ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

พิกัด: 13°44′25″N 100°32′06″E / 13.740318°N 100.534984°E / 13.740318; 100.534984
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โรงเรียนสาธิตปทุมวัน)
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
Patumwan Demonstration School, Srinakharinwirot University
ที่ตั้ง
แผนที่

, , ,
10330
พิกัด13°44′25″N 100°32′06″E / 13.740318°N 100.534984°E / 13.740318; 100.534984
ข้อมูล
ชื่อเดิม1. หน่วยสาธิตในแผนกฝึกหัดครูมัธยมโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
2. โรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน
ประเภทโรงเรียนสาธิต
คติพจน์บาลี: สิกฺขา วิรุฬฺหิ สมฺปตฺตา[1]
(การศึกษาคือความเจริญงอกงาม)
ศาสนาพุทธ, ฮินดู (โดยพฤตินัย)
สถาปนา26 ธันวาคม พ.ศ. 2496; 71 ปีก่อน (2496-12-26)[2]
ผู้ก่อตั้งหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล[3]
หน่วยงานทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ[2]
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ผู้อำนวยการอาจารย์ โชติวิทย์ ธรรมสุจิตร[4][2]
เพศสหศึกษา
ช่วงอายุ13 - 18 ปี
การลงทะเบียน1,854 (2006)
ความจุ1,860
ขนาดวิทยาเขต12,080 ตารางเมตร (7.55 ไร่)[2]
สี   สีน้ำเงิน–สีชมพู
คำขวัญสมรรถภาพในการปรับตัว คือความสำเร็จในชีวิต
เพลงสาธิตปทุมวัน[2]
หนังสือรุ่นบัว
ค่าเล่าเรียน25,700 บาทต่อปี
ศิษย์เก่าสมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน
สมาคมผู้ปกครองและครูสาธิตปทุมวัน
เว็บไซต์www.satitpatumwan.ac.th

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (อังกฤษ: Patumwan Demonstration School, Srinakharinwirot University) ตั้งอยู่บนถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนสาธิตภายใต้การกำกับดูแลของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ได้ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2496 ตามดำริของ ฯพณฯ ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น พลเอกมังกร พรหมโยธี และ ศาสตราจารย์คุณหญิงอุบล หุวะนันทน์ โดยเริ่มวางโครงการดำเนินการจัดการเรียนการสอน กำหนดตั้งเป็นหน่วยสาธิตในแผนกฝึกหัดครูมัธยมของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เพื่อเป็นที่ฝึกงานของนิสิตกับครูที่ต้องบรรจุฝึกงานก่อนไปสอนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พร้อม สังกัดกองเตรียมอุดมศึกษา กรมวิสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, วิทยาลัยวิชาการศึกษา กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่เรียกชื่อว่า โรงเรียนสาธิต

ปีการศึกษา 2497 เปิดรับนักเรียนเป็นปีการศึกษาแรกในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ป.5 ในปัจจุบัน) และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม.2 ในปัจจุบัน) ชั้นละ 2 ห้องเรียน โดยใช้เรือนไม้ชั้นเดียวที่อยู่ในบริเวณเดียวกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ด้านถนนสนามม้า (ถนนอังรีดูนังต์ ในปัจจุบัน) เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว ในขณะที่กำลังก่อสร้างอาคาร 1 สาธิตปทุมวัน ยังไม่เสร็จ การแต่งกายของนักเรียน ในยุคแรกใช้ชุดนักเรียนปักอักษรย่อ ต.อ. และใช้เครื่องหมายพระเกี้ยวธรรมจักร เป็นตราประจำโรงเรียน พร้อมทั้งกำหนดให้มี สีประจำโรงเรียนมาพร้อมกับ การก่อตั้งโรงเรียน โดย ฯพณฯ ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้ให้สีที่เป็นสิริมงคลเป็นสีประจำโรงเรียนไว้ 2 สี

ปีการศึกษา 2498 ยกฐานะเป็นโรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน สังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ และเปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาครบ 6 ชั้น พร้อมได้ย้ายนักเรียนไปเรียน อาคาร 1 สาธิตปทุมวัน (อาคารอำนวยการ ในปัจจุบัน)

ในปีการศึกษา 2499 และจึงได้มีการขยับขยายสถานที่เรียนเพิ่มขึ้นให้เหมาะสม

ในปีการศึกษา 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย โรงเรียนจึงเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน หรือ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน สังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทบวงมหาวิทยาลัย และเปลี่ยนใช้อักษรย่อของโรงเรียน เป็น ส.มศว และเครื่องหมายรูปกราฟ เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน

ต่อมาใน พ.ศ. 2536 มศว ปทุมวัน ได้ถูกยุบลงและรวมเข้ากับ มศว ประสานมิตร โรงเรียนจึงได้ขยายเนื้อที่ออกไปเพิ่มในพื้นที่ของ มศว ปทุมวัน และโรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน จึงย้ายมาอยู่ในสังกัด มศว ประสานมิตรแทน[ต้องการอ้างอิง]

หลักสูตร

[แก้]

ปัจจุบันโรงเรียนมีหลักสูตรการเรียนการสอนจำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่

  1. หลักสูตรปกติ ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
  2. หลักสูตรภาษาอังกฤษ โครงการนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษภาคภาษาอังกฤษ (English Program for Talented Students หรือ EPTS) ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ในระดับชั้นมัธยมปลาย มีแผนการเรียนให้เลือก 4 แผนการเรียน ได้แก่

  1. คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์
  2. คณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ
  3. ภาษาต่างประเทศ (ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีนกลาง)
  4. ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ ก (ทัศนศิลป์ นิเทศศิลป์ ดนตรีไทย ดนตรีสากล นาฏศิลป์ นิเทศศาสตร์ อาหารและโภชนาการ เทคโนโลยีสารสนเทศ และนิติรัฐ)

สำหรับหลักสูตรภาษาอังกฤษ สามารถเลือกได้แค่ 3 แผนการเรียนแรก

สิ่งก่อสร้างภายในโรงเรียน

[แก้]
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ทางเข้าถนนอังรีดูนังต์และอาคาร สาธิตปทุมวัน 1

มีการก่อสร้างอาคารสถานที่สำหรับการเรียนการสอน 7 อาคาร ได้แก่

  • อาคารสาธิตปทุมวัน 1 สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ อาคารอำนวยการ เป็นอาคารสูงสามชั้น และ อาคารรวมน้ำใจ เป็นอาคารสูงสิบชั้น (ไม่มีชั้น 2) ได้รับการปรับปรุงโดยการทาสีใหม่ทั้งภายนอกอาคารและภายในห้องเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2550 เป็นอาคารเรียนชั้นมัธยมปลายหลักสูตรปกติ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, สำนักงาน ICT และห้องปฏิบัติการฟิสิกส์
  • อาคารสาธิตปทุมวัน 2 (อาคารปฏิบัติการศิลปหัตถกรรมและพาณิชยกรรม) ใช้สำหรับการเรียนการสอนวิชาศิลปะมีห้องเครื่องปั้นดินเผา ตัวตึกบางส่วนเกือบจะเชื่อมกับตึกของคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาคารสาธิตปทุมวัน 3 (อาคารเอนกประสงค์และกิจกรรมการกีฬา) เป็นอาคารเรียนของนักเรียนโครงการนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษภาคภาษาอังกฤษ ม.1-ม.5 และ สระว่ายนํ้า
  • อาคารสาธิตปทุมวัน 4 แทนอาคารเรือนไม้ 2 ชั้นที่รื้อออกไป เป็นอาคารเรียนทั่วไป ภายในมี ห้องประชุมขนาดใหญ่, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และห้องสมุด รวมทั้งเป็นอาคารเรียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ได้รับการปรับปรุงห้องวิทยาศาสตร์ใหม่ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2555
  • อาคารสาธิตปทุมวัน 5 อดีตอาคารเรียนของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ วิทยาเขตปทุมวัน[ต้องการอ้างอิง] เป็นอาคารเรียนของนักเรียนม.1 และม.2 ภาคปกติ, ม.6 โครงการนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษภาคภาษาอังกฤษ, ห้องกิจกรรมคณิตศาสตร์, ห้องพระพุทธศาสนา, ห้องกิจกรรมนาฏศิลป์, ห้องวงโยธวาทิต, ห้องดนตรีไทย, ห้องสมุด และห้องสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
  • อาคารสาธิตปทุมวัน 6 โรงฝึกพลศึกษา และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
  • อาคารสาธิตปทุมวัน 7 (อาคารคหกรรม) ห้องเรียนคหกรรมชั้น 1 ได้รับการปรับปรุงใหม่ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2561

สร้างสระว่ายน้ำ ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการภาษา ห้องปฏิบัติการคหกรรมศาสตร์ ห้องปฏิบัติการดนตรีและการละคร ห้องกิจกรรมสังคมศึกษา ห้องกิจกรรมคณิตศาสตร์ ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ห้องกิจกรรมภาษาไทย ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องพยาบาล ห้องประชุม และสร้างสนามบาสเกตบอล สนามวอลเลย์บอล สนามเทนนิส และสนามเปตอง รวมทั้งปรับภูมิทัศน์ของโรงเรียนโดยรอบ

ลานหน้าอาคารสาธิตปทุมวัน 5 ใช้เล่นกีฬาต่าง ๆ และบางครั้งโรงเรียนก็ได้ใช้ สนามฟุตบอลโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เพื่อทำกิจกรรม เช่น วิชากีฬา/กรีฑา, กีฬาสี

รายชื่อผู้อำนวยการ

[แก้]
รายชื่อผู้อำนวยการโรงเรียน ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
ศาสตราจารย์ คุณหญิง เต็มสิริ บุณยสิงห์ พ.ศ. 2497 - 2498
รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง สมจิตต์ ศรีธัญรัตน์ พ.ศ. 2498 - 2523
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พายัพ บุปผาคำ พ.ศ. 2523 - 2531
รองศาสตราจารย์ ผกา แสงสุวรรณ พ.ศ. 2531 - 2535
อาจารย์ หม่อมหลวงอธิบุญ กฤดากร พ.ศ. 2535 - 2538
อาจารย์ นวลศรี วิทยานันท์ พ.ศ. 2538 - 2539
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เครือวัลย์ โกมุทแดง พ.ศ. 2539 - 2543
ผู้ช่วยศาสตาจารย์ วัฒนา จูฑะพันธุ์ พ.ศ. 2543 - 2547
อาจารย์ พิทักษ์ เสงี่ยมสิน พ.ศ. 2547 - 2549
อาจารย์ สมลักษณ์ จันทร์น้อย พ.ศ. 2549 - 2556
อาจารย์ อรพินธุ์ คนึงสุขเกษม พ.ศ. 2556 - 2559
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล พ.ศ. 2559 - 2563
อาจารย์ โชติวิทย์ ธรรมสุจิตร พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

ผู้บริหารปัจจุบัน วาระ 2567 - 2570

[แก้]
รายชื่อผู้บริหารโรงเรียน ตําเเหน่ง
อาจารย์ โชติวิทย์ ธรรมสุจิตร ผู้อํานวยการ
อาจารย์ ดร.พิชญ์นิตา สองสนู รองผู้อํานวยการ ฝ่ายบริหาร
อาจารย์ ดร.สุนทร ภูริปรีชาเลิศ รองผู้อํานวยการ ฝ่ายวิชาการ วิจัยเเละพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคม
อาจารย์ วัฒนโชติ เพ็งพริ้ง รองผู้อํานวยการ ฝ่ายบริหารโครงการนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษภาคภาษาอังกฤษ
อาจารย์ นงคราญ สุนทราวันต์ รองผู้อํานวยการ ฝ่ายปกครอง
อาจารย์ อุมาภรณ์ รอดมณี รองผู้อํานวยการ ฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
อาจารย์ ดร.ณัฐ ​สิทธิกร รองผู้อํานวยการ ฝ่ายเเผนเเละประกันคุณภาพ
อาจารย์ วรายุทธ สายทอง รองผู้อํานวยการ ฝ่ายกิจการพิเศษ
อาจารย์ สมเกียรติ ตั้งมนัสตรง รองผู้อํานวยการ ฝ่ายพัฒนากายภาพเเละสิ่งเเวดล้อม
อาจารย์ กิตติศักดิ์ นิทาน รองผู้อํานวยการ ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีเเละสารสนเทศ
อาจารย์ ดร.ดวงกมล เจียมเงิน รองผู้อํานวยการ ฝ่ายพัฒนาศักยภาพนักเรียน

เกียรติประวัติ

[แก้]
  • โรงเรียนรางวัลพระราชทาน "การจัดการศึกษาดี"[5]
    1. ครั้งที่ 1 วันที่ 1 ธันวาคม 2507 ในการพระราชทานฯ ครั้งแรก (ปีการศึกษา 2505)
    2. ครั้งที่ 2 วันที่ 1 ธันวาคม 2508 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 2 (ปีการศึกษา 2506)
    3. ครั้งที่ 3 วันที่ 10 ธันวาคม 2510 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 4 (ปีการศึกษา 2508)
    4. ครั้งที่ 4 วันที่ 25 ธันวาคม 2513 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 7 (ปีการศึกษา 2511)
    5. ครั้งที่ 5 วันที่ 1 ธันวาคม 2514 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 8 (ปีการศึกษา 2512)
    6. ครั้งที่ 6 วันที่ 13 มิถุนายน 2518 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 12 (ปีการศึกษา 2516)
    7. ครั้งที่ 7 วันที่ 25 พฤษภาคม 2519 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 13 (ปีการศึกษา 2517)
    8. ครั้งที่ 8 วันที่ 22 กรกฎาคม 2520 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 14 (ปีการศึกษา 2518)
      และรับพระราชทานโล่รางวัลจากการที่ได้รับพระราชทานรางวัลการจัดการศึกษาดี 3 ปีติดต่อกัน เป็นโล่ที่ 1
    9. ครั้งที่ 9 วันที่ 3 สิงหาคม 2521 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 15 (ปีการศึกษา 2519)
    10. ครั้งที่ 10 วันที่ 11 กรกฎาคม 2522 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 16 (ปีการศึกษา 2520)
    11. ครั้งที่ 11 วันที่ 31 กรกฎาคม 2523 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่ 17 (ปีการศึกษา 2521)
      และรับพระราชทานโล่รางวัลจากการที่ได้รับพระราชทานรางวัลการจัดการศึกษาดีติดต่อกัน 3 ปีเป็นโล่ที่ 2
    12. ครั้งที่ 12 วันที่ 27 กรกฎาคม 2524 ในการพระราชทานฯ ครั้งที่18 (ปีการศึกษา 2522)
      พร้อมด้วยประกาศนียบัตรฉบับแรกของการพระราชทานฯ จากการแก้ไขระเบียบฯ พ.ศ. 2523
      พ.ศ. 2523 ไม่อนุญาตให้โรงเรียนสาธิตเข้ารับการคัดเลือก เนื่องจากมีลักษณะการจัดการศึกษาที่จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของคณะศึกษาศาสตร์หรือคณะครุศาสตร์ของแต่ละมหาวิทยาลัยหรือของกรมการฝึกหัดครูจึงไม่ได้รับการพิจารณาสำหรับปีการศึกษา 2523 ต่อมาในปีพ.ศ. 2524 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการพิจารณาฯ ใหม่ ให้นักเรียนสาธิตเข้าสอบแข่งขันคัดเลือกเพื่อรับรางวัลพระราชทานได้อีก ส่วนการคัดเลือกโรงเรียนสาธิต ให้แยกออกประเมินต่างหากโดยจัดทำแบบประเมินและคู่มือการประเมินเป็นการเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและแนวการดำเนินงานของโรงเรียนสาธิต
    13. ครั้งที่ 13 วันที่ 10 สิงหาคม 2526 เป็นการรับพระราชทานรางวัล ครั้งที่ 1 ประเภทโรงเรียนสาธิตระดับมัธยมศึกษา (ปีการศึกษา 2525)
    14. ครั้งที่ 14 วันที่ 2 กรกฎาคม 2527 (ปีการศึกษา 2526)
      เป็นการรับพระราชทานรางวัลการจัดการศึกษาดี 2 ปีติดต่อกัน คือปีการศึกษา 2525 - 2526 จึงได้รับพระราชทานโล่รางวัลฯ ด้วยในฐานะโรงเรียนมาตรฐานดีเด่น (ตามระเบียบฯ พ.ศ. 2524) รวมเป็นโล่รางวัลพระราชทาน โล่ที่ 3
    15. ครั้งที่ 15 วันที่ 30 กรกฎาคม 2528 (ำปีการศึกษา 2527)
      จากการรับพระราชทานฯ ครั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะให้เป็นโรงเรียนระดับมาตรฐานดีเด่น ซึ่งยกเว้นมิต้องเข้ารับการประเมิน (โดยได้รับอนุญาตให้ขึ้นป้ายแสดง “โรงเรียนรางวัลพระราชทาน”) ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นโรงเรียนที่มีทุกอย่างพร้อมแล้ว และได้รับพระราชทานฯ ติดต่อกันถึง 3 ปี ทั้งนี้ เพื่อให้โอกาสโรงเรียนอื่น ๆ โดยโรงเรียนจะได้รับการประเมินใหม่อีก ต่อเมื่อเปลี่ยนสภาพจากโรงเรียนขนาดกลางเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่
    16. ครั้งที่ 16 วันที่ 23 กรกฎาคม 2547 ได้รับพระราชทานรางวัล "การจัดการศึกษาดี" สถานศึกษาขนาดใหญ่ เขตการศึกษากรุงเทพมหานคร (ปีการศึกษา 2546)

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

(ข้อมูลเริ่มต้นนำมาจากสมาคมศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน www.satitpatumwan.com เก็บถาวร 2006-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)

นักการเมือง

[แก้]

ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูง

[แก้]

สื่อมวลชน

[แก้]

นักวิชาการ

[แก้]

นักธุรกิจและผู้บริหารระดับสูงในภาคเอกชน

[แก้]

วงการบันเทิง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ปรัชญา / ปณิธาน / วิสัยทัศน์ / พันธกิจ". Patumwan Demonstration School, Srinakharinwirot University. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "ข้อมูลทั่วไป". Patumwan Demonstration School, Srinakharinwirot University. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019.
  3. "ประวัติความเป็นมา". Patumwan Demonstration School, Srinakharinwirot University. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019.
  4. "แนะนำผู้บริหาร". Patumwan Demonstration School, Srinakharinwirot University. สืบค้นเมื่อ 3 April 2021.
  5. "รายงานประจำปีการศึกษา 2557" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2023-02-09.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-15. สืบค้นเมื่อ 2009-10-03.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]