พรชัย มาตังคสมบัติ
พรชัย มาตังคสมบัติ | |
---|---|
เกิด | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 |
สัญชาติ | ไทย |
มีชื่อเสียงจาก | อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล |
คู่สมรส | รศ.ดร.อรพรรณ มาตังคสมบัติ |
บุตร | รศ.ทพญ.ดร.อรนาฏ มาตังคสมบัติ และ รศ.พญ.ดร.พรพรรณ มาตังคสมบัติ |
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ พรชัย มาตังคสมบัติ เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2483 ที่กรุงเทพมหานคร สมรสกับ รศ.ดร.อรพรรณ มาตังคสมบัติ มีธิดา 2 คน คือ รศ.ทพญ.ดร.อรนาฏ มาตังคสมบัติ และ รศ.พญ.ดร.พรพรรณ มาตังคสมบัติ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พรชัย มาตังคสมบัติ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ เป็นผู้มีความมุ่งมั่นและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบการศึกษาวิทยาศาสตร์ของประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรสายวิทยาศาสตร์อย่างครบวงจร การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และกระบวนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับประเทศ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายภายในประเทศและต่างประเทศทั้งระดับภูมิภาคและทั่วโลก เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนามหาวิทยาลัย ระหว่างดำรงตำแหน่งอธิการบดี ได้ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก จึงได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นวาระที่สอง ไม่นานมานี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พรชัย มาตังคสมบัติได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ปาล์มส์อะกาเดมิกส์ ชั้นอัศวิน (Commandeur dans l’Ordre des Palmes Academiques) ในฐานะผู้พัฒนาความร่วมมือทางวิชาการและทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส
ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณประเภทธุรกิจบริการดีเด่นกลุ่มการศึกษานานาชาติ ปี 2549 (Prime Minister’s Export Award 2006) จากนายกรัฐมนตรี เพื่อประกาศเกียรติคุณมหาวิทยาลัยในฐานะที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างประเทศมากที่สุด ในพิธีประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัล เมื่อวันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม 2549 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยมหิดลในยุคสมัยของท่านได้รับการจัดอันดับจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แห่งชาติให้เป็นมหาวิทยาลัยดีเลิศอันดับ 1 ของไทยทั้งด้านการเรียนการสอนและการวิจัย เมื่อเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ภายในประเทศทั้งหมด
ประวัติการศึกษา
[แก้]- มัธยมศึกษา - โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2501-2502 - โรงเรียนเตรียมแพทย์เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน)
- พ.ศ. 2502-2505 - ปริญญาตรี (B.A.) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จาก มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2505-2511 - ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต และปริญญาเอก สาขาจุลชีววิทยา (M.D., Ph.D.) จาก มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประวัติการทำงาน
[แก้]- พ.ศ. 2511 - อาจารย์โท ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2512 - อาจารย์เอก ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2522 - ศาสตราจารย์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2516-2530 - หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2534-2542 - คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2542-2550 - อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่าง ๆ
[แก้]- พ.ศ. 2531-ปัจจุบัน - กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2531-2534 - รองประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2527-2545 - กรรมการนโยบายศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
- พ.ศ. 2528-2536 - ประธานกรรมการพิจารณาทุนวิจัยปริญญาโทและเอก ศูนย์พันธุวิศวกรรมแห่งชาติ
- พ.ศ. 2528-2530, 2534, 2546-2547 - ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
- พ.ศ. 2529-ปัจจุบัน - ประธานกรรมการสาขาเทคโนโลยีชีวภาพในโครงการร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น (NRCT-JSPS)
- พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน - ประธานกรรมการสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ในโครงการร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น (NRCT-JSPS)
- พ.ศ. 2532-2540 - ประธานกรรมการหลักสูตร สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหาร ทบวงมหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2532-2540 - กรรมการประสานงานสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทบวงมหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2529-2545 - กรรมการสภามหาวิทยาลัยรังสิต (ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย)
- พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน - กรรมการสภามหาวิทยาลัยรังสิต
- พ.ศ. 2542-2547 - กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาสถาบันราชภัฏ
- พ.ศ. 2546-2547 - นายกสภาประจำสถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน - นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- พ.ศ. 2530-2545 - กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
- พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน - ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
- พ.ศ. 2525-2540 - กรรมการโครงการร่วมมือไทย-สหราชอาณาจักรฯ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- พ.ศ. 2521-2530 - ผู้ร่วมริเริ่มและกรรมการบริหารโครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบท
- พ.ศ. 2536-ปัจจุบัน - กรรมการสภาสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
- พ.ศ. 2538-ปัจจุบัน - กรรมการมูลนิธิจุฬาภรณ์
- พ.ศ. 2538-2539 - ประธานที่ประชุมคณบดีคณะวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2540 - กรรมการที่ปรึกษา International Congress on Melioidosis
- พ.ศ. 2541-2542 - กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ม
- พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน - กรรมการบริหาร มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล
- พ.ศ. 2543-2547 - ประธาน ASAIHL ไทย (ส.อ.อ.)
- พ.ศ. 2543-2545 - ประธาน ASAIHL
- พ.ศ. 2544 - กรรมการสรรหา ป.ป.ช.
- พ.ศ. 2544 - กรรมการสรรหา ก.ก.ต.
- พ.ศ. 2545-2548 - ประธานคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- พ.ศ. 2546-2547 - ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะทำงานปฏิรูประบบวิจัยแห่งชาติ (รองนายกรัฐมนตรี นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นประธาน)
- พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน - ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เป็นประธาน)
- พ.ศ. 2546-2547 - ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCEL)
- พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน - ประธานกรรมการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCEL)
- พ.ศ. 2548-2550 - รักษาการคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- 26 กันยายน - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - ที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฝ่ายการเสริมสร้างสมานฉันท์และความเป็นธรรมในสังคม
- 11 ตุลาคม 2549 - 29 กุมภาพันธ์ 2551 - สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- 29 ตุลาคม 2549 - 29 มกราคม 2551 - ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒินายกรัฐมนตรี (พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์)
หน้าที่พิเศษเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศ
[แก้]- สมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ The Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning (ASAIHL)
- ผู้แทนประเทศไทยในกรรมการบริหาร และเป็นประธาน ASAIHL
- องค์การอนามัยโลก (WHO)
- พ.ศ. 2515-ปัจจุบัน - Temporary Advisor ขององค์การอนามัยโลก ทางวิชาการอิมมูโนวิทยา ชีววิทยาการสืบพันธุ์ โรคติดเชื้อและการพัฒนาวัคซีน
- พ.ศ. 2520 - WHO Short Term Consultant เพื่อช่วยประเทศศรีลังกา ตั้งคณะแพทยศาสตร์ที่ Peraniya
- พ.ศ. 2517-ปัจจุบัน - WHO Expert Advisory Panel on Immunology
- องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมสหประชาติ (UNESCO)
- พ.ศ. 2516-2522 - เลขาธิการข่ายงานจุลชีววิทยาภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมสหประชาติ (UNESCO)
- พ.ศ. 2523-2524, 2528-2530 - ประธานกรรมการบริหารและประสานงานข่ายงานจุลชีววิทยาภูมิภาคเอเซียอาคเนย์
- พ.ศ. 2517-ปัจจุบัน - กรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์ คณะกรรมการแห่งชาติของไทย สำหรับ UNESCO
- องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมสหประชาชาติ (UNIDO)
- พ.ศ. 2526 - ร่วมคณะผู้แทนรัฐบาลไทยในการประชุมเพื่อจัดตั้งศูนย์นานาชาติสำหรับพันธุวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ ที่นคร Belgrade
- พ.ศ. 2527 - ร่วมคณะผู้แทนรัฐบาลไทยในการประชุมเพื่อจัดตั้งศูนย์นานาชาติสำหรับพันธุวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ ที่นคร Madrid
- พ.ศ. 2527 - เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาลไทยในการประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อการจัดตั้ง ICGEB นคร VIENNA
- องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)
- พ.ศ. 2529 - หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพที่นครเจนีวา
- World Academy of Art and Science
- พ.ศ. 2534-ปัจจุบัน - Biofocus Foundation Panel of Experts
- สหพันธ์สมาคมจุลชีววิทยานานาชาติ (IUMS)
- พ.ศ. 2529-2533 - รับเลือกตั้งเป็นกรรมการบริหารสหพันธ์สมาคมจุลชีววิทยานานาชาติ
- พ.ศ. 2531-ปัจจุบัน - กรรมการพัฒนาการเรียนการสอนจุลชีววิทยานานาชาติ
- สหพันธุ์สมาคมอิมมูโนวิทยานานาชาติ (IUIS)
- พ.ศ. 2529-2540 - กรรมการพัฒนาการเรียนการสอนอิมมูโนวิทยานานาชาติ
- โครงการร่วมมือวิจัย และพัฒนากับต่างประเทศ
- ประธานกรรมการสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในโครงการร่วมมือกับญี่ปุ่น (NRCT-JSPS)
- พ.ศ. 2530-2538 - กรรมการประสานงานโครงการร่วมมือไทย-สหราชอาณาจักรฯ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (NRCT-Royal Society of London)
- พ.ศ. 2530-2536 - ผู้อำนวยการโครงการร่วมมือเทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวกับอิมมูโนวิทยา ทบวงมหาวิทยาลัย และองค์การพัฒนานานาชาติของแคนาดา (CIDA)
เกียรติคุณและรางวัล
[แก้]- พ.ศ. 2511 - Borden Research Award in Medicine สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2517 - SEMEO/TROPMED Visiting Professor จาก University of Saigon
- พ.ศ. 2518 - Honorary Research Associate จาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- พ.ศ. 2532-2533 - ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ของมหาวิทยาลัยโอซาก้า
- พ.ศ. 2531-ปัจจุบัน - Fellow, International Institute of Biotechnology (U.K.)
- พ.ศ. 2543 - รางวัลนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น จากสำนักงาน ก.พ.
- พ.ศ. 2545 - รับพระราชทานรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่สถาบันราชภัฏ จากสภาสถาบันราชภัฏ
- พ.ศ. 2545 - รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2548 - นักวิทยาศาสตร์อาวุโส ประจำปี 2548 ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์พ
- พ.ศ. 2551 -รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้กระทรวงศึกษาธิการ
- พ.ศ. 2564 -รับพระราชทานโล่รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ฯ (สสวท) ในวโรกาสก่อตั้ง สสวท ครบ 50ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[3]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
ต่างประเทศ
[แก้]- ฝรั่งเศส : พ.ศ. 2548 - อิสริยาภรณ์ปาล์มส์อะกาเดมิกส์ ชั้นอัศวิน (Commandeur dans l’Ordre des Palmes Academiques)[5]
ผลงานวิชาการ
[แก้]- ตีพิมพ์บทความวิจัยทางอิมมูโนวิทยาในวารสารนานาชาติหลายสิบเรื่อง (เฉพาะที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature 2 เรื่อง)
- รับเชิญให้เขียน Chapter ในหนังสือตำราทางวิชาการต่างประเทศ เกี่ยวกับอิมมูโนวิทยาของ Malignant Lymphoma ภูมิตอบสนองด้านเซลล์ต่อทารกในหญิงตั้งครรภ์ อิมมูโนวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการคุมกำเนิด Diagnostic Immunology การศึกษา T Cells ในผู้ป่วยวัณโรค และการวิจัยการใช้ยาต้านจุลชีพในประเทศไทย
- รับเชิญเป็นประธาน หรือ invited speaker ใน International Congresses ทางอิมมูโนวิทยาและจุลชีววิทยา
- ร่วมจัด หรือเป็นประธานการจัดประชุมวิชาการนานาชาติที่ไทยเป็นเจ้าภาพ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๕๘๙, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๓, ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2483
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
- อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์
- นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน
- นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย