โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (พฤศจิกายน 2022) |
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน | |
---|---|
Patumwan Demonstration School, Srinakharinwirot University | |
ที่ตั้ง | |
เลขที่ 2 ถนนอังรีดูนังต์ , , , 10330 | |
พิกัด | 13°44′25″N 100°32′06″E / 13.740318°N 100.534984°E |
ข้อมูล | |
ชื่อเดิม | 1. หน่วยสาธิตในแผนกฝึกหัดครูมัธยมโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 2. โรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน |
ประเภท | โรงเรียนสาธิต |
คติพจน์ | บาลี: สิกฺขา วิรุฬฺหิ สมฺปตฺตา[1] (การศึกษาคือความเจริญงอกงาม) |
ศาสนา | พุทธ, ฮินดู (โดยพฤตินัย) |
สถาปนา | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2496[2] |
ผู้ก่อตั้ง | หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล[3] |
หน่วยงานทางการศึกษา | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ[2] กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
ผู้อำนวยการ | อาจารย์ โชติวิทย์ ธรรมสุจิตร[4][2] |
เพศ | สหศึกษา |
ช่วงอายุ | 13 - 18 ปี |
การลงทะเบียน | 1,854 (2006) |
ความจุ | 1,860 |
ขนาดวิทยาเขต | 12,080 ตารางเมตร (7.55 ไร่)[2] |
สี | สีน้ำเงิน–สีชมพู |
คำขวัญ | สมรรถภาพในการปรับตัว คือความสำเร็จในชีวิต |
เพลง | สาธิตปทุมวัน[2] |
หนังสือรุ่น | บัว |
ค่าเล่าเรียน | 25,700 บาทต่อปี |
ศิษย์เก่า | สมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน สมาคมผู้ปกครองและครูสาธิตปทุมวัน |
เว็บไซต์ | www |
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (อังกฤษ: Patumwan Demonstration School, Srinakharinwirot University) ตั้งอยู่บนถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนสาธิตภายใต้การกำกับดูแลของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ได้ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2496 ตามดำริของ ฯพณฯ ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น พลเอกมังกร พรหมโยธี และ ศาสตราจารย์คุณหญิงอุบล หุวะนันทน์ โดยเริ่มวางโครงการดำเนินการจัดการเรียนการสอน กำหนดตั้งเป็นหน่วยสาธิตในแผนกฝึกหัดครูมัธยมของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เพื่อเป็นที่ฝึกงานของนิสิตกับครูที่ต้องบรรจุฝึกงานก่อนไปสอนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พร้อม สังกัดกองเตรียมอุดมศึกษา กรมวิสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, วิทยาลัยวิชาการศึกษา กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่เรียกชื่อว่า โรงเรียนสาธิต
ปีการศึกษา 2497 เปิดรับนักเรียนเป็นปีการศึกษาแรกในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ป.5 ในปัจจุบัน) และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม.2 ในปัจจุบัน) ชั้นละ 2 ห้องเรียน โดยใช้เรือนไม้ชั้นเดียวที่อยู่ในบริเวณเดียวกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ด้านถนนสนามม้า (ถนนอังรีดูนังต์ ในปัจจุบัน) เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว ในขณะที่กำลังก่อสร้างอาคาร 1 สาธิตปทุมวัน ยังไม่เสร็จ การแต่งกายของนักเรียน ในยุคแรกใช้ชุดนักเรียนปักอักษรย่อ ต.อ. และใช้เครื่องหมายพระเกี้ยวธรรมจักร เป็นตราประจำโรงเรียน พร้อมทั้งกำหนดให้มี สีประจำโรงเรียนมาพร้อมกับ การก่อตั้งโรงเรียน โดย ฯพณฯ ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้ให้สีที่เป็นสิริมงคลเป็นสีประจำโรงเรียนไว้ 2 สี
ปีการศึกษา 2498 ยกฐานะเป็นโรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน สังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ และเปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาครบ 6 ชั้น พร้อมได้ย้ายนักเรียนไปเรียน อาคาร 1 สาธิตปทุมวัน (อาคารอำนวยการ ในปัจจุบัน)
ในปีการศึกษา 2499 และจึงได้มีการขยับขยายสถานที่เรียนเพิ่มขึ้นให้เหมาะสม
ในปีการศึกษา 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย โรงเรียนจึงเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน หรือ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน สังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทบวงมหาวิทยาลัย และเปลี่ยนใช้อักษรย่อของโรงเรียน เป็น ส.มศว และเครื่องหมายรูปกราฟ เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน
ต่อมาใน พ.ศ. 2536 มศว ปทุมวัน ได้ถูกยุบลงและรวมเข้ากับ มศว ประสานมิตร โรงเรียนจึงได้ขยายเนื้อที่ออกไปเพิ่มในพื้นที่ของ มศว ปทุมวัน และโรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน จึงย้ายมาอยู่ในสังกัด มศว ประสานมิตรแทน[ต้องการอ้างอิง]
หลักสูตร
[แก้]ปัจจุบันโรงเรียนมีหลักสูตรการเรียนการสอนจำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่
- หลักสูตรปกติ ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
- หลักสูตรภาษาอังกฤษ โครงการนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษภาคภาษาอังกฤษ (English Program for Talented Students หรือ EPTS) ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ในระดับชั้นมัธยมปลาย มีแผนการเรียนให้เลือก 4 แผนการเรียน ได้แก่
- คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์
- คณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ
- ภาษาต่างประเทศ (ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีนกลาง)
- ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ ก (ทัศนศิลป์ นิเทศศิลป์ ดนตรีไทย ดนตรีสากล นาฏศิลป์ นิเทศศาสตร์ อาหารและโภชนาการ เทคโนโลยีสารสนเทศ และนิติรัฐ)
สำหรับหลักสูตรภาษาอังกฤษ สามารถเลือกได้แค่ 3 แผนการเรียนแรก
สิ่งก่อสร้างภายในโรงเรียน
[แก้]มีการก่อสร้างอาคารสถานที่สำหรับการเรียนการสอน 7 อาคาร ได้แก่
- อาคารสาธิตปทุมวัน 1 สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ อาคารอำนวยการ เป็นอาคารสูงสามชั้น และ อาคารรวมน้ำใจ เป็นอาคารสูงสิบชั้น (ไม่มีชั้น 2) ได้รับการปรับปรุงโดยการทาสีใหม่ทั้งภายนอกอาคารและภายในห้องเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2550 เป็นอาคารเรียนชั้นมัธยมปลายหลักสูตรปกติ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, สำนักงาน ICT และห้องปฏิบัติการฟิสิกส์
- อาคารสาธิตปทุมวัน 2 (อาคารปฏิบัติการศิลปหัตถกรรมและพาณิชยกรรม) ใช้สำหรับการเรียนการสอนวิชาศิลปะมีห้องเครื่องปั้นดินเผา ตัวตึกบางส่วนเกือบจะเชื่อมกับตึกของคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อาคารสาธิตปทุมวัน 3 (อาคารเอนกประสงค์และกิจกรรมการกีฬา) เป็นอาคารเรียนของนักเรียนโครงการนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษภาคภาษาอังกฤษ ม.1-ม.5 และ สระว่ายนํ้า
- อาคารสาธิตปทุมวัน 4 แทนอาคารเรือนไม้ 2 ชั้นที่รื้อออกไป เป็นอาคารเรียนทั่วไป ภายในมี ห้องประชุมขนาดใหญ่, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และห้องสมุด รวมทั้งเป็นอาคารเรียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ได้รับการปรับปรุงห้องวิทยาศาสตร์ใหม่ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2555
- อาคารสาธิตปทุมวัน 5 อดีตอาคารเรียนของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ วิทยาเขตปทุมวัน[ต้องการอ้างอิง] เป็นอาคารเรียนของนักเรียนม.1 และม.2 ภาคปกติ, ม.6 โครงการนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษภาคภาษาอังกฤษ, ห้องกิจกรรมคณิตศาสตร์, ห้องพระพุทธศาสนา, ห้องกิจกรรมนาฏศิลป์, ห้องวงโยธวาทิต, ห้องดนตรีไทย, ห้องสมุด และห้องสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
- อาคารสาธิตปทุมวัน 6 โรงฝึกพลศึกษา และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
- อาคารสาธิตปทุมวัน 7 (อาคารคหกรรม) ห้องเรียนคหกรรมชั้น 1 ได้รับการปรับปรุงใหม่ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2561
สร้างสระว่ายน้ำ ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการภาษา ห้องปฏิบัติการคหกรรมศาสตร์ ห้องปฏิบัติการดนตรีและการละคร ห้องกิจกรรมสังคมศึกษา ห้องกิจกรรมคณิตศาสตร์ ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ห้องกิจกรรมภาษาไทย ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องพยาบาล ห้องประชุม และสร้างสนามบาสเกตบอล สนามวอลเลย์บอล สนามเทนนิส และสนามเปตอง รวมทั้งปรับภูมิทัศน์ของโรงเรียนโดยรอบ
ลานหน้าอาคารสาธิตปทุมวัน 5 ใช้เล่นกีฬาต่าง ๆ และบางครั้งโรงเรียนก็ได้ใช้ สนามฟุตบอลโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เพื่อทำกิจกรรม เช่น วิชากีฬา/กรีฑา, กีฬาสี
รายชื่อผู้อำนวยการ
[แก้]รายชื่อผู้อำนวยการโรงเรียน | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|
ศาสตราจารย์ คุณหญิง เต็มสิริ บุณยสิงห์ | พ.ศ. 2497 - 2498 |
รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง สมจิตต์ ศรีธัญรัตน์ | พ.ศ. 2498 - 2523 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พายัพ บุปผาคำ | พ.ศ. 2523 - 2531 |
รองศาสตราจารย์ ผกา แสงสุวรรณ | พ.ศ. 2531 - 2535 |
อาจารย์ หม่อมหลวงอธิบุญ กฤดากร | พ.ศ. 2535 - 2538 |
อาจารย์ นวลศรี วิทยานันท์ | พ.ศ. 2538 - 2539 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เครือวัลย์ โกมุทแดง | พ.ศ. 2539 - 2543 |
ผู้ช่วยศาสตาจารย์ วัฒนา จูฑะพันธุ์ | พ.ศ. 2543 - 2547 |
อาจารย์ พิทักษ์ เสงี่ยมสิน | พ.ศ. 2547 - 2549 |
อาจารย์ สมลักษณ์ จันทร์น้อย | พ.ศ. 2549 - 2556 |
อาจารย์ อรพินธุ์ คนึงสุขเกษม | พ.ศ. 2556 - 2559 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล | พ.ศ. 2559 - 2563 |
อาจารย์ โชติวิทย์ ธรรมสุจิตร | พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน |
ผู้บริหารปัจจุบัน วาระ 2567 - 2570
[แก้]รายชื่อผู้บริหารโรงเรียน | ตําเเหน่ง |
---|---|
อาจารย์ โชติวิทย์ ธรรมสุจิตร | ผู้อํานวยการ |
อาจารย์ ดร.พิชญ์นิตา สองสนู | รองผู้อํานวยการ ฝ่ายบริหาร |
อาจารย์ ดร.สุนทร ภูริปรีชาเลิศ | รองผู้อํานวยการ ฝ่ายวิชาการ วิจัยเเละพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคม |
อาจารย์ วัฒนโชติ เพ็งพริ้ง | รองผู้อํานวยการ ฝ่ายบริหารโครงการนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษภาคภาษาอังกฤษ |
อาจารย์ นงคราญ สุนทราวันต์ | รองผู้อํานวยการ ฝ่ายปกครอง |
อาจารย์ อุมาภรณ์ รอดมณี | รองผู้อํานวยการ ฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู |
อาจารย์ ดร.ณัฐ สิทธิกร | รองผู้อํานวยการ ฝ่ายเเผนเเละประกันคุณภาพ |
อาจารย์ วรายุทธ สายทอง | รองผู้อํานวยการ ฝ่ายกิจการพิเศษ |
อาจารย์ สมเกียรติ ตั้งมนัสตรง | รองผู้อํานวยการ ฝ่ายพัฒนากายภาพเเละสิ่งเเวดล้อม |
อาจารย์ กิตติศักดิ์ นิทาน | รองผู้อํานวยการ ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีเเละสารสนเทศ |
อาจารย์ ดร.ดวงกมล เจียมเงิน | รองผู้อํานวยการ ฝ่ายพัฒนาศักยภาพนักเรียน |
เกียรติประวัติ
[แก้]- โรงเรียนรางวัลพระราชทาน "การจัดการศึกษาดี"[5]
- ครั้งที่ 1 วันที่ 1 ธันวาคม 2507 ในการพระราชทานฯ ครั้งแรก (ปีการศึกษา 2505)
- ครั้งที่ 2 วันที่ 1 ธันวาคม 2508 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 2 (ปีการศึกษา 2506)
- ครั้งที่ 3 วันที่ 10 ธันวาคม 2510 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 4 (ปีการศึกษา 2508)
- ครั้งที่ 4 วันที่ 25 ธันวาคม 2513 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 7 (ปีการศึกษา 2511)
- ครั้งที่ 5 วันที่ 1 ธันวาคม 2514 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 8 (ปีการศึกษา 2512)
- ครั้งที่ 6 วันที่ 13 มิถุนายน 2518 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 12 (ปีการศึกษา 2516)
- ครั้งที่ 7 วันที่ 25 พฤษภาคม 2519 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 13 (ปีการศึกษา 2517)
- ครั้งที่ 8 วันที่ 22 กรกฎาคม 2520 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 14 (ปีการศึกษา 2518)
- และรับพระราชทานโล่รางวัลจากการที่ได้รับพระราชทานรางวัลการจัดการศึกษาดี 3 ปีติดต่อกัน เป็นโล่ที่ 1
- ครั้งที่ 9 วันที่ 3 สิงหาคม 2521 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 15 (ปีการศึกษา 2519)
- ครั้งที่ 10 วันที่ 11 กรกฎาคม 2522 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 16 (ปีการศึกษา 2520)
- ครั้งที่ 11 วันที่ 31 กรกฎาคม 2523 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 17 (ปีการศึกษา 2521)
- และรับพระราชทานโล่รางวัลจากการที่ได้รับพระราชทานรางวัลการจัดการศึกษาดีติดต่อกัน 3 ปีเป็นโล่ที่ 2
- ครั้งที่ 12 วันที่ 27 กรกฎาคม 2524 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่18 (ปีการศึกษา 2522)
- พร้อมด้วยประกาศนียบัตรฉบับแรกของการพระราชทานฯ จากการแก้ไขระเบียบฯ พ.ศ. 2523
- พ.ศ. 2523 ไม่อนุญาตให้โรงเรียนสาธิตเข้ารับการคัดเลือก เนื่องจากมีลักษณะการจัดการศึกษาที่จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของคณะศึกษาศาสตร์หรือคณะครุศาสตร์ของแต่ละมหาวิทยาลัยหรือของกรมการฝึกหัดครูจึงไม่ได้รับการพิจารณาสำหรับปีการศึกษา 2523 ต่อมาในปีพ.ศ. 2524 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการพิจารณาฯ ใหม่ ให้นักเรียนสาธิตเข้าสอบแข่งขันคัดเลือกเพื่อรับรางวัลพระราชทานได้อีก ส่วนการคัดเลือกโรงเรียนสาธิต ให้แยกออกประเมินต่างหากโดยจัดทำแบบประเมินและคู่มือการประเมินเป็นการเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและแนวการดำเนินงานของโรงเรียนสาธิต
- ครั้งที่ 13 วันที่ 10 สิงหาคม 2526 เป็นการรับพระราชทานรางวัล ครั้งที่ 1 ประเภทโรงเรียนสาธิตระดับมัธยมศึกษา (ปีการศึกษา 2525)
- ครั้งที่ 14 วันที่ 2 กรกฎาคม 2527 (ปีการศึกษา 2526)
- เป็นการรับพระราชทานรางวัลการจัดการศึกษาดี 2 ปีติดต่อกัน คือปีการศึกษา 2525 - 2526 จึงได้รับพระราชทานโล่รางวัลฯ ด้วยในฐานะโรงเรียนมาตรฐานดีเด่น (ตามระเบียบฯ พ.ศ. 2524) รวมเป็นโล่รางวัลพระราชทาน โล่ที่ 3
- ครั้งที่ 15 วันที่ 30 กรกฎาคม 2528 (ำปีการศึกษา 2527)
- จากการรับพระราชทานฯ ครั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะให้เป็นโรงเรียนระดับมาตรฐานดีเด่น ซึ่งยกเว้นมิต้องเข้ารับการประเมิน (โดยได้รับอนุญาตให้ขึ้นป้ายแสดง “โรงเรียนรางวัลพระราชทาน”) ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นโรงเรียนที่มีทุกอย่างพร้อมแล้ว และได้รับพระราชทานฯ ติดต่อกันถึง 3 ปี ทั้งนี้ เพื่อให้โอกาสโรงเรียนอื่น ๆ โดยโรงเรียนจะได้รับการประเมินใหม่อีก ต่อเมื่อเปลี่ยนสภาพจากโรงเรียนขนาดกลางเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่
- ครั้งที่ 16 วันที่ 23 กรกฎาคม 2547 ได้รับพระราชทานรางวัล "การจัดการศึกษาดี" สถานศึกษาขนาดใหญ่ เขตการศึกษากรุงเทพมหานคร (ปีการศึกษา 2546)
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]เนื้อหาในบทความนี้ไม่ถูกต้องแม่นยำ โปรดช่วยกันตรวจสอบ และปรับปรุง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพิ่มแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ด้วย (กุมภาพันธ์ 2023) |
ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
(ข้อมูลเริ่มต้นนำมาจากสมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน www.satitpatumwan.com เก็บถาวร 2006-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
นักการเมือง
[แก้]- รศ.ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร (รุ่น 6) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ชุดที่ 1) อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ (รุ่น 7) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รัฐบาลพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์) อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- จอน อึ๊งภากรณ์ (รุ่น 7) อดีตสมาชิกวุฒิสภา (2543-2549)
- ดิสทัต โหตระกิตย์ (รุ่น 15) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี(รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา) อดีตเลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- รศ.ดร.หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ (รุ่น 16) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)
- มาริษ เสงี่ยมพงษ์ (รุ่น 18) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- สุรนันทน์ เวชชาชีวะ (รุ่น 21) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)
- กรณ์ จาติกวณิช (รุ่น 24) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 22
- ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ (รุ่น 25) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2554, 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ชุดที่ 2)
- บุรณัชย์ สมุทรักษ์ (รุ่น 26) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550, 2554
- จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ (รุ่น 32) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2544, 2548
- ผศ.ดร.รัชดา ธนาดิเรก (รุ่น 35) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550, 2554 รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ชุดที่ 2)
- สุรชาติ เทียนทอง (รุ่น 39) อดเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2554
ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูง
[แก้]- พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์ (รุ่น 7) อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พลเอก ทสรฐ เมืองอ่ำ (รุ่น 8) อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม
- พลเรือเอก บรรณวิทย์ เก่งเรียน (รุ่น 8) อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม
- ดร.จรัลธาดา กรรณสูต (รุ่น 9) องคมนตรี อดีตที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตอธิบดีกรมประมง
- ปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ (รุ่น 9) อดีตกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตอธิบดีกรมบัญชีกลาง
- ธนสิทธิ์ นิลกำแหง (รุ่น 13) อดีตรองประธานศาลฎีกา อดีตผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา
- ศ.พิเศษ เข็มชัย ชุติวงศ์ (รุ่น 14) อดีตอัยการสูงสุด
- พลเอก หม่อมหลวง ประสบชัย เกษมสันต์ (รุ่น 14) อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม
- ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ (รุ่น 15 อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, อดีตอุปนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วรารัตน์ อติแพทย์ (รุ่น15) อดีตเลขาธิการวุฒิสภา
- พลเอก ภูดิศ ทัตติยโชติ (รุ่น 15) อดีตจเรทหารทั่วไป อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม
- พลเอก ธีรชัย นาควานิช (รุ่น 15) อดีตองคมนตรี อดีตผู้บัญชาการทหารบก
- พลโท ภราดร พัฒนถาบุตร (รุ่น 15) อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
- ประภัสร์ จงสงวน (รุ่น 16) อดีตผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และการรถไฟแห่งประเทศไทย
- พลเอก ยศนันท์ หร่ายเจริญ (รุ่น 17) อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- สันทัด สุจริต (รุ่น17) ผู้พิพากษาอาวุโสศาลฎีกา อดีตอธิบดีผู้พิพากษาภาค4
- พันตำรวจเอก ดร. ณรัชต์ เศวตนันทน์ (รุ่น 20) รองเลขาธิการพระราชวัง อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์
- พลเอก นเรศรักษ์ ฐิตะฐาน (รุ่น 20) อดีตจเรทหารทั่วไป
- ปริญญา ยมะสมิต (รุ่น20) อดีตผู้ว่าการการประปานครหลวง
- ชุณหจิต สังข์ใหม่ (รุ่น 21) อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง อดีตรองอธิบดีกรมบัญชีกลาง
- พลอากาศเอก สฤษฎ์พงศ์ วัฒนวรางกูร (รุ่น 22) อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม
- พลตำรวจเอก ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร (รุ่น 22) อดีตจเรตำรวจแห่งชาติ นายตำรวจราชสำนักเวร อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6
- ดร.สุภัทร จำปาทอง (รุ่น 22) อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อดีตเลขาธิการสภาการศึกษา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- ดร.ธีรภัทร ประยูรสิทธิ (รุ่น 22) อดีตปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- เกียรติณรงค์ วงศ์น้อย (รุ่น 24) ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง
- ชยาวุธ จันทร (รุ่น 24) อดีตอธิบดีกรมที่ดิน อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว
- พลตํารวจเอก ไกรบุญ ทรวดทรง (รุ่น 24) รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- พรพจน์ เพ็ญพาส (รุ่น 25) อธิบดีกรมที่ดิน อดีตอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
- พลโท นรเศรษฐ์ พงษ์เจริญ เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
- นิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม (รุ่นที่ 27) ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร
- พลโท สิทธา มหาสันทนะ (รุ่น 27) เจ้ากรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
- ภาสกร บุญญลักษม์ (รุ่นที่ 27) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
- ดร.สรรพชัย หุวะนันทน์ (รุ่น 27) กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- อสิ ม้ามณี (รุ่นที่ 28) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
- ศ.ดร.พรอนงค์ บุศราตระกูล (รุ่น28) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- ดร.วิรไท สันติประภพ (รุ่น 29) อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
- อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ (รุ่น 31) ปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตอธิบดีกรมการปกครอง อดีตอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
- ณัฐฎ์จารี อนันตศิลป์ (รุ่น 31) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ (รุ่นที่ 31) อดีตกรรมการอำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
- ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (รุ่นที่ 31) อธิบดีกรมธนารักษ์ อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต อดีตอธิบดีกรมสรรพากร อดีตผู้อํานวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
- ดร.กุลยา ตันติเตมิท (รุ่นที่ 32) อธิบดีกรมสรรพสามิต อดีตอธิบดีกรมสรรพากร อดีตอธิบดีกรมบัญชีกลาง อดีตผู้อํานวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
- ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี (รุ่น33) อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อดีตอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
- นาวาอากาศตรี สมชนก เทียมเทียบรัตน์ (รุ่น33) ผู้อำนวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
สื่อมวลชน
[แก้]- ธีรัตถ์ รัตนเสวี (รุ่น 30) ผู้อำนวยการฝ่ายรายการและสื่อดิจิตอล สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)
- จิตตนาถ ลิ้มทองกุล (รุ่น 36) บรรณาธิการบริหารเครือผู้จัดการ
นักวิชาการ
[แก้]- รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร (รุ่น 1) อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค (รุ่น 7) อดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- รศ.อรชุมา ยุทธวงศ์ (รุ่น 7) อดีตหัวหน้าภาควิชาศิลปะการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล (รุ่น 15) ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายสาธารณะและการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
- ศ.นพ.ประมุข มุทิรางกูร (รุ่น18) ประธานราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
- ศ.คลินิก นพ.พรชัย มูลพฤกษ์ (รุ่น16) อดีตรองคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ (รุ่น 18) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- รศ.ดร.ภูมิ มูลศิลป์ (รุ่น34) คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นักธุรกิจและผู้บริหารระดับสูงในภาคเอกชน
[แก้]- ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ (รุ่น23) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลธนบุรี บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
- นวลพรรณ ล่ำซำ (รุ่น 26) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
- สุดา นิลวรสกุล (รุ่น 30) ประธานกรรมการ บริษัท เอสโซ่ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
- เฉลิมชัย มหากิจศิริ (รุ่น 38) กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์
- วรมาศ ศรีวัฒนประภา (รุ่น 42) รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด กลุ่มบริษัทคิงเพาเวอร์
- ทมยันตี คงพูลศิลป์ (รุ่น32) ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานบริหารการลงทุนและการลงทุนสัมพันธ์ บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์
- วัลลภา ไตรโสรัส (รุ่น34) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน)
- ฐาปน สิริวัฒนภักดี (รุ่น36) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจ จำกัด (มหาชน)
วงการบันเทิง
[แก้]- พรพิชิต พัฒนถาบุตร (รุ่น 16) ผู้จัดการส่วนตัว ธงไชย แมคอินไตย์
- ธิติมา สังขพิทักษ์ (รุ่น 18)
- ปรียานุช ปานประดับ (รุ่น 24)
- อนุวัฒน์ นิวาตวงศ์ (รุ่น 26)
- อริชัย อรัญนารถ (เอ แกรนด์เอ็กซ์) (รุ่น 26)
- มนต์ชีพ ศิวะสินางกูร (รุ่น 27) (ครูเป็ด นายสะอาด)[6]
- อลงกต เอื้อไพบูลย์ (รุ่น 28)
- ภูริ หิรัญพฤกษ์ (รุ่น 38)
- นาวิน เยาวพลกุล (รุ่น 39)
- คลาวเดีย จักรพันธุ์ (รุ่น 40)
- รัตนพล เก่งเรียน (วิน วง potato)
- ลลนา ก้องธรณินทร์ (รุ่น 48)
- สุรบถ หลีกภัย (ปลื้ม VRZO) (รุ่น 48)
- รัชชุ สุระจรัส (รุ่น 50)
- ชัยพล พูพาร์ต (รุ่น 50)
- ชลธร คงยิ่งยง (กัปตัน Lovesick) (รุ่น 58)
- มนธภูมิ สุมนวรางกูร (ไปป์ Kamikaze) (รุ่น 58)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ปรัชญา / ปณิธาน / วิสัยทัศน์ / พันธกิจ". Patumwan Demonstration School, Srinakharinwirot University. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "ข้อมูลทั่วไป". Patumwan Demonstration School, Srinakharinwirot University. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019.
- ↑ "ประวัติความเป็นมา". Patumwan Demonstration School, Srinakharinwirot University. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019.
- ↑ "แนะนำผู้บริหาร". Patumwan Demonstration School, Srinakharinwirot University. สืบค้นเมื่อ 3 April 2021.
- ↑ "รายงานประจำปีการศึกษา 2557" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2023-02-09.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-15. สืบค้นเมื่อ 2009-10-03.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์โรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน
- สมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน เก็บถาวร 2006-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สมาคมผู้ปกครองและครูสาธิตปทุมวัน เก็บถาวร 2007-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน