ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิโกะ-โทบะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Emperor Go-Toba)
จักรพรรดิโกะ-โทบะ
後鳥羽天皇
พระบรมสาทิสลักษณ์โดยฟูจิวาระ โนะ โนบูซาเนะ, ค.ศ. 1221
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์8 กันยายน ค.ศ. 1183 – 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1198
ราชาภิเษก4 กันยายน ค.ศ. 1184
ก่อนหน้าอันโตกุ
ถัดไปสึจิมิกาโดะ
โชกุนมินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ
ประสูติ6 สิงหาคม ค.ศ. 1180
โกโจ-มาจิ โนะ เท (五条町の亭) เฮอังเกียว
สวรรคต28 มีนาคม ค.ศ. 1239(1239-03-28) (58 ปี)
คาริตะ โกโชะ (苅田御所) หมู่เกาะโอกิ รัฐโชกุนคามากูระ
ฝังพระศพโอฮาระ โนะ มิซาซางิ (大原陵; เกียวโต)
คู่อภิเษกฟูจิวาระ โนะ นินชิ (สมรส 1190)
พระราชบุตร
และพระองค์อื่น ๆ...
พระสมัญญานาม
สึอิโง:
จักรพรรดิโกะ-โทบะ (後鳥羽院 หรือ 後鳥羽天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิทากากูระ
พระราชมารดาฟูจิวาระ โนะ โชกูชิ (ชิจิโจ-อิง) [ja]

จักรพรรดิโกะ-โทบะ (ญี่ปุ่น: 後鳥羽天皇โรมาจิGo-Toba-tennō; 6 สิงหาคม ค.ศ. 1180 – 28 มีนาคม ค.ศ. 1239) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 82 ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ รัชสมัยของพระองค์ยาวนานตั้งแต่ ค.ศ. 1183 ถึง 1198[1]

จักรพรรดิแห่งศตวรรษที่ 12 พระองค์นี้ได้รับการตั้งพระนามตามจักรพรรดิโทบะ และ โกะ-(後) แปลตามตัวอักษรว่า ภายหลัง และด้วยเหตุนี้บางครั้งพระองค์จึงถูกเรียกว่า จักรพรรดิโทบะในภายหลัง คำว่า โกะ ในภาษาญี่ปุ่นยังแปลว่า ที่สอง และในหลักฐานบางแหล่งที่เก่ากว่าจักรพรรดิพระองค์นี้ถูกระบุว่าเป็น โทบะที่สอง หรือ โทบะที่ 2

ลำดับวงศ์ตระกูล

[แก้]

ก่อนที่พระองค์จะเสด็จขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระนามเมื่อแรกประสูติของพระองค์ (อิมินะ)[2] คือ เจ้าชายทากาฮิระ (尊成親王)[3] พระองค์ยังเป็นที่รู้จักในพระนาม เจ้าชายทากานาริ[4]

พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในจักรพรรดิทากากูระ และพระราชนัดดาของจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ พระราชมารดาของพระองค์คือ โบมง โชกูชิ (坊門殖子) (พระพันปีชิจิโจอิง, 七条院) บุตรสาวของ โบมง โนบูตากะ (坊門信隆) ของตระกูลฟูจิวาระ

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

[แก้]
  • จักรพรรดินี (ชูงู): ฟูจิวาระ โนะ นินชิ/ทากาโกะ (藤原任子) ภายหลังเป็น กิชูมง-อิง (宜秋門院) ธิดาในคูโจ คาเนซาเนะ
    • พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงโชชิ (昇子内親王) ภายหลังเป็น ชุนกามง-อิง (春華門院, 1195–1211) – จักรพรรดินีที่ยังไม่ได้อภิเษกในฐานะพระราชมารดาบุญธรรมของจักรพรรดิจุนโตกุ
  • พระมเหสี: มินาโมโตะ โนะ ไซชิ/อาริโกะ (源在子) ภายหลังเป็นโชเมมง-อิง (承明門院; 1171–1257) ธิดาบุญธรรมในมินาโมโตะ โนะ มิจิจิกะ และธิดาในนักบวชโนเอ็ง
  • พระมเหสี: ฟูจิวาระ โนะ ชิเงโกะ (藤原重子) ภายหลังเป็น ชูเมมง-อิง (修明門院; 1182–1264) ธิดาในทากากูระ โนริซูเอะ
  • นางพระกำนัล: โบมง โนะ สึโบเนะ (坊門局) ธิดาในโบมง โนบูกิโยะ
    • เจ้าชายนางาฮิโตะ (長仁親王, 1196–1249) ภายหลังเป็นเจ้าชายนักบวชโดโจะ (道助法親王) กลายเป็นหัวหน้านักบวชคนที่ 8 แห่งวัดนินนาจิ
    • พระราชธิดาองค์ที่ 3: เจ้าชายเรชิ (礼子内親王; 1200–1273) ภายหลังเป็น คาโยมง-อิง (嘉陽門院)
    • เจ้าชายโยริฮิโตะ (頼仁親王, 1201–1264) (ถูกเนรเทศหลังสงครามปีโจกีว)
  • นางพระกำนัล: เฮียวเอะ-โนะ-คามิ โนะ สึโบเนะ (兵衛督局) ธิดาในมินาโมโตะ โนะ โนบูยาซุ
    • พระราชธิดาองค์ที่ 2: เจ้าหญิงชูกูชิ (粛子内親王; สวรรคต ค.ศ. 1196) (ทากัตสึจิ ไซงู, 高辻斎宮) – ไซโอที่ศาลเจ้าอิเซะ (1199–1210)
  • นางพระกำนัล: โอวาริ โนะ สึโบเนะ (尾張局, สวรรคต ค.ศ. 1204) ธิดาในนักบวชเค็นเซ
    • เจ้าชายโดกากุ (道覚法親王; 1204–1250) – หัวหน้านักบวชวัดเอ็นเรียกูจิ (เท็นได ซาซุ, 天台座主)
  • นางพระกำนัล: โอมิยะ โนะ สึโบเนะ (大宮局) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ ซาดาโยชิ
    • เจ้าชายซนเอ็ง (尊円法親王; 1207–1231) – หัวหน้านักบวชวัดมีเดระ
    • เกียวเอ็ตสึ (行超) – นักบวชในวัดเอ็นเรียกูจิ
  • นางพระกำนัล: โชนางง โนะ ซูเกะ (少納言典侍)
    • โดชุ (道守) – นักบวช
  • นางพระกำนัล: คาเมงิกุ (亀菊) นางระบำ (ชิราเบียวชิ)
  • นางพระกำนัล: ทากิ (滝; สวรรคต ค.ศ. 1265) นางระบำ (ชิราเบียวชิ)
    • เจ้าชายคากูนิง (覚仁法親王) (1198–1266) – หัวหน้านักบวชวัดอนโจ-จิ
  • นางพระกำนัล: ทัมบะ โนะ สึโบเนะ (丹波局) อิชิ (石) นางระบำ (ชิราเบียวชิ)
  • นางพระกำนัล: ฮิเมโฮชิ (姫法師) นางระบำ (ชิราเบียวชิ)
    • คากูโยะ (覚誉) – นักบวช
    • โดอิ (道伊) – นักบวชวัดอนโจ-จิ
    • โดเอ็ง (道縁) – นักบวชที่วัดนินนาจิ
  • มารดาไม่ทราบพระนาม:
    • พระราชโอรส: เจ้าชายอิจิโจะ (一条宮, 1201–1213)
    • เจ้าหญิง (1202–1207)

เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิโกะ-โทบะ

[แก้]

จักรพรรดิโกะ-โทบะสืบราชบัลลังก์เมื่อพระชนมายุได้ 3 พรรษา

  • 8 กันยายน ค.ศ. 1183 (ปี จูเอ ที่ 2, วันที่ 20 เดือน 8): ปีที่ 3 ในรัชสมัยของจักรพรรดิอันโตกุ (安徳天皇三年) จักรพรรดิได้หลบหนีออกจากเมืองหลวงแทนที่จะยอมจำนนต่อการกดดันให้สละราชสมบัติ เมื่อจักรพรรดิอันโตกุไม่อยู่ โฮโอ โก-ชิรากาวะ ซึ่งเป็นพระอัยกา (ปู่) ของจักรพรรดิอันโตกุจึงยกพระอนุชาของจักรพรรดิอันโตกุขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศตามพระราชบัญชาและได้จัดพระราชพิธีสละราชบัลลังก์ และหลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรดิโกะ-โทบะก็จัดพระราชพิธีสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศอย่างเป็นทางการ[5]

แม้ว่าพระราชพิธีอย่างเป็นทางการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในเฮอังเกียว แต่ไตรราชกกุธภัณฑ์ก็ยังอยู่กับอดีตจักรพรรดิอันโตกุ ดังนั้น พระราชพิธีสืบราชสันตติวงศ์และพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของจักรพรรดิโกะ-โทบะจึงนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ละเว้นการถ่ายทอดไตรราชกกุธภัณฑ์จากจักรพรรดิสู่ผู้สืบราชบัลลังก์ของพระองค์

ในปี ค.ศ. 1192 อดีตจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะสวรรคตและรัฐบาลโชกุนชุดแรกก่อตั้งโดยมินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะและจักรพรรดิก็กลายเป็นจักรพรรดิหุ่นเชิดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในปี ค.ศ. 1198 จักรพรรดิโกะ-โทบะสละราชบัลลังก์ให้กับพระโอรสองค์โปรดของพระองค์คือ จักรพรรดิสึจิมิกาโดะ

อดีตจักรพรรดิโกะ-โทบะปกครองในฐานะไดโจโฮโอตั้งแต่ ค.ศ. 1198 ถึง ค.ศ. 1221 ในรัชสมัยของจักรพรรดิ 3 องค์ แต่พระราชอำนาจของพระองค์ถูกจำกัดมากกว่าไดโจโฮโอในยุคเฮอัง

ในปี ค.ศ. 1221 โชกุนได้แต่งตั้งพระราชนัดดาพระชนมายุ 3 พรรษาของอดีตจักรพรรดิโกะ-โทบะให้เป็นจักรพรรดิชูเกียว แต่อดีตจักรพรรดิโกะ-โทบะเลือกที่จะก่อกบฏเพื่อพยายามทวงราชบัลลังก์คืนและโค่นล้มรัฐบาลโชกุนคามากูระเหตุการณ์นี้เรียกว่าสงครามปีโจคิว

ซามูไรรอบ ๆ เกียวโตซึ่งต่อต้านรัฐบาลโชกุนสนับสนุนพระองค์ แต่ซามูไรส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคคันโตสนับสนุนรัฐบาลโชกุนด้วยการให้กำลังใจของโฮโจ มาซาโกะ ภรรยาม่ายของโยริโตโมะ โดยเธอเกลี้ยกล่อมซามูไรที่รวมตัวกันในคามากูระว่าหากพวกเขาไม่สนับสนุนรัฐบาลโชกุน สถานะและสิทธิพิเศษที่ซามูไรได้รับก็จะสูญหายไป ราชสำนักและคุเกะจะได้รับอำนาจและอิทธิพลกลับคืนมา การกบฏของจักรพรรดิโกะ-โทบะพ่ายแพ้ และจักรพรรดิชูเกียวถูกแทนที่โดยจักรพรรดิโกะ-โฮริกาวะ พระราชนัดดาอีกพระองค์หนึ่งของอดีตจักรพรรดิโกะ-โทบะ

หลังจากการก่อกบฏ อดีตจักรพรรดิโกะ-โทบะ ถูกเนรเทศไปยังหมู่เกาะโอกิ พระองค์สวรรคตและถูกฝังไว้ที่นั่น

พระราชพงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 207–221; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 334–339; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki. pp. 215–220.
  2. Brown, pp. 264; n.b., up until the time of Emperor Jomei, the personal names of the emperors (their imina) were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
  3. Varley, p. 215.
  4. Titsingh, p. 207; Brown, p. 334.
  5. Varley, p. 216.
  6. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). April 30, 2010. สืบค้นเมื่อ 9 November 2019.

ข้อมูล

[แก้]
  • Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
  • Brownlee, John S. (1991). Political Thought in Japanese Historical Writing: From Kojiki (712) to Tokushi Yoron (1712). Waterloo, Ontario: Wilfrid Laurier University Press. ISBN 0-88920-997-9
  • Brower, Robert H. "Ex-Emperor Go-Toba's Secret Teachings": Go-Toba no in Gokuden. Harvard Journal of Asiatic Studies, Vol. 32, (1972), pp 5–70.
  • Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
  • Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Odai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
  • Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842
  • Smits, Ivo (1998) "The Poet and the Politician: Teika and the Compilation of the Shinchokusenshu" Monumenta Nipponica 53(4): pp. 427–472, p. 446
ก่อนหน้า จักรพรรดิโกะ-โทบะ ถัดไป
จักรพรรดิอันโตกุ
จักรพรรดิญี่ปุ่น
(ค.ศ. 1183–1198)
จักรพรรดิสึจิมิกาโดะ