุคท้องถิ่นเริ่มออกเงินตราของตนเอง

รูดอล์ฟ

[แก้]

พระเจ้ารูดอล์ฟได้รับการสนับสนุนจากพระอนุชา ฮิวจ์ดำ พระโอรสของโรแบต์ที่ 1 อูกมหาราช ดยุคแห่งนอร์ม็องดีปฏิเสธที่จะยอมรับรูดอล์ฟจนถึง ค.ศ. 933 กษัตริย์ยังคงต้องไปต่อสู้กับเหล่าขุนนางทางใต้พร้อมกับกองทัพเพื่อให้ได้มาซึ่งการถวามความเคารพและความจงรักภักดี ทว่าเคานต์แห่งบาร์เซโลนาหาทางหลีกเลี่ยงได้อย่างสมบูรณ์แบบ

หลัง ค.ศ. 925 รูดอล์ฟมีส่วนร่วมในสงครามกับแอร์แบร์ที่ 2 เคานต์แห่งแวร์ม็องดัว ผู้ก่อการปฏิวัติ ที่ได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าเฮนรี่นักล่านกกับอ็อตโตที่ 1 แห่งอีสต์ฟรังเกีย การก่อกบฏของเขาดำเนินต่อไปจนกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 943

หลุยส์ที่ 4

[แก้]

พระเจ้าหลุยส์ที่ 4 กับดยุคอูกมหาราชอภิเษกสมรสกับพี่น้องหญิงของกษัตริย์อีสต์ฟรังเกีย อ็อตโตที่ 1 ที่หลังพระสวามีของตนสิ้นพระชนม์ก็ได้หาทางทำให้การปกครองของการอแล็งเฌียงและโรแบเตียงรวมเข้าด้วยกันโดยมีพระอนุชา บรูโนผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

หลังชัยชนะในเวลาต่อมาของแอร์แบต์ที่ 2 หลุยส์มีเพียงขุนนางกลุ่มใหญ่กับพระเจ้าอ็อตโตที่ 1 คอยให้ความช่วยเหลือ ใน ค.ศ. 942 หลุยส์ยอมยกโลธาริงเกียให้อ็อตโตที่ 1

สงครามสืบทอดตำแหน่งในนอร์ม็องดีนำไปสู่สงครามครั้งใหม่ที่หลุยส์ถูกหักหลังโดยอูกมหาราชและถูกจับกุมตัวโดยเจ้าชายเดนมาร์ก ฮารัลด์ ที่ท้ายที่สุดก็ปล่อยพระองค์ให้อยู่ในการคุมตัวของอูก ที่คืนอิสรภาพให้กษัตริย์หลังจากได้รับเมืองล็องเป็นค่าชดเชย[10]

โลแธร์

[แก้]

โลแธร์แห่งฝรั่งเศสวัย 13 ชันษาได้รับช่วงต่อดินแดนทั้งหมดของพระบิดาใน ค.ศ. 954 ในตอนนั้นมันมีขนาดเล็กมาก หลักปฏิบัติแบบการอแล็งเฌียงในการแบ่งดินแดนกันภายในกลุ่มพระโอรสไม่ได้รับการทำตาม และพระอนุชาของพระองค์ ชาร์ล ไม่ได้อะไรเลย ใน ค.ศ. 966 โลแธร์อภิเษกสมรสกับเอ็มมา พระธิดาเลี้ยงของพระอัยกาของพระองค์ อ็อตโต แต่กระนั้น ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 978 โลแธร์โจมตีเมืองหลวงเดิมของจักรวรรดิ อาเคน อ็อตโตที่ 2 ตอบโต้ด้วยการโจมตีปารีส แต่ถูกปราบโดยกองทัพร่วมของพระเจ้าโลแธร์กับเหล่าขุนนาง และสันติภาพได้รับการลงนามใน ค.ศ. 980

โลแธร์หาทางเพิ่มอำนาจของตนให้มากขึ้น แต่กลับถูกทำให้เป็นไปในทางตรงกันข้ามด้วยการมาถึงของยุคของพระเจ้าอูก กาแป ที่เริ่มสร้างสัมพันธไมตรีกับเหล่าขุนนางและท้ายที่สุดก็ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์

รายนามพระมหากษัตริย์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๓ อักษร E-G ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 527 หน้า. หน้า 189. ISBN 978-616-7073-55-2
  2. สารานุกรมคาทอลิก: Charlemagne
  3. AF a. 843: Karolus Aquitaniam, quasi ad partem regni sui iure pertinentem, affectans ... ("Charles wanted Aquitaine, which belonged by right to a part of his kingdom").
  4. Coupland 1989, 200–202.
  5. MacLean 2003, 127.
  6. Smith 1992, 192.
  7. Richard 1903, 37–38.
  8. The Cambridge Illustrated History of France
  9. The New Cambridge Medieval History: Volume 3, C.900-c.1024
  10. The New Cambridge Medieval History: Volume 3, C.900-c.1024

ดูเพิ่ม

[แก้]