สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
Institute for Population and Social Research, Mahidol University | |
![]() | |
ชื่ออื่น | วปส. / IPSR |
---|---|
คติพจน์ | คุณภาพ คุณธรรม นำสถาบันฯ |
สถาบันหลัก | มหาวิทยาลัยมหิดล |
สถาปนา | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 |
ผู้อำนวยการ | รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ |
ชื่อเดิม | ศูนย์วิจัยประชากรและสังคม |
ที่อยู่ | 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 |
เว็บไซต์ | www |

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม (วปส.) มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันชั้นนำที่มีชื่อเสียงในระดับชาติและนานาชาติ ด้านการวิจัยและการศึกษา มุ่งเน้นการวิจัยในรูปแบบสหสาขาวิชาที่บูรณาการทั้งด้านประชากรศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับประชากร เปิดสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาทางด้านประชากรศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่รวมถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากร การฉายภาพประชากร อนามัยเจริญพันธุ์ ผู้สูงอายุ และการย้ายถิ่น
ประวัติ
[แก้]สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ได้ก่อกำเนิดขึ้นในคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 ภายใต้ชื่อ “ศูนย์วิจัยประชากรและสังคม” ต่อมา สภามหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อคราวประชุม ครั้งที่ 20/2514 วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2514 ได้เห็นชอบให้จัดตั้ง “สถาบันวิจัยประชากรและสังคม” มีสถานภาพเทียบเท่าคณะในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาประกาศจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหิดลเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 โดยในช่วงเริ่มก่อตั้ง มีศาสตราจารย์นายแพทย์จรัส ยามะรัต ดำรงตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการ จนถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2517 ต่อมา ดร.บุญเลิศ เลียวประไพ ได้รับตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการ จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการคนแรกของสถาบันฯ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2518
ในปี พ.ศ. 2526 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ได้ย้ายที่ทำการจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มาอยู่ที่อาคารของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และในปี พ.ศ. 2554สถาบันฯ ได้มีอาคารที่ทำการหลังแรก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าพระราชทานนามอาคารแห่งนี้ว่า “อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์” ซึ่งมีความหมายว่า “อาคารซึ่งมีความเจริญยิ่งในด้านประชากรและสังคม” และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 [1]
ทำเนียบผู้อำนวยการ
[แก้]สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล | ||
---|---|---|
รายนามผู้อำนวยการสถาบัน | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.บุญเลิศ เลียวประไพ | 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2523 | |
2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2523 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2527 (วาระที่ 1) 25 มิถุนายน พ.ศ. 2527 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2531 (วาระที่ 2) | |
3. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2535 (วาระที่ 1) 23 สิงหาคม พ.ศ. 2535 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2539 (วาระที่ 2) | |
4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์ | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2539 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2542 (วาระที่ 1) 23 สิงหาคม พ.ศ. 2542 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2547 (วาระที่ 2) | |
5. รองศาสตราจารย์ ดร.ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2547 - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | |
6. รองศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์พร พันพึ่ง | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 (วาระที่ 1) 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (วาระที่ 2) [2] | |
7. รองศาสตราจารย์ ดร.รศรินทร์ เกรย์ | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 - 20 กุมภาพันธ์ 2563 [3] | |
8. รองศาสตราจารย์ ดร.อารี จำปากลาย | 21 กุมภาพันธ์ 2563 – 20 กุมภาพันธ์ 2567 | |
9. รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ | 21 กุมภาพันธ์ 2567 - ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เกี่ยวกับสถาบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2016-11-23.
- ↑ คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 2/2559,เรื่องแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม[ลิงก์เสีย], 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
- ↑ คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 2/2559,เรื่องแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม[ลิงก์เสีย], 20 มกราคม พ.ศ. 2559
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สถาบันวิจัยประชากรและสังคม เก็บถาวร 2016-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- มิเตอร์ประเทศไทย เก็บถาวร 2016-01-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน