คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
Faculty of Science, Srinakharinwirot university | |
สถาปนา | 16 กันยายน พ.ศ. 2497 |
---|---|
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
คณบดี | ปรินทร์ ชัยวิสุทธางกูร |
ที่อยู่ | 114 ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 |
สี | สีเหลือง |
เว็บไซต์ | science |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นหนึ่งในสิบหกคณะของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2497 ในชื่อ "คณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร" โดยในตอนนั้นอยู่ภายใต้สังกัดกรมการฝึกหัดครูของกระทรวงศึกษาธิการ และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "คณะวิทยาศาสตร์" ใน พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่มหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานนามว่า "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ"
ในปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์ ตั้งอยู่ที่วิทยาเขตประสานมิตร ในพื้นที่แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ใช้สอย 48,175.95 ตารางเมตร ประกอบไปด้วยภาควิชาทั้งหมด 9 ภาควิชา และศูนย์วิทยาศาสตร์ศึกษา
ประวัติ
[แก้]ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2497 ได้ก่อตั้ง "คณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร" โดยอยู่ภายใต้สังกัดกรมการฝึกหัดครูของกระทรวงศึกษาธิการ มีผู้บริหารสูงสุดในตำแหน่ง "หัวหน้าคณะวิชา" แผนกวิชาเริ่มแรกมีทั้งหมด 5 วิชา ก่อนที่จะเปิดแผนกวิชาเพิ่มในปีถัด ๆ มา ต่อมาใน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับนามพระราชทาน "ศรีนครินทรวิโรฒ" พร้อมกับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย ทำให้คณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ"[1]
รายนามคณบดี
[แก้]พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้คณบดีดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี และอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ[1]
ลำดับ | ชื่อ-สกุลของคณบดี | ปีที่ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | รองศาสตราจารย์ ดร.ประยงค์ พงษ์ทองเจริญ | พ.ศ. 2518–2526 |
2 | รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ | พ.ศ. 2526–2530 |
3 | ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน | พ.ศ. 2530–2532 |
4 | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดาภรณ์ วีรสาร | พ.ศ. 2532–2536 |
5 | รองศาสตราจารย์ ดร.บุญเอิญ มิลินทสูต | พ.ศ. 2536–2538 |
6 | รองศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ ทองอยู่ | พ.ศ. 2538–2540 |
7 | รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร มากตุ่น | พ.ศ. 2540–2544 |
8 | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี นาคะผดุงรัตน์ | พ.ศ. 2544–2548 |
9 | ศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร มากตุ่น | พ.ศ. 2548–2557 |
10 | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรินุช เทียนรุ่งโรจน์ | พ.ศ. 2557–2561 |
11 | ศาสตราจารย์ ดร.ปรินทร์ ชัยวิสุทธางกูร | พ.ศ. 2561– |
หลักสูตร
[แก้]ภาควิชา
[แก้]ในปีแรกของการก่อตั้งคณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มีแผนกวิชาทั้งหมด 5 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์, คหกรรมศาสตร์, เคมี, ชีววิทยา และฟิสิกส์ ต่อมาใน พ.ศ. 2508 ได้เปิดแผนกวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป[1]
ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์ประกอบไปด้วย 8 ภาควิชา และ 1 ศูนย์ ได้แก่ 1. ภาควิชาคณิคศาสตร์ 2. ภาควิชาชีววิทยา 3. ภาควิชาเคมี 4. ภาควิชาฟิสิกส์ 5. ภาควิชาจุลชีววิทยา 6. ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 7. ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป 8. ภาควิชาวัสดุศาสตร์ 9. ศูนย์วิทยาศาสตร์ศึกษา
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) 4 ปี
การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) 4 ปี [2]
|
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
|
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
|
อาคารสถานที่
[แก้]คณะวิทยาศาสตร์ ตั้งอยู่ที่วิทยาเขตประสานมิตร ในพื้นที่แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ใช้สอย 48,175.95 ตารางเมตร และมีอาคารหลักทั้งหมด 3 อาคาร ได้แก่ อาคาร 10, อาคาร 15 และอาคาร 19[1] นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์หิน แร่ และอัญมณี ซึ่งตั้งอยู่บนชั้นที่ 17 ของอาคาร 19[3] พิพิธภัณฑ์นี้ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2543 ตามแนวคิดของรองศาสตราจารย์ ดร.เสรีวัฒน์ สมินทร์ปัญญา และคณาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป[4]
งานวิจัย
[แก้]คณะวิทยาศาสตร์ มีการผลิตงานวิจัยที่สำคัญหลายงาน อาทิ ภาควิชาคณิตศาสตร์ มีการผลิตงานวิจัยทั้งในสาขาคณิตศาสตร์และสาขาสถิติ,[5] ภาควิชาเคมี มีการผลิตงานวิจัยออกมาเป็นประจำทุกปี รวมถึงงานวิจัยการพัฒนาระบบการนิเทศแนวใหม่ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้นำเอาไปปรับใช้,[6] ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป และภาควิชาจุลชีววิทยา มีการตีพิมพ์งานวิจัยทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ[7][8] นอกจากนี้ ในภาควิชาฟิสิกส์ มีหน่วยวิจัยฟิสิกส์ประสานมิตร ซึ่งทำงานวิจัยด้านทฤษฎีตัวนำยวดยิ่ง[9] และหน่วยวิจัยฟิสิกส์ทฤษฎีพลังงานสูงและฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (THEPA) ซึ่งศึกษาในด้านอนุภาค แม่เหล็กไฟฟ้า และจักรวาล[10] ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ก็มีหน่วยงานวิจัยวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นของตนเองเช่นเดียวกัน[11]
วารสาร
[แก้]คณะวิทยาศาสตร์ ได้ตีพิมพ์วารสาร "วิทยาศาสตร์ มศว" (Srinakharinwirot Science Journal) เป็นประจำทุกปี ปีละสองครั้ง ในเดือนมิถุนายนและธันวาคม ซึ่งสามารถอ่านได้ทั้งแบบเล่มและแบบออนไลน์[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "ประวัติคณะวิทยาศาสตร์". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "หลักสูตรคณะวิทยาศาสตร์". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พิพิธภัณฑ์ หิน แร่ และอัญมณี". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ หิน แร่ และอัญมณี". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "งานวิจัยของภาควิชาคณิตศาสตร์". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "งานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ของภาควิชาเคมี". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ (Publications) ของภาควิชาจุลชีววิทยา". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "งานวิจัย ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ประจำปี 2563". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "หน่วยวิจัยฟิสิกส์ประสานมิตร ภาควิชาฟิสิกส์". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "หน่วยวิจัยฟิสิกส์ทฤษฎีพลังงานสูงและฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (THEPA) ภาควิชาฟิสิกส์". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "หน่วยวิจัยวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-01. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "วารสารวิทยาศาสตร์ มศว (Srinakharinwirot Science Journal)". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)