สงครามวิปลาส
สงครามวิปลาส | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
Château de Vitré หนึ่งในป้อมหลักของชายแดนฝรั่งเศส-บริตัน. | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส |
ฝ่ายกบฏหลวง สนับสนุนโดย: | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
พระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศส แอนน์แห่งฝรั่งเศส Louis II de la Trémoille |
René II, Duke of Lorraine Francis II, Duke of Brittany Jean IV de Rieux พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส Charles, Count of Angoulême Odet d'Aydie John IV of Orange Alain d'Albret |
สงครามวิปลาส (ฝรั่งเศส: guerre folle, อังกฤษ: Mad War หรือ War of the Public Weal) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในยุคกลางที่เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มขุนนางผู้ครองนครกับราชบัลลังก์ฝรั่งเศส สงครามเกิดขึ้นในสมัยการปกครองในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของแอนน์แห่งฝรั่งเศส (Anne of France) ในช่วงหลังจากการเสด็จสวรรคตของ พระเจ้าหลุยส์ที่ 11 จนถึงช่วงเวลาก่อนหน้าที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 จะทรงบรรลุนิติภาวะ (ระหว่างปี ค.ศ. 1485 จนถึง ค.ศ. 1488)
ผู้นำของกลุ่มขุนนางก็ได้แก่หลุยส์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์ ผู้เป็นพระญาติของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 (ผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส); ฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งบริตานี; เรอเนที่ 2 ดยุคแห่งลอร์แรน; อแลง ดาลเบรต์ (Alain d'Albret); ฌอง เดอ ชาลอง, เจ้าชายแห่งออเรนจ์; เคานท์ชาร์ลส์แห่งอองกูเลม และผู้สนับสนุนอื่นๆ
การปฏิวัติต่อต้านอำนาจของราชบัลลังก์ฝรั่งเศสนี้ได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศที่เป็นศัตรูของฝรั่งเศสที่รวมทั้งอังกฤษ สเปน และออสเตรีย ผลหลักของสงครามคือการผนวกบริตานีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรฝรั่งเศส
ที่มาของชื่อ
[แก้]ชื่อเชิงดูหมิ่นของสงครามที่เรียกว่า “สงครามวิปลาส” ที่ใช้ในการบรรยายความขัดแย้งระหว่างผู้ครองนครในการต่อต้านอำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นชื่อที่คิดขึ้นมาโดยพอล อีมิลในหนังสือ “Histoire des faicts, gestes et conquestes des roys de France” ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1581[1]
การนิยามว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสงครามรวบยอดครั้งเดียวก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ความขัดแย้งครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่ตามมาจากความขัดแย้งระหว่างพระมหากษัตริย์และขุนนางชั้นนำของราชอาณาจักรในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลังจากการก่อตั้งสหพันธ์ขุนนางนอกราชอำนาจ (League of the Public Weal) ส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางอำนาจระหว่าง ค.ศ. 1484 ถึง ค.ศ. 1485 หลุยส์แห่งออร์เลอองส์ผู้ได้รับการสนับสนุนจากฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งบริตานีและขุนนางอื่นๆ พยายามโค่นอำนาจของแอนน์แห่งฝรั่งเศสผู้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทั้งโดยการหว่านล้อมและการขู่ว่าจะใช้กำลังทหาร แต่แอนน์สามารถยุติความขัดแย้งได้โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ และเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1485 ทั้งสองฝ่ายก็ทำการตกลงยุติความขัดแย้งกันที่บูร์กส์
ตามคำกล่าวของนักประวัติศาสตร์การตกลงยุติความขัดแย้งกันที่บูร์กส์เป็นการยุติช่วงแรกของ “สงครามวิปลาส” ช่วงที่สองของความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1486 จนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1488 ที่บางครั้งก็เรียกว่า “สงครามบริตานี” ผู้ให้ความเห็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่คือกลุ่มชาตินิยมบริตานี (Breton nationalism) แยกความขัดแย้งครั้งที่สองอย่างเด็ดขาดจากครั้งแรกและเรียกว่า “สงครามฝรั่งเศส-บริตานี” หรือบางครั้งก็ถึงกับเรียกว่า “สงครามอิสรภาพบริตานี” หรือบางครั้งก็กล่าวว่าเป็นสงครามที่ต่อเนื่องจากสงครามสืบครองบริตานี (Breton War of Succession)
เหตุการณ์
[แก้]ในต้นรัชสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 หลุยส์แห่งออร์เลอองส์พยายามยึดอำนาจของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่มิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแห่งตูร์ ที่ประชุมกันระหว่างวันที่ 15 มกราคมจนถึงวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1484 ในเดือนเมษายนหลุยส์แห่งออร์เลอองส์ก็ออกเดินทางไปบริตานีเพื่อไปรวมตัวกับฟรองซัวส์แห่งบริตานี ขณะเดียวกันก็ส่งจดหมายไปถึงพระสันตะปาปาทูลขอให้ประกาศให้การเสกสมรสของตนกับฌานน์เป็นโมฆะ เพื่อที่จะได้เป็นอิสระและหันไปเสกสมรสกับแอนน์แห่งบริตานีผู้เป็นทายาทของฟรองซัวส์ได้ หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาที่คาดว่าจะเป็นการเสกสมรสกับแอนน์เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1484 หลุยส์ก็กลับเข้าราชสำนักและพยายามยึดการควบคุมพระเจ้าชาร์ลส์ให้มาอยู่ในมือตนเอง แต่ถูกหยุดยั้งด้วยกำลังทางทหารของแอนน์แห่งฝรั่งเศส และถูกจับโดยถูกกักกันไว้ในบ้านที่เกียง (Gien)
หลุยส์หนีจากเกียงเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1485 ไปพยายามยึดปารีสแต่ล้มเหลว และหลบหนีเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ไปยังอลองซง และทำการขอพระราชทานอภัยโทษ (amende honorable) เมื่อวันที่ 12 มีนาคม จากนั้นหลุยส์ก็ถูกควบคุมและจำขังไว้ที่ออร์เลอองส์เพื่อป้องกันไม่ให้สามารถเดินทางไปสมทบกับผู้หนุนหลังในบริตานีได้ ขณะเดียวกันกองกำลังของฝ่ายพระมหากษัตริย์ก็ปราปรามขุนนางผู้ก่อการในบริตานีได้
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม หลุยส์ก็ออกประกาศต่อต้านรัฐบาลผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีก กองทัพฝ่ายพระมหากษัตริย์ก็นำทัพไปยังออร์เลอองส์ แต่หลุยส์หลบหนีไปยังโบชองซี (Beaugency) แต่ไปพ่ายแพ้ต่อ Louis II de La Trémoille ในเดือนกันยายน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งบริตานีก็ตกลงสงบศึกเป็นเวลาหนึ่งปี ที่เรียกว่า “สัญญาสันติภาพบูร์กส์” ที่ได้รับการลงนามกันเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1485
การฟื้นฟูความเป็นปฏิปักษ์
[แก้]หลังจากช่วงเวลาความตกลงสงบศึกสิ้นสุดลงการปฏิวัติก็ปะทุขึ้นอีก ในขณะนั้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1486, แม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งออสเตรีย ก็เข้ารุกรานทางตอนเหนือของฝรั่งเศสแล้วแต่ก็ถอยทัพ ในเดือนพฤศจิกายนกองทัพฝ่าปฏิวัติของฟรองซัวส์ เดอ ดูนัวส์ก็ยึดปราสาทที่พาร์เทเนย์ (Parthenay) เมื่อวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1487 หลุยส์ก็หนีจากปราสาทที่บลัวส์โดยมีนายขมังธนูไล่ตาม แต่ก็รอดไปได้ถึงบริตานี กองทัพหลวงออกเดินทางจากตูร์เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์และเริ่มทำการรุกรานทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของบริตานี ที่บอร์โดซ์เมื่อวันที่ 7 มีนาคม Odet d’Aydie ข้าหลวงแห่ง Guyenne ผู้สนับสนุนฝ่ายปฏิวัติก็ถูกปลดและแต่งตั้ง Pierre de Beaujeu ขึ้นแทน กองทัพหลวงออกเดินทางจากบอร์โดซ์เมื่อวันที่ 15 มีนาคมเพื่อยึดพาร์เทเนย์ในวันที่ 30 มีนาคม ฟรองซัวส์ เดอ ดูนัวส์สามารถหนีไปสมทบกับหลุยส์ได้ที่นองต์ ฝ่ายกองทัพหลวงก็เดินทัพต่อไปยังบริตานี ซึ่งทำให้ขุนนางบริตานียอมสวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์ในสนธิสัญญาชาโตบริองต์ (Treaty of Chateaubriant) กองทัพหลวงตกลงว่าจะปฏิบัติต่อดยุคแห่งบริตานีฉันท์ศตรู และจะออกจากบริตานีทันที่ที่จับตัวหลุยส์และดูนัวส์ได้
ขณะเดียวกันทางตอนเหนือมาร์แชลเดอเอสแคร์เดส์ก็สามารถต่อต้านกองทัพของแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งออสเตรียผู้ที่เพิ่งได้รับเลือกให้เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้ ทางด้านใต้ลอร์ดแห่งคองดาเลก็ได้รับชัยชนะต่ออแลง ดาลเบรต์ผู้นำของฝ่ายปฏิวัติในยุทธการที่นงทรง (Nontron) ดาลเบรต์ตั้งใจที่จะไปรวมตัวกับกองทัพฝ่ายปฏิวัติทางตอนเหนือ แต่ถูกบังคับให้ยินยอมคืนผู้ถูกลักตัว ในบริตานีพันธมิตรฝ่ายกษัตริย์ที่นำโดยไวเคานท์แห่งโรฮังก็ยึดทางตอนเหนือของราชอาณาจักรบริตานีได้ และยึด Ploërmel
ในเดือนเมษายนดยุคฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งบริตานีก็พยายามรวบรวมกำลังทหารในบริตานี แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเพราะมีผู้ที่เกลียดชังการฉ้อโกงของรัฐบาล ขณะเดียวกันกองทัพหลวงก็เริ่มเดินทางมายังบริตานี และได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีที่ชาโตบริองต์, วิเทร องเซอนีส์ และคลิส์ซง กองทัพหลวงเข้าล้อมนองต์แต่พันธมิตรคอร์นนิชของบริตานีที่ได้รับการสนับสนุนจากทหารรับจ้างสามารถได้รับชัยชนะต่อผู้ล้อมได้ แต่ในขณะเดียวกันทหารนอร์มันก็ปิดกันฝั่งทะเลบริตานีเพื่อกันกองสนับสนุนบริตานีที่มาจากอังกฤษและอื่นๆ ไม่ให้ขึ้นฝั่ง
เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1488 ดยุคแห่งออร์เลอองส์และดยุคแห่งบริตานีก็ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการในรัฐสภาแห่งปารีสว่าเป็นกบฏ ดยุคทั้งสองและผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่บัดนั้นก็ไม่ถือว่าเป็น “บริวาร” (vassal) ของราชอาณาจักรอีกต่อไป แต่เป็น “ข้าแผ่นดิน” (subject) ที่มีความผิดในข้อหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (lèse-majesté) ในฤดูใบไม้ผลิดยุคแห่งออร์เลอองส์ก็เริ่มการต่อต้านขึ้นอีกโดยการยึด Vannes, Auray และ Ploërmel
เมื่อวันที่ 24 เมษายน รัฐสภาก็ตัดสินให้ยึดทรัพย์สินทั้งหมดของหลุยส์ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ ขณะเดียวกันอแลง ดาลเบรต์ก็สามารถไปหาทุนมาได้จากราชสำนักสเปนและเดินทางไปสมทบในบริตานีพร้อมด้วยกองทหารอีก 5000 คน แม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งออสเตรียก็ทรงส่งกองทหารไปสมทบอีก 1500 คน ทางผู้นำฝ่ายอังกฤษลอร์ดสเคลส์ก็สามารถขึ้นฝั่งได้พร้อมกับกองกำลังสนับสนุน แต่แม้ว่าจะมีกองกำลังสมทบจากหลายฝ่ายแต่ฝ่ายพันธมิตรก็ยังมีกองกำลังน้อยกว่ากองทัพหลวงเป็นจำนวนมาก และยิ่งมาเสียเปรียบเมื่อแม็กซิมิเลียนต้องนำกองทัพไปปราบปรามกบฏในฟลานเดอร์สที่ได้รับการสนับสนุนจากมาร์แชลเดอเอสแคร์เดส์ และในบรรดากลุ่มขุนนางที่สนับสนุนบริตานีก็ยังคงมีความขัดแย้งกันเองในการแก่งแย่งกันเสกสมรสกับแอนน์แห่งบริตานี ทั้ง หลุยส์, อแลง และแม็กซิมิเลียนต่างก็มีความประสงค์เช่นเดียวกัน
แม่ทัพของกองทัพหลวง Louis II de la Trémoille รวบรวมกำลังที่พรมแดนบริตานีเพื่อเตรียมตัวโจมตี เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม กองทัพหลวงก็ยึด Fougères และต่อมาดินอง ไม่นานนักกองทัพของทั้งสองฝ่ายก็ปะทะกันในยุทธการแซงต์-โอแบง-ดู-โคมิเยร์ (Battle of Saint-Aubin-du-Cormier) เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1488 ฝ่ายบริตานีนำโดยนายพล Rieux ได้ความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ ความพ่ายแพ้เป็นการยุติสงคราม หลุยส์ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ถูกจับ และดยุคฟรองซัวส์ถูกบังคับให้ยอมรับสนธิสัญญาที่เป็นการลดอำนาจลงเป็นอันมาก
ดยุคฟรองซัวส์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 กันยายน แอนน์แห่งบริตานีกลายเป็นดัชเชสแห่งบริตานีในปีต่อมา Lescun และ ดูนัวส์และผู้เข้าร่วมการปฏิวัติส่วนใหญ่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษ หลุยส์ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ถูกจำขังในป้อมปราการแต่ในที่สุดก็ได้รับการพระราชทานอภัยโทษจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 เมื่อทรงบรรลุนิติภาวะสามปีต่อมา ต่อมาหลุยส์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์ก็ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 และได้ทำการเสกสมรสกับแอนน์แห่งบริตานี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Didier Fur. Anne of Brittany. Bookshop Guénégaud Edition: Paris, 2000.