สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ (สหรัฐ–ญี่ปุ่น)
หน้าตา
สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ | |
---|---|
ประเภท | สนธิสัญญาการค้า |
วันลงนาม | 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1858 |
ที่ลงนาม | เรือ USS Powhatan จอด ณ อ่าวเอะโดะ |
วันมีผล | 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1859 |
ผู้ลงนาม | ทาวน์เซนด์ แฮร์ริส (กงสุลใหญ่สหรัฐประจำญี่ปุ่น) โทะกุงะวะ อิเอะซะดะ (โชกุนแห่งเอะโดะ) |
ภาคี | สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น |
ภาษา | ญี่ปุ่น, อังกฤษ และ ดัตช์ (ยึดถือเอาดัตช์เป็นต้นฉบับ) |
สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ระหว่างสหรัฐและจักรวรรดิญี่ปุ่น (อังกฤษ: Treaty of Amity and Commerce Between the United States and the Empire of Japan) หรือเรียกว่า สนธิสัญญาแฮร์ริส ระหว่างสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่นมีการลงนามบนดาดฟ้าเรือ ยูเอสเอส เพาว์ฮาทัน (U.S.S. Powhatan) ในอ่าวเอะโดะ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1858 สนธิสัญญาฯ มีเนื้อหาเปิดท่าคะนะงะวะและอีกสี่นครของญี่ปุ่นค้าขายกับสหรัฐอเมริกา ตลอดจนให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ชาวต่างชาติ และข้อกำหนดทางการค้าอีกหลายประการ โดยมีใจความสำคัญโดยสรุปคือ
- เปิดให้ใช้ท่าเรือคะนะงะวะและนะงะซะกิ ในวันที่ 4 กรกฎาคม 1859, ท่าเรือนีงะตะในวันที่ 1 มกราคม 1860 และท่าเรือเฮียวโงะ ในวันที่ 1 มกราคม 1863
- หกเดือนภายหลังเปิดให้ใช้ท่าเรือคะนะงะวะ จะทำการปิดท่าเรือชิโมะดะเพื่อใช้เป็นที่พำนักและที่ค้าขายของชาวอเมริกัน
- ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 1862 อนุญาตให้พลเมืองอเมริกันพำนักอยู่ในนครเอะโดะ และ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 1863 อนุญาตให้พลเมืองอเมริกันพำนักอยู่ในนครโอซะกะ ทั้งนี้เพื่อจุดประสงค์ทางการค้าเท่านั้น
- บรรดาความผิดของพลเมืองอเมริกันต่อพลเมืองญี่ปุ่นอาจถูกพิจารณาโดยศาลกลสุลอเมริกา ความผิดจะใช้บทลงโทษตามกฎหมายอเมริกา และความผิดของพลเมืองญี่ปุ่นต่ออเมริกาอาจถูกพิจารณาโดยการปกครองญี่ปุ่นเอง ซึ่งมีบทลงโทษเป็นไปตามกฎหมายญี่ปุ่น ทั้งนี้ศาลกงสุลอาจเปิดให้เจ้าหนี้ชาวญี่ปุ่นฟ้องร้องลูกหนี้ชาวอเมริกัน และในทางมารยาทเดียวกัน ศาลญี่ปุ่นอาจเปิดให้เจ้าหนี้ชาวอเมริกันฟ้องร้องลูกหนี้ชาวญี่ปุ่น
- รัฐบาลญี่ปุ่นสามารถซื้อหรือสร้าง เรือรบ, เรือเดินไอน้ำ, เรือพาณิชย์, เรือล่าวาฬ, ปืนใหญ่, ยุทโธปกรณ์สงคราม และ ยุทธภัณฑ์ทุกประเภทของสหรัฐตลอดจนพาณิชยภัณฑ์อื่นๆที่อาจต้องการ มีสิทธิ์ในการว่าจ้างบุคลากรของสหรัฐทางด้านวิทยาศาสตร์, การทหาร, ทหารเรือ, ศิลปะกรรมทุกประเภท และนาวิกโธธิน เข้าทำงานตามประสงค์