ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศคีร์กีซสถาน

พิกัด: 41°N 75°E / 41°N 75°E / 41; 75
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คีร์กีซสถาน)

41°N 75°E / 41°N 75°E / 41; 75

สาธารณรัฐคีร์กีซ

Кыргыз Республикасы (คีร์กีซ)
ที่ตั้งของ ประเทศคีร์กีซสถาน  (เขียว)
ที่ตั้งของ ประเทศคีร์กีซสถาน  (เขียว)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
บิชเคก
42°52′N 74°36′E / 42.867°N 74.600°E / 42.867; 74.600
ภาษาราชการคีร์กีซ (ภาษาประจำรัฐ) รัสเซีย (ภาษาราชการ)
ภาษาอื่น ๆ
[1]
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2019[3])
ศาสนา
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี
ซาดือร์ จาปารัฟ
อากึลเบก จาปารัฟ
นูร์ลันเบก ชากียิฟ
สภานิติบัญญัติสภาสูงสุด
ก่อตั้ง
ค.ศ. 840
27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917
5 ธันวาคม ค.ศ. 1936
31 สิงหาคม ค.ศ. 1991
21 ธันวาคม ค.ศ. 1991
26 ธันวาคม ค.ศ. 1991
2 มีนาคม ค.ศ. 1992
พื้นที่
• รวม
199,951 ตารางกิโลเมตร (77,202 ตารางไมล์) (อันดับที่ 85)
3.6
ประชากร
• ค.ศ. 2020 ประมาณ
เพิ่มขึ้น 6,586,600[2] (อันดับที่ 110)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2009
5,362,800
27.4 ต่อตารางกิโลเมตร (71.0 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 176)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 35.324 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 127)
เพิ่มขึ้น 5,470 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 134)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 8.455 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 141)
เพิ่มขึ้น 1,309 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 158)
จีนี (ค.ศ. 2018)Negative increase 27.7[6]
ต่ำ
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.697[7]
ปานกลาง · อันดับที่ 120
สกุลเงินโซมคีร์กีซสถาน (c) (KGS)
เขตเวลาUTC+6 (เวลาคีร์กีซสถาน)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+996
รหัส ISO 3166KG
โดเมนบนสุด.kg

คีร์กีซสถาน (อังกฤษ: Kyrgyzstan; คีร์กีซ: Кыргызстан, ออกเสียง: [qɯrʁɯsˈstɑn]; รัสเซีย: Киргизия) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐคีร์กีซ (อังกฤษ: Kyrgyz Republic; คีร์กีซ: Кыргыз Республикасы; รัสเซีย: Кыргызская Республика) เป็นประเทศในเอเชียกลาง มีพรมแดนติดกับประเทศจีน คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดมีชื่อว่าบิชเคก (Бишкек – เดิมเรียกว่า ฟรุนเซ Фрунзе) คีร์กีซสถานเดิมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้ง คีร์กีซสถานมีที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ระหว่างละติจูด 37–43 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 71–80 องศาตะวันออก มีขนาดพื้นที่ 198,500 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

[แก้]

คีร์กีซสถานมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเทียนชานที่แยกตัวออกมาจากปามีร์นอต ปรากฏทะเลสาบอิสซิค-คุลอยู่ระหว่างสันเขาสูงบริเวณตอนกลางของประเทศ เทือกเขาเทียนชานในเขตคีร์กีซสถานเป็นต้นน้ำของแม่น้ำซีร์ดาเรียที่ไหลลงทะเลอารัลในตอนกลางของภูมิภาค

ลักษณะภูมิอากาศ

[แก้]

ลักษณะภูมิอากาศที่ปรากฏในพื้นที่ของคีร์กีซสถาน พิจารณาเป็นเขตของภูมิอากาศได้ดังนี้

  1. เขตภาคพื้นทวีป ฝนตกมาก อบอุ่นในฤดูร้อน หนาวเย็นในฤดูหนาว ปรากฏอยู่ตามพื้นที่หน้าเขาของเทือกเขาเทียนชาน
  2. เขตขั้วโลก อากาศหนาวจัด ปรากฏอยู่ตามสันเขาสูงซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ลักษณะอากาศหนาวคล้ายขั้วโลก

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
เขตการปกครองของคีร์กีซสถาน

ประเทศคีร์กีซสถานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 จังหวัด (oblast) และ 2 นคร* (shaar) ได้แก่

หมายเหตุ: ชื่อศูนย์กลางการปกครองอยู่ในวงเล็บ

แต่ละจังหวัดแบ่งเป็นอำเภอ (raion) ปกครองโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลกลาง ชุมชนในชนบทเรียกว่า อายึลโอกโมตู (aiyl okmotu) และประกอบด้วยหมู่บ้านเล็ก ๆ 20 หมู่บ้านเป็นอย่างมาก ปกครองตนเอง มีนายกเทศมนตรีและสภาที่ได้รับการเลือกตั้ง

เศรษฐกิจ

[แก้]

ประชากร

[แก้]

ศาสนา

[แก้]
ศาสนาในประเทศคีร์กีซสถาน
ศาสนา ร้อยละ
อิสลาม
  
80%
คริสต์
  
17%
อื่น ๆ
  
3%

ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีย์ ร้อยละ 80 รองลงมาคือศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์รัสเซีย ร้อยละ 17 และศาสนาอื่น ๆ อีกร้อยละ 3[8] ขณะที่ศูนย์วิจัยพิว (Pew Research Center) ได้ประมาณการตัวเลขชาวคีร์กีซที่เป็นมุสลิมในปี พ.ศ. 2552 ว่ามีมากถึงร้อยละ 86.3 ของประชากร[9]

แม้ว่าคีร์กีซสถานจะเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตที่มิเคยสนับสนุนให้นับถือศาสนา แต่ในปัจจุบันคีร์กีซสถานมีอิทธิพลของอิสลามต่อการเมืองสูงขึ้น[10] เป็นต้นว่า มีสวัสดิการลดภาษีให้แก่ผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ในนครมักกะห์[10] ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศนับถือนิกายซุนนีย์และใช้การศึกษาในแนวทางมัซฮับฮานาฟี[11]

มัสยิดของชาวดันกันที่เมืองการาโกล

ศาสนาอิสลามในคีร์กีซสถาน เป็นมากกว่าปูมหลังทางวัฒนธรรม และเกินกว่าหลักวัตรปฏิบัติ มีศาสนิกชนจำนวนไม่น้อยพยายามฟื้นฟูศาสนาให้คงอยู่ดังเดิม ตูร์ซันเบ บากีร์อูลู ผู้ตรวจการแผ่นดินและนักสิทธิมนุษยชนชาวคีร์กีซ ได้ให้ข้อสังเกตว่า "ในยุคแห่งความเป็นอิสระนี้ ไม่น่าแปลกใจอะไรที่จะหวนกลับไปหารากเหง้าและจิตวิญญาณ ไม่เพียงแต่ในคีร์กีซสถานเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอดีตสาธารณรัฐต่าง ๆ ของโซเวียต มันจะเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรม เพื่อพัฒนาสังคมที่ใช้การตลาดโดยไม่คำนึงถึงมิติทางจริยธรรม"[10]

เบร์เมต์ อะคาเยวา บุตรสาวของอดีตประธาธิบดีอัสการ์ อะกาเยฟ ได้ให้สัมภาษณ์ในปี พ.ศ. 2550 ว่าศาสนาอิสลามจะแผ่ขยายไปทั่วประเทศ[12] เธอเน้นย้ำว่ามัสยิดถูกสร้างขึ้นจำนวนมากในประเทศเพื่ออุทิศให้แก่พระศาสนา เธอได้ให้ข้อสังเกตว่า "มันไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่ดีในตัวของมัน มันทำให้สังคมเรามีคุณธรรมมากยิ่งขึ้น สะอาดมากยิ่งขึ้น"[12] ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของอิสลามดั้งเดิมกับอิสลามในปัจจุบัน[13]

โบสถ์ออร์ทอดอกซ์รัสเซียในกรุงบิชเคก

ส่วนศาสนาอื่น ๆ อย่างศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะนิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ และยูเครนออร์ทอดอกซ์ ในกลุ่มที่มีเชื้อสายรัสเซียและยูเครน ส่วนนิกายลูเธอแรน กับนิกายอานาบัปติสต์ อยู่ในกลุ่มเชื้อสายเยอรมัน และนอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกประมาณ 600 คน[14][15]

ส่วนการนับถือภูตผียังพอมีให้เห็นบ้าง เช่นประเพณีติดธงมนต์บนต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่มีกลิ่นอายของพุทธศาสนาซึ่งเคยมีอิทธิพลเหนือดินแดนแถบนี้มาช้านาน แม้ว่าประเพณีบางอย่างเป็นวัตรปฏิบัติของพวกซูฟีก็ตาม[16] ทั้งนี้ในประเทศคีร์กีซสถานเคยมีกลุ่มชาวยิวเมืองบูฆอรออยู่ด้วย แต่ปัจจุบันชนกลุ่มดังกล่าวได้ย้ายออกไปยังสหรัฐอเมริกา และอิสราเอลแล้ว

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 รัฐสภาได้มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ในการออกกฎหมายเพิ่มเติม เกี่ยวกับชุมนุมเกี่ยวกับศาสนาตั้งแต่ 10-200 คน ว่าด้วย "การกระทำอันรุนแรงที่มุ่งเป้าไปยังศาสนิก" และห้ามทำกิจกรรมทางศาสนาในโรงเรียนหรือองค์กรที่มิได้รับการจดทะเบียน[17] ซึ่งถูกลงนามโดยประธานาธิบดีกูร์มานเบก บากีฟ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552[18]

ภาษา

[แก้]

คีร์กีซสถานเป็นหนึ่งในสองสาธารณรัฐโซเวียตในอดีตที่อยู่ในเอเชียกลาง (ร่วมกับประเทศคาซัคสถาน) ที่มีภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการ ภาษาคีร์กีซถูกนำมาใช้เป็นภาษาราชการในปีพ.ศ. 2534 หลังจากกระแสเรียกร้องกดดันจากชนกลุ่มน้อยชาวรัสเซียในประเทศ คีร์กีซสถานได้ประกาศใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการเช่นกันในปี พ.ศ. 2540 ทำให้มีภาษาราชการสองภาษา

ภาษาคีร์กีซอยู่ใน กลุ่มภาษาเตอร์กิกสาขากลุ่มภาษาเคียบชัก ที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับภาษาคาซัค, ภาษาการากัลปัก และภาษาตาตาร์ โนไก ใช้อักษรอาหรับในการเขียนจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 อักษรละตินได้ถูกเสนอและนำมาใช้แทนในปี พ.ศ. 2471 และต่อมาเปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิกตามคำสั่งของ สตาลิน ในปี พ.ศ. 2484

จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2552 [19]ประชากรกว่า 4.1 ล้านคน พูดภาษาคีร์กีซเป็นภาษาแม่หรือภาษาที่สองและ 2.5 ล้านคนพูดภาษารัสเซียเป็นภาษาแม่หรือภาษาที่สอง, ภาษาอุซเบกเป็นภาษาที่มีการกระจายตัวของผู้พูดเป็นภาษาแม่อย่างกว้างขวางที่สุด มากเป็นอันดับสองรองลงมาคือภาษารัสเซีย, ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการกระจายตัวของผู้พูดเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวางที่สุด ตามด้วยภาษาคีร์กีซและภาษาอุซเบก

ภาษา ผู้พูดเป็นภาษาแม่ ผู้พูดเป็นภาษาที่สอง จำนวนรวม
ภาษาคีร์กีซ 3,830,556 271,187 4,121,743
ภาษารัสเซีย 482,243 2,109,393 2,591,636
ภาษาอุซเบก 772,561 97,753 870,314
ภาษาอังกฤษ 28,416 28,416
ภาษาฝรั่งเศส 641 641
ภาษาเยอรมัน 10 10
อื่น ๆ 277,433 31,411

ธุรกิจและกิจกรรมทางการเมืองหลายอย่างดำเนินการในภาษารัสเซีย จนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ภาษาคีร์กีซยังคงเป็นภาษาที่ใช้พูดที่บ้านและไม่ค่อยได้ใช้ในระหว่างการประชุมหรือกิจกรรมอื่น ๆ อย่างไรก็ตามการประชุมรัฐสภา ในระยะหลังนี้ส่วนใหญ่จะดำเนินการในภาษาคีร์กีซพร้อมทั้งมีล่ามทำการแปลสำหรับผู้ที่ไม่ได้พูดคีร์กีซ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Kyrgyzstan's Constitution of 2010 with Amendments through 2016" (PDF). Constitute Project. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
  2. 2.0 2.1 "Основные итоги естественного движения населения январе-августе 2020г". stat.kg.
  3. 5.01.00.03 Национальный состав населения. [5.01.00.03 Total population by nationality]. Bureau of Statistics of Kyrgyzstan (ภาษารัสเซีย, คีร์กีซ และ อังกฤษ). 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (XLS)เมื่อ 2018-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-10-28.
  4. "History of Central Asia". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 12 March 2021.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Kyrgyz Republic". data.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 14 December 2019.
  6. "GINI index (World Bank estimate) - Kyrgyz Republic". data.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
  7. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  8. "Kyrgyzstan". State.gov. สืบค้นเมื่อ 2010-04-17.
  9. "MAPPING THE GLOBAL MUSLIM POPULATION A Report on the Size and Distribution of the World's Muslim Population" (PDF). Pew Research Center. October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-19. สืบค้นเมื่อ 2012-03-15.
  10. 10.0 10.1 10.2 "ISN Security Watch – Islam exerts growing influence on Kyrgyz politics". Isn.ethz.ch. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
  11. "Kyrgyzstan – Quick facts, statistics and cultural notes". Canadiancontent.net. 2005-04-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-26. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
  12. 12.0 12.1 "EurasiaNet Civil Society – Kyrgyzstan: Time to Ponder a Federal System – Ex-President's Daughter". Eurasianet.org. 2007-07-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-06. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
  13. "Religion and expressive culture – Kyrgyz". Everyculture.com. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
  14. "Kirguistán la Iglesia renace con 600 católicos" (ภาษาสเปน). ZENIT. 2 October 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2008.
  15. "Religion in Kyrgyzstan". Asia.msu.edu. 4 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2007. สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
  16. Shaikh Muhammad Bin Jamil Zeno, Muhammad Bin Jamil Zeno – 2006, pg. 264
  17. "Kyrgyzstan's Religious Law". Voanews.com. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
  18. "Human Rights Activists Condemn New Religion Law". Eurasianet.org. 2009-01-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-29. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
  19. "Перепись населения и жилищного фонда Кыргызской Республики (Population and Housing Census of the Kyrgyz Republic), 2009". NSC of Kyrgyzstan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2013. สืบค้นเมื่อ 9 October 2012.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
แผนที่