ทากาโนะ โนะ นีงาซะ
ทากาโนะ โนะ นีงาซะ (ญี่ปุ่น: 高野新笠; โรมาจิ: Takano no Niigasa; เกิดราว: พ.ศ. 1263 — ตาย: พ.ศ. 1333) หรือ ทากาโนะ โนะ อาโซมิ (ญี่ปุ่น: 高野朝臣; โรมาจิ: Takano no Asomi) เป็นพระสนมในจักรพรรดิโคนิง และเป็นพระราชชนนีในจักรพรรดิคัมมุ[1]
ประวัติ
[แก้]ทากาโนะ โนะ นีงาซะ เป็นธิดาของยามาโตะ โนะ โอโตสึงุ (ญี่ปุ่น: 和乙継; โรมาจิ: Yamato no Ototsugu) ที่ต่อมาได้เข้าเป็นนางห้ามในเจ้าชายชิรากาเบะ (ญี่ปุ่น: 白壁王; โรมาจิ: Shirakabe-ō)[2] พระราชนัดดาในจักรพรรดิเท็งจิ มีพระโอรส-ธิดาสามพระองค์คือ
- เจ้าหญิงโนโตะ (ญี่ปุ่น: 能登内親王; โรมาจิ: Noto Naishinnō; พ.ศ. 1276—1324) เสกสมรสกับเจ้าชายอิชิฮาระ (ญี่ปุ่น: 市原王; โรมาจิ: Ichihara-ō)
- เจ้าชายยามาเบะ (ญี่ปุ่น: 山部王; โรมาจิ: Yamabe-ō; พ.ศ. 1280 — 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1349) ต่อมาได้เถลิงราชสมบัติเป็น จักรพรรดิคัมมุ (ญี่ปุ่น: 桓武天皇; โรมาจิ: Kanmu-tennō)
- เจ้าชายซาวาระ (ญี่ปุ่น: 早良親王; โรมาจิ: Sawara Shinnō; พ.ศ. 1293 — 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 1328) หลังสิ้นพระชนม์ได้รับการสถาปนาเป็น จักรพรรดิซูโด (ญี่ปุ่น: 崇道天皇; โรมาจิ: Sudō-tennō)
แต่เจ้าชายชิรากาเบะ มีพระชายาเอกคือเจ้าหญิงอิโนเอะ (井上内親王) พระราชธิดาในจักรพรรดิโชมุ ที่เสกสมรสเมื่อปี พ.ศ. 1287 ครั้นจักรพรรดินีโคเก็งสวรรคตในปี พ.ศ. 1313 เจ้าชายชิรากาเบะจึงสืบราชสมบัติเป็น จักรพรรดิโคนิง และตั้งเจ้าชายโอซาเบะ (他戸親王) พระราชโอรสที่ประสูติแต่พระชายาเอกรั้งตำแหน่งรัชทายาท เจ้าหญิงอิโนเอะจึงเป็นอัครมเหสีด้วยเป็นพระมารดาองค์ยุพราช
สองปีต่อมาหลังการตั้งองค์รัชทายาท พระสนมนีงาซะถูกกล่าวหาว่าสาปแช่งองค์พระจักรพรรดิ ส่งผลให้ผู้สืบสันดานของเธอถูกตัดออกจากการสืบราชบัลลังก์ แต่การกลับกันหลังการทิวงคตขององค์ยุพราช เจ้าชายยามาเบะพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระสนมนีงาซะได้รับแต่งตั้งเป็นรัชทายาท[3] และขึ้นครองราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิคัมมุ ในเวลาต่อมา[4]
การกล่าวถึง
[แก้]ในปี พ.ศ. 2544 สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ทรงตรัสว่า "ในส่วนตัวของข้าพเจ้าได้มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับเกาหลี ซึ่งได้บันทึกไว้ในพงศาวดารญี่ปุ่นที่ว่าพระราชชนนีในจักรพรรดิคัมมุ [คือ พระสนมนีงาซะ] เป็นว่านเครือของกษัตริย์มูรย็องแห่งแพ็กเจ" ถือเป็นครั้งแรกที่องค์จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นทรงมีพระราชดำรัสต่อสาธารณชนว่ามีเชื้อสายเกาหลีในพระราชวงศ์[5] ตามที่ปรากฏในโชกุ นิฮงงิ (続日本紀) ระบุไว้ว่า พระสนมนีงาซะเป็นผู้สืบสันดานชั้นที่ 10 ของเจ้าชายจุนดา พระราชโอรสในพระเจ้ามูรย็องแห่งแพ็กเจ (เกาหลี: 무령왕; ฮันจา: 武寧王) ที่สิ้นพระชนม์ในญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 1056[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Watts, Jonathan. "The emperor's new roots: The Japanese emperor has finally laid to rest rumours that he has Korean blood, by admitting that it is true," The Guardian (London). December 28, 2001.
- ↑ Titsingh, p. 86, p. 86, ที่กูเกิล หนังสือ; Varley, p. 149.
- ↑ Brown, p. 277.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 86–95, p. 86, ที่กูเกิล หนังสือ; Brown, Delmer et al. Gukanshō, pp. 277–279; Varley, H. Paul. Jinnō Shōtōki, pp. 148–150.
- ↑ Jonathan Watts (28 ธันวาคม 2544). "The emperor's new roots". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Yamato (和) and Takano (高野) clans : the descendant of prince Junda, son of Muryeong of Paekche เก็บถาวร 2012-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ญี่ปุ่น)