ยูทูบ
ประเภท | บริการรับฝากวีดิทัศน์ |
---|---|
วันที่ก่อตั้ง | 14 กุมภาพันธ์ 2005 |
สำนักงานใหญ่ | 901 เชอรี้ แอลวีนิวส์, ซานบรูโน, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก (ยกเว้นประเทศที่ถูกบล็อก) |
ผู้ก่อตั้ง | |
ซีอีโอ | นีล โมฮัน (CEO) [1] |
อุตสาหกรรม | อินเทอร์เน็ต บริการรับฝากวีดิทัศน์ |
เจ้าของ | แอลฟาเบต |
บริษัทแม่ | กูเกิล (2006–ปัจจุบัน) |
เว็บไซต์ | YouTube.com (see list of localized domain names) |
อันดับอเล็กซา | 2 (Global, October 2017[update])[2] |
การโฆษณา | กูเกิล แอดเซนส์ |
สถานะปัจจุบัน | เปิดให้บริการ |
ยูทูบ ตามสำเนียงอเมริกัน หรือ ยูทิวบ์ ตามสำเนียงบริเตน (อังกฤษ: YouTube; เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈjuːˌtjuːb (สำเนียงบริเตน), /-tuːb (สำเนียงอเมริกัน)/[3]) เป็นเว็บไซต์เผยแพร่วิดีโอโดยมีสำนักงานอยู่ที่แซนบรูโน แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ผู้สร้างเว็บไซต์ดังกล่าว คือ อดีตพนักงาน 3 คนในบริษัทเพย์แพล อันประกอบด้วยแชด เฮอร์ลีย์ สตีฟ เชน และยาวีด คาริม โดยสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ในเดือนพฤศจิกายน 2549 กูเกิลซื้อยูทูบซื้อไปในราคา 1.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] ยูทูบเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของกูเกิล[5] เว็บไซต์ยังสามารถให้ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลด ดู หรือแบ่งปันวิดีโอได้เลย
ประวัติ
[แก้]ยูทูบก่อตั้งขึ้นโดยพนักงานของบริษัทเพย์แพล ซึ่งเป็นเว็บไชต์สำหรับการแบ่งปันวีดิทัศน์ โดยที่สมาชิกของยูทูบสามารถอัปโหลดและสำรวจวีดิทัศน์ได้[6] โดเมนเนมของยูทูบมีว่า "www.youtube.com
" ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกในวันจันทร์ ที่ 14 เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 เวลา 9:13 นาฬิกา[7]
ยูทูบก่อตั้งโดยแชด เฮอร์ลีย์, สตีฟ เชน และยาวีด คาริม โดยทั้งหมดเป็นพนักงานฝึกหัดที่บริษัทเพย์แพล เพื่อที่จะเข้าเป็นบุคลากรของบริษัทเพย์แพล[8] โดยเฮอร์ลีย์ได้เข้ามหาวิทยาลัยอินเดียดาแห่งเพนสิเวอร์เนีย ด้านการออกแบบ เชนกับคาริมศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์[9] โดยสำนักงานแห่งแรกของยูทูบอยู่ที่ข้างบนร้านพิซซ่า และร้านอาหารญี่ปุน ในซานเมเทโฮ รัฐแคลิฟอร์เนีย[10]
โดเมนเนมเปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 พร้อมกับการรวมวีดิทัศน์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2005 เป็นการเริ่มต้นคลิปวีดิทัศน์แห่งแรกในยูทูบ ชื่อวีดิทัศน์ Me at the zoo เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2005 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ ยาวีด คาริม ถ่ายที่สวนสัตว์ซานดิอิโก[11][12]
ข้อมูลเชิงเทคนิค
[แก้]รูปแบบวิดีโอ
[แก้]ยูทูบใช้งานโดยแสดงผลภาพวิดีโอในลักษณะของ Adobe Flash และใช้การถอดรหัสแบบ Sorenson Spark H.263 แฟลชเป็นโปรแกรมเสริมที่ต้องติดตั้งเพิ่มสำหรับเว็บเบราว์เซอร์ทั่วไป โดยแสดงผลที่ขนาดความกว้างและสูง 320 และ 240 พิกเซล ที่ 25 เฟรมต่อวินาที โดยมีการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 300 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งการแสดงผลสามารถดูได้ที่ขนาดปกติ หรือขนาดที่แสดงผลเต็มจอ
ยูทูบแปลงไฟล์วิดีโอเป็นไฟล์ในลักษณะแฟลชวิดีโอ ในนามสกุล .FLV ภายหลังจากผู้ใช้ได้อัปโหลดเข้าไป ไม่ว่าผู้อัปโหลดจะโหลดในลักษณะ .WMV .AVI .MOV .3GP MPEG หรือ .MP4[13]
รูปแบบเสียง
[แก้]ไฟล์ในยูทูบเก็บในลักษณะสตรีมไฟล์MP3 โดยมีการเข้ารหัสแบบโมโนที่ 65 กิโลบิต/วินาที ที่ 22050 เฮิรตซ์ อย่างไรก็ตามยูทูบสามารถเก็บไฟล์เสียงในลักษณะสเตอริโอได้หากมีการแปลงเป็นไฟล์ FLV ก่อนที่ทำการอัปโหลด
การแสดงผล
[แก้]วิดีโอในยูทูบสามารถดูได้ผ่านเว็บไซต์ยูทูบโดยตรงผ่านซอฟต์แวร์แฟลชที่กล่าวมา ดูได้ผ่านคอมพิวเตอร์, สมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ตที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งนอกจากนี้ยูทูบสามารถดูได้จากเว็บไซต์ทั่วไปที่มีการนำรหัสไปใส่เชื่อมโยงกลับมาที่เว็บยูทูบเอง เห็นได้ตามกระดานสนทนา บล็อก หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ
นอกจากนี้สามารถบันทึกไฟล์ยูทูบเก็บไว้ในเครื่องของตนเองได้โดยใช้งานซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่น เช่น Keepvid หรือผ่านสคริปต์จาก Greasemonkey โดยจะมีไฟล์เป็นนามสกุล .flv
โดยมีความละเอียดแตกต่างกันไป โดยมีความละเอียดเริ่มต้นที่ 144P ถึง 480P และในความละเอียด HD ที่ 720P ถึง 8K ที่ 4320P
ยูทูบในประเทศไทย
[แก้]การปิดกั้นข่าวสารในประเทศไทย
[แก้]ผู้ใช้ในประเทศไทยได้ถูกปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ยูทูบ ตั้งแต่คืนวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2550 หลังจากสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในขณะนั้น พยายามขอความร่วมมือหลายครั้ง ให้กูเกิลนำคลิปวิดีโอตัดต่อพระบรมฉายาลักษณ์ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพออก แต่ถูกปฏิเสธโดยได้ให้เหตุผลว่าคลิปวิดีโออื่นที่โจมตีประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช รุนแรงมากกว่านี้ ยังให้อยู่ได้ ซึ่งคลิปวิดีโอดังกล่าว อัปโหลดโดยผู้ใช้ชื่อ paddidda เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2550 มีผู้ชมไปแล้ว มากกว่า 16,000 ครั้ง และมีมากกว่า 500 ความคิดเห็นด้วยกัน[14][15] หลังจากที่ได้มีการออกข่าว จำนวนผู้ชมไปขึ้นไปถึงกว่า 66,553 ครั้งก่อนที่คลิปวิดีโอดังกล่าวจะถูกย้ายออกจากระบบ แม้ว่าคลิปวิดีโอได้ถูกเอาออกไปแล้ว แต่เว็บไซต์ยังคงถูกบล็อกต่อไป โดยนายสิทธิชัย โภไคยอุดมได้ให้เหตุผลว่ายังมีภาพตัดต่อพระบรมฉายาลักษณ์คงเหลืออยู่ และต้องการให้เอาออกทั้งหมด[16][17]
ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีการยกเลิกการบล็อกเว็บไซต์ยูทูบ จนสามารถใช้งานได้ตามปกติแล้ว หลังจากที่ยูทูบตกลงที่จะบล็อกวิดีโอที่มีการหมิ่นประมาทในไทยต่าง ๆ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "'นีล โมฮาน' ซีอีโอคนใหม่ของ 'YouTube' ชี้เทคโนโลยี 'NFT' และ 'Metaverse' จะเปิดประสบการณ์ใหม่". THE STANDARD. 22 February 2023. สืบค้นเมื่อ 6 April 2023.
- ↑ "youtube.com Traffic Statistics". Alexa Internet. Amazon.com. July 9, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-07. สืบค้นเมื่อ October 3, 2017.
- ↑ "youtube". Cambridge Dictionary. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2011.
- ↑ Hopkins, Jim (October 11, 2006). "Surprise! There's a third YouTube co-founder". USA Today. สืบค้นเมื่อ November 29, 2008.
- ↑ "Google buys YouTube for $1.65 billion". NBC News.
- ↑ Hopkins, Jim (August 21, 2003). "Surprise! There is a third YouTube co-founder". USA Today. สืบค้นเมื่อ November 29, 2008.
- ↑ "YouTube.com WHOIS, DNS, & Domain Info - DomainTools". WHOIS. 2016. สืบค้นเมื่อ January 23, 2016.
- ↑ Graham, Jefferson (November 21, 2005). "Video websites pop up, invite postings". USA Today. สืบค้นเมื่อ July 28, 2006.
- ↑ Wooster, Patricia (2014). YouTube founders Steve Chen, Chad Hurley, and Jawed Karim. ISBN 1467724823. สืบค้นเมื่อ 21 November 2016.
- ↑ Sara Kehaulani Goo (October 7, 2006). "Ready for Its Close-Up". Washington Post. สืบค้นเมื่อ November 29, 2008.
- ↑ Alleyne, Richard (July 31, 2008). "YouTube: Overnight success has sparked a backlash". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ January 17, 2009.
- ↑ Jawed Karim and Yakov Lapitsky (April 23, 2005). "Me at the Zoo" (Video). YouTube. สืบค้นเมื่อ August 3, 2009.
- ↑ รูปแบบไฟล์ที่ยูทูบรองรับ
- ↑ Thailand blocks YouTube for clip mocking king ข่าวจากสำนักข่าวรอยเตอร์ (อังกฤษ)
- ↑ YouTube disappears from Thai Internet[ลิงก์เสีย] ข่าวจากบางกอกโพสต์ (อังกฤษ)
- ↑ YouTube Clip Out, but Thai Ban Continues[ลิงก์เสีย] (อังกฤษ)
- ↑ Update - ยูทูบลบคลิปแล้ว แต่ไอซีทียังแบนเว็บไซต์ต่อเนื่อง[ลิงก์เสีย]