ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศแอฟริกาใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้)
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้

Republic of South Africa (อังกฤษ)
ชื่อทางการของประเทศใน 10 ภาษาอื่น ๆ[1]
เมืองหลวง
เมืองใหญ่สุดโจฮันเนสเบิร์ก[4]
ภาษาราชการ11 ภาษา[1]
กลุ่มชาติพันธุ์
(2019[6])
ศาสนา
(2016)[7]
เดมะนิมชาวแอฟริกาใต้
การปกครองรัฐเดี่ยวสาธารณรัฐระบบรัฐสภาโดยมีประธานาธิบดีที่มีอำนาจบริหาร
ไซริล รามาโฟซา
Paul Mashatile
Refilwe Mtsweni-Tsipane
Thoko Didiza
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
สภาแห่งชาติ
สมัชชาแห่งชาติ
เอกราช 
31 พฤษภาคม ค.ศ. 1910
11 ธันวาคม ค.ศ. 1931
31 พฤษภาคม ค.ศ. 1961
17 มิถุนายน ค.ศ. 1991
27 เมษายน ค.ศ. 1994
4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997
พื้นที่
• รวม
1,221,037 ตารางกิโลเมตร (471,445 ตารางไมล์) (อันดับที่ 24)
0.380
ประชากร
• 2021 ประมาณ
60,142,978[8] (อันดับที่ 23)
• สำมะโนประชากร 2011
51,770,560[9]: 18 
42.4 ต่อตารางกิโลเมตร (109.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 169)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 862 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 32)
เพิ่มขึ้น 14,239 ดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 96)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 415 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 33)
เพิ่มขึ้น 6,861 ดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 89)
จีนี (2014)positive decrease 63.0[11]
สูงมาก
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.709[12]
สูง · อันดับที่ 114
สกุลเงินแรนด์แอฟริกาใต้ (ZAR)
เขตเวลาUTC+2 (SAST)
รูปแบบวันที่รูปแบบสั้น:
  • วว/ดด/ปปปป[13]
  • วว-ดด-ปปปป[14]
ขับรถด้านซ้าย
รหัสโทรศัพท์+27
รหัส ISO 3166ZA
โดเมนบนสุด.za

แอฟริกาใต้[15] หรือ เซาท์แอฟริกา[15] (อังกฤษ: South Africa) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ หรือ สาธารณรัฐเซาท์แอฟริกา (อังกฤษ: Republic of South Africa: RSA) เป็นประเทศที่อยู่ทางตอนใต้สุดของทวีปแอฟริกา ล้อมรอบด้วยแนวชายฝั่งยาว 2,798 กิโลเมตร (1,739 ไมล์) ทอดยาวไปตามมหาสมุทรแอตแลนติกใต้และมหาสมุทรอินเดีย อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับประเทศนามิเบีย, บอตสวานา และ ซิมบับเว ทางทิศตะวันออกติดกับโมซัมบิก และ เอสวาตินี และยังมีประเทศเลโซโทตั้งอยู่ภายในประเทศในฐานะดินแดนแทรกและดินแดนส่วนแยก แอฟริกาใต้ถือเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้มากที่สุดบนแผ่นดินใหญ่ของโลกเก่า และเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันสองรองจากแทนซาเนีย แอฟริกาใต้เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยมีชีวนิเวศ พืช และสัตว์ป่าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ด้วยจำนวนประชากรเกือบ 62 ล้านคน ทำให้เป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 23 ของโลก แผ่นดินของประเทศครอบคลุมพื้นที่ 1,221,037 ตารางกิโลเมตร (471,445 ตารางไมล์) ประเทศแอฟริกาใต้ได้แบ่งเมืองหลวงออกเป็นสามเมืองได้แก่ พริทอเรียซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางในการบริหาร, เคปทาวน์ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางนิติบัญญัติและที่ตั้งของรัฐสภา และบลูมฟอนเทน ในขณะที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดคือโจฮันเนสเบิร์กซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลสูงสุด กว่า 80% ของประชากรเป็นชาวแอฟริกาผิวดำ[16] ประชากรที่เหลือประกอบด้วยชุมชนชาวยุโรปที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา (ชาวแอฟริกาผิวขาว), ชาวเอเชีย (ชาวแอฟริกาใต้จากอินเดียและจีน) และประชากรที่สืบจากบรรพบุรุษหลากหลายเชื้อชาติ แอฟริกาใต้เป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ซึ่งครอบคลุมวัฒนธรรม ภาษา และศาสนาที่หลากหลาย สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นจากการที่รัฐธรรมนูญของประเทศยอมรับภาษามากถึง 12 ภาษาในฐานะภาษาราชการ ซึ่งมากเป็นอันดับสี่ของโลก[17] จากรายงานใน ค.ศ. 2011 ภาษาที่ถูกใช้มากที่สุดคือ ภาษาซูลู (22.7%) และ ภาษาโคซา (16.0%)[18] ตามมาด้วยภาษาอาฟรีกานส์ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากภาษาดัตซ์ และภาษาอังกฤษซึ่งเป็นผลมาจากลัทธิอาณานิคม โดยภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญในการค้าและสถานที่สาธารณะ

มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปเป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ อย่างไรก็ตาม พลเมืองส่วนใหญ่ไม่ได้รับสิทธิ์ดังกล่าวจนถึง ค.ศ. 1994 นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 การเรียกร้องสิทธิทางสังคมของประชากรผิวสีเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา พรรคการเมืองแห่งชาติมีนโยบายแบ่งแยกเชื้อชาติอย่างชัดเจนในทศวรรษ 1940 การเรียกร้องสิทธิและนโยบายโดยพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา รวมถึงนักเคลื่อนไหวต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวทั้งในและนอกประเทศ เป็นผลให้มีการยกเลิกกฎหมายการเลือกปฏิบัติในทศวรรษ 1980 นับตั้งแต่ ค.ศ. 1994 มีการยอมรับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้เป็นตัวแทนทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมมากขึ้น และประเทศได้กลายเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาเต็มรูปแบบ และแบ่งจังหวัดออกเป็นเก้าจังหวัด แอฟริกาใต้มักถูกเรียกว่า "ประเทศสีรุ้ง" เพื่ออธิบายความหลากหลายทางวัฒนธรรมในประเทศ โดยเฉพาะภายหลังจากการแบ่งแยกสีผิวและเชื้อชาติ[19] จากการรายงานโดยดัชนีประชาธิปไตย แอฟริกาใต้ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 51 ของโลก และอันดับ 3 ในทวีปแอฟริกาในแง่คุณภาพของระบบประชาธิปไตยในประเทศ และความเท่าเทียมกันทางสังคม

แอฟริกาใต้เป็นประเทศอำนาจปานกลางของโลก และถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคโดยเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งประชาชาติและกลุ่ม 20[20] แอฟริกาใต้เป็นประเทศกำลังพัฒนา อยู่ในอันดับที่ 109 ตามดัชนีการพัฒนามนุษย์ และอันดับ 7 ในทวีป และยังเป็นประเทศเดียวในทวีปแอฟริกาที่ยอมรับกฎหมายการสมรสเพศเดียวกัน[21] แอฟริกาใต้ได้รับการจัดอันดับโดยธนาคารโลกให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามในทวีปหากวัดตามอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และมีอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากที่สุดในทวีป รวมทั้งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 39 ของโลก[22][23] รายได้หลักมาจากอุตสาหกรรมแร่ธาตุ และการท่องเที่ยว แอฟริกาใต้มีแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโกมากที่สุดในทวีป ภายหลังยุคแห่งการถือผิว การพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตประชากรดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด[24] อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมและความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมยังเป็นปัญหาสำคัญโดยมีอัตราการว่างงานสูงถึง 40% ใน ค.ศ. 2021[25] ในขณะที่ประชากรกว่า 60% ยังมีรายได้ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน และกว่าหนึ่งในสี่มีรายได้ต่ำกว่า 2.15 ดอลลาร์ต่อวัน[26][27]

นิรุกติศาสตร์

[แก้]

ชื่อ "แอฟริกาใต้" มาจากที่ตั้งของประเทศที่อยู่ทางตอนใต้สุดของทวีปแอฟริกา เมื่อมีการก่อตั้งนั้น ประเทศแอฟริกาใต้จึงได้รับการตั้งชื่อว่า สหภาพแอฟริกาใต้ (Union of South Africa) ในภาษาอังกฤษ และ Unie van Zuid-Afrika ในภาษาดัตช์ ซึ่งสะท้อนถึงการรวมตัวกันของอาณานิคมบริติชทั้ง 4 แห่ง ที่ถูกแยกออกจากกันในก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ ค.ศ. 1961 ชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศในรูปแบบยาวในภาษาอังกฤษคือ "สาธารณรัฐแอฟริกาใต้" (Republic of South Africa) และ Republiek van Suid-Afrika ในภาษาอาฟรีกานส์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1994 เป็นต้นมา ประเทศแอฟริกาใต้จึงมีชื่ออย่างเป็นทางการในภาษาราชการทั้งหมด 11 ภาษา

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ภาพถ่ายดาวเทียมของประเทศแอฟริกาใต้

ประเทศแอฟริกาใต้ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้สุดของทวีปแอฟริกา โดยมีแนวชายฝั่งที่ทอดยาวมากกว่า 2,500 กม. (1,553 ไมล์) และตามแนวมหาสมุทร 2 แห่ง (มหาสมุทรแอตแลนติกใต้และมหาสมุทรอินเดีย) ด้วยพื้นที่ 1,219,912 ตารางกิโลเมตร (471,011 ตารางไมล์) แอฟริกาใต้จึงเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 24 ของโลก[28] หากไม่รวมหมู่เกาะปรินซ์เอ็ดเวิร์ด ประเทศนี้อยู่ระหว่างละติจูด 22° ถึง 35°S และลองจิจูด 16° ถึง 33°E พื้นที่ด้านในของแอฟริกาใต้ประกอบด้วยที่ราบสูงขนาดใหญ่โดยมีระดับความสูงระหว่าง 1,000 ม. (3,300 ฟุต) ถึง 2,100 ม. (6,900 ฟุต) ซึ่งสูงที่สุดในทิศตะวันออกและลาดลงไปทางทิศตะวันตกและทิศเหนือ และ ไปทางทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้เล็กน้อย[29]

พื้นที่ทางทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูง (ที่ความสูงประมาณ 1,100–1,800 ม. เหนือระดับน้ำทะเล) และที่ราบที่อยู่ติดกันด้านล่าง (ที่ความสูงประมาณ 700–800 ม. เหนือระดับน้ำทะเล) เรียกว่า Great Karoo ซึ่งประกอบด้วยป่าไม้พุ่ม ส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือและที่สูงที่สุดของที่ราบสูงเรียกว่าไฮเวลด์ พื้นที่เป็นที่ตั้งของพื้นที่เพาะปลูกเชิงพาณิชย์ในสัดส่วนที่มากของประเทศ และมีพื้นที่ชานเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางตอนเหนือของไฮเวลด์ จากเส้นละติจูดประมาณ 25° 30' ใต้ ที่ราบสูงลาดลงสู่บุชเวลด์ ซึ่งท้ายที่สุดจะเป็นทางไปสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำลิมโปโปหรือโลว์เวลด์[30]

Image depicting the Drakensberg
ดราเคนส์เบิร์ก ผาชันบริเวณตะวันออกของประเทศ ถูกสร้างเป็นชายแดนคั่นระหว่างแอฟริกาใต้กับเลโซโท
ฤดูใบไม้ผลิในแอฟริกาใต้

บริเวณมุมตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ คาบสมุทรเคปก่อตัวใต้สุดของแนวชายฝั่งซึ่งติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกและไปสิ้นสุดที่ชายแดนของประเทศติดกับนามิเบียที่แม่น้ำออเรนจ์ คาบสมุทรเคปมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน และพื้นที่โดยรอบเป็นเพียงส่วนเดียวของแอฟริกาตอนใต้ทะเลทรายซาฮาราที่ได้รับฝนตกส่วนใหญ่ในฤดูหนาว แนวชายฝั่งทางตอนเหนือของคาบสมุทรเคปล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตก และแนวของเทือกเขาเคปโฟลด์ที่ทอดยาวจากเหนือ-ใต้ไปทางทิศตะวันออก เทือกเขาเคปโฟลด์เคลื่อนตัวออกไปที่เส้นละติจูด 32° ใต้ หลังจากนั้นแนวชันใหญ่จะทอดตัวเข้าสู่ที่ราบชายฝั่ง

แอฟริกาใต้ยังครอบครองพื้นที่นอกชายฝั่งแห่งหนึ่ง ได้แก่ หมู่เกาะเล็ก ๆ ทางใต้ของทวีปแอนตาร์กติกของหมู่เกาะปรินซ์เอ็ดเวิร์ด ซึ่งประกอบด้วยเกาะแมเรียน (290 ตารางกิโลเมตร หรือ 110 ตารางไมล์) และเกาะปรินซ์เอ็ดเวิร์ด (45 ตารางกิโลเมตร หรือ 17 ตารางไมล์)

สภาพภูมิอากาศ

[แก้]

แอฟริกาใต้มีสภาพอากาศโดยทั่วไปค่อนข้างเย็น เนื่องจากถูกล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดียทั้งสามด้าน และเนื่องจากตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ที่มีอากาศเย็นกว่าปกติ นอกจากนี้ ระดับความสูงเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องไปทางเหนือ (ไปทางเส้นศูนย์สูตร) ​​และไกลออกไป ภูมิประเทศและอิทธิพลมหาสมุทรที่หลากหลายนี้ส่งผลให้เกิดเขตภูมิอากาศที่หลากหลาย เขตภูมิอากาศมีตั้งแต่ทะเลทรายสุดขั้วทางตอนใต้ของนามิบทางตะวันตกเฉียงเหนือสุดไปจนถึงภูมิอากาศกึ่งเขตร้อนอันเขียวชอุ่มทางตะวันออกตามแนวชายแดนติดกับโมซัมบิกและมหาสมุทรอินเดีย ฤดูหนาวในแอฟริกาใต้เกิดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม

พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้มีสภาพอากาศใกล้เคียงกับแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีฤดูหนาวที่ชื้นและฤดูร้อนที่ร้อนจัด และแห้ง เป็นที่ตั้งของฟินบอสอันโด่งดังซึ่งประกอบด้วยป่าไม้พุ่ม บริเวณนี้ผลิตไวน์ได้มากในแอฟริกาใต้ และขึ้นชื่อในเรื่องลมที่พัดเป็นระยะ ๆ เกือบตลอดทั้งปี ลมที่รุนแรงทำให้พัดผ่านแหลมกู๊ดโฮปทำให้เกิดเรืออับปางจำนวนมาก ไกลออกไปทางตะวันออกบนชายฝั่งทางใต้ ปริมาณน้ำฝนจะกระจายอย่างสม่ำเสมอมากขึ้นตลอดทั้งปี ทำให้เกิดภูมิทัศน์สีเขียว ปริมาณน้ำฝนรายปีจะเพิ่มขึ้นทางตอนใต้ของโลว์เวลด์ โดยเฉพาะบริเวณใกล้ชายฝั่งซึ่งเป็นเขตกึ่งเขตร้อน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแอฟริกาใต้ส่งผลให้อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นและเกิดความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝน เหตุการณ์สภาพอากาศเฉียบพลันกำลังเป็นปัญหามากขึ้น[31] นี่เป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับประชากรแอฟริกาใต้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบต่อสถานะโดยรวมและความเป็นอยู่ที่ดีของประเทศ เช่น การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดผลกระทบที่ชัดเจนต่อชุมชนและระดับสิ่งแวดล้อมในรูปแบบและด้านต่าง ๆ เริ่มจากคุณภาพอากาศ รูปแบบอุณหภูมิและสภาพอากาศ การเข้าถึงความมั่นคงทางอาหารและภาวะโรคติดต่อ

ตามแบบจำลองสภาพภูมิอากาศที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งจัดทำโดยสถาบันความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติแห่งแอฟริกาใต้ บางส่วนของแอฟริกาใต้ตอนใต้จะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นประมาณ 1 °C (1.8 °F) ตามแนวชายฝั่งเป็นมากกว่า 4 °C (7.2 °F) ในพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมืองที่ร้อนอยู่แล้ว เช่น นอร์เทิร์นเคป ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนภายในปี 2050 คาดการณ์ว่าภูมิภาคเคปฟลอรัลจะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความแห้งแล้ง และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น คาดว่าจะส่งผลให้สัตว์หายากหลายชนิดสูญพันธุ์[32]

ความหลากหลายทางชีวภาพ

[แก้]
ยีราฟในอุทยานแห่งชาติครูเกอร์
เสือดาวเพศเมียในเขตอนุรักษ์ซาบี

แอฟริกาใต้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1995 และได้เข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนปีเดียวกัน ต่อมาได้จัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติซึ่งได้รับจากอนุสัญญาเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 2006[33] ประเทศนี้อยู่ในอันดับที่หกจากสิบเจ็ดประเทศที่มีความหลากหลายขนาดใหญ่ของโลก การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในแอฟริกาใต้แพร่หลายมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวิธีการที่เป็นไปได้ในการรักษาและปรับปรุงความหลากหลายทางชีวภาพ[34]

สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบได้ทั่วไป เช่น สิงโต เสือดาวแอฟริกา ชีตาห์ แรดขาว วิลเดอบีสต์เคราขาว ไฮยีนา และยีราฟแอฟริกา สัตว์ป่าในประเทศมีความผูกพันและมีอิทธิพลสูงต่อวิถีชีวิตของคนในประเทศ แอฟริกาใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด

หากนับจนถึง ค.ศ. 1945 มีรายงานการพบเชื้อรามากกว่า 4,900 สายพันธุ์ (รวมถึงสายพันธุ์ที่ก่อตัวเป็นไลเคน) ด้วยจำนวนสายพันธุ์พืชที่แตกต่างกันมากกว่า 22,000 ชนิด หรือประมาณ 9% ของพืชที่รู้จักทั้งหมดบนโลก[35] แอฟริกาใต้จึงอุดมไปด้วยความหลากหลายของพืชมากกว่าประเทศอื่น ชีวนิเวศที่แพร่หลายมากที่สุดคือทุ่งหญ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนไฮเวลด์ ซึ่งพืชปกคลุมไปด้วยหญ้าชนิดต่าง ๆ พุ่มไม้เตี้ย และอะคาเซียพืชพรรณกระจัดกระจายไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเนื่องจากมีฝนตกน้อย มีพืชอวบน้ำกักเก็บน้ำได้หลายชนิด เช่น ว่านหางจระเข้และยูโฟเบีย ในพื้นที่ ๆ ร้อนและแห้งมาก และจากข้อมูลขององค์การกองทุนสัตว์ป่าสากล แอฟริกาใต้เป็นบ้านของสัตว์น้ำประมาณหนึ่งในสามของสายพันธุ์ทั้งหมด หญ้าและหนามสะวันนาค่อย ๆ กลายเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยมีการเจริญเติบโตหนาแน่นมากขึ้น

แอฟริกาใต้ได้สูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติจำนวนมากในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากการมีจำนวนประชากรมากเกินไป รูปแบบการพัฒนา และการขยายผังเมือง และการทำลายป่าในช่วงศตวรรษที่ 19 ประเทศนี้มีคะแนนเฉลี่ยดัชนีความสมบูรณ์ของภูมิทัศน์ป่าไม้ประจำปี 2019 อยู่ที่ 4.94/10 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 112 ของโลกจาก 172 ประเทศ[36]

ในอดีต เคยมีการค้นพบป่าเขตอบอุ่นดั้งเดิมที่พบโดยผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยุโรปกลุ่มแรก ทว่าต่อมาได้ถูกทำลายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์จนเหลือเพียงพื้นที่เล็ก ๆ เท่านั้น

ประวัติศาสตร์

[แก้]

อาณานิคมดัตช์

[แก้]

การรุกรานของบริเตน

[แก้]

สงครามบูร์

[แก้]
ยุทธการที่เนินมาจูบา

สาธารณรัฐบูร์ได้รับชัยชนะจากการรุกรานของอังกฤษในช่วงสงครามบูร์ครั้งที่หนึ่ง (1880-1881) โดยใช้ยุทธวิธีการรบแบบกองโจรซึ่งเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น กองทัพอังกฤษกลับมาพร้อมกับกองกำลังที่มากขึ้น ประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น และกลยุทธ์ใหม่ในสงครามบูร์ครั้งที่สอง (1899-1902) และแม้ว่ากองทัพอังกฤษจะได้รับบาดเจ็บหนักเนื่องจากการสู้รบที่ดุเดือด แต่ในที่สุดก็ได้รับชัยชนะ ผู้หญิงและเด็กชาวบูร์มากกว่า 27,000 คนเสียชีวิตในค่ายกักกันของอังกฤษ[37]

ประชากรในเมืองของแอฟริกาใต้เติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ภายหลังความเสียหายจากสงคราม เกษตรกรชาวบูร์ที่มีเชื้อสายดัตช์ได้หนีเข้าไปในเมืองต่างๆ จากดินแดนทรานส์วาลและเสรีรัฐออเรนจ์ และกลายเป็นชนชั้นยากจนในแอฟริกาใต้[38]

จุดเริ่มต้นของการแบ่งแยกสีผิว

[แก้]
"สำหรับใช้โดยคนผิวขาว" – ป้ายถือผิวซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอาฟรีกานส์

ใน ค.ศ. 1948 พรรคเนชั่นแนล (National Party) ชนะการเลือกตั้ง และได้เริ่มทำการส่งเสริมนโยบายแบ่งแยกเชื้อชาติ ซึ่งริเริมมาตั้งแต่สมัยเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์และบริเตน โดยยึดเอาพระราชบัญญัติอินเดียน ของแคนาดาเป็นแบบอย่าง[39] รัฐบาลชาตินิยม ได้จำแนกประชาชนออกเป็นสามเชื้อชาติ โดยเชื้อชาติทั้งสามจะมีสิทธิและข้อจำกัดต่างกันออกไป ชนกลุ่มน้อยผิวขาว (น้อยกว่า 20% จากประชากรทั้งหมด)[40] ควบคุมประชากรผิวสีซึ่งมีจำนวนมากกว่า การแบ่งแยกสีผิวอย่างถูกต้องตามกฎหมายนี้กลายมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ การถือผิว ในขณะชาวผิวขาวมีมาตราฐานการครองชีพ สูงที่สุดในทวีปแอฟริกา สามารถเทียบได้กับชาติตะวันตกโลกที่หนึ่ง ประชากรผิวสีซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศกลับด้อยกว่าในทุกทาง รวมไปถึงรายได้ การศึกษา การเคหะ และอายุคาดเฉลี่ย กฎบัตรเสรีภาพ ซึ่งได้ถูกรับเอามาใช้โดยพันธมิตรคองเกรส ค.ศ. 1955 เรียกร้องถึงสังคมที่ไร้การแบ่งแยกเชื้อชาติ และยุติการเลือกปฏิบัติ


การเมืองการปกครอง

[แก้]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

[แก้]

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

[แก้]
ความสัมพันธ์แอฟริกาใต้ – ไทย
Map indicating location of แอฟริกาใต้ and ไทย

แอฟริกาใต้

ไทย

สาธารณรัฐแอฟริกาใต้กับราชอาณาจักรไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2536 แอฟริกาใต้มีสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยที่กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ แอฟริกาใต้ยังได้แต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ประจำจังหวัดเชียงใหม่ และมีเขตอาณาทางการกงสุลครอบคลุมจังหวัดเชียงรายอีกด้วย[41] และประเทศแอฟริกาใต้มีสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพริทอเรีย

แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่มีความสำคัญที่สุดประเทศหนึ่งสำหรับไทยในทวีปแอฟริกา โดยเป็นหุ้นส่วนหลักทางยุทธศาสตร์ของไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

จุดสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเกิดขึ้นเมื่ออดีตประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลา เดินทางเยือนประเทศไทยและได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อปี 2539 ซึ่งนับว่าเป็นการแสดงถึงจุดสูงสุดของไมตรีจิตรและมิตรภาพที่มีอยู่ระหว่างประชาชนของสองประเทศ[42]

แอฟริกาใต้เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของประเทศไทยในทวีปแอฟริกา และเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ และไทยเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของประเทศแอฟริกาใต้ในกลุ่มประเทศอาเซียน

จากการสำรวจของบริษัทนำเที่ยวในแอฟริกาใต้ ประเทศไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมเป็นอันดับ 2 ของชาวแอฟริกาใต้ รองจากประเทศมอริเชียส โดยในปี 2561 มีนักท่องเที่ยวชาวแอฟริกาใต้เดินทางมาประเทศไทยจำนวน 102,713 คน ซึ่งแอฟริกาใต้ถือเป็นตลาดการท่องเที่ยวของไทยที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา[43]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
9 จังหวัดในประเทศแอฟริกาใต้

ประเทศแอฟริกาใต้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 จังหวัด (provines-provinsie) โดยแต่ละจังหวัดจะมีเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด ได้แก่

จังหวัด เมืองหลวง เมืองใหญ่สุด พื้นที่[44] ประชากร [45]
จังหวัดอีสเทิร์นเคป บิโช พอร์ตเอลิซาเบท 168,966 6,829,958
จังหวัดฟรีสเตต บลูมฟอนเทน บลูมฟอนเทน 129,825 2,759,644
จังหวัดเคาเต็ง โจฮันเนสเบิร์ก โจฮันเนสเบิร์ก 18,178 11,328,203
จังหวัดควาซูลู-นาตัล ปีเตอร์มาริตซ์เบิร์ก เดอร์บัน 94,361 10,819,130
จังหวัดลิมโปโป โพโลเควน โพโลเควน 125,754 5,554,657
จังหวัดพูมาลังกา เนลสไปรต์ เนลสไปรต์ 76,495 3,657,181
จังหวัดนอร์ทเวสต์ มาเฮเคง รุสเทนเบิร์ก 104,882 3,253,390
จังหวัดนอร์เทิร์นเคป คิมเบอร์เลย์ คิมเบอร์เลย์ 372,889 1,096,731
จังหวัดเวสเทิร์นเคป เคปทาวน์ เคปทาวน์ 129,462 5,287,863

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

การศึกษา

[แก้]

ปัญหาด้านการศึกษาของชาวแอฟริกาใต้ ถือได้ว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่และสำคัญที่สุด เพราะหากชาวแอฟริกาใต้ได้รับการศึกษาที่ดีแน่นอนว่าย่อมจะได้รับการพัฒนาประชากร เมื่อคนได้รับความรู้ ก็สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้นี้ไปปรับใช้เพื่อนำไปพัฒนาแหล่งที่อยู่อาศัย สภาพความเป็นอยู่ รวมทั้งการนำไปพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของตนเองและครอบครัวให้มีชีวิตที่ดีขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่ชาวแอฟริกาใต้ต้องการมากไม่แพ้ในสิ่งอื่นใดนั่นก็คือการศึกษา ในปัจจุบันการศึกษาจะถูกจำกัดไว้แค่คนที่มีฐานะเท่านั้น ส่วนคนจนแทบจะไม่ได้รับการศึกษาหรือได้รับการศึกษาที่น้อยมาก

ประชากรศาสตร์

[แก้]

เชื้อชาติ

[แก้]

ชาวผิวขาว เป็นชาวยุโรป ที่สืบเชื้อสายจากชาวดัตช์, ชาวอังกฤษ และชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในแอฟริกาใต้ ปัจจุบันเรียกว่าชาวอาฟรีกาเนอร์ ชาวผิวสี เป็นชาวเลือดผสมระหว่างชาวอาฟรีกาเนอร์, ชาวพื้นเมือง, และชาวมลายูที่อพยพเข้ามา ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดเวสเทิร์นเคป และชาวพื้นเมืองเป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา เช่น ชาวซูลู เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีชาวอินเดียที่ส่วนมากอาศัยอยู่ในจังหวัดควาซูลู-นาตัล อีกด้วย

ศาสนา

[แก้]

คริสต์ร้อยละ 79.77% ไม่มีศาสนา 15.1% อิสลาม 1.46% พราหมณ์-ฮินดู 1.25% พุทธ 1.15%และอื่นๆอีก 1.42%

ภาษา

[แก้]

ประเทศแอฟริกาใต้มีภาษาราชการ 11 ภาษา ได้แก่ ภาษาอาฟรีกานส์, ภาษาอังกฤษ, ภาษาซูลู, ภาษาโชซา, ภาษาสวาตี, ภาษาเอ็นเดเบลี, ภาษาซูทูใต้, ภาษาซูทูเหนือ, ภาษาซองกา, ภาษาสวันนา และภาษาเวนดา ชาวแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาอาฟรีกานส์และภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้

กีฬา

[แก้]

ฟุตบอล

[แก้]

ฟุตบอลทีมชาติแอฟริกาใต้ (อังกฤษ: South Africa national football team) หรือ บาฟานา บาฟานา (Bafana Bafana มีความหมายว่าเด็กชาย) เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลจากประเทศแอฟริกาใต้ อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลแอฟริกาใต้ (SAFA) ทีมกลับมาเล่นระดับโลกในปี 1992 หลังจากหลายปีที่ถูกฟีฟ่าแบนจากนโยบายการแบ่งแยกสีผิว และในปี 2010 แอฟริกาใต้เป็นประเทศแรกของทวีปแอฟริกาที่เป็นเจ้าภาพ ฟุตบอลโลก 2010 เดือนมิถุนายน ซิฟิเว่ ชาบาลาล่ายังเป็นคนแรกที่ทำประตูให้กับทีมชาติแอฟริกาใต้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก ทีมชาติแอฟริกาใต้ประสบความสำเร็จในการเป็นผู้ชนะการแข่งขันแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ ในปี 1996 ที่ประเทศตนเองเป็นเจ้าภาพ

รักบี้

[แก้]

กีฬารักบี้เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในแอฟริกาใต้อย่างมากพอๆกับฟุตบอล ทีมชาติแอฟริกาใต้เป็นทีมรักบี้ที่เก่งระดับโลกและมีผู้เล่นมากฝีมือมากมาย เช่น Percy Montgomery นักรักบี้ทีมชาติแอฟริกาใต้ที่เกิดในประเทศนามิเบีย

วัฒนธรรม

[แก้]

เครื่องดนตรีพื้นเมือง

[แก้]

เครื่องดนตรีพื้นเมืองคือวูวูเซลา (อังกฤษ: vuvuzela, เป็นภาษาซูลู แปลว่า ทำให้เกิดเสียงดัง) หรือในบางครั้งเรียก เลปาตาตา (Lepatata ในภาษาสวานา) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าคล้ายทรัมเป็ต เป็นเครื่องดนตรีและวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองแอฟริกาใต้ มีความยาวประมาณ 1 เมตร เสียงของวูวูเซลา เป็นไปในลักษณะดังกึกก้อง คล้ายเสียงร้องของช้าง (บ้างก็บอกว่าคล้ายแมลงหวี่) และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากการแข่งขันฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 และฟุตบอลโลก 2010

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 The Constitution of the Republic of South Africa (PDF) (2013 English version ed.). Constitutional Court of South Africa. 2013. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2018. สืบค้นเมื่อ 17 April 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 "South Africa | History, Capital, Flag, Map, Population, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2019. สืบค้นเมื่อ 15 June 2020.
  3. "South Africa at a glance | South African Government". www.gov.za. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2020. สืบค้นเมื่อ 18 June 2020.
  4. "Principal Agglomerations of the World". Citypopulation.de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2018. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  5. The Constitution of the Republic of South Africa (PDF) (2013 English version ed.). Constitutional Court of South Africa. 2013. ch. 1, s. 6. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2018. สืบค้นเมื่อ 17 April 2020.
  6. "Mid-year population estimates" (PDF). Statistics South Africa. 29 July 2019. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2019. สืบค้นเมื่อ 29 July 2019.
  7. "South Africa – Community Survey 2016". www.datafirst.uct.ac.za. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2018. สืบค้นเมื่อ 25 November 2018.
  8. "Mid-year population estimates" (PDF). Statistics South Africa. 19 July 2021. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2019. สืบค้นเมื่อ 19 July 2021.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cib11
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 "World Economic Outlook Database, October 2021". International Monetary Fund. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 December 2021. สืบค้นเมื่อ 15 October 2021.
  11. "Gini Index". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2020. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
  12. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. December 15, 2020. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2020. สืบค้นเมื่อ December 15, 2020.
  13. "Data Source Comparison for en-ZA". www.localeplanet.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-05-05.
  14. "Data Source Comparison for af-ZA". www.localeplanet.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-05-05.
  15. 15.0 15.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  16. Mitchley, Alex. "SA's population swells to 62 million - 2022 census at a glance". News24 (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  17. "South Africa: fast facts - SouthAfrica.info". web.archive.org. 2008-07-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-19. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  18. www.statssa.gov.za (PDF) https://www.statssa.gov.za/census/census_2011/census_products/Census_2011_Census_in_brief.pdf. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  19. "Rainbow nation - dream or reality?" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2008-07-18. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
  20. Lynch, David A. (2010). Trade and Globalization: An Introduction to Regional Trade Agreements (ภาษาอังกฤษ). Rowman & Littlefield. ISBN 978-0-7425-6688-0.
  21. Wines, Michael (2005-12-02). "Same-Sex Unions to Become Legal in South Africa". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
  22. "World Bank Open Data". World Bank Open Data.
  23. Waugh, David (2000). Geography: An Integrated Approach (ภาษาอังกฤษ). Nelson Thornes. ISBN 978-0-17-444706-1.
  24. Until We Have Won Our Liberty (ภาษาอังกฤษ). 2022-06-28. ISBN 978-0-691-20300-3.
  25. "World Bank Open Data". World Bank Open Data.
  26. "World Bank Open Data". World Bank Open Data.
  27. "World Bank Open Data". World Bank Open Data.
  28. "UNSD — Demographic and Social Statistics". unstats.un.org.
  29. McCarthy, T. & Rubidge, B. (2005). The story of earth and life. p. 263, 267–268. Struik Publishers, Cape Town.
  30. Atlas of Southern Africa. (1984). p. 13. Reader's Digest Association, Cape Town
  31. "International Journal of Environmental Research and Public Health". www.mdpi.com (ภาษาอังกฤษ).
  32. Prater, Tom (2018-10-15). "The Carbon Brief Profile: South Africa". Carbon Brief (ภาษาอังกฤษ).
  33. Unit, Biosafety. "List of Parties". www.cbd.int (ภาษาอังกฤษ).
  34. "BIODIVERSIDADE". web.archive.org. 2010-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-01. สืบค้นเมื่อ 2023-12-12. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  35. Lambertini, Marco (15 May 2000). "The Flora / The Richest Botany in the World". A Anturalist's Guide to the Tropics (Revised edition (15 May 2000) ed.). University Of Chicago Press. p. 46. ISBN 978-0-226-46828-0.
  36. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7723057/
  37. "5 of the worst atrocities carried out by the British Empire". The Independent. 19 January 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2019. สืบค้นเมื่อ 22 September 2019.
  38. Ogura, Mitsuo (1996). "Urbanization and Apartheid in South Africa: Influx Controls and Their Abolition". The Developing Economies (ภาษาอังกฤษ). 34 (4): 402–423. doi:10.1111/j.1746-1049.1996.tb01178.x. ISSN 1746-1049. PMID 12292280.
  39. Gloria Galloway, "Chiefs Reflect on Apartheid", The Globe and Mail, 11 December 2013
  40. Beinart, William (2001). Twentieth-century South Africa. Oxford University Press. p. 202. ISBN 978-0-19-289318-5.
  41. "ข้อมูลความสัมพันธ์ทวิภาคี : ไทย - แอฟริกาใต้". Thai Embassy Pretoria. 13 มกราคม 2561.
  42. "ความสัมพันธ์ไทย-แอฟริกาใต้". Thai Embassy Pretoria. 19 พฤศจิกายน 2555.
  43. "ททท.ลุยตลาดแอฟริกาใต้ อัพยอดนักท่องเที่ยวมาไทยปีหน้าพุ่ง". มติชน. 11 เมษายน 2562.
  44. Stats in Brief, 2010 (PDF). Pretoria: Statistics South Africa. 2010. p. 3. ISBN 978-0-621-39563-1.
  45. Mid-year population estimates, 2011 (PDF) (Report). Statistics South Africa. 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
รัฐบาล
การศึกษา
ข้อมูลทั่วไป
ด้านการท่องเที่ยว