โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามฝ่ายปฐมวัยและประถมศึกษา | |
---|---|
Pibulsongkram Rajabhat University Demonstration School | |
พิกัด | 16°48′37″N 100°16′10″E / 16.8101711°N 100.2695674°E |
ข้อมูล | |
ประเภท | โรงเรียนสาธิต |
คติพจน์ | จัดการศึกษา สอดคล้องกับพัฒนาการ เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข |
สถาปนา | 10 มีนาคม พ.ศ. 2505 |
หน่วยงานกำกับ | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม |
ผู้อำนวยการ | รองศาสตราจารย์ นิวัตร พัฒนะ |
จำนวนนักเรียน | 790 คน (ปีการศึกษา 2558) |
สี | เขียวอ่อน-ขาว |
การจัดการศึกษา | ปฐมวัย - ประถมศึกษา |
เว็บไซต์ | satit |
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามฝ่ายปฐมวัยแลประถมศึกษา (อังกฤษ: Pibulsongkram Rajabhat University Demonstration School) เป็นโรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนสนามบิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก จัดการศึกษาในระดับปฐมวัยถึงประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.นิวัตร พัฒนะ เป็นผู้อำนวยการคนปัจจุบัน
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2505 ในสมัยที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ยังเป็นวิทยาลัยครูพิบูลสงครามอยู่ โดยได้รับงบประมาณสนับนุนจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐ (United States Operation Mission: USOM) จำนวน 265,000 บาท และเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2505 นั้น โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม" มีสถานที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ส่วนวังจันทน์[1]
ในปี พ.ศ. 2524 วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ได้ทำการรื้อถอนอาคารด้านทิศเหนือและโรงอาหารออกเพื่อจัดสร้างหอสมุด จึงได้ย้ายโรงเรียนไปที่อาคาร 1 ในปีการศึกษา 2525 แต่เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2525 อาคาร 1 ได้ถูกเครื่องบินโอวี-10 ของกองทัพอากาศ พุ่งชนทำความเสียหายให้กับอาคารเรียนทั้งหมด ในเวลา 14.20 น. กองทัพอากาศจึงได้ชดเชยค่าเสียหาย จำนวน 7,200,00 บาท เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนให้ใหม่ และให้ชื่ออาคารเรียนหลังใหม่ว่า "อาคารอนุสรณ์" เพื่อเป็นเกียรติแก่นักบินที่เสียชีวิต คือ เรืออากาศโทอนุสรณ์ ถนอมกุลบุตร[1]
ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนเป็นสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538[2] โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม
และในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ลงพระปรมาภิไทยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ส่งผลให้สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม จึงเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม[3]
ต่อมาใน พ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างโรงเรียนสาธิตแห่งใหม่ขึ้นบริเวณ ถนนสนามบิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก และทำการย้ายโรงเรียนมาตั้งในสถานที่ใหม่ในปีการศึกษา 2552[1]
สัญลักษณ์
[แก้]ตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นตราของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน และด้านล่างมีชื่อโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามบนแถบโค้งชายธง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, ประวัติโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เก็บถาวร 2016-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538, เล่ม 112 ตอน 4 ก, หน้า 1, วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547, เล่ม 121 ตอนพิเศษ 23 ก, หน้า 1, วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เก็บถาวร 2017-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน