บรรณวิทย์ เก่งเรียน
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
พลเรือเอก บรรณวิทย์ เก่งเรียน ชื่อเล่น นุ อดีตประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[1]และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
ประวัติ
[แก้]ชื่อเล่น 'นุ' เป็นบุตรของนายประสิทธิ์ และนางศรีสว่าง เก่งเรียน เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2491
มีพี่น้องรวม 4 คน ได้แก่
- นายดำรงเกียรติ เก่งเรียน
- พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน
- ร.อ.อิทธิพล เก่งเรียน (ตท.10 - ถึงแก่กรรมในสนามรบ)
- นายนิติพัฒน์ เก่งเรียน
พลเรือเอกบรรณวิทย์ ศึกษาชั้นมัธยมที่ โรงเรียนสาธิตปทุมวัน ก่อนที่จะศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหารรุ่น 7 (ตท.7) รุ่นเดียวกับ พลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร และ พลเอกปฐมพงษ์ เกษรศุกร์
ตำแหน่งที่สำคัญ
[แก้]- ประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม (ระดับ11)
- รองปลัดกระทรวงกลาโหม
- ประธานคณะที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ (อัตราจอมพล)
- รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- เลขานุการกองบัญชาการทหารสูงสุด
- ประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม
- นายกสมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) ในพระราชูปถัมภ์[2]
พล.ร.อ.บรรณวิทย์ ประสบความสำเร็จในการเป็นทหารอาชีพ ได้รับตำแหน่งเป็นนายพลตั้งแต่อายุ 44 ปี ซึ่งถือเป็นนายพลที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น
บทบาทในทางการเมืองและสังคม
[แก้]พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน มีชื่อเสียงในสังคมเป็นครั้งแรกด้วยการเป็นนายทหารที่ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม ที่ออกมาเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาว่า มีการใช้อำนาจการเมืองแทรกแซงการแต่งตั้งนายทหารระดับสูงในกองทัพ มีช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พร้อมกับนายทหารคนอื่น ๆ จนถูกทางกระทรวงกลาโหม โดย พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงในขณะนั้นสอบวินัย
ภายหลังการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พล.ร.อ.บรรณวิทย์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พร้อมกับเป็นประธานคณะกรรมาธิการคมนาคมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำการตรวจสอบการทุจริตในกระทรวงคมนาคมของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต่าง ๆ เช่น กรณีทุจริตการซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด CTX หรือ การทุจริตในสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น
ในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำปี พ.ศ. 2550 พล.ร.อ.บรรณวิทย์ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม แทนตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม เนื่องจากถูกสนช.สายทหารกล่าวหาว่า พล.ร.อ.บรรณวิทย์ ไม่โปร่งใสในระหว่างทำหน้าที่บริหารองค์การแบตเตอรี่ และจากที่กระทบกระทั่งกับผู้บังคับบัญชา จากกรณีที่ออกมาปกป้องพล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร [3]
ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 พล.ร.อ.บรรณวิทย์ ได้ขอลาออกจากราชการทหารเพื่อที่ลงรับสมัคร ส.ส. ในระบบสัดส่วนของพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา แต่ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงกลาโหมล่าช้า จึงไม่ทันการสมัคร ซึ่ง พล.ร.อ.บรรณวิทย์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการกลั่นแกล้งตนเอง แต่ทางกระทรวงกลาโหมได้ปฏิเสธ
เคย เป็นเลขาธิการลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย งานด้านการเมือง เป็นหนึ่งในสมาชิกและผู้ก่อตั้งสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย และยังจัดรายการวิทยุเป็นประจำในวันเสาร์เวลา 08.30-10.00 น. ทางเอฟ.เอ็ม. 92.25 เมกกะเฮิร์ซ รวมไปถึงการจัดรายการสด ทางช่องทีวีผ่านดาวเทียม ช่อง ๑๓ สยามไท อีกด้วย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[6]
- พ.ศ. 2524 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/013/T_0001.PDF
- ↑ ทำเนียบนายกสมาคมผู้ปกครองและครู
- ↑ "บุญรอด" สั่งตั้งจเรทหารทั่วไปสอบวินัย "บรรณวิทย์"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕๑, ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐๔๕, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒, ๒๔ เมษายน ๒๕๓๙
- "น้ำตานายพล" พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม สนช. เพชฌฆาต “ทักษิณ” เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "บรรณวิทย์"ลั่น! ฟันไม่เลี้ยงมาเฟีย-แก๊งงาบ"สุวรรณภูมิ" (มีคลิปต์เสียงให้สัมภาษณ์) เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน