มหาวิทยาลัยมหิดล
Mahidol University | |
ชื่อเดิม | มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ |
---|---|
ชื่อย่อ | ม.มหิดล / MU |
คติพจน์ | บาลี: อตฺตานํ อุปมํ กเร (พึงปฏิบัติต่อผู้อื่น เหมือนดังปฏิบัติต่อตนเอง) อังกฤษ: Wisdom of the Land (ปัญญาของแผ่นดิน) |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ |
สถาปนา | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486[1] |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ |
|
งบประมาณ | 13,614,769,800 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
นายกสภาฯ | ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร |
อธิการบดี | ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปิยะมิตร ศรีธรา |
อาจารย์ | 4,128 คน (พ.ศ. 2567) |
บุคลากรทั้งหมด | 39,371 คน (พ.ศ. 2567) |
ผู้ศึกษา | 31,057 คน (พ.ศ. 2566) |
ที่ตั้ง |
|
วิทยาเขต | พื้นที่และวิทยาเขต 6
|
ต้นไม้ | กันภัยมหิดล |
สี | สีน้ำเงิน[3] |
เครือข่าย | AUN, ASAIHL |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
มหาวิทยาลัยมหิดล (อังกฤษ: Mahidol University; MU) เดิมชื่อ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์[1] เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ตั้งอยู่ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และมีที่ตั้งอีกหลายแห่ง ทั้งในกรุงเทพมหานคร จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอำนาจเจริญ
มหาวิทยาลัยมหิดลมีที่มาจากโรงเรียนแพทยากร (โรงพยาบาลศิริราชในปัจจุบัน) ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2432 ก่อนที่จะถูกรวมเข้ากับโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ เพื่อสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งเปลี่ยนสถานะเป็น คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล[4] ต่อมาในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ได้แยกคณะวิชาด้านแพทยศาสตร์สี่คณะ มาจัดตั้งเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์[1] และในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก[5]
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลจัดการเรียนการสอนใน 17 คณะ 6 วิทยาลัย 9 สถาบัน และ 3 วิทยาเขต และเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยจากการจัดอันดับของสำนักจัดอันดับหลายสำนัก และได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2552 และยังเป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network; AUN)
ประวัติ
[แก้]พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงศิริราชพยาบาลขึ้นบริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือที่เรียกว่า วังหลัง[6] ต่อมาใน พ.ศ. 2432 จึงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง โรงเรียนแพทยากร[7] โดยจัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร 3 ปี หลังจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกของโรงเรียนแพทย์ จึงได้พระราชทานนามใหม่ว่า โรงเรียนราชแพทยาลัย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าเป็นคณะหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อววันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460[8] โดยใช้ชื่อว่า "คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล" ซึ่งได้รับการพัฒนาวิชาการจากมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์[9] จนสามารถจัดการศึกษาถึงขั้นประสาทปริญญาบัตร[10] ซึ่งอนุมัติโดยสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[11]
ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น โดยแยกคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ แผนกอิสระเภสัชศาสตร์ และแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ จัดตั้งเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์[12] สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยได้จัดตั้งคณะต่าง ๆ หลายคณะ ต่อมาได้โอนคืนคณะที่ซ้ำซ้อนออกจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ โอนไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ โอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ โอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยมหิดล อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก แทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม[13] ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยมหิดลได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ[14] และใน พ.ศ. 2551 มีแผนแม่บทพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยปรับนโยบายในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อยกระดับความสำคัญและเอื้อต่อการทำกิจกรรม[15] นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน ปี 2558–2562 โดยมี 3 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร การส่งเสริมความเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ และการส่งเสริมให้เกิดพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชน
สัญลักษณ์
[แก้]- ตราสัญลักษณ์
- สมัยที่ยังเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ตราสัญลักษณ์เป็นตราวงกลม 2 ชั้น ภายในเป็นรูปงูพันคบเพลิง วงนอกด้านบนเขียนว่า "อตฺตานํ อุปมํ กเร" ด้านล่างเขียนว่า "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์"
- ต่อมาเมื่อมีการพระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยมหิดล" ได้เปลี่ยนเป็นตราวงกลม 2 ชั้น วงกลมชั้นในมีพื้นหลังเป็นสีน้ำเงิน ตรงกลางเป็นตราประจำราชสกุลมหิดลสีเหลืองทอง ส่วนวงกลมชั้นนอกนั้นมีพื้นหลังสีขาวตัวอักษรสีเหลืองทองด้านบนเขียนว่า "อตฺตานํ อุปมํ กเร" ด้านล่างเขียนว่า "มหาวิทยาลัยมหิดล" คั่นด้วยดอกประจำยามสีเหลืองทอง[16] ตรานี้ร่างและออกแบบโดยนายแพทย์นันทวัน พรหมผลิน และกอง สมิงชัย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี สถาปนิกพิเศษประจำสำนักพระราชวัง ในการปรับแก้ไขตรีและพระมหามงกุฎของตราให้เป็นแบบไทยและพระราชทานตราให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2512[17]
- สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีน้ำเงิน โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพระราชทานสีนี้ซึ่งเป็นสีแห่งความเป็นราชขัติยนุกูลแห่งบรมราชวงศ์ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2512[18]
- ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นกันภัยมหิดล ซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระวินิจฉัยชี้ขาดให้เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542[19]
ทำเนียบอธิการบดี
[แก้]มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ | |||
---|---|---|---|
ลำดับ | อธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
1 | ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อำมาตย์ตรี พระอัพภันตราพาธพิศาล (กำจร พลางกูร) | 12 มีนาคม พ.ศ. 2485 – 16 เมษายน พ.ศ. 2488 | |
2 | ศาสตราจารย์อุปการคุณ นายแพทย์ หลวงเฉลิมคัมภีร์เวชช์ (เฉลิม พรหมมาส) | 17 เมษายน พ.ศ. 2488 – 15 กันยายน พ.ศ. 2500 | |
3 | ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หลวงพิณพากย์พิทยาเภท (พิณ เมืองแมน) | 16 กันยายน พ.ศ. 2500 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2501 | |
4 | ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สวัสดิ์ แดงสว่าง | 16 สิงหาคม พ.ศ. 2501 – 2 มิถุนายน พ.ศ. 2507 | |
5 | ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชัชวาล โอสถานนท์ | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2507 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2512 | |
มหาวิทยาลัยมหิดล | |||
ลำดับ | อธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
5 | ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชัชชวาล โอสถานนท์ | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2512 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | [20] |
6 | ศาสตราจารย์ นายแพทย์ กษาน จาติกวนิช | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2514 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2522 | [21][22][23][24] |
7 | ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2522 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2534 | [25][26][27][28][29] |
8 | ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2538 | [30] |
9 | ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2538 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | [31] |
10 | ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550 | [32][33] |
11 | ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554 | [34] |
12 | ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ รัชตะ รัชตะนาวิน | 26 มกราคม พ.ศ. 2555 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 | [35] |
13 | ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ อุดม คชินทร | 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 | [36] |
14 | ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บรรจง มไหสวริยะ | 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | [37] |
15 | ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปิยะมิตร ศรีธรา | 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน | [38] |
สภามหาวิทยาลัย
[แก้]รายนาม | ตำแหน่ง | ประสบการณ์การทำงาน |
---|---|---|
ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร | นายกสภามหาวิทยาลัย | กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการสรรหา เเละประธานกรรมการพิจารณาผลตอบแทน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
|
ศ.คลินิกพิเศษ นพ.เสรี ตู้จินดา | อุปนายกสภามหาวิทยาลัย | กรรมการ ประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน บริษัท แพทย์รังสิตเฮลท์แคร์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
|
จรีพร จารุกรสกุล | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | ประธานคณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
อุปนายกสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหิดล |
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | ประธานกรรมการบริษัท กรรมการอิสระ บริษัท สากล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน)
อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | กรรมการอิสระ ประธานกรรมการเทคโนโลยี กรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล และกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ
|
ศ.ดร.ปราณี ทินกร | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | กรรมการอิสระ และประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
|
ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | ประธานกรรมการ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
|
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | ประธานกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ อดีตนายกแพทยสภา
|
มนูญ สรรค์คุณากร | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารงานบุคคล กลุ่มบริษัทเซ็นทรัล
อดีตรองผู้จัดการใหญ่ กลุ่มทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) |
ยุทธนา สาโยชนกร | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.)
|
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จํากัด (มหาชน)
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
|
วนัส แต้ไพสิฐพงษ์ | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เบทาโกร จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัทไทย ทรานส์ฟอร์เมชั่น แอคเซเลอเรชั่น จํากัด
|
รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | ประธานกรรมการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
อดีตปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
|
ศ.ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)
อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
|
นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.)
อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
|
ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | ประธานกรรมการ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาความยั่งยืน บริษัท อินเตอร์ ฟาร์มา จำกัด (มหาชน)
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
|
ผู้บริหารมหาวิทยาลัย
[แก้]รายชื่อผู้บริหาร | ตําเเหน่ง |
---|---|
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา | อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล |
รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ | รองอธิการบดี คนที่ ๑ |
รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ | รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย |
อาจารย์ ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ | รองอธิการบดีฝ่ายการคลัง |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์วรพงษ์ มนัสเกียรติ | รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและบริการวิชาการ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อธิศานต์ วายุภาพ | รองอธิการบดีฝ่ายกลยุทธ์แผนงานและงบประมาณ |
รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ | รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและพันธกิจเพื่อสังคม |
รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ | รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และ สภามหาวิทยาลัยมหิดล |
รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ | รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืออากาศโท ทันตแพทย์ชัชชัย คุณาวิศรุต | รองอธิการบดีฝ่าย กิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ |
นางสาวนรา เปาอินทร์ | รองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคลากรและพัฒนาองค์กร |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิทธิโชติ จักรไพวงศ์ | รองอธิการบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม |
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ | รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน |
รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิตา รักธรรม | รองอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ | รองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตกาญจนบุรี |
อาจารย์ แพทย์หญิงมนทกานติ์ โอประเสริฐสวัสดิ์ | รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้ง วิทยาเขตนครสวรรค์ |
นางศิริลักษณ์ เกี่ยวข้อง | รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ |
พื้นที่มหาวิทยาลัย
[แก้]มหาวิทยาลัยมหิดลมีที่ตั้งในหลายพื้นที่ ได้แก่[39]
- พื้นที่ศาลายา
ตั้งอยู่ที่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นที่ตั้งหลักของมหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วยคณะและวิทยาลัยส่วนใหญ่ และหน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี บัณฑิตวิทยาลัย โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โรงเรียนสาธิตนานาชาติ นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของมหิดลสิทธาคารและอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ
- พื้นที่บางกอกน้อย
ตั้งอยู่ที่แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะเทคนิคการแพทย์ นอกจากนี้ยังมีศูนย์กายภาพบำบัดของคณะกายภาพบำบัด ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าในแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด
- พื้นที่พญาไท
ตั้งอยู่ที่แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร มี 3 บริเวณย่อย ได้แก่
- บริเวณถนนพระรามที่ 6 เป็นที่ตั้งของคณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา
- บริเวณถนนราชวิถี เป็นที่ตั้งของคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และคณะทันตแพทยศาสตร์
- บริเวณถนนศรีอยุธยา เป็นที่ตั้งของคณะเภสัชศาสตร์
นอกจากนี้ยังมีวิทยาลัยการจัดการ ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท
- พื้นที่ต่างจังหวัด
- สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งอยู่ที่ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
- วิทยาเขตกาญจนบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
- วิทยาเขตนครสวรรค์ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
- วิทยาเขตอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ที่ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
การศึกษา
[แก้]มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอนในระบบหน่วยกิต ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยทั้งสิ้น 629 สาขาวิชา[a][40] ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ทั้งในหลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาเอกได้มากที่สุดในประเทศ[41] ในปี พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยรัฐที่มีปริมาณนักศึกษาต่างชาติมากที่สุด[42] และใน พ.ศ. 2549 และได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณประเภทธุรกิจบริการดีเด่นกลุ่มการศึกษานานาชาติจากนายกรัฐมนตรี (Prime Minister’s Export Award 2006) เพื่อประกาศเกียรติคุณมหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างประเทศมากที่สุด (Most recognized service) ในพิธีประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัล เมื่อวันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล[43]
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดล มีส่วนงานและกลุ่มภารกิจในสังกัด ประกอบด้วย 17 คณะ 10 สถาบัน 6 วิทยาลัย 3 วิทยาเขต และหน่วยงานต่างๆ[44] นอกจากนี้ยังมีสถาบันสมทบอีกหลายสถาบัน ซึ่งนักศึกษาของบางสถาบันเข้าร่วมการเรียนการสอนกับมหาวิทยาลัยมหิดล ในขณะที่บางสถาบันมีหลักสูตรเป็นเอกเทศ
คณะ
[แก้]
|
-
คณะวิทยาศาสตร์ พญาไท -
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล -
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
วิทยาลัย
[แก้]
|
สถาบัน
[แก้]
|
|
ศูนย์และกลุ่มภารกิจ
[แก้]
|
|
วิทยาเขต
[แก้]สถาบันสมทบ
[แก้]
|
|
- สถาบันสมทบและสถาบันร่วมผลิตในอดีต
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล (จัดตั้งเป็นคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช[48])
- วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ (จัดตั้งเป็นคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช[48])
- สถาบันพระบรมราชชนก (จัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงสาธารณสุข[49])
- โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (โอนไปสังกัดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี)
- ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช (โอนไปสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก)
- ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ (โอนไปสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก)
- ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี (โอนไปสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก)
การจัดระเบียบ
[แก้]โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์
[แก้]เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ จึงมีโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์หลายแห่ง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมีโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกและโรงพยาบาลที่มีจำนวนเตียงผู้ป่วยมากที่สุดในประเทศไทย, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ซึ่งสร้างขึ้นบนพื้นที่ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยบริจาคให้ และสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช ศูนย์การแพทย์ทั้งสามแห่งตั้งอยู่บริเวณเดียวกันในแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย นอกจากนี้ คณะยังมีศูนย์การแพทย์อีกหนึ่งแห่ง นั่นคือ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับพื้นที่ศาลายาโดยมีถนนบรมราชชนนีคั่นกลาง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์สองแห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 6 ในเขตราชเทวี และสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ตั้งอยู่ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
นอกเหนือจากคณะแพทยศาสตร์แล้ว คณะเวชศาสตร์เขตร้อนก็มีโรงพยาบาลเป็นของตนเอง ตั้งอยู่ริมถนนราชวิถี ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เช่นเดียวกันกับคณะทันตแพทยศาสตร์ ที่มีโรงพยาบาลตั้งอยู่ภายในคณะ คณะสัตวแพทยศาสตร์มีโรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทรและโรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่าปศุปาลันในพื้นที่ศาลายา และวิทยาเขตนครสวรรค์ ก็มีศูนย์การแพทย์มหิดลเป็นของตนเองด้วยเช่นกัน
สื่อ
[แก้]มหาวิทยาลัยมหิดลมีสถานีโทรทัศน์ มหิดลแชนเนล ซึ่งนำเสนอเนื้อหาจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก[50][51] นอกจากนี้ ยังมีช่องบนยูทูบสองช่องหลัก ชื่อว่า มหิดลแชนเนล[52] และ วีมหิดล
โพรไฟล์วิชาการ
[แก้]บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
หอสมุด
[แก้]ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล มีฐานเดิมจาก "ห้องอ่านหนังสือ" ของโรงเรียนราชแพทยาลัย ต่อมาใน พ.ศ. 2468 ได้ก่อตั้งเป็น "ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์" และใน พ.ศ. 2499 กฤษฎีกาการจัดวางระเบียบราชการของกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้ยกฐานะห้องสมุดเป็น "แผนกห้องสมุด" สังกัดสำนักงานเลขานุการ กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นทำหน้าที่เป็นห้องสมุดของทั้งมหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลด้วย
ห้องสมุดยกฐานะเป็น "กองห้องสมุด" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 4 สิงหาคม 2520 ต่อมากองห้องสมุดได้รับการสถาปนาเป็น "สำนักหอสมุด" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 103 ตอนที่ 140 วันที่ 8 สิงหาคม 2529 โดยมีฐานะเทียบเท่าคณะ มหาวิทยาลัยได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยดำเนินงานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ทำให้มีทรัพยากรห้องสมุดในรูปแบบที่หลากหลาย ต่อมาในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยมหิดลได้เปลี่ยนชื่อสำนักหอสมุดเป็น "หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล" โดยเป็นส่วนงานหนึ่งในระดับคณะ[53]
พิพิธภัณฑ์
[แก้]ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลมีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุที่เปิดให้บริการหลายแห่ง[54] ทั้งในพื้นที่ศาลายา พื้นที่บางกอกน้อย พื้นที่พญาไท และวิทยาเขตกาญจนบุรี
|
|
|
งานวิจัย
[แก้]มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นงานวิจัย โดยในปัจจุบันมีกลุ่มงานวิจัยใน 5 สาขาหลักด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์และคลินิก กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุข กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การจัดการ และศิลปศาสตร์ และกลุ่มภาษาและวัฒนธรรม[55] เมื่อพิจารณาจากจำนวนผลงานทางวิชาการระดับนานาชาตินั้น พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมีจำนวนผลงานทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติบนฐานข้อมูลของ ISI databases เป็นอันดับ 1 ติดต่อกันตั้งแต่ พ.ศ. 2542–2549[56] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน พ.ศ. 2548 คณะวิทยาศาสตร์มีจำนวนผลงานวิจัยเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งอื่นในประเทศ[57] มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนมากที่สุดในประเทศ[58]
การประเมินคุณภาพและการจัดอันดับ
[แก้]อันดับมหาวิทยาลัย (คัดเฉพาะอันดับนานาชาติไม่เกิน 500) | |
---|---|
อันดับในประเทศ (อันดับนานาชาติ) | |
สถาบันที่จัด | อันดับ |
CWTS (2017) | 2 (458) |
Nature Index (2016) | 2 (-) |
QS (Asia) (2018) | 2 (58) |
QS (World) (2018) | 2 (334) |
QS GER (2018) | 2 (301-500) |
RUR (2017) | 2 (408) |
RUR reputation (2017) | 2 (246) |
RUR research (2016) | 3 (457) |
RUR Academic (2017) | 1(328) |
THE (Asia-Pacific) (2017) | 1 (101-110) |
THE (Asia) (2017) | 1 (97) |
THE (BRICS) (2017) | 1 (76) |
UI Green (Overall) (2017) | 1 (86) |
URAP (2017-2018) | 1 (443) |
ใน พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดอันดับให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทย ทั้งในด้านการเรียนการสอน ซึ่งได้คะแนนร้อยละ 61.11 จากคะแนนเต็มร้อยละ 80 และด้านการวิจัย ซึ่งได้คะแนนเต็ม[59][60]
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษา ผลปรากฏว่าในการประเมินครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2554) มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการประเมินในระดับดีมากในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, สาขาวิชาฟิสิกส์ ภาควิชาฟิสิกส์, สาขาวิชาพรีคลินิก ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิชีววิทยา และเภสัชวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สาขาวิชาจุลชีววิทยาและอณูชีววิทยา สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล และสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล[61][62]
นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน SCImago Institutions Ranking,[63] The Times Higher Education,[64][65][66][67] Academic Performance,[68] และ U.S. News & World Report[69] จัดอันดับให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทยในด้านวิชาการ ส่วนในด้านอื่น ๆ อย่างด้านสิ่งแวดล้อม[70] และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ[71][72] มหาวิทยาลัยมหิดลก็ถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศด้วยเช่นกัน
ชีวิตนักศึกษา
[แก้]นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยมหิดล จะเข้าศึกษาที่พื้นที่ศาลายาร่วมกันเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี จากนั้นจะแยกย้ายกันไปตามคณะในพื้นที่ต่างๆ บรรยากาศในการใช้ชีวิตของนักศึกษามีความหลากหลายมากเพราะนักศึกษามาจากต่างคณะกัน มีกิจกรรมมากมาย เช่น งานรักน้อง การเชียร์แสตนด์ งานอำลาศาลายา งานวันมหิดล เป็นต้น มีสถานที่ออกกำลังกายและลานกีฬาให้นักศึกษาได้เล่นตามความต้องการ การสัญจรหลักของนักศึกษาคือจักรยานหรือรถราง รวมถึงรถรับส่งจากพื้นที่ศาลายาไปยังพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร
การพักอาศัย
[แก้]ที่พักอาศัยสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จะเรียกว่า บ้านมหิดล[73] โดยบริเวณที่พักมีการจัดเป็นสัดส่วน อยู่บริเวณทางด้านหลังศูนย์การเรียนรู้มหิดล บ้านมหิดลประกอบไปด้วยอาคารหอพัก 6 หลัง ได้แก่
|
|
นอกจากบ้านมหิดลแล้ว ยังมีหอพักแห่งอื่นที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ศาลายา ได้แก่ หอพักพยาบาลรามาธิบดี หอพักสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน หอพักสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล หอพักวิทยาลัยนานาชาติ หอพักน้ำทองสิกขาลัยของวิทยาลัยศาสนศึกษา อาคารชุดพักอาศัยหรือคอนโดมิเนียม 4 อาคาร และโรงแรมศาลายาพาวิลเลียน
สำหรับพื้นที่บางกอกน้อย มีหอพักสำหรับนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและคณะพยาบาลศาสตร์ ได้แก่ หอมหิตลาธิเบศ หอหญิงเตี้ย หอหญิงสูง หอแปดไร่ และหอเจ้าพระยา พื้นที่พญาไทมีหอพักคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและหอพักคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และพื้นที่ต่างจังหวัด อันได้แก่ กาญจนบุรี นครสวรรค์ อำนาจเจริญ ต่างก็มีหอพักประจำวิทยาเขตด้วยกันทั้งสิ้น
กิจกรรมนักศึกษา
[แก้]กิจกรรมที่จัดโดยนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยมหิดลจะจัดโดยองค์กรนักศึกษาและกลุ่มกิจกรรมนักศึกษา องค์กรนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ สโมสรนักศึกษาซึ่งมีทั้งระดับมหาวิทยาลัยและระดับส่วนงาน และสภานักศึกษา ส่วนกลุ่มกิจกรรมได้แก่ ชมรมซึ่งสังกัดอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสโมสรนักศึกษา และกลุ่มกิจกรรมอิสระ กิจกรรมนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดลจะเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษา พ.ศ. 2557
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
สโมสรนักศึกษา
[แก้]สโมสรนักศึกษาเป็นศูนย์กลางส่งเสริมและจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรแก่นักศึกษา โดยมีคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาเป็นผู้ดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายของมหาวิทยาลัย คณะกรรมการสโมสรนักศึกษา ประกอบด้วย นายกสโมสร อุปนายกสโมสร เลขานุการ เหรัญญิก ปฏิคม ประชาสัมพันธ์ วิเทศสัมพันธ์ กรรมการด้านกีฬา กรรมการด้านศิลปะและวัฒนธรรม กรรมการด้านบำเพ็ญประโยชน์ กรรมการด้านวิชาการ และกรรมการอื่น ๆ อีกจำนวนไม่เกิน 14 คน
สภานักศึกษา
[แก้]สภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล (อังกฤษ: Mahidol University Student Council) เป็นองค์กรนักศึกษาที่เป็นตัวแทนของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งขึ้นภายใต้ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษา พ.ศ. 2557 โดยมีหน้าที่กำกับดูแลและประสานงานกิจกรรมนักศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย[74]
สมาชิก
[แก้]สภานักศึกษาประกอบด้วยผู้แทนนักศึกษาจากแต่ละส่วนงาน โดยแต่ละส่วนงานสามารถมีผู้แทนได้ไม่เกินสามคน การได้มาซึ่งผู้แทนเหล่านี้จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สภานักศึกษากำหนดและต้องเสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคมของทุกปี[74]
คุณสมบัติ
[แก้]สมาชิกสภานักศึกษาต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้:
- เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเป็นนักศึกษาโดยสมบูรณ์แล้วในปีการศึกษานั้น
- มีผลการเรียนแต้มเฉลี่ยสะสมจนถึงภาคเรียนสุดท้ายก่อนภาคเรียนที่มีการแต่งตั้งมากกว่า 2.00
- ผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภานักศึกษาต้องเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป
- ไม่อยู่ในระหว่างถูกลงโทษทางวินัยตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
- ไม่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยหรือส่วนงาน หรือกรรมการชมรมระดับมหาวิทยาลัย
- ไม่เป็นผู้มีสภาพวิทยาทัณฑ์
วาระการดำรงตำแหน่ง
[แก้]สมาชิกสภานักศึกษามีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละหนึ่งปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป[74]
การสิ้นสุดวาระ
[แก้]การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานักศึกษาสิ้นสุดลงเมื่อ:
- ครบวาระ
- ตาย
- ลาออก
- พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา
- ขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษา พ.ศ. 2557
- ถูกถอดถอนโดยอธิการบดี
- ถูกถอดถอนตามมติของสภานักศึกษา
การแทนที่สมาชิก
[แก้]ในกรณีที่สมาชิกสภานักศึกษาสิ้นสุดวาระก่อนกำหนด จะมีการเลือกตั้งสมาชิกใหม่ภายใน 30 วัน ยกเว้นหากเหลือวาระไม่ถึง 60 วัน สามารถไม่เลือกตั้งสมาชิกใหม่ได้[74]
การถอดถอนสมาชิก
[แก้]การถอดถอนสมาชิกสภานักศึกษาให้ดำเนินการโดยนักศึกษาจำนวนตั้งแต่ 250 คน หรือคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาจำนวน 2 ใน 3 หรือสมาชิกสภานักศึกษาจำนวน 1 ใน 5 สามารถยื่นเรื่องถอดถอนต่อประธานสภานักศึกษา และการถอดถอนจะเป็นไปตามมติของสภานักศึกษา
อำนาจหน้าที่ การประชุม และการดำเนินงาน
[แก้]หน้าที่ของสภานักศึกษาประกอบด้วย:
- กำกับดูแลการดำเนินกิจกรรมของสโมสรนักศึกษาทั้งระดับมหาวิทยาลัยและส่วนงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายของมหาวิทยาลัย
- อนุมัตินโยบาย โครงการ และงบประมาณของสโมสรนักศึกษา
- ออกประกาศ ข้อกำหนด หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสภานักศึกษา โดยไม่ขัดกับข้อบังคับและนโยบายของมหาวิทยาลัย
- ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของสโมสรนักศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภานักศึกษา
- จัดทำรายงานประเมินผลการดำเนินกิจกรรมในรอบปีและรวบรวมผลการดำเนินกิจกรรมของสโมสรนักศึกษาและชมรม เสนอต่ออธิการบดีเมื่อครบวาระ
- ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและกิจกรรมของมหาวิทยาลัย
- เสนอปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับโดยความเห็นชอบของอธิการบดี
- ถอดถอนสมาชิกสภานักศึกษา นายกสโมสรนักศึกษา และกรรมการสโมสรนักศึกษา
สภานักศึกษามีอำนาจในการเสนอให้ยุบสโมสรนักศึกษา โดยใช้มติ 4 ใน 5 ของสมาชิกสภานักศึกษาเพื่อยื่นเสนอต่ออธิการบดี โดยอธิการบดีจะเรียกประชุมคณะกรรมการฝ่ายกิจการนักศึกษาเพื่อพิจารณา
การประชุมและการดำเนินงานของสภานักศึกษา
[แก้]การประชุมและการดำเนินงานของสภานักศึกษาจะเป็นไปตามประกาศสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การประชุมและการดำเนินงานของสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2567
โครงสร้าง
[แก้]โครงสร้างของสภานักศึกษาประกอบไปด้วยคณะกรรมการบริหาร[75] คณะกรรมาธิการสามัญ และสำนักงานเลขาธิการ[76]
คณะกรรมการบริหารสภานักศึกษา
[แก้]กิจการของสภานักศึกษาถูกบริหารโดยคณะกรรมการบริหารสภานักศึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
- ประธานสภา
- รองประธานสภาคนที่ 1
- รองประธานสภาคนที่ 2
- เลขาธิการสภา
- รองเลขาธิการสภา
- เหรัญญิก
- ผู้ช่วยประธานสภา
ตำแหน่งที่ 1 ถึง 5 ได้จากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภานักศึกษาโดยถือเสียงข้างมาก ส่วนตำแหน่งที่ 6 และ 7 ได้จากการเสนอชื่อโดยประธานสภานักศึกษาและได้รับการรับรองจากที่ประชุมสภานักศึกษา โดยทุกตำแหน่งต้องได้รับการแต่งตั้งจากอธิการบดี
คณะกรรมาธิการสามัญ
[แก้]คณะกรรมาธิการสามัญตามประกาศคณะกรรมการบริหารสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง คณะกรรมาธิการสามัญและสำนักงานภายในสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2567 ได้แก่
- คณะกรรมาธิการส่งเสริมเสรีภาพและความเท่าเทียม
- คณะกรรมาธิการพิทักษ์สิทธิและสวัสดิภาพ
- คณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณ
- คณะกรรมาธิการกิจกรรมนักศึกษา
- คณะกรรมาธิการวิชาการและพัฒนาการศึกษา
สำนักงานภายในสภานักศึกษา
[แก้]สำนักงานภายในสภานักศึกษาตามประกาศคณะกรรมการบริหารสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง คณะกรรมาธิการสามัญและสำนักงานภายในสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2567 มีสำนักเดียว นั้นคือ สำนักงานเลขาธิการสภานักศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วยฝ่ายดังต่อไปนี้
- ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
- ฝ่ายสารสนเทศ
- ฝ่ายการประชุมและธุรการทั่วไป
อาจารย์ที่ปรึกษา
[แก้]สภานักศึกษามีอำนาจในการเสนอชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาให้อธิการบดีพิจารณาแต่งตั้ง เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำ และกำกับดูแลการปฏิบัติงานของสภานักศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
การยุบสภานักศึกษา
[แก้]กรณีการยุบสภานักศึกษา นักศึกษาจำนวน 1 ใน 8 หรือมติเอกฉันท์ของคณะกรรมการสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัย สามารถเสนอยุบสภานักศึกษาได้ โดยอธิการบดีจะเรียกประชุมคณะกรรมการฝ่ายกิจการนักศึกษาเพื่อพิจารณา และอธิการบดีมีอำนาจในการยุบสภานักศึกษาได้หากมีเหตุผลสมควร
รายชื่อประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
[แก้]ลำดับที่ | ชื่อ | ปีวาระ |
---|---|---|
44 | ศุภกฤต วิทวัสสำราญกุล | 2564 ครึ่งแรก |
46 | ณัฏฐ์ชุณินท์ หงษ์ณิภาษา | 2564 ครึ่งหลัง |
45 | บุญเกื้อหนุน เป้าทอง | 2565 |
46 | ชนะโรจน์ เทียนธนะวัฒน์ | 2566 |
47 | ฌอน เช็พเพอร์ส[75] | 2567 |
การได้มาซึ่งสมาชิกสภานักศึกษา
[แก้]ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษา พ.ศ. 2557 นั้น ให้การได้มาซึ่งสมาชิกสภานักศึกษาเป็นไปตามที่สภานักศึกษากำหนดเอง
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
[แก้]ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 พระองค์ได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2493 โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธาน ณ ปะรำพิธีหน้าตึกรังสีวิทยา โรงพยาบาลศิริราช เมื่อครั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยมีบัณฑิตจากคณะต่าง ๆ เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรต่อหน้าพระพักตร์ จำนวน 200 คน งานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรยังคงจัดขึ้นที่หอประชุมราชแพทยาลัยในโรงพยาบาลศิริราชเป็นประจำทุกปีจนถึง พ.ศ. 2520 ซึ่งเมื่อมีผู้สำเร็จการศึกษาเพิ่มมากขึ้น จึงได้เปลี่ยนมาจัดที่สวนอัมพรแทน[77]
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา พิธีพระราชทานปริญญาบัตรจัดขึ้นที่หอประชุมมหิดลสิทธาคาร โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล[78]
การเดินทาง
[แก้]ระบบขนส่งมวลชน
[แก้]การเดินทางมายังมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีระบบขนส่งมวลชนหลากหลายรูปแบบ[79] รถโดยสารประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัยทั้งฝั่งถนนบรมราชชนนี ถนนพุทธมณฑล สาย 4 และทางหลวงชนบท นฐ.4006 มีหลายสาย ทั้งรถประจำทางสายที่ให้บริการโดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.), บริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด และผู้ให้บริการเอกชนรายอื่น ๆ นอกจากรถประจำทางแล้ว ยังมีรถโดยสารที่ให้บริการโดยมหาวิทยาลัย ได้แก่ ชัตเทิลบัส ที่ให้บริการรับส่งระหว่างพื้นที่ศาลายา บางกอกน้อย และพญาไท และศาลายาลิงก์ ที่ให้บริการรับส่งระหว่างวิทยาลัยดุริยางคศิลป์กับสถานีบางหว้า[80] มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ยังตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟศาลายาบนทางรถไฟสายใต้ มีขบวนรถโดยสารจอดทุกขบวน ในอนาคตมีโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน ซึ่งผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว[81]
สำหรับพื้นที่พญาไท มีรถโดยสายประจำทางผ่านทางฝั่งถนนพระรามที่ 6 และถนนราชวิถี หลายสาย และมีรถไฟชานเมืองให้บริการที่ที่หยุดรถไฟโรงพยาบาลรามาธิบดี หลังคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นอกจากนี้ โรงพยาบาลรามาธิบดียังมีรถโดยสารรับส่งระหว่างคณะกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส พญาไท และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
พื้นที่บางกอกน้อย มีรถโดยสารประจำทางให้บริการฝั่งถนนอรุณอมรินทร์ โดยถนนสายนี้มีสะพานข้ามแยกศิริราชที่เปิดให้บริการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 นอกจากรถประจำทางแล้ว ยังมีรถสองแถวที่ให้บริการในหลายเส้นทาง และมีรถโดยสารของคณะ ได้แก่ ชัตเทิลบัสที่ให้บริการระหว่างคณะกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีไฟฉาย, เซ็นทรัลปิ่นเกล้า และหอพักนักศึกษาแพทย์ ทางรางมีรถไฟชานเมืองให้บริการที่สถานีรถไฟธนบุรี ในอนาคตมีโครงการสถานีร่วมศิริราชบนเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน และรถไฟฟ้าสายสีส้ม[81] ทางน้ำมีเรือด่วนเจ้าพระยา และเรือโดยสารสาธารณะ ไมน์ สมาร์ท เฟอร์รี่ ให้บริการที่ท่าพรานนกและท่ารถไฟ และมีเรือข้ามฟากให้บริการจากท่าวังหลังไปยังท่าพระจันทร์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), ท่ามหาราช และท่าช้าง
ระบบขนส่งภายในมหาวิทยาลัย
[แก้]ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีรถรางวิ่งให้บริการทั้งหมด 4 สาย เรียงตามหมายเลข ได้แก่ สายสีเขียว, สายสีน้ำเงิน, สายสีแดง และสายสีเหลือง[82] นอกจากนี้ ยังมีจักรยานสาธารณะซึ่งนักศึกษาและบุคลากรสามารถยืมใช้ฟรีได้ที่ จักก้าเซ็นเตอร์ หน้าหอพักนักศึกษา โดยต้องลงทะเบียนเพื่อรับบัตรก่อนใช้งาน
บุคคลสำคัญ
[แก้]คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทยมากที่สุด โดยมีรายพระนาม และรายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัย เช่น
- สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรงบุกเบิกการแพทย์แผนใหม่ในประเทศไทย ผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม "มหาวิทยาลัยมหิดล"
- ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ ปี 2524 และนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2526
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ.ณัฐ ภมรประวัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแห่งชาติ
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประสพ รัตนากร ปรมาจารย์ด้านประสาทวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย ประธานคณะที่ปรึกษามูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้ริเริ่มการก่อตั้งโรงพยาบาลประสาททั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของประเทศไทย หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ข้อมูลสิ้นสุดสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 512 (9/2559) วันที่ 21 กันยายน 2559
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยสาตร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓๗, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ [1], เข้าถึงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. “ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” ratchakitcha.soc.go.th. 15 เมษายน 2460. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/A/21.PDF (21 มีนาคม 2561 ที่เข้าถึง).
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ว่าด้วยกอมิตีผู้จัดการโรงพยาบาล ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการจัดตั้งโรงพยาบาล (ที่วังกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขฝ่ายหลัง (วังหลัง), เล่ม ๔, ตอน ๕, ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๐, หน้า ๓๔
- ↑ แจ้งความกระทรวงพระธรรมการ แผนกกรมพยาบาล เปิดโรงเรียนแพทยากร
- ↑ ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ Becker, William H. Innovative Partners The Rockefeller Foundation and Thailand. New York, New York: The Rockefeller Foundation, 2013. William H. Becker. “Assets: Rockefellerfoundation.” Rockefellerfoundation. 2013. https://assets.rockefellerfoundation.org/app/uploads/20131001203515/Innovative-Partners.pdf เก็บถาวร 2016-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (21 March 2018 accessed).
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. “พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๔๗๗.” เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา. 21 เมษายน 2477. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/A/82.PDF (26 สิงหาคม 2561 ที่เข้าถึง).
- ↑ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2009, November 7). พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม. Retrieved from เว็บไซต์หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.memohall.chula.ac.th/article/พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม/
- ↑ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พุทธศักราช ๒๔๘๖" (PDF).
- ↑ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๑๒" (PDF).
- ↑ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF).
- ↑ "การพัฒนาตามผังแม่บท ศาลายา 2551" (PDF). สืบค้นเมื่อ 17 Aug 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗, ตอนพิเศษ ๙๘ ง, ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓, หน้า ๘๘
- ↑ "ที่มาแห่งตรามหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-09. สืบค้นเมื่อ 2011-01-27.
- ↑ "สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย : สีน้ำเงินแก่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-26. สืบค้นเมื่อ 2007-05-17.
- ↑ "ต้นกันภัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-28. สืบค้นเมื่อ 2005-08-26.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 86 ตอน 116 ฉบับพิเศษ หน้า 2 วันที่ 29 ธันวาคม 2512
- ↑ คำสั่งกองบัญชาการคณะปฏิวัติที่ 45/2514 เรื่องแต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 88 ตอน 141 ฉบับพิเศษ หน้า 1 วันที่ 17 ธันวาคม 2514
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 ตอน 14 หน้า 219 วันที่ 29 มกราคม 2517
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 5 ฉบับพิเศษ หน้า 1 วันที่ 11 มกราคม 2519
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 94 ตอน 18 หน้า 413 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2521
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอน 1 หน้า 5 วันที่ 1 มกราคม 2523
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอน 17 ฉบับพิเศษ หน้า 4 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2525
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอน 15 ฉบับพิเศษ หน้า 1 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2527
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 103 ตอน 10 ฉบับพิเศษ หน้า 24 วันที่ 22 มกราคม 2529
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอน 17 หน้า 587 วันที่ 28 มกราคม 2531
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอน 202 หน้า 11738 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2534
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอน 96 ฉบับ ง หน้า 2 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2538
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอน 97 ฉบับ ง หน้า 1 วันที่ 7 ธันวาคม 2542
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอน 102 ฉบับ ง หน้า 12 วันที่ 16 ธันวาคม 2546" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-04-10. สืบค้นเมื่อ 2016-09-27.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอน 5 ฉบับ ง หน้า 2 วันที่ 10 มกราคม 2551
- ↑ สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอน 28 ฉบับ ง หน้า 3 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555
- ↑ คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล รักษาการ[ลิงก์เสีย]ประกาศนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอน 51 ฉบับ ง หน้า 27 วันที่ 5 มีนาคม 2558
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 162 ฉบับ ง หน้า 2 15 กรกฏาคม 2563
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141 ตอนพิเศษ 268 ฉบับ ง หน้า 13 26 กันยายน 2567
- ↑ "ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-18. สืบค้นเมื่อ 2016-11-22.
- ↑ Mahidol University : จำนวนหลักสูตร
- ↑ จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา จำแนกตามประเภทสถาบันและระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2546, สำนักส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- ↑ รายงานประจำปี 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- ↑ "PM Award ประเภทธุรกิจบริการกลุ่มการศึกษานานาชาติที่ได้รับความนิยมจากต่างประเทศมากที่สุด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-21. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
- ↑ https://mahidol.ac.th/th/mahidol-organization/
- ↑ จัดตั้งส่วนงาน สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา
- ↑ การรับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ การรับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ 3 แห่ง เป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ 48.0 48.1 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553 เล่มที่ 127 ตอนที่ 69 ก ประกาศวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 บทเฉพาะกาลหน้าที่ 23
- ↑ "พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-11. สืบค้นเมื่อ 2020-01-12.
- ↑ Mahidol Channel
- ↑ "เปิดตัวสถานีโทรทัศน์ Mahidol Channel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-22. สืบค้นเมื่อ 2016-10-04.
- ↑ Youtube มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประวัติหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-23. สืบค้นเมื่อ 2016-09-25.
- ↑ [2] เก็บถาวร 2016-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุแห่งปัญญา.
- ↑ "Mahidol University : Research". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-27. สืบค้นเมื่อ 2007-08-11.
- ↑ Svasti MRJ, Asavisanu R. Update on Thai Publications in ISI Databases (1999-2005) เก็บถาวร 2008-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ScienceAsia 2006;32 (2) :101-106.
- ↑ Svasti MRJ, Asavisanu R., Four Decades of Excellence in Research - Revealed by International Database Searches. เก็บถาวร 2011-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ใน "48 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2501-2549)" หนังสือที่ระลึก 4 รอบ แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 21 ตุลาคม 2549 หน้า 67-70.
- ↑ "Mahidol University : Notable facts - Has highest budget of any university in Thailand". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-04. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
- ↑ "เปิด 50 อันดับมหาวิทยาลัยไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-08-20.
- ↑ สถาบันจัดอันดับแห่งประเทศไทย ฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย เก็บถาวร 2007-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2013-02-21
- ↑ "สกว.ประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 2014-07-02.
- ↑ "สกว.ประเมินครั้งที่ 3 พ.ศ. 2554". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-28. สืบค้นเมื่อ 2014-07-02.
- ↑ [3]
- ↑ [4]
- ↑ [5]
- ↑ [6]
- ↑ BRICS & Emerging Economies
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-27. สืบค้นเมื่อ 2016-06-16.
- ↑ การจัดอันดับโดย U.S. News & World Report
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-02. สืบค้นเมื่อ 2018-01-24.
- ↑ http://www.webometrics.info/en/Asia/Thailand
- ↑ http://www.4icu.org/th/
- ↑ "ที่พักอาศัยสำหรับนักศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
- ↑ 74.0 74.1 74.2 74.3 "02 ข้อบังคับ กิจกรรมนักศึกษา.pdf". Google Docs.
- ↑ 75.0 75.1 "01 การประชุมและการดำเนินงานของสภานักศึกษา.PDF". Google Docs.
- ↑ "02 คณะกรรมาธิการสามัญ และสำนักงานภายใน.pdf". Google Docs.
- ↑ พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
- ↑ พิธีเปิด "มหิดลสิทธาคาร" เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557
- ↑ การเดินทาง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ศาลายาลิงก์
- ↑ 81.0 81.1 "ครม. อนุมัติโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงไปแล้ว 3 เส้นทาง "ศาลายา-ตลิ่งชัน-ศิริราช" และ "รังสิต-ธรรมศาสตร์"". ผู้จัดการออนไลน์. 5 Mar 2019. สืบค้นเมื่อ 12 Aug 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รถราง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-08. สืบค้นเมื่อ 2016-11-29.
ดูเพิ่ม
[แก้]- รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล
- ประวัติมหาวิทยาลัยมหิดล
- โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
- โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ภาพถ่ายทางอากาศของ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°47′36″N 100°19′21″E / 13.793406°N 100.322514°E
- มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บถาวร 2020-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์
- หลักสูตรมหาวิทยาลัยมหิดล เก็บถาวร 2015-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สถานที่ตั้งหน่วยงานในมหาวิทยาลัยมหิดล เก็บถาวร 2015-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- สถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครปฐม
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญ
- สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
- สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
- เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
- สถานศึกษาในอำเภอพุทธมณฑล
- สถาบันอุดมศึกษาที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2486