ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิซาเบลที่ 1
สมเด็จพระราชินีนาถคาทอลิกแห่งสเปน
ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า
พระบรมสาทิสลักษณ์ เมื่อ ค.ศ.1490
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งกัสติยาและเลออน
ครองราชย์11 ธันวาคม 1474 – 26 พฤศจิกายน 1504
(29 ปี 351 วัน)
ราชาภิเษก13 ธันวาคม 1474 [1]
ก่อนหน้าเอนริเกที่ 4
ถัดไปฆัวนา และ เฟลิเปที่ 1
ผู้ร่วมในราชสมบัติเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน
สมเด็จพระราชินีแห่งอารากอน
บาเลนเซีย ซาร์ดิเนียและมาฆอร์กา
เคาน์เตสแห่งบาร์เซโลนา
ระหว่าง20 มกราคม 1479 – 26 พฤศจิกายน 1504
สมเด็จพระราชินีแห่งซิซิลี
สมเด็จพระราชินีแห่งเนเปิลส์
ระหว่าง
  • 19 ตุลาคม 1469 - 26 พฤศจิกายน 1504 (ซิซิลี)
  • 31 มีนาคม 1504 – 26 พฤศจิกายน 1504 (เนเปิลส์)
พระราชสมภพ22 เมษายน ค.ศ. 1451
มาดริกัลเดลัสอัลตัสตอร์เรส สเปน
สวรรคต26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1504 (53 พรรษา)
เมดินาเดลกัมโป สเปน
คู่อภิเษกพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน
พระราชบุตรอิซาเบลแห่งอัสตูเรียส สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส
เจ้าชายฆวนแห่งอัสตูเรียส
สมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาแห่งกัสติยา
มาเรียแห่งอารากอน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส
กาตาลินาแห่งอารากอน พระราชินีแห่งอังกฤษ
ราชวงศ์ราชวงศ์ตรัสตามารา
พระราชบิดาพระเจ้าฆวนที่ 2 แห่งกัสติยา
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีอิซาเบล
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา (สเปน: Isabel I de Castilla; 22 เมษายน พ.ศ. 1994-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2047) เป็นพระราชินีนาถแห่งกัสติยาและเลออนในราชวงศ์ตรัสตามารา พระนางและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน พระราชสวามี ได้วางรากฐานในการรวมสเปนให้สืบต่อไปจนถึงรุ่นหลาน คือจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทั้งสองได้เป็นขั้วอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในการยึดดินแดนสเปนกลับคืนมาจากชาวมัวร์และได้กระทำการรวมชาติสเปนเป็นปึกแผ่น พระนางทรงอนุมัติให้คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสไปแสวงหาดินแดนโพ้นทะเลและจนสำรวจพบทวีปอเมริกา พระนางจัดได้ว่าเป็นนักปกครองที่ได้รับการกล่าวชื่อในประวัติศาสตร์ พระนางได้ทำให้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเจริญอย่างมากในสเปนและพระนางทำให้กรานาดาในการปกครองของมุสลิมมัวร์ยินยอมส่งเครื่องบรรณาการต่อพระองค์ ต่อมาพระนางได้ทำการยึดครองกรานาดาได้สำเร็จ และยึดครองนาวาร์ได้ในปี พ.ศ. 2055 แล้ว คำว่า สเปน (สเปน: España) ก็เริ่มถูกนำมาใช้เพื่อเรียกชื่อของราชอาณาจักรที่รวมกันใหม่นี้ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของราชอาณาจักรกัสติยา ราชอาณาจักรอารากอน และราชอาณาจักรนาวาร์ได้วางรากฐานให้กับการเกิดสเปนสมัยใหม่และจักรวรรดิสเปน (Spanish Empire) สเปนกลายเป็นผู้นำอำนาจของยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องมาจากการปรับปรุงด้านการเมือง สังคม และการทหารในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การขยายตัวของผลผลิตที่ได้จากเหมืองแร่เงินในทวีปอเมริกาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็ยิ่งเสริมตำแหน่งมหาอำนาจให้มั่นคงขึ้นอีก

ช่วงต้นของชีวิต

[แก้]

พระนางอิซาเบลเสด็จพระราชสมภพที่เมืองมาดริกัลเดลัสอัลตัสตอร์เรส ประเทศสเปน ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 1994 หลังจากนั้น 3 ปี พระอนุชา คือ เจ้าชายอัลฟอนโซแห่งอัสตูเรียสได้ประสูติตามมา เมื่อพระเจ้าฆวนที่ 2 แห่งกัสติยา พระบิดา เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1997 พระเจ้าเอนริเกที่ 4 แห่งกัสติยา พระเชษฐาต่างพระมารดา ได้ขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ได้เนรเทศพระนางและพระอนุชาไปที่เมืองเซโกเบียและเนรเทศพระมารดาของพระนางอิซาเบลคือ สมเด็จพระราชินีอิซาเบลไปที่เมืองอาเรบาโล การสมรสครั้งแรกของพระเจ้าเอนริเก (สมรสกับสมเด็จพระราชินีบรานซ์แห่งนาวาร์) ไม่ค่อยราบรื่น จากนั้นได้สมรสกับสมเด็จพระราชินีฌูอานาแห่งโปรตุเกส พระเจ้าเอนริเกถูกกล่าวหาว่าทรงเป็นผู้รักร่วมเพศ พระนางฌูอานาได้ให้กำเนิดพระธิดาคือเจ้าหญิงฆัวนาแห่งกัสติยา เมื่อพระนางอิซาเบลมีพระชนมายุได้ 10 พรรษา พระนางและพระอนุชาได้ถูกเรียกตัวมาที่พระราชสำนักเพื่อให้อยู่ใต้การคุมพระองค์เข้มงวดขึ้น เหล่าขุนนางได้เรียกร้องให้พระเจ้าเอนริเกตั้งเจ้าชายอัลฟอนโซเป็นรัชทายาท พระองค์ก็ทรงยินยอมโดยให้เจ้าชายสมรสกับบุตรีของพระองค์ แต่ไม่กี่วันพระองค์ก็เปลี่ยนพระทัย

เหล่าขุนนางภายใต้เจ้าชายอัลฟอนโซได้เรียกร้องให้เจ้าชายทวงพระราชบัลลังก์คืน และได้สู้รบกับพระเจ้าเอนริเกในยุทธการที่โอลเมโด พ.ศ. 2010 ผลการสู้รบเสมอกัน 1 ปีให้หลังเจ้าชายอัลฟอนโซได้สิ้นพระชนม์ลงด้วยพระชันษา 14 ชันษา และเจ้าหญิงอิซาเบลก็ได้กลายเป็นความหวังสุดท้ายของเหล่าขุนนางฝ่ายเจ้าชายอัลฟอนโซ แต่พระนางปฏิเสธที่จะบัญชาการ ในที่สุดพระเจ้าเอนริเกที่ 4 ยินยอมให้เจ้าหญิงอิซาเบลเป็นทายาทครองราชบัลลังก์อย่างแท้จริง และหลังจากนั้นเจ้าหญิงฆัวนาจึงเป็นต้นตระกูลของพระราชบิดาต่อมา ใน พ.ศ. 2018 เจ้าหญิงฆัวนาได้สมรสกับพระปิตุลาของพระนางเองซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งโปรตุเกส แต่การสมรสนี้ในภายหลังถูกสมเด็จพระสันตะปาปาห้ามเพราะเป็นการสมรสกันในเครือญาติ พระเจ้าเอนริเกยินยอมให้เจ้าหญิงอิซาเบลเลือกคู่สมรสของพระนางเอง พระนางได้เลือกเจ้าชายเฟร์นันโดรัชทายาทในราชบัลลังก์แห่งอารากอน พระนางทรงประทับใจในรูปโฉมของเจ้าชาย และเจ้าชายก็ทรงประทับใจพระนางเช่นกัน ทั้งสองพระองค์ได้อภิเษกสมรสกันในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2012 ที่เมืองบายาโดลิด

เหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2035

[แก้]
พระนางอิซาเบล พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 และเจ้าหญิงฆัวนา พระราชธิดา ในปีพ.ศ. 2025
พระนางอิซาเบลกับพระเจ้าเฟร์นันโดกำลังออกขุนนาง

ปี พ.ศ. 2035 เป็นปีที่สำคัญปีหนึ่งของพระนางอิซาเบล คือ เหตุการณ์การทวงดินแดนคืนแห่งกรานาดาซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการพิชิตดินแดนคืน (reconquest) การอุปถัมภ์คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเพื่อเสาะแสวงหาดินแดนใหม่ และการขับไล่ชาวยิวและมัวร์ออกจากสเปน

กรานาดา

[แก้]

ราชอาณาจักรกรานาดาของชาวมุสลิมแห่งราชวงศ์นาสริดได้สามรถป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็งได้จากปฏิบัติการรีคอนเควสตาของสเปน อย่างไรก็ตามก็ได้สานมิตรไมตรีกับพระนางอิซาเบลและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 ทั้ง 2 พระองค์ได้ใช้เวลา 10 ปีจนสามารถครองกรานาดาได้ในปี พ.ศ. 2035

เมื่อชาวสเปนได้จับสุลต่านบออับดิลสุลต่านแห่งกรานาดาและได้ปล่อยเขาเป็นอิสระจากการไถ่ตัวและให้สุลต่านปกครองกรานาดาต่อไป กษัตริย์สเปนได้เกณฑ์ทหารจากหลายประเทศทั่งยุโรปและปรับปรุงวิทยการอันล้าหลังและสร้างปืนใหญ่ การพัฒนาการเหล่านี้ทำให้สเปนประสบความสำเร็จในการรวมประเทศ ในพ.ศ. 2028ได้มีการล้อมโจมตีเมืองลอนดา เมืองนี้ก็ยอมแพ้จากการโจมตีการโจมตีโดยการใช้ระเบิดหรือปืนที่มีอานุภาพร้ายแรงเป็นวงกว้าง และปีต่อมาเมืองโลจาก็ถูกยึดและเป็นอีกครั้งที่สุลต่านบออับดิลถูกจับกุมและได้รับการปล่อยตัว และปีต่อมาในการล่มสลายแห่งมาลากาทำให้อาณาจักรมุสลิมนาสริด ตะวันตกได้พ่ายแพ้ต่อสเปน ในปีพ.ศ. 2032 อาณาจักรมุสลิมนาสริด ตะวันออกก็ได้ยอมจำนนหลังจากการล่มสลายแห่งบาซา การล้อมโจมตีกรานาดาได้เกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ ของปีพ.ศ. 2034 เมื่อค่ายของทหารสเปนถูกทำลายจากอุบัติเหตุไฟไหม้ ค่ายก็ได้สร้างใหม่ในหินเป็นรูปทรงไม้กางเขนสีขาวชื่อว่า ซานตา เฟ (i.e. 'Holy Faith') และเมื่อจบปีนี้สุลต่านบออับดิลก็ยอมจำนน ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2035 พระนางอิซาเบลและพระเจ้าเฟร์นันโดได้เข้าเมืองกรานาดาเพื่อรับกุญแจเมือง มัสยิดต่าง ๆ ได้ถูกดัดแปลงเป็นโบสถ์ สนธิสัญญาแห่งกรานาดาได้กล่าวว่าหลังจากปีนั้นจะให้ความมั่นใจแก่ศาสนาของมุสลิม แต่ศาสนาอิสลามจะไม่คงอยู่ในสเปน

โคลัมบัส

[แก้]
ภาพแกะสลักพระนางอิซาเบลในตอนสวดแก่พระบิดาและพระมารดาที่ถูกฝังในคาร์ทูจา เดอ มิราฟอร์ที่เมืองเบอร์โก

พระนางอิซาเบลได้ปฏิเสธคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเกี่ยวกับการล่องเรือไปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดนการเดินทางไปทางตะวันตก แต่หลังจากนั้นพระนางก็ยินยอม วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2035 คณะสำรวจของโคลัมบัสได้ออกเดินทาง และถึงทวีปอเมริกาในวันที่ 12 ตุลาคม เขาได้กลับมาพร้อมสิ่งที่เขาพบมามอบแก่กษัตริย์ซึ่งเป็นของพื้นเมืองและทองคำ ทำให้ช่วงนี้เป็นยุคทองของสเปนในการสำรวจและแสวงหาอาณานิคม ในปีพ.ศ. 2037 ได้มีการทำสนธิสัญญาตอร์เดซิยัสร่ามกับพระเจ้าฌูเอาที่ 2 แห่งโปรตุเกสในการแบ่งดินแดนร่วมกันในอาณานิคมนอกยุโรป

พระนางสามารถป้องกันการโจมตีจากชนพื้นเมืองอเมริกา ในปีพ.ศ. 2046 พระนางได้จัดตั้งตำแหน่งข้าหลวงแห่งอินเดียนซี่งต่อมาเป็นสภาสูงแห่งอินดี

การขับไล่ชาวยิวและชาวมุสลิม

[แก้]

เมื่อศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกแพร่หลายในสเปน และโตมัส เด ตอร์เกมาดา นักบวชคณะดอมินิกันสมาชิกชั้นสูงคนแรกของคณะ กษัตริย์คาทอลิกจึงได้ทำให้คาทอลิกเป็นเอกภาพ พระนางอิซาเบลจึงต่อต้านความเป็นอยู่ของชาวยิวที่ร่ำรวยจนเกินชาวคาทอลิก โตมัส เด ตอร์เกมาดาได้ทำการโน้มน้าวพระเจ้าเฟร์นันโดให้คล้อยตามด้วย ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2035 พระราชกฤษฎีกาอาลัมบราได้สั่งให้ขับไล่ชาวยิวจำนวน 200,000 คนออกจากสเปน ส่วนคนที่เหลืออยู่บังคับให้เปลี่ยนศาสนา ส่วนชาวมุสลิมในกรานาดาต้องการเสรีภาพในการนับถือศาสนาและได้ก่อกบฏ ชาวยิวคนหนึ่งผู้ซึ่งไม่ต้องถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนาคือ ลุยส์ เด ซันตังเฆล ผู้ซึ่งเป็นข้าหลวงการคลังของพระราชาและพระราชินีและเขาเป็นผู้ช่วยในการสำรวจโลกใหม่

บั้นปลายชีวิต

[แก้]
เอกสารในเมืองกรานาดาที่มีลายพระหัตถ์ของพระนางอิซาเบล
ภาพพระนางอิซาเบลในช่วงบั้นปลาย

พระนางอิซาเบลและพระสวามีทรงได้รับถวายพระสมัญญา พระมหากษัตริย์คาทอลิก จากสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 ให้เป็นคาทอลิกในทางโลกแต่พระนางไม่ยอมรับ ในตลอดการครองราชสมบัติของพระองค์ทำให้สเปนเจริญและเป็นอาณานิคมทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเฟื่องฟู หลังจากการปฏิวัติใน พ.ศ. 2042 สนธิสัญญาแห่งกรานาดาถูกเลิกใช้ ชาวมุสลิมต้องทำการล้างบาปแบบศาสนาคริสต์หรือไม่ก็ถูกขับไล่ออกจากประเทศ ฟรันซิสโก ฆิเมเนซ เด ซิสเนโรส อาร์ชบิชอปแห่งโตเลโดได้ทำการคืนศาสนาคริสต์กลับสู่สเปนและการเป็นผู้มีอิทธิพลมากในสเปน

พระนางและพระสวามีได้สร้างอาณาจักรและสร้างความสัมพันธ์กับอาณาจักรอื่น ๆ ด้วยการนำโอรสและธิดาไปสมรสกับบุตรของเจ้าแคว้นอื่นโดยเจ้าชายฆวนแห่งอัสตูเรียสอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งออสเตรียก่อตั้งสายราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค เจ้าหญิงอิซาเบลแห่งอัสตูเรียสให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ามานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกสและเจ้าหญิงฆัวนา อภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา แต่ความคิดของพระนางอิซาเบลล้มเหลวเพราะเจ้าชายฆวนแห่งอัสตูเรียสได้สิ้นพระชนม์หลังการอภิเษกไม่นาน สมเด็จพระราชินีอิซาเบลแห่งอัสตูเรียสได้สวรรคตหลังให้กำเนิดโอรส และพระโอรสก็สิ้นพระชนม์ขณะพระชนมายุ 2 ชันษา เจ้าหญิงฆัวนาก็มีปัญหาในการอภิเษกสมรส และพระธิดา เจ้าหญิงกาตาลินาแห่งอารากอนได้กลายเป็นพระมเหสีองค์ที่ 1 ของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษพระนางได้ให้กำเนิดพระธิดาคือ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ ที่ได้เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ทิวดอร์ พระนางอิซาเบลเสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2047 ที่เมดินาเดลกัมโป ก่อนที่พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยากับพระเจ้าเฟร์นันโดเป็นศัตรูกัน

พระนางอิซาเบลได้ถูกฝังพระศพที่เมืองกรานาดาในกาปิยาเรอัล ที่สร้างขึ้งโดยพระนัดดาคือจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระศพอยู่คู่กับพระศพของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน พระสวามี พระศพของพระนางฆัวนาพระธิดาและพระเจ้าเฟลิเป พระสวามีของพระนางฆัวนา และพระนัดดาซึ่งเป็นบุตรของสมเด็จพระราชินีอิซาเบล พระธิดาคือ เจ้าชายมิเกล

พระราชินีนาถอิซาเบลกับการปกครองสมัยใหม่และการศาสนา

[แก้]
ภาพ Madonna of the Catholic Monarchs โดยเฟร์นันโด กาเยโก

ชาวคาทอลิกบางคนจากต่างประเทศได้ประกาศให้พระนางอิซาเบลเป็นนักบุญ ด้วยเหตุผลที่ว่าพระนางอิซาเบลได้ทำการปกป้องศาสนาคริสต์ให้คงอยู่ คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้ยกย่องพระนางเป็น ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า (Servant of God)

พระนางอิซาเบลได้มีการปรากฏชื่อครั้งแรกบนเหรียญของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเหรียญแห่งการระลึกถึงการครบรอบ 400 ปีการเดินทางของโคลัมบัสครั้งแรก และในปีเดียวกันพระนางได้เป็นสตรีคนแรกที่ได้ขึ้นบนแสตมป์ของอเมริกาซึ่งอยู่ในชุด Columbian Issue ที่จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองแด่โคลัมบัสเช่นกัน ภาพพระนางได้ปรากฏในสเปนที่ 15-cent Columbian บนมูลค่า 1 $ และในภาพเต็มซึ่งด้านข้างคือโคลัมบัสและบนมูลค่าอื่น ๆ อีกมากมาย

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]
รูปปั้นพระนางอิซาเบลที่เมืองกรานาดา
  • เรื่อง Queen's Cross แต่งในศตวรรษที่ 20 โดยนักเขียนชาวอเมริกัน ลอร์เลนซ์ สคูโนเวอร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระราชินีนาถอิซาเบลและพระเจ้าเฟร์นันโดในช่วงกระทำการรีคอนเควสตาและช่วงทายาทสืบราชวงศ์
  • เรื่อง Fuente Ovejuna ของโลป เดอ เวกา เกี่ยวกับพระนางอิซาเบลและพระเจ้าเฟร์นันโดในการการต่อต้านระบบฟิวดัลของกลุ่มขุนนาง
  • เรื่อง Royal Diaries เป็นเรื่องที่รวบรวมประวัติของสตรีสูงศักดิ์และมีชื่อเสียงทั่วโลกซึ่งรวมทั้ง Isabel, Jewel of Castilla, Spain, 1466 โดยคาโลลีน เมเยอร์ประวัติของพระราชินีนาถอิซาเบล
  • เรื่อง Crown of Aloes เกี่ยวกับการชวนให้ระลึกถึงประวัติศาสตร์ในอดีต
  • เรื่อง Pastwatch: The Redemption of Christopher Columbus โดย ออสัน สกอต การ์ดเกี่ยวกับคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส พระนางอิซาเบลและพระเจ้าเฟอร๋ดินานด์
  • เรื่องสั้น Christopher Columbus and Queen Isabella of Spain Consummate Their Relationship โดย ซัลแมน รัชดี
  • ในภาพยนตร์ ลอลา ฟลอเรสแสดงเป็นพระนางอิซาเบลในเรื่อง Juana la Loca, de vez en cuando แสดงโดย ซิกจวนนีย์ เวฟเวอร์ในเรื่องConquest of Paradise ของ ริดลีย์ สก็อตต์ แสดงโดยราเชล วาร์ดในเรื่อง Christopher Columbus: The Discovery แสดงโดย ราเชล เวล์สในเรื่อง The Fountain
  • ในมินิซีรีส์ โดย เฟย์ ดูนาเวย์แสดงเป็นพระนางอิซาเบลในมินิซีรีส์เรื่อง Christopher Columbus
  • ในเกมส์คอมพิวเตอร์ ปรากฏในเกมส์ Civilization IVโดยเป็นผู้นำของจักรวรรดิสเปน
  • ในเกมส์ Age of Empires IIIโดยเป็นผู้นำของจักรวรรดิสเปน
  • ในเกมส์เชิงกลยุทธ์อิงประวัติศาสตร์ Europa Universalis IV พระนางเป็นผู้ปกครองราชบัลลังก์กัสติยา ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1474 เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งราชบัลลังก์อารากอน ในวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1479 และเป็นผู้ปกครองร่วมของรัฐร่วมประมุข ระหว่างคาสติลและอารากอน ในวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1479

บรรพบุรุษ

[แก้]

พระนางอิซาเบลทรงเป็นลูกหลานของพระเจ้าเอนริเกที่ 2 แห่งกัสติยา พระราชโอรสในพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 11 แห่งกัสติยา กับนางเอเลนอร์แห่งกัสแมน พระสนม สมเด็จพระราชินีแคทเทอรีนแห่งแลงคัสเตอร์ พระอัยยิกาฝ่ายพระบิดาของพระนางเป็นพระนัดดาของพระเจ้าปีเตอร์แห่งกัสติยากับพระสนม นางมาเรีย เดอ พาดิลลา พระอัยยิกาผ่ายพระมารดาของพระนางอิซาเบลคือ สมเด็จพระราชินีอิซาเบลแห่งบรากังซาเป็นพระธิดาในดยุคอัลฟอนโซแห่งบรากังซาผูซึ่งพระมารดาคือ นางอินเนส เปเรส เอสเทเวสเป็นพระสนมในพระเจ้าจอห์นที่ 1 แห่งโปรตุเกส

พระราชตระกูลในสามรุ่นของสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบล
อิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา พระราชบิดา:
จอห์นที่ 2 แห่งกัสติยา
พระอัยกาฝ่ายพระราชบิดา:
เฮนรีที่ 3 แห่งกัสติยา
พระปัยกาฝ่ายพระราชบิดา:
จอห์นที่ 1 แห่งกัสติยา
พระปัยยิกาฝ่ายพระราชบิดา:
เอเลนอร์แห่งอารากอน
พระอัยยิกาฝ่ายพระราชบิดา:
แคทเทอรีนแห่งแลงคัสเตอร์
พระปัยกาฝ่ายพระราชบิดา:
ดุ๊กจอห์นแห่งแลงคัสเตอร์
พระปัยยิกาฝ่ายพระบิดา:
ดัสเซสคอนสแตนต์แห่งแลงคาสเตอร์
พระราชมารดา:
อีซาแบลแห่งโปรตุเกส
พระอัยกาฝ่ายพระราชมารดา:
ลอร์ดฌูเอาแห่งรือเก็งกุช
พระปัยกาฝ่ายพระราชมารดา:
ฌูเอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส
พระปัยยิกาฝ่ายพระราชมารดา:
ฟิลิปปาแห่งแลงคัสเตอร์
พระอัยยิกาฝ่ายพระราชมารดา:
อีซาแบลแห่งบรากังซา
พระปัยกาฝ่ายพระราชมารดา:
ดุ๊กอาฟงซูแห่งบรากังซา
พระปัยยิกาฝ่ายพระราชมารดา:
เบอาตริช ปือไรรา อัลวิง

ภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา ถัดไป
พระเจ้าเอนริเกที่ 4 แห่งกัสติยา
พระมหากษัตริย์กัสติยาและเลออน
(ราชวงศ์ตรัสตามารา)
ร่วมราชบัลลังก์กับพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2

(พ.ศ. 2017พ.ศ. 2047)
สมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาร่วมกับเจ้าชายเฟลิเปรูปงาม
สมเด็จพระราชินีฆัวนา เอนริเกซ
สมเด็จพระราชินีแห่งซิชิลี
(พ.ศ. 2012พ.ศ. 2047)
สมเด็จพระราชินีเจอร์แมนแห่งฟออิกซ์
ว่าง
สมเด็จพระราชินีแห่งอารากอน, มาจอร์กา และบาเลนเซีย และเคาน์เตสแห่งบาร์เซโลนา
(พ.ศ. 2022พ.ศ. 2047)
ว่าง
สมเด็จพระราชินีแอนน์แห่งบริตานี
สมเด็จพระราชินีแห่งเนเปิลส์
(พ.ศ. 2047)
ว่าง
เจ้าชายอัลฟอนโซแห่งกัสติยา
เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส
(พ.ศ. 2011พ.ศ. 2017)
อิซาเบล เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส


  1. Gristwood, Sarah (2016). Game of Queens: The Women Who Made Sixteenth-Century Europe. Basic Books. p. 30. ISBN 9780465096794.