องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ธงของซีโต้ | |
แผนที่ประเทศที่เป็นสมาชิกของซีโต้แสดงเป็นสีน้ำเงิน | |
ชื่อย่อ | ซีโต้ |
---|---|
ก่อตั้ง | 8 กันยายน พ.ศ. 2497 |
ประเภท | พันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาล |
สํานักงานใหญ่ | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
สมาชิก |
ชาติที่ไม่เป็นสมาชิก ที่ซีโต้คุ้มครอง' 3 ชาติ
|
ภาษาทางการ |
องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ตัวย่อ: สปอ.; อังกฤษ: Southeast Asia Treaty Organization) หรือ ซีโต้ (SEATO)[1] เป็นองค์การที่ก่อตั้งขึ้นตาม สนธิสัญญามะนิลา ลงนามเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2497 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ในช่วงสงครามเย็น โดย 8 ประเทศ คือ
ในภาคอารัมภบทของสัญญานี้ บรรดาประเทศสมาชิกต่างแสดงความปรารถนาที่จะประสานความพยายามของตนที่จะป้องกันร่วมกัน เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยเฉพาะข้อ 4 ของสนธิสัญญาเป็นข้อสำคัญที่สุด คือ แต่ละประเทศภาคีคู่สัญญาตกลงเห็นพ้องกันว่า หากดินแดนของประเทศใดถูกรุกรานจาการโจมตีด้วยกำลังอาวุธ ประเทศภาคีทั้งหมดที่เหลือจะถือว่าเป็นอันตรายร่วมกัน และจะปฏิบัติการเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายร่วมกัน หรือถ้าหากพื้นที่ภายในเขตครอบคลุมของสนธิสัญญาถูกคุกคามด้วยประการใด ๆ ประเทศภาคีทั้งหมดจะปรึกษากันในทันที เพื่อตกลงในมาตรการเพื่อการป้องกันร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม ซีโต้ประสบความล้มเหลวในการเข้าแทรกแซงความขัดแย้งในประเทศลาวและเวียดนาม เนื่องจากการตัดสินใจนั้นต้องการมติเอกฉันท์ แต่ฝรั่งเศสและฟิลิปปินส์นั้นไม่เห็นด้วย
สำนักงานใหญ่ขององค์การเคยตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีนายพจน์ สารสิน จากประเทศไทย ดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไป ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้นำอย่างเป็นทางการขององค์การ ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2507 ปัจจุบันนี้บริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์การ ที่ถนนศรีอยุธยา ได้กลายเป็นที่ตั้งของกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย
ซีโต้ยุบเลิกอย่างเป็นทางการเมื่อ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2520[2]เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไปมาก สหรัฐถอนกำลังทหารออกจาก เวียดนามใต้ และรัฐบาลที่อเมริกาสนับสนุนประสบความพ่ายแพ้ทั้งในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา และทำให้องค์การซีโต้หมดความจำเป็นในฐานะเครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐในภูมิภาคนี้
มรดกของซีโต้ในประเทศไทยคงเหลือเพียงอาคารสำนักงานใหญ่ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ใช้เป็นที่ทำการส่วนหนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศไทยอยู่หลายปี ต่อมาถูกรื้อถอนลงและมีการสร้างอาคารที่ทำการแห่งใหม่ของกระทรวงการต่างประเทศ (หลังปัจจุบัน)ในพื้นที่เดิม กับโรงเรียนวิศวกรรม สปอ. ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนรูปมาเป็นสถาบันวิชาการอิสระ เรียกว่าสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ AIT ในปัจจุบันนี้[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wragg, David W. (1973). A Dictionary of Aviation (first ed.). Osprey. p. 239. ISBN 978-0-85045-163-4.
- ↑ (Encyclopædia Britannica (India) 2000, p. 60)
บรรณานุกรม
[แก้]- Encyclopædia Britannica (India) (2000). Students' Britannica India. Vol. Five. Popular Prakashan. ISBN 978-0-85229-760-5.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- "สนธิสัญญาซีโต้", คำศัพท์-คำย่อทางการทูต, กระทรวงการต่างประเทศ, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มีนาคม 2007
- สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2520
- องค์การระหว่างประเทศ
- สงครามเย็น
- พันธมิตรทางการทหาร
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับสหรัฐ
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับออสเตรเลีย
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับนิวซีแลนด์
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับปากีสถาน
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับไทย
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับฟิลิปปินส์
- องค์การในกรุงเทพมหานคร
- ประวัติศาสตร์การทหารของกัมพูชา
- ประวัติศาสตร์การทหารของลาว
- ความสัมพันธ์ทางการทหารไทย–เวียดนาม
- ความสัมพันธ์ทางการทหารไทย–ฝรั่งเศส
- ความสัมพันธ์ทางการทหารไทย–สหราชอาณาจักร
- ความสัมพันธ์ทางการทหารไทย–สหรัฐ
- บทความเกี่ยวกับ หน่วยงาน ที่ยังไม่สมบูรณ์